อดีตนักศึกษาใช้ USB Killer บึ้มคอมพิวเตอร์เกือบ 70 เครื่อง

Loading

Vishwanath Akuthota อดีตนักศึกษาชาวอินเดียวัย 27 ปีถูกตัดสินให้รับโทษจำคุกนานสูงสุด 10 ปีและปรับเป็นเงินสูงสุดเกือบ 8,000,000 บาทหลังก่อเหตุใช้ USB Killer ที่สั่งซื้อออนไลน์ทำลายคอมพิวเตอร์ของ College of St. Rose ในเมืองนิวยอร์กรวมแล้วเกือบ 70 เครื่อง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย Akuthota ได้แอบเข้าไปในมหาวิทยาลัยที่ตนเองจบการศึกษาตอนกลางดึกแล้วใช้ USB Killer ที่สั่งซื้อออนไลน์ทำลายคอมพิวเตอร์ 59 เครื่อง จอมิเตอร์และคอมพิวเตอร์โพเดียมอีก 7 เครื่อง พร้อมถ่ายวิดีโอตนเองขณะดำเนินการดังกล่าวด้วย จากการตรวจสอบวิดีโอพบว่า Akuthota มีความตั้งใจทำลายอุปกรณ์ดังกล่าวจริง โดยมีการพูดว่า “I’m going to kill this guy”, “it’s dead” และ “it’s gone. Boom” USB Killer เป็นเครื่องมือหน้าตาเหมือน USB ที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายวงจรคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เมื่อเสียบเข้าช่อง USB ของคอมพิวเตอร์…

ระวัง พบการแพร่กระจายมัลแวร์โดยอาศัยข่าวกราดยิงที่นิวซีแลนด์และข่าวเครื่องบิน Boeing ตก

Loading

บริษัท 360 Enterprise Security Group ได้รายงานการแพร่กระจายมัลแวร์โดยอาศัยข่าวเครื่องบิน Boeing 737 Max 8 ตก โดยลักษณะการโจมตีจะส่งอีเมลที่อ้างว่าเป็นเอกสารหลุดที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของเครื่องบินตกพร้อมแนบไฟล์มัลแวร์มาในอีเมลฉบับดังกล่าว ผู้ประสงค์ร้ายปลอมที่อยู่ผู้ส่งอีเมลเป็น info(at)isgec.com และตั้งหัวข้ออีเมลว่า “Fwd: Airlines plane crash Boeing 737 Max 8” โดยแนบไฟล์มัลแวร์คือ MP4_142019.jar (ชื่อผู้ส่ง หัวข้ออีเมล และชื่อไฟล์แนบ อาจถูกเปลี่ยนได้) หากเหยื่อหลงเชื่อแล้วเปิดไฟล์แนบดังกล่าว จะถูกติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องเพื่อขโมยข้อมูลและเปิดช่องทางให้ผู้ประสงค์ร้ายเชื่อมต่อเข้ามาควบคุมเครื่องในภายหลัง อีกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกันคือเหตุกราดยิงในประเทศนิวซีแลนด์จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เหตุการณ์นี้ทาง US-CERT ได้ออกมาแจ้งเตือนระวังการหลอกลวงโดยอาศัยข่าวนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่กระจายมัลแวร์ หลอกให้เข้าเว็บไซต์ปลอม หรือหลอกลวงให้บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ เป็นต้น การหลอกลวงโดยอาศัยเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน โดยเฉพาะเหตุการณ์ความสูญเสียนั้นเป็นเทคนิคการโจมตีที่ได้ผลดีและมีรายงานผู้ตกเป็นเหยื่ออยู่เรื่อยๆ ผู้ใช้ควรพิจารณาก่อนแชร์ข่าว คลิกลิงก์ เปิดไฟล์แนบ หรือโอนเงิน เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ —————————————————– ที่มา : ThaiCERT / 18 มีนาคม 2562 Link…

รู้ไว้ใช่ว่า Dos & Don’ts เมื่อจำเป็นต้องเล่นเน็ตผ่าน Wi-Fi สาธารณะ

Loading

ทุกวันนี้ Wi-Fi สาธารณะมีให้บริการแทบทุกที่ ตั้งแต่ร้านกาแฟบ้านๆ ไปจนถึงโรงแรมสุดหรู เมื่อเราเชื่อมต่อเน็ตได้สะดวก ชีวิตของเราก็ง่ายขึ้นเยอะ ในหลายๆ ที่ เช่น สนามบินนานาชาติ ยังมีให้บริการฟรีเสียด้วยซ้ำ แต่เชื่อหรือไม่ว่าคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่า เบื้องหลังความสะดวกสบายเช่นนั้น Wi-Fi สาธารณะมีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยอยู่มาก โดยเฉพาะการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัวในอุปกรณ์ของเราไม่ว่าจะเป็น Notebook หรือมือถือ เนื่องจากข้อมูลที่รับ-ส่งผ่านเครือข่าย Wi-Fi สาธารณะมีความเสี่ยงจากการถูกดักจับโดยแฮกเกอร์ ได้ไม่ยาก โดยทั่วไป เครือข่าย Wi-Fi สาธารณะ ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้: 1. Unsecured Wi-Fi (เครือข่ายที่ไม่ปลอดภัย) เครือข่ายที่ไม่ปลอดภัย ใครก็สามารถเชื่อมต่อได้หากอยู่ในรัศมีทำการของ Router โดยเครือข่ายไม่มีการตั้งค่าความปลอดภัยใด ๆ เช่น ไม่ต้องลงทะเบียนใช้งาน หรือไม่ต้องใช้รหัสผ่านเพื่อ Login เข้าเครือข่าย 2. Secured Wi-Fi (เครือข่ายที่ปลอดภัย) ในทางตรงกันข้าม เครือข่ายที่ปลอดภัยนั้น ก่อนใช้งาน ผู้ใช้ต้องยอมรับเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ ทางกฎหมายหรือต้องลงทะเบียนเพื่อรับรหัสผ่านก่อนที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายเท่านั้น…