‘เมียนมา’ กว่าล้าน โหลดแอพ ‘Bridgefy’ เลี่ยงกองทัพตัดสัญญาณเน็ต

Loading

  “เมียนมา” กว่าล้านคน โหลดแอพพลิเคชั่น “Bridgefy” ใช้สื่อสารหลังกองทัพเมียนมาทำรัฐประหาร เลี่ยงตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตอีกในอนาคต ชาวเมียนมากว่าล้านคนโหลดแอพพลิเคชั่น “Bridgefy” (บริดจ์ไฟ) เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีฐานอยู่ในเม็กซิโก ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่า แอพฉุกเฉินยอดนิยม ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้ระบบ “Bluetooth Mesh System” ในการค้นหาคนที่เล่นบริดจ์ไฟ เหมือนกันในรัศมี 100 เมตร และเชื่อมต่อกันในห้องแชตสาธารณะ โดยไม่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ต หรือสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เช่น กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และในเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่ฮ่องกง เมื่อปีที่แล้ว ในเหตุการณ์กองทัพเมียนมาทำรัฐประหารเมื่อช่วงเช้าของวันจันทร์ (1 ก.พ.) ที่มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตในกรุงเนปิดอว์, ย่างกุ้ง และพื้นที่บางส่วนของประเทศ ฮอร์เก ริออส ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริดจ์ไฟ เปิดเผยว่า ในระหว่างเย็นวันจันทร์ถึงวันอังคารที่ผ่านมา มีผู้ดาวน์โหลดมากกว่า 1.1 ล้านคนในเมียนมา จากจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ราว 22 ล้านคน บริดจ์ไฟทวีตข้อความว่า หวังว่าประชาชนในเมียนมาจะพบว่า แอพของเรามีประโยชน์ในช่วงเวลาอันยากลำบาก แม้ว่า ขณะนี้การสื่อสารจะกลับมาใช้ได้ตามปกติตั้งแต่เย็นวันจันทร์…

ญี่ปุ่นเจ๋ง! พัฒนาระบบ AI จดจำใบหน้าแม้จะสวมใส่หน้ากากอนามัย

Loading

  ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 นี้เป็นที่แน่นอนว่าทุกคนจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่กำลังระบาด แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือในขณะที่สวมใส่หน้ากากอนามัยนั้น เราจะไม่สามารถทราบได้ว่าใครเป็นใคร ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมได้ หรือหากต้องถอดหน้ากากอนามัยเพื่อยืนยันตัวตนก็อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้เกิดนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท NEC จากประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า NeoFace Live Facial Recognition ซึ่งเป็นอัลกอริทึมที่ทำให้สามารถยืนยันตัวตนได้แม้ว่าจะใส่หน้ากากอนามัยก็ตาม โดยระบบการทำงานของเจ้าตัวอัลกอริทึมนี้จะสแกนในส่วนของใบหน้าที่ไม่ได้ถูกปกปิด และจากการคิดค้นพัฒนาจนได้ระบบที่มีประสิทธิภาพนั้นจึงทำให้การยืนยันตัวตนของ NeoFace Live Facial Recognition ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งวินาที โดยมีอัตราความแม่นยำมากกว่า 99.99% เลยทีเดียว โดยตำรวจนครบาลของญี่ปุ่นได้เป็นกลุ่มผู้ทดลองใช้ระบบของ NEC เพื่อการเปรียบเทียบใบหน้าในฝูงชน นอกจากนี้สายการบินลุฟต์ฮันซา (lufthansa) และสวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (Swiss International Air Lines) ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าของ NEC ด้วย และ NEC ยังได้ทดลองใช้ระบบสำหรับการชำระเงินอัตโนมัติที่ร้านค้าในสำนักงานใหญ่ในโตเกียวอีกด้วย     Shinya Takashima ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกแพลตฟอร์มดิจิทัลของ NEC ได้กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ระบบดังกล่าวจะทำให้ผู้คนสามารถเลี่ยงการสัมผัสกับพื้นผิวต่าง ๆ ได้ เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้คนได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้คนเกิดข้อกังวลว่า ระบบดังกล่าวจะเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือไม่…

ก้าวไปอีกขั้น! เครือข่ายส่งข้อมูลผ่านควอนตัมของจีน ส่งได้ไกล 4,600 กม.

Loading

  เหอเฝย, 7 ม.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์จีนได้สร้างเครือข่ายการส่งข้อมูลผ่านอนุภาคควอนตัมด้วยดาวเทียมแบบบูรณาการ อันประกอบด้วยสายใยแก้ว 700 เส้นและจุดเชื่อมต่อจากภาคพื้นดินสู่ดาวเทียมจำนวน 2 แห่ง ซึ่งสามารถทำการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (Quantum Key Distribution: QKD) ระหว่างผู้ใช้มากกว่า 150 รายในระยะทางรวม 4,600 กิโลเมตร งานวิจัยดังกล่าวดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นำทีมโดยพานเจี้ยนเหว่ย นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ (Nature) ออนไลน์ เครือข่ายดังกล่าว ประกอบด้วยเครือข่ายควอนตัมในพื้นที่เมืองใหญ่ หรือ คิวแมน (QMAN) จำนวน 4 เครือข่าย ได้แก่ ปักกิ่ง จี่หนาน เหอเฝย และเซี่ยงไฮ้ สายใยแก้วซึ่งเป็นเส้นทางรับส่งหลักความยาวกว่า 2,000 กิโลเมตรหนึ่งเส้น และจุดเชื่อมต่อภาคพื้นดิน-ดาวเทียม 2 แห่ง ที่เชื่อมระหว่างสถานีภาคพื้นดินซิงหลงในปักกิ่งกับสถานีภาคพื้นดินหนานซานในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน ซึ่งตั้งอยู่ไกลกัน 2,600 กิโลเมตร โดยสถานีซิงหลงยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายคิวแมนของปักกิ่งผ่านสายใยแก้วอีกด้วย กฎฟิสิกส์ควอนตัมระบุว่า การสื่อสารด้วยควอนตัมมีความปลอดภัยสูงเป็นพิเศษ เพราะไม่สามารถถูกดักฟัง…

แคสเปอร์สกี้เผยสถิติปี 2020 พบไฟล์อันตรายเกิดใหม่เฉลี่ยวันละ 360,000 ไฟล์ เพิ่มขึ้น 5.2% จากปีก่อน

Loading

ในปี 2020 แคสเปอร์สกี้ตรวจพบไฟล์อันตรายเกิดใหม่เฉลี่ยแล้ววันละ 360,000 ไฟล์ คิดเป็นเพิ่มขึ้น 5.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สาเหตุน่าจะมาจากการเติบโตขึ้นอย่างมากของโทรจัน (ไฟล์ตัวร้ายที่ก่ออันตรายได้มากมายหลายอย่าง รวมทั้งลบหรือแอบจารกรรมข้อมูลด้วย) และแบ็คดอร์ (โทรจันประเภทหนึ่งที่ผู้ก่อการร้ายสามารถเข้ามายึดควบคุมเครื่องของเหยื่อ) คิดเป็นอัตราเพิ่ม 40.5% และ 23% ตามลำดับ และนี่คือเทรนด์ที่พบในรายงาน Kaspersky Security Bulletin: Statistics of the Year Report     ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ค้นพบไฟล์อันตรายเฉลี่ยแล้ว 360,000 ไฟล์ใหม่ทุกวันในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมากกว่าปีก่อนหน้านี้ 18,000 ไฟล์ (เพิ่มขึ้น 5.2%) และเพิ่มจากปี 2018 คือ 346,000 ไฟล์ ในบรรดาไฟล์อันตรายเหล่านี้ 60.2% เป็นโทรจันทั่วไปไม่เจาะจงประเภท และพบว่ามีโทรจันเพิ่มขึ้น 40.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และยังพบแบ็คดอร์เพิ่มขึ้นด้วย รวมทั้งเวิร์ม (โปรแกรมอันตรายที่ทำซ้ำตัวเองบนระบบ) ถูกเขียนด้วยภาษา VisualBasicScript…

นักวิจัยคิดค้นวิธีการทำให้ RAM แผ่สัญญาณ Wi-Fi เพื่อลอบขโมยข้อมูล

Loading

  Mordechai Guri นักวิจัยจาก Ben-Gurion University of the Negev ในอิสราเอลได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำให้ RAM แผ่สัญญาณ Wi-Fi ออกมาเพื่อลอบขโมยข้อมูลสำคัญได้   ในสภาพแวดล้อมที่มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างเข้มงวดเช่น หน่วยงานรัฐบาลหรือทางการทหาร จะมีการแยกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลสำคัญไว้ในส่วนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต และรักษาระยะห่างจากการเข้าถึง (Air-gapped) ซึ่งล่าสุดนักวิจัยได้เผยแพร่ผลงานการโจมตีหรือ AIR-FI ที่คาดว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อมาตรการนี้ แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะไม่มีอุปกรณ์ส่งสัญญาณเลยก็ตาม แต่นักวิจัยหัวใสก็สรรค์สร้างวิธีการอันบรรเจิดออกมาจนได้ คืออย่างที่เรารู้กันว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาแน่นอน ซึ่งคลื่นสัญญาณวิทยุก็คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยนักวิจัยสามารถใช้มัลแวร์เข้าไปสร้างการผ่านของกระแสไฟฟ้าให้ RAM เกิดการแผ่สัญญาณที่ช่วงคลื่นย่าน 2.4 GHz อย่างคงที่ ส่งผลให้เมื่อนำอุปกรณ์รับสัญญาณมาอยู่ในระยะก็สามารถลอบขโมยข้อมูลออกมาได้ นอกจากนี้นักวิจัยชี้ว่าการโจมตีนี้จะสามารถใช้ได้จากสิทธิ์ในการใช้งานตามปกติไม่ต้องเป็นถึง Root หรือ Admin และยังใช้บน OS ใดหรือโจมตีจากใน VM ก็ได้ โดยทั่วไปแล้วแรมสมัยใหม่สามารถถูกทำให้แผ่สัญญาณย่าน 2.4 GHz แต่แรมรุ่นเก่าๆ สามารถ Overclock ให้มีผลลัพธ์นี้ได้เช่นกัน วิธีการนี้ถูกตีพิมพ์ในงานวิจัย “AIR-FI: Generating Covert WiFi…

บริษัทเทคโนโลยีสร้างเครื่องมือช่วยผู้รับข่าวแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูลบิดเบือน

Loading

Manchetes africanas 2 abril: Twitter e Facebook querem combater “fake news” sobre Covid-19 ในยุคที่ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ดูเหมือนจะท่วมท้นจากแหล่งที่หลากหลายโดยเฉพาะจากสื่อออนไลน์และจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดบิดเบือนทั้งจากเจตนาหรือจากความไม่จงใจก็ตาม การหาข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือได้จึงเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น ดังที่คุณจอห์น เกเบิ้ล ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของเว็บไซต์ Allsides.com ได้ตั้งข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติแล้วเราทุกคนล้วนมีอคติหรือความลำเอียงอยู่ในตัว คือมีความโน้มเอียงที่จะคิดหรือเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับ ตามประสบการณ์ที่เคยสัมผัส และจากการตีความทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ รวมทั้งจากสิ่งที่เราอาจไม่รู้หรือไม่เข้าใจด้วย และเรื่องนี้จะยิ่งเป็นปัญหาโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สำคัญหรือสำหรับเรื่องสำคัญบางอย่างซึ่งมีข่าวสารข้อมูลให้เลือกมากมายและบางครั้งข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไปไม่ว่าจะเป็นผลจากเจตนาการเผยแพร่ข้อมูลที่ปิดเบือนหรือก็ตาม คุณจอห์น แซนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเรียนรู้และผลกระทบของ Knight Foundation ชี้ว่าในขณะนี้ 80% ของคนอเมริกันมีความกังวลว่าข้อมูลที่ถูกบิดเบือนจะส่งผลต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นได้ และจากปัญหาซึ่งมาจากข่าวปลอมหรือจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนหรือแม้กระทั่งข้อมูลที่จงใจถูกเลือกมาอย่างไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่ตรงกับบริบทที่ควรจะเป็นนั้น ขณะนี้ก็มีธุรกิจด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ อย่างน้อยสองรายที่พยายามให้เครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้รับสารสามารถเปรียบเทียบและแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ได้ดีขึ้น คุณฮาร์ลีน คอร์ ซีอีโอของ Ground News เป็นตัวอย่างหนึ่งของความพยายามช่วยให้ผู้รับข่าวสารตัดสินใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้องหรือถูกบิดเบือนหรือไม่ โดย Ground News เป็นแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่อาจจะเรียกว่าเป็นแพลตฟอร์มแห่งแรกของโลกซึ่งช่วยเปรียบเทียบเนื้อหาของการรายงานข่าวด้วยการประมวลแหล่งที่มาของการรายงานเรื่องเดียวกันให้ผู้รับสารได้เปรียบเทียบ ทั้งยังมีการจำแนกและระบุจุดยืนของแต่ละสื่อให้ผู้รับสารได้พิจารณาประกอบด้วยตั้งแต่แนวซ้ายจัดจนถึงขวาจัด ตัวอย่างเช่น Ground News จัดให้นิตยสาร The New Yorker…