‘ไอบีเอ็ม’ ยุติพัฒนา-จำหน่ายเอไอ ‘จดจำใบหน้า’ ชี้แฝงอคติเหยียดสีผิว

Loading

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า “ไอบีเอ็ม” บริษัทผู้ผลิตและให้บริการคอมพิวเตอร์ระดับโลกประกาศยุติการจัดจำหน่ายและการพัฒนา “เทคโนโลยีจดจำใบหน้า” (facial recognition) ของบริษัท รวมถึงเรียกร้องรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาหยิบยกเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การอภิปรายอย่างเร่งด่วน เพื่อปฏิรูปกฎหมายควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีนี้โดยเจ้าหน้าที่ ให้ปราศจากการเหยียดสีผิวและเป็นธรรมทางเชื้อชาติ โดยนายอาร์วินด์ คริชนา ซีอีโอของไอบีเอ็มได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐสภาสหรัฐระบุว่า บริษัทต้องการทำงานร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อหารือถึงแนวทางด้านกฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมและความเหมาะสมในการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้า รวมถึงการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม การตัดสินใจของไอบีเอ็มที่จะยุติธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้าครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการประท้วงที่ยังคงลุกลามบานปลายจากกรณีของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายชาวผิวสีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่งผลให้ประเด็นเรื่องปฏิรูปองค์กรตำรวจของสหรัฐ และการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติสีผิวกลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ขณะที่ กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ต่ออคติที่แฝงอยู่ในเทคโนโลยีจดจำใบหน้ามีมาโดยตลอด โดยข้อมูลงานวิจัยของ “จอย โบโอแลมวินี” นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ผู้ก่อตั้งสมาคมอัลกอริทึมมิกจัสติซ (Algorithmic Justice League) ระบุว่า เทคโนโลยีดังกล่าวของบางบริษัทแสดงให้เห็นถึงอคติทางเชื้อชาติสีผิวและอคติทางเพศอย่างชัดเจน ซึ่งคนบางกลุ่มเห็นว่า ไม่ควรจำหน่ายเทคโนโลยีนี้ให้กับหน่วยภาครัฐ เพื่อรักษาความปลอดภัยของความเป็นส่วนตัวและสิทธิพลเมือง จดหมายของนายคริชนาระบุว่า “ไอบีเอ็มคัดค้านและไม่ยินยอมให้มีการใช้เทคโนโลยีใด ๆ รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อการสอดแนมประชาชน การเหยียดเชื้อชาติ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยม หลักการความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของเรา เราเชื่อว่าขณะนี้เป็นวาระแห่งชาติที่จะเริ่มอภิปรายในประเด็นว่า ควรใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือไม่และอย่างไร” นายคริชนาเข้ารับตำแหน่งซีอีโอของไอบีเอ็มในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบคลาวด์เซอร์วิสของบิรษัทมากขึ้น แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากในสำนักงานด้วย โดยขณะนี้บริษัทมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าธุรกิจเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจะไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับไอบีเอ็มมากนัก แต่การตัดสินใจครั้งนี้ก็สร้างความตื่นตัวในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติให้กับรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไอบีเอ็ม “ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ที่สามารถช่วยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้จำหน่ายและผู้ใช้งานระบบเอไอมีความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการทดสอบอคติที่แฝงอยู่ในระบบเอไอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประยุกต์ใช้กับการบังคับใช้กฎหมาย…

‘แอมะซอน’ งดให้บริการ ‘เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า’ แก่ตำรวจสหรัฐฯ เป็นเวลา 1 ปี

Loading

รอยเตอร์ – บริษัท Amazon.com Inc ประกาศงดให้บริการเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า (facial recognition software) แก่ตำรวจสหรัฐฯ เป็นเวลา 1 ปี หลังเกิดเหตุประท้วงกรณีตำรวจใช้ความรุนแรงสังหารชายผิวสี นักเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพพลเมืองในสหรัฐฯ ต่อสู้เรียกร้องมานานถึง 2 ปีว่าระบบตรวจจับใบหน้าของแอมะซอนอาจระบุตัวบุคคลผิดพลาด จนนำไปสู่การจับกุมอย่างไม่เป็นธรรมได้ การเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ หนุ่มผิวสีซึ่งถูกตำรวจมินนาอาโพลิสใช้เข่ากดคอจนขาดใจตายเมื่อเดือน พ.ค. ยิ่งกระพือข้อกังวลว่าระบบตรวจจับใบหน้าจะถูกใช้เป็นเครื่องมือเล่นงานผู้ประท้วง นักวิจารณ์ยังชี้ถึงผลการศึกษาในอดีตที่แสดงให้เห็นว่า บริการ ‘Rekognition’ ของแอมะซอนมักมีปัญหาในการระบุเพศของคนผิวสีเข้ม ซึ่งเป็นผลวิจัยที่แอมะซอนออกมาโต้แย้ง ล่าสุด แอมะซอนซึ่งจำหน่ายเทคโนโลยีคลาวด์ผ่านทาง Amazon Web Services ได้แถลงยืนยันวานนี้ (10 มิ.ย.) ว่า บริษัทจะผลักดันให้มีการออกกฎควบคุมการใช้ซอฟต์แวร์ตรวจจับใบหน้าอย่างมีจริยธรรม “เราหวังว่าการระงับบริการ 1 ปีจะช่วยให้สภาคองเกรสมีเวลามากพอที่จะบังคับใช้กฎระเบียบที่เหมาะสม และเราพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ หากมีการขอร้องมา” แอมะซอน ระบุ ทั้งนี้ แอมะซอนจะยังคงอนุญาตให้มีการใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าเพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในการตามหาเหยื่อค้ามนุษย์ สภาคองเกรสได้เริ่มพิจารณาออกกฎควบคุมการใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้ามาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว และล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (8) บริษัท ไอบีเอ็ม ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังคองเกรสว่าจะเลิกจำหน่ายและพัฒนาเทคโนโลยีชนิดนี้…

“โดรนไฮเทค” ของสหรัฐทำภารกิจส่งดาวเทียม

Loading

ยาน “เอ็กซ์-37บี” ของกองทัพอากาศสหรัฐ ปฏิบัติภารกิจครั้งที่ 6 ในรอบ 10 ปี เป็นการส่งดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการวิจัย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ว่าจรวดแอตลาส ไฟฟ์ (Atlas V) ของบริษัทยูไนเต็ด ลอนช์ อัลไลแอนซ์ ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดภายในศูนย์อวกาศเคนเนดี บนแหลมคานาเวอรัล ริมชายฝั่งรัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 09.14 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันอาทิตย์ที่ผ่าน (20.14 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ภายในอีกไม่กี่นาทีหลังจากนั้น ยาน “เอ็กซ์-37บี” ( X-37B ) ของกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งเป็นพาหนะทดสอบวงโคจรและไร้คนขับ ผลิตโดยบริษัทโบอิ้ง ทำหน้าที่ปล่อย “ฟอลคอนแซต-เอต” ( FalconSat-8 ) ดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการวิจัย เข้าสู่วงโคจรโลกเพื่อปฏิบัติภารกิจ “ที่ละเอียดมากขึ้นกว่าภารกิจในอดีต” โดยในเบื้องต้นมีการเปิดเผยเพียงว่า ภารกิจของดาวเทียมฟอลคอนแซต-เอต “มีหลายอย่าง” รวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของกัมมันตรังสีที่มีต่อเมล็ดพันธุ์ และการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นคลื่นไมโครเวฟ อนึ่ง ภารกิจครั้งนี้ของยานฟอลคอนแซต-เอต…

เตรียมตัวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมสอดส่อง (surveillance industrial complex)

Loading

ที่มาภาพ: https://yourstory.com/2019/01/top-6-trends-surveillance-industry-2019 Written by Kim หลายประเทศทั่วโลกใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่สามารถเฝ้าดูและสอดส่อง (surveillance) ความเคลื่อนไหวของประชาชน เพื่อที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) แม้ประชาชนจำนวนหนึ่งเต็มใจแลกความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคงปลอดภัย แต่เทคโนโลยีที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นการชั่วคราวอาจมีบทบาทอย่างถาวรต่อการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคตอันใกล้ ขณะนี้มีความกังวลเกี่ยวกับวิธีการที่รัฐบาลรวบรวม จัดเก็บและใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลที่สะสมไว้ คาดกันว่าโลกในยุคหลัง COVID-19 บริษัทเทคโนโลยีเอกชนและประเทศต่าง ๆ จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนน้อยลงและหันไปมุ่งเน้นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการรวบรวมข้อมูล เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งและฝ่ายตรงข้ามตามลำดับ[1]           ปัจจุบัน เกาหลีใต้ อิสราเอลและสิงคโปร์ใช้ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ คลิปวิดีโอกล้องวงจรปิดและข้อมูลบัตรเครติตในการเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของประชาชน โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการติดตามร่องรอยของไวรัสโคโรนา แม้ประชาชนส่วนหนึ่งเต็มใจแลกความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคงปลอดภัย แต่เทคโนโลยีที่รัฐเสนอใช้ชั่วคราวจะมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันต่อไปและทำให้เกิดปมอุตสาหกรรมสอดส่อง (surveillance industrial complex) ที่เกี่ยวดองกับปมอุตสาหกรรมทหาร (military–industrial complex)[2] โดยบริษัทเทคโนโลยีเอกชนออกแบบและจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สอดแนมที่ทันสมัยที่สุดแก่รัฐบาล องค์การและบุคคล (เอกชน) ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันจนแยกไม่ออก           จุดสิ้นสุดของความสัมพันธ์แบบนี้อาจเป็นการสืบทอดตัวเองไปเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หลายคนอาจโต้แย้งว่าฉากทัศน์แบบนี้เกี่ยวข้องกับอนาคตค่อนข้างน้อยและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันในหลายภาคส่วนของโลก เพียงแค่พกพาโทรศัพท์อัจฉริยะ (smartphone) ผู้คนก็แพร่กระจายข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ (personally identifiable information) โดยสมัครใจ เช่นเดียวกับข้อมูลที่รวบรวมจากสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่น ๆ ก็เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย โดยการบุกรุกด้วยเครื่องมือเจาะระบบและมัลแวร์ อนึ่ง แนวคิดเรื่องอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things – IoT) และพัฒนาการของ…

โคลอมเบีย-เนเธอร์เเลนด์ตรวจสอบ TikTok เรื่อง ‘ความเป็นส่วนตัว’ ของผู้เยาว์

Loading

FILE – The logo of the TikTok application seen on a mobile phone, Feb. 21, 2019. ทางการประเทศโคลอมเบียและเนเธอร์เเลนด์ กำลังตรวจสอบว่าแอพ TikTok ทำตามกฎหมายเรื่องการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้เยาว์หรือไม่ เจ้าหน้าที่โคลอมเบียแถลงถึงการตรวจสอบในวันอังคาร ขณะที่เนเธอร์เเลนด์เดินหน้าลักษณะเดียวกัน 4 วันก่อนหน้านั้น TikTok ซึ่งเป็นธุรกิจจีนในเครือบริษัท ByteDance ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล ช่วงการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากคนนับล้านใช้เเพลตฟอร์มดังกล่าวเพื่อชมและแชร์เนื้อหาบันเทิงในช่วงวิกฤติ คาดว่ามีผู้ใช้ TikTok ประมาณ 500 ล้านถึง 1,000 ล้านคนทั่วโลก หน่วยงานตรวจสอบธุรกิจอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของโคลอมเบียกล่าวว่า ทางการจะพยายามพิจารณาว่า TikTok ดำเนินกิจการด้วยหลักแห่งการมีความรับผิดชอบหรือไม่ ส่วน DPA ซึ่งเป็นองค์กรรักษากฎหมายของเนเธอร์แลนด์ แสดงความกังวลเรื่องแนวทางการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้และยำ้ถึงความเสี่ยงต่อกลุ่มเยาวชนด้วย ———————————————————- ที่มา : VOA Thai / 15 พฤษภาคม 2563 Link…

Boeing นำเสนอต้นแบบโดรนต่อสู้ Loyal Wingman ลำแรกต่อกองทัพอากาศออสเตรเลีย

Loading

5 พฤษภาคม ทีมพัฒนาอุตสาหกรรมของ Boeing ในออสเตรเลียได้นำเสนอโดรนต่อสู้ที่เป็นเครื่องบินไอพ่นไร้คนขับ Loyal Wingman ลำแรกให้กับกองทัพอากาศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการพัฒนาขั้นสูงของ Loyal Wingman หรือที่รู้จักกันในชื่อ Boeing Airpower Teaming System (ATS) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตลาดการป้องกันประเทศในทั่วโลก โดยได้ร่วมมือกับกองทัพอากาศออสเตรเลีย (RAAF) และเงินลงทุนในการพัฒนาจากรัฐบาลออสเตรเลีย 25.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดรน Loyal Wingman ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการขยายขีดความสามารถของแพลตฟอร์มที่ใช้คนควบคุมและไร้คนควบคุม ซึ่งเป็นโดรนลำแรกที่ได้ออกแบบและผลิตในออสเตรเลียมานานกว่า 50 ปี และเป็นการลงทุนในโดรนที่มากที่สุดนอกสหรัฐอเมริกาของ Boeing โดรน Loyal Wingman จัดว่าเป็นนวัตกรรมและหัวใจสำคัญในการป้องกันประเทศออสเตรเลียในอนาคต ซึ่งจะติดตั้งอาวุธเพื่อใช้ในการต่อสู้และการปกป้องทรัพย์สิน อย่างเช่น E-7A Wedgetail เครื่องบินเตือนภัยและควบคุมอากาศยานแบบแฝด รวมทั้งใช้ในการป้องกันเครื่องบินรบไอพ่น เช่น F-35A และ F/A-18E/F Super Hornet โดรนได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมโดยใช้เทคโนโลยี Digital Twins ในการจำลองโครงสร้าง ระบบ…