เอสโตเนียตรวจสุขภาพถึงระดับดีเอ็นเอให้ประชาชนฟรีแห่งแรกของโลก

Loading

รัฐบาลเอสโตเนียเริ่มดำเนินโครงการดูแลสุขภาพพลเมือง โดยให้บริการตรวจวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมฟรีแล้วในเดือนนี้ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะทำให้ประชาชนทุกคนได้รับการตรวจดีเอ็นเอโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะได้รับคำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพจากผลวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมของตนเองอย่างละเอียดด้วย โครงการนำร่องในระยะแรกจะให้บริการตรวจดีเอ็นเอฟรีกับประชาชน 1 แสนคน หรือราว 1 ใน 10 ของประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ 1.3 ล้านคน โดยถือเป็นชาติแรกของโลกที่ให้บริการสาธารณสุขในลักษณะนี้กับพลเมืองอย่างถ้วนหน้า ข้อมูลทางพันธุกรรมของชาวเอสโตเนียแต่ละคน จะถูกนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลยีนกลายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคหลายแสนตัว เพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนมีความเสี่ยงทางสุขภาพในด้านใดบ้าง จากนั้นข้อมูลนี้จะถูกบันทึกไว้ในแฟ้มรายงานข้อมูลพันธุกรรมส่วนบุคคล ซึ่งจะเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศสุขภาพแห่งชาติเอสโตเนีย (ENHIS) ในอนาคต ชาวเอสโตเนียที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอแล้ว สามารถนำข้อมูลที่ได้เข้าปรึกษากับแพทย์ประจำครอบครัว เพื่อขอคำแนะนำเรื่องสุขภาพและวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ตนมีความเสี่ยงสูงตามที่ข้อมูลพันธุกรรมได้บ่งชี้เอาไว้ เช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคอัลไซเมอร์ ในขณะเดียวกัน แพทย์ผู้ทำการรักษาบุคคลดังกล่าวในอนาคต ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลพันธุกรรมนี้ได้โดยสะดวกจากระบบสารสนเทศกลาง ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นับแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เอสโตเนียได้เริ่มเก็บข้อมูลพันธุกรรมของประชาชนเข้าใน “ธนาคารชีวภาพ” (Biobank) ไปแล้ว 50,000 ราย ทางการหวังว่าโครงการนำร่องตรวจวิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมของพลเมืองในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มทรัพยากรข้อมูลพันธุกรรมในธนาคารชีวภาพขึ้นอีกอย่างน้อย 3 เท่า และสามารถเก็บข้อมูลพันธุกรรมของประชากรทั้งประเทศได้ในอีกหลายปีข้างหน้า ก่อนหน้านี้เอสโตเนียเป็นประเทศขนาดเล็กในแถบยุโรปเหนือที่ขึ้นชื่อเรื่องความก้าวล้ำนำสมัยของนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมุ่งพัฒนาตนเองให้เป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โครงการล่าสุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการยกเครื่องระบบสาธารณสุขให้มีความทันสมัย และสามารถให้การดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะสมที่สุดกับแต่ละบุคคลได้ มีหลายประเทศที่รัฐให้บริการตรวจดีเอ็นเอฟรีแก่ประชาชนเช่นกัน โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสุขภาพหรือโครงการธนาคารชีวภาพ เช่นในสหราชอาณาจักร ไอซ์แลนด์…

รักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัวบน “เฟซบุ๊ก”

Loading

  ในขณะที่ราคาหุ้นของเฟซบุ๊กกำลังตกลงอย่างต่อเนื่อง และแฮชแทก #DeleteFacebook หรือ #ลบเฟซบุ๊ก กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในทวิตเตอร์ขณะนี้ คำถามสำหรับผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายคนคือ ข้อมูลส่วนตัวของเราถูกใครเอาไปใช้บ้าง และเราสามารถทวงคืนมันกลับมาได้หรือเปล่า? คำถามนี้เกิดขึ้นจากกรณีข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทที่ปรึกษาด้านการเมือง เคมบริดจ์ อนาลิติกา (Cambridge Analytica) นำข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 50 ล้านคนไปใช้ และล่าสุดคณะกรรมาธิการสอบข้อเท็จจริงของสภาสามัญชนของอังกฤษ ก็ได้เรียกตัว มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอเฟซบุ๊ก เข้าให้ปากคำ สำหรับเฟซบุ๊กแล้ว ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เป็นสิ่งจูงใจให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาซื้อโฆษณา และเป็นที่รู้กันดีว่าเฟซบุ๊กสามารถเข้าใจตัวตนและสร้างโปรไฟล์ของผู้ใช้ขึ้นมาอย่างละเอียดลึกซึ้งผ่านการกดไลค์ การกดอันไลค์ ดูรูปแบบการใช้ชีวิต และความคิดทางการเมือง ของผู้ใช้ และด้วยเหตุนี้ คำถามที่สำคัญก็คือ เฟซบุ๊กได้ให้ข้อมูลเหล่านี้ไปกับใครบ้าง และเราจะทวงคืนข้อมูลส่วนตัวเรากลับมาได้หรือไม่   มาลองทดสอบไอคิวของคุณกัน เราหลายคนอาจเคยเล่น ควิซ หรือ แบบทดสอบบนเฟซบุ๊ก อาจจะเป็นทดสอบบุคลิกส่วนตัวคุณ หรือไม่ก็วัดระดับสติปัญญาหรือไอคิว และแบบทดสอบที่กำลังเป็นที่ถกเถียงอยู่ในขณะนี้คือแบบทดสอบที่ชื่อ This is Your Digital Life โดยบริษัทเคมบริดจ์   อนาลิติกา ถูกกล่าวหาว่าได้ใช้แบบทดสอบนี้เพื่อดึงข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายล้านคนไปใช้เพื่อชักจูงผลโหวตการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี…

เฟซบุ๊กอึ้ง ถูกดูดข้อมูลไปใช้ในแคมเปญหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี

Loading

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (16 มี.ค.) มีรายงานว่า เฟซบุ๊ก (Facebook) โซเชียลมีเดียชื่อดัง ได้ยุติการเข้าถึงข้อมูลของบริษัท Strategic Communication Laboratories (SCL) และบริษัทด้านดาต้าอะนาไลติกส์อย่าง แคมบริดจ์ อะนาไลติกา (Cambridge Analytica) เนื่องจากพบว่ามีการเก็บและแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กประมาณ 50 ล้านคน โดยปราศจากการได้รับอนุญาตใด ๆ จากเจ้าตัว การกระทำดังกล่าวถือว่ากระทบต่อข้อกำหนดในการให้บริการของเฟซบุ๊ก และทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ข้อมูลที่บริษัทดังกล่าวเก็บไปได้นั้น ถูกนำไปใช้กับแคมเปญหาเสียงของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อปี 2016 หรือไม่ เนื่องจากมันเป็นข้อมูลจำนวนมากพอที่นักการตลาดสามารถสร้างโปรไฟล์ส่วนบุคคล รวมถึงสามารถสร้างโฆษณาที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเต็มที่ ผู้ที่ออกมาแจ้งความผิดปกติดังกล่าว คือ พนักงานในส่วน Academic ของมหาวิทยาลัย Cambridge ชื่อคริสโตเฟอร์ ไวลี่ ที่ได้มีการส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยัง The Observer และนิวยอร์กไทม์ พร้อมอธิบายว่า บริษัทมีการกระทำบางอย่างที่อาจผิดศีลธรรม การรั่วไหลของข้อมูลครั้งนี้ ได้ทำให้หลายฝ่ายจับตามากขึ้นว่า แพลตฟอร์มของเฟซบุ๊กไม่ปลอดภัย แต่เฟซบุ๊กก็ได้ออกมาชี้แจงว่า ข้อมูลที่รั่วไหลนั้นไม่ได้เกิดจากเฟซบุ๊ก ตรงกันข้าม มันเป็นการส่งผ่านข้อมูลโดยศาสตราจารย์…

ผู้เชี่ยวชาญ AI เตือนโลกระวังการพัฒนา AI สู่ด้านมืด

Loading

ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์จากหน่วยงานระดับท็อปของวงการ 26 แห่งออกรายงานเตือนโลกให้ระวังการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ในทางที่ผิดแล้ว โดยสถาบันที่ปรากฏชื่ออยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นชื่อที่หลายคนรู้จักกันดี ยกตัวอย่างเช่น องค์กรไม่แสวงกำไร OpenAI (ที่อีลอน มัสก์เคยเป็นบอร์ดแต่เพิ่งประกาศลาออกจากบอร์ดไปเมื่อเร็ว ๆ นี้), ศูนย์ศึกษาด้าน Existential Risk จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, สถาบัน Future of Humanity Institute จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด เป็นต้น สำหรับรายงานดังกล่าว มีชื่อเต็มว่า “The Malicious Use of Artificial Intelligence: Forecasting, Prevention, and Mitigation” ที่ระบุถึงความเสี่ยงของการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น อาจใช้ปัญญาประดิษฐ์ไปในการโจมตีผู้อื่น แถมด้วยความล้ำหน้าในปัญญาประดิษฐ์นั้น อาจทำให้ผู้โจมตีกระทำการได้ด้วยต้นทุนที่ถูกลง และสะดวกมากขึ้น เนื่องจากสามารถกำหนดเป้าหมายได้เป็นการเฉพาะมากขึ้นด้วย โดยในรายงานได้ชี้ว่า การโจมตีด้วย AI จะเกิดขึ้นได้ในสามรูปแบบนั่นคือ การโจมตีบนโลกดิจิทัล เช่น การปลอมเสียงเป็นบุคคลอื่น หรือการใช้ AI ในการเจาะระบบ, การโจมตีทางกายภาพ เช่น การนำโดรนขนาดเล็กที่ติดอาวุธเพื่อใช้ในการโจมตีแบบที่ปรากฏในภาพยนตร์ของเน็ตฟลิกซ์ เรื่อง Black Mirror กับการนำฝูงโดรนขนนาดเล็กมาใช้ในการสังหาร และรูปแบบการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้แบบที่สามก็คือการนำ AI…

“เพนตากอน” หวั่นแอพออกกำลังกายอาจเผยแพร่ข้อมูลที่ตั้งฐานทัพสหรัฐฯ

Loading

สหรัฐฯ กังวลเรื่องการใช้แอพออกกำลังกาย หลังพบว่ามีการเเสดงที่ตั้งของฐานทัพอเมริกันเผยแพร่ทางออนไลน์ กลาโหมสหรัฐฯ หรือ เพนตากอน (Pentagon) กำลังทบทวนแนวปฏิบัติ หลังจากบริษัท สตราวา (Strava) เผยเเพร่ Heatmap ทางออนไลน์ แสดงจุดที่ตั้งของฐานทัพสหรัฐฯ เเถลงการณ์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ชี้ว่าทางกระทรวงให้ความสำคัญอย่างมากต่อเรื่องที่เกิดขึ้น เเละกำลังทบทวนสถานการณ์เพื่อดูว่าควรมีการฝึกอบรมหรือออกเเนวปฏิบัติใหม่เพิ่มเติมแก่เจ้าหน้าที่หรือไม่ แถลงการณ์นี้ยังชี้ด้วยว่า ข้อมูลจากแอพพลิเคชั่นออกกำลังกายที่เปิดเผยออกมาล่าสุดนี้ เน้นให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ หรือทหาร ต้องตระหนักต่อผลกระทบที่ตามมา หากมีการเเชร์ข้อมูลส่วนตัวทางออนไลน์หรือทางแอพพลิเคชั่น เเละยังย้ำด้วยว่า การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทหารประจำปีได้เเนะนำว่าเจ้าหน้าที่ควรจำกัดการเผยเเพร่ประวัติส่วนตัวทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งในบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อผลกระทบจากการใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ เเละสื่อสังคมออนไลน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่กระทรวง ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำนักงานของหน่วยงานทางทหาร เเละฐานทัพสหรัฐฯ ตลอดจนที่ตั้งของที่ทำงานของหน่วยงานด้านข่าวกรอง ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ใช้อุปกรณ์อัจฉริยะทุกประเภทในขณะอยู่ในที่ทำงาน รวมทั้ง โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน เเละอุปกรณ์ติดตามดูความฟิตของร่างกาย ที่ใช้ระบบระบุจุดที่ตั้งผ่านสัญญาณดาวเทียมแบบจีพีเอส เช่น Fitbit, Garmin เเละ Polar ซึ่งล้วนช่วยให้บริษัทสตราวา (Strava) สร้างแผนที่ Heatmap ทั่วโลกที่เเสดงให้เห็นถึงเส้นทางต่างๆ ที่ผู้ใช้นิยมไปเดิน วิ่ง หรือ ปั่นจักรยาน เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสหรัฐฯได้รับการเตือนมานานหลายปีเเล้วเกี่ยวกับผลกระทบของข้อมูลทางดิจิทัล…

ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า Swisscom กว่า 800,000 ราย รั่วไหลสู่สาธารณะ

Loading

Swisscom บริษัทผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ เผลอทำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ากว่า 800,000 ราย รั่วไหลสู่สาธารณะ คิดเป็นเกือบ 10% ของประชากรประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทั้งหมด Credit: Helpnetsecurity ข้อมูลที่รั่วไหลออกสู่สาธารณะ ประกอบไปด้วยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าของ Swisscom เช่น ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, วันเดือนปีเกิด, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลอื่นๆ ซึ่ง Swisscom เองไม่ได้นิ่งนอนใจ ออกแถลงการณ์ผ่านหน้าเว็บไซต์เกี่ยวกับรายละเอียดของข้อมูลที่รั่วไหล สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ทัั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่แบบ “Non-sensitive” ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นั่นคือไม่มีข้อมูลที่ละเอียดอ่อน (Sensitive) เช่น พาสเวิร์ด, หมายเลขบัตรเครดิต, บทสนทนาต่างๆ และข้อมูลในการชำระเงิน การรั่วไหลของข้อมูลในครั้งนี้ คาดว่าเกิดจากเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของบริษัทคู่ค้าของ Swisscom ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ระบบจะบังคับให้มีการใส่ยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดก่อนเสมอเพื่อเข้าถึงข้อมูล แต่แฮ็คเกอร์น่าจะอาศัยช่องโหว่บางอย่างเพื่อหลบหลีกการยืนยันตัวตนนี้ ท้ายที่สุดแล้ว Swisscom ตัดสินใจเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มีความเข้มงวดมากขึ้น มีการเปิดใช้งานระบบยืนยันตัวตนแบบสองชั้น (Two-factor authentication) สำหรับบริษัทคู่ค้า รวมไปถึงการห้ามให้มีการค้นฐานข้อมูลลูกค้าคราวละมากๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ที่มา : techtalkthai ลิงค์ : https://www.techtalkthai.com/swisscom-data-breach-800000-customers-affected/