สรุป 3 เทรนด์ด้าน Identity and Access Management ปี 2023

Loading

    Identity and Access Management (IAM) คือ หนึ่งในรากฐานสำคัญของการทำ Digital Transformation อย่างมั่นคงปลอดภัย ด้วยความสามารถในการบริหารจัดการ Identity ของผู้ใช้และการควบคุมการเข้าถึงระบบต่างๆ ขององค์กร ทำให้องค์กรสามารถสร้าง Transparency, Trust และ Control บน Digital Journey ของตนเองได้ อย่างไรก็ตาม การมาถึงของระบบ Cloud, Distributed Apps และ Hybrid Workforces ทำให้โซลูชัน IAM จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้ยังคงจัดการกับ Identity และควบคุมการเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ   บทความนี้ i-Sprint Innovations ผู้ให้บริการนวัตกรรม Identity, Credential & Access Management ชั้นนำระดับโลก ได้ออกมาเปิดเผยถึง 3 เทรนด์ที่โซลูชัน IAM กำลังจะเดินทางไปในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้…

ผู้พัฒนา ChatGPT เห็นด้วยกับวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่จะให้มีการกำกับดูแล AI

Loading

    แซม อัลต์แมน (Sam Altman) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI (ผู้พัฒนา ChatGPT) กล่าวกับสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาว่าเขาเห็นด้วยที่จะมีระบบใหม่เพื่อจัดการกับปัญญาประดิษฐ์   คำกล่าวนี้เคยขึ้นระหว่างที่อัลต์แมนเข้าให้การกับคณะอนุกรรมาธิการยุติธรรมด้านความเป็นส่วนตัวและเทคโนโลยีของวุฒิสภา ถือเป็นครั้งแรกที่เขาให้การในลักษณะนี้   เขาชี้ว่าจำเป็นต้องมีกรอบควบคุมเทคโนโลยีใหม่ทุกชนิด รวมทั้งบริษัทของเขาและภาคธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ตัวเองสร้างขึ้น เช่นเดียวกับผู้ที่นำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้   วุฒิสมาชิกจากทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันต่างเน้นย่ำว่าควรต้องมีมาตรการควบคุมปัญญาประดิษฐ์เพื่อป้องกันผลร้ายที่อาจเกิดขึ้นจากการนำไปใช้ในเชิงลบ เห็นตรงกันว่าปัญญาประดิษฐ์มีศักยภาพสูงและพัฒนาเร็วกว่าเทคโนโลยีอื่นมาก   ริชาร์ด บลูเมนทัล (Richard Blumenthal) ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรคเดโมแครตให้ความเห็นว่าต้องมีการควบคุมปัญญาประดิษฐ์ไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ผิดหรือสร้างข้อมูลเท็จ อย่างกรณีของการปลอมข่าวการยอมแพ้ของยูเครน   ที่ประชุมยอมรับความล้มเหลวในการกำกับดูแลโซเชียลมีเดีย จึงอยากจะแก้ตัวใหม่กับปัญญาประดิษฐ์ในครั้งนี้ก่อนจะสายเกินไป   ด้านจอช ฮาวลีย์ (Josh Hawley) อนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรครีพับลิกันเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงบวกได้อย่างการพัฒนาสื่อ ผ่านการส่งเสริมการกระจายข้อมูล ในทางตรงกันข้ามก็สามารถนำไปใช้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งส่งผลร้ายตามมาได้เช่นกัน   บลูเมนทัลชมว่าคำพูดอัลต์แมนฟังดูจริงใจมากกว่าผู้บริหารของบริษัทอื่น ๆ “ราวฟ้ากับเหว” สะท้อนผ่านการพูดจริงทำจริง และการแสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์   ขณะที่ ดิก…

ติดฉลาก ‘National Cybersecurity’ บนอุปกรณ์ ‘ไอโอที’

Loading

    ณ ขณะนี้ เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยว่า กระแสการป้องกันและรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   อย่างในสหรัฐหน่วยงานกำกับดูแลการรักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์เริ่มมีความพยายามในการกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น   องค์การอาหารและยา (FDA) ได้บังคับใช้ข้อกำหนดทางไซเบอร์สำหรับผู้ผลิต และเมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มผู้นำในอุตสาหกรรมทางไซเบอร์ได้กล่าวเป็นนัยในการประชุม RSA เมื่อช่วงปลาย เม.ย. ที่ผ่านมาว่า จะมีประกาศจากทำเนียบขาวเกี่ยวกับแผนการพัฒนาโครงการติดฉลากความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ค.   แต่ที่น่าสนใจคือ จะมีการรวมกันของ OT และ IoT พร้อมกับการรักษาความปลอดภัยทั้งทางกายภาพและทางไซเบอร์ซึ่งเป็นการรวมตัวกัน ไม่ใช่แค่เฉพาะเรื่องของมาตรฐานแต่เป็นข้อบังคับอีกด้วย   นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่เร่งด่วนในการสร้างและยกระดับวัฒนธรรมพื้นฐานในการออกแบบความปลอดภัยและความโปร่งใสของกระบวนการทำงาน เช่น กระบวนการสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่มีคุณภาพ   ฝ่ายบริหารของไบเดน ประธานาธิบดีของสหรัฐได้ประกาศเป็นครั้งแรกถึงแผนการทำงานร่วมกับภาคเอกชน หน่วยงาน รัฐบาลกลางและสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการติดฉลากความปลอดภัยทางไซเบอร์บนอุปกรณ์ IoT   โดยระบุว่าแผนนี้มีความสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันมีการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้อย่างแพร่หลายและการเติบโตของตลาดเพิ่มสูงขึ้น   โปรแกรมการติดฉลากนี้จึงช่วยทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีความปลอดภัยและเป็นการจูงใจให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์   โดยล่าสุดสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ได้นำร่องการติดฉลากผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ บนอุปกรณ์ IoT โดยทีมงาน NIST ได้เริ่มจากการปรับแต่งเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับความเสี่ยงเฉพาะและทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรม  …

การ์ทเนอร์เปิดผลสำรวจ ‘เทคคอมพานี’ บนภาวะวิกฤติ ขาดแคลน ‘คนไอที’

Loading

  หลังจากการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากของบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทำให้ผู้นำธุรกิจและเทคโนโลยีต่างสรุปว่า “ภาวะขาดแคลนบุคลากรไอทีที่มีทักษะสูง หรือ Tech Talent Crunch” นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่สิ่งที่ปรากฏอาจเป็นเพียงภาพลวงตา   ผลวิจัยล่าสุดของ การ์ทเนอร์ พบว่า 86% ของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIOs) บอกว่า พวกเขากำลังเผชิญกับการชิงตัวบุคลากรที่มีคุณสมบัติอย่างที่ต้องการ และอีก 73% มีความกังวลกับประสิทธิภาพของบุคลากรไอทีที่ลดลง   เอ็มบูล่า เชิร์น ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์ วิเคราะห์ว่า ปัญหาขาดแคลน Tech Talent ยังมีอยู่ต่อไป วิกฤติการขาดแคลนบุคลากรไอทีจะยังไม่จบสิ้นในวันนี้   เนื่องจากปัจจุบันยังมีอุปสงค์แรงงานด้านนี้มากกว่าอุปทานที่มีอยู่ในตลาดเป็นอย่างมาก การ์ทเนอร์คาดว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบลากยาวไปถึงปี 2569 เป็นอย่างน้อย สอดคล้องกับปริมาณการใช้จ่ายด้านไอทีตามที่คาดการณ์   ‘งานสายไอที’ โอกาสยังคงเปิดกว้าง   การ์ทเนอร์ระบุว่า พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเลิกจ้างจำนวนมากนั้นอยู่ในสายงานธุรกิจไม่ใช่สายเทคโนโลยีและงานด้านไอทียังมีโอกาสอยู่อีกมากไม่ได้จำกัดเพียงแค่บริษัทในสายเทคโนโลยี   จากการสำรวจพบว่า การปรับลดแรงงานจำนวนมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ พยายามปรับให้ราคาหุ้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพื่อลดค่าใช้จ่ายตามโจทย์ของผู้ถือหุ้น   ผลวิจัยการ์ทเนอร์พบด้วยว่า บริษัทที่อยู่เบื้องหลังการเลิกจ้างพนักงานที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ที่สุด…

ถอดรหัส ’Digital Transformation’ คือการเดินทาง ไม่ใช่ปลายทาง

Loading

    เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก ทั้งแนวคิด สังคม ชีวิตประจำวัน รวมถึงวิธีการทำงาน   ด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดและความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ส่งผลให้หลากหลายองค์กรต่างต้องหาหนทางปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการ Upskill การ Reskill และใช้เทคโนโลยีเข้ามาต่อยอด เพื่อยกระดับองค์กรให้ก้าวทันกับการถูก Digital Disruption   ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่า Digital Transformation จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยให้ธุรกิจเอาตัวรอดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไปได้   OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP หยิบยกมุมมองในการทำ Digital Transformation จากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขามาร่วมมาแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งหากใครไม่อยากตกขบวนแล้วละก็ต้องรีบศึกษาไว้เลย   Digital Transformation คืออะไร   Digital Transformation (DX) คือ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและธุรกิจเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รากฐานขององค์กรไปจนถึงกระบวนการส่งมอบให้ลูกค้า   เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดมากขึ้นในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ และแม้ปัจจุบัน Digital Transformation…

“บล็อกเชน” ป้องกันการโกงเลือกตั้งได้จริงหรือ!?”

Loading

  “การเลือกตั้ง” นั้นเป็นหนึ่งในกระบวนการในระบบประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนนั้นสามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศด้วยการเข้าคูหาเพื่อเลือกตัวแทนเข้าสู่สภา ซึ่งทำให้การเลือกตั้งกลายเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยรอคอยและคาดหวังว่าจะเห็นประเทศไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเราจะได้เห็นข้อครหารวมไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งล่วงหน้าจนก่อให้เกิดการล่ารายชื่อถอนถอน กกต. เลยทีเดียว   ซึ่งเหตุการณ์ความไม่พอใจในลักษณะนี้รวมไปถึงความผิดพลาดในการทำงานที่เกิดขึ้นจริงนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เป็นการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ มาหลายครั้งและในแต่ละกรณีก็มีความละเอียดอ่อนไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดแนวคิดว่าหากเรานำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาบริหารและจัดการในระบอบการเลือกตั้งจะแก้ปัญหาได้หรือไม่!?   นายพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุน (CIO) บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกของไทยภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ความเห็นถึงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ รวมถึงประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้   การเลือกตั้งด้วยระบบ Blockchain จะแก้ปัญหาได้หรือเปล่า?   เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) นั้นเป็นระบบฐานข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้ทำให้มันดูเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเลือกตั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศไหนบนโลกที่ทำการเลือกตั้งสาธารณะด้วยระบบ Blockchain หรือแม้แต่ระบบดิจิทัลทั่วไปเลย   สาเหตุสำคัญคือในกระบวนการเลือกตั้งนั้นมีหลายองค์ประกอบมาก การใช้ระบบ Digital หรือแม้แต่ Blockchain นั้นเป็นการแก้ไขปัญหาได้เพียงบางส่วนเท่านั้นเช่นการแก้ปัญหาด้าน Software แต่ในกระบวนการเลือกตั้งนั้นยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีก  …