อียูเตือนให้ระวังการโจมตีทางไซเบอร์จากหน่วยงานที่มีรัฐสนับสนุน

Loading

เอเจนซีส์ – สหภาพยุโรปเตือนในวันพุธ (9 ต.ค.) ให้ระวังการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มหรือหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐนอกสหภาพยุโรป พร้อมบอกว่าว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องประเมินความเสี่ยงจากธุรกิจอุปกรณ์โทรคมนาคมที่มีส่วนแบ่งการตลาดที่สำคัญ ความคิดเห็นดังกล่าวปรากฏในรายงาน ซึ่งจัดทำโดยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์กับเครือข่ายมือถือ 5G ยุคใหม่ ซึ่งการเปิดตัวในเวลาที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญต่อการแข่งขันของกลุ่มอียู ในขณะที่รายงานไม่ได้เอ่ยชื่อประเทศหรือบริษัทใดๆ แต่ผู้สังเกตการณ์มักอ้างถึงประเทศจีนและผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Huawei Technologies ว่าเป็นภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น “บรรดาผู้เล่นที่มีศักยภาพ พวกที่ไม่อยู่ในสหภาพยุโรป หรือได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ จะถือว่าเป็นพวกที่มีแนวโน้มมากที่สุด ที่จะมุ่งเป้าเล่นงานเครือข่าย 5G” คณะกรรมาธิการยุโรปและฟินแลนด์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรป ระบุในแถลงการณ์ร่วม รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการให้ยุโรปสั่งแบนอุปกรณ์ของหัวเว่ย โดยบอกว่าปักกิ่งสามารถใช้ทำการสอดแนมได้ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่หัวเว่ยปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำอีก สหราชอาณาจักรซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดสหรัฐอเมริกา ยังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย เกี่ยวกับบทบาทของหัวเว่ยในเครือข่าย 5G โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติตัดสินใจเมื่อเดือนเมษายน กีดกันธุรกิจจีนรายนี้ออกจากส่วนสำคัญของเครือข่าย ———————————————————– ที่มา : MGR Online / 9 ตุลาคม 2562 Link : https://mgronline.com/around/detail/9620000097601

เมื่อสงครามเป็นไฮบริด เครื่องมือผสม-วิถีผสาน

Loading

โดย… สุรชาติ บำรุงสุข คอลัมน์ ยุทธบทความ “วิธีการทางทหารจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อถูกใช้ผสมผสานกับวิธีการที่ไม่ใช่ทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้มาตรการทางการเมือง เศรษฐกิจ ข้อมูลข่าวสาร ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม และอื่นๆ… [ในกรณีนี้] เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารจะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การปะทะของหน่วยหลักทางทหารในแนวหน้าจะค่อยๆ กลายเป็นอดีต” Lawrence Freedman นักยุทธศาสตร์ชาวอังกฤษ ในแต่ละช่วงเวลาของโลก จะเห็นได้ว่าแบบแผนของสงคราม (pattern of war) มีความแตกต่างกันออกไป แบบแผนเช่นนี้เป็นผลผลิตของปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น เมื่อโลกอยู่ในยุคอาณานิคมของศตวรรษที่ 19 การสงครามของโลกก็มีแบบแผนเป็น “สงครามอาณานิคม” (Colonial Warfare) หรือเมื่อโลกมีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม ผนวกเข้ากับพัฒนาการของเทคโนโลยีทหารแล้ว เราจะเห็นการกำเนิดของ “สงครามเบ็ดเสร็จ” (Total Warfare) ในศตวรรษที่ 20 และเมื่อเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีพัฒนาการอย่างมากในยุคสงครามเย็น สงครามที่เกิดขึ้นไม่สามารถทำการรบใหญ่ได้ ทำให้สงครามที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็น “สงครามจำกัด” (Limited Warfare) และเมื่อโลกในยุคปัจจุบันได้ก้าวสู่การปฏิวัติสารสนเทศ การสงครามของโลกก็มีทิศทางล้อไปกับการปฏิวัติดังกล่าว และทำให้เห็นถึงการมาของสงครามชุดใหม่ที่มีแบบแผนเป็น “สงครามข่าวสาร”…

แฉ แฮกเกอร์จีนเจาะโครงข่ายโทรคมนาคมตามรอย “อุยกูร์” ในเอเชีย รวมทั้ง “ไทย”

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แฮกเกอร์ซึ่งทำงานให้กับรัฐบาลจีน ได้เจาะเข้าไปในโครงข่ายโทรคมนาคมในหลายประเทศในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อติดตามชาวอุยกูร์ โดยเป็นการอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง 2 คน และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงอีก 2 คน ซึ่งทำหน้าที่ในการสอบสวนเกี่ยวกับการโจมตีดังกล่าว แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การแฮก หรือการเจาะระบบที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจารกรรมบนโลกไซเบอร์ ที่มีเป้าหมายเป็นบุคคลระดับสูง เช่น เจ้าหน้าที่ทูตและเจ้าหน้าที่ทหารต่างประเทศ แต่จีนจะพุ่งเป้าลำดับต้นๆไปกับการตามรอยการเคลื่อนไหวของชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยในจีน ที่รัฐบาลปักกิ่งเชื่อว่าเป็นภัยคุกคามต่อจีน ทั้งนี้ จีนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียง และมีชาวอุยกูร์จำนวนมากที่สุดคุมขังอยู่ในสถานที่ที่จีนเรียกว่าเป็นศูนย์ฝึกวิชาชีพ รอยเตอร์ระบุว่า ปฏิบัติการเจาะข้อมูลดังกล่าว เกิดขึ้นโดยแฮกเกอร์ชาวจีนหลายกลุ่ม ที่เจาะเข้าไปในระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในหลายประเทศ ซึ่งรวมทั้งตุรกี คาซักสถาน อินเดีย มาเลเซีย และไทย โดยประเทศเหล่านี้มักจะถูกใช้เป็นจุดแวะของชาวอุยกูร์ในการเดินทางระหว่างซินเจียงกับตุรกี ซึ่งนักเคลื่อนไหวระบุว่า เป็นความพยายามที่จะหลบหนีการถูกดำเนินคดี ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งระบุว่า กลุ่มชาวอุยกูร์ที่เดินทางพวกนี้ เป็นพวกที่จะเดินทางไปร่วมต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธในอิรักและซีเรีย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนเองยืนยันมาตลอดว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีบนโลกไซเบอร์หรือการกระทำทารุณต่อชาวอุยกูร์ ขณะที่รอยเตอร์เองไม่สามารถระบุได้ว่า ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ถูกโจมตีคือใคร ขณะที่ทางการในอินเดียและไทยต่างปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเรื่องดังกล่าว ——————————————————- ที่มา : มติชน / 17 กันยายน 2562 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_1674331

จีนทุ่มทุน 6,300 ล้านดอลลาร์สำหรับสงครามข่าวสารข้อมูลระดับโลก

Loading

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว YouTube ประกาศปิดช่อง YouTube 210 ช่องที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยเรื่องการทำงานอย่างประสานกันเพื่ออัพโหลดวิดีโอเกี่ยวกับการประท้วงในฮ่องกง โดย YouTube สันนิษฐานว่าช่องทางเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ด้านข่าวสารข้อมูลที่ปักกิ่งหนุนหลังอยู่เพื่อครอบงำมติมหาชนเกี่ยวกับการประท้วงในฮ่องกง ก่อนหน้านี้ราวหนึ่งสัปดาห์ Twitter กับ Facebook ก็ได้สั่งระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่มีแนวทางบิดเบือน เช่นเปรียบเทียบกลุ่มที่ประท้วงต่อต้านรัฐบาลในฮ่องกงว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายของรัฐอิสลาม โดย Twitter ได้ปิดบัญชี 936 บัญชีที่เริ่มส่งข้อความจากในประเทศจีน และ Facebook ก็ได้ยกเลิก 27 เพจ 3 กลุ่ม และอีก 5 บัญชีซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ Facebook เรียกว่าเป็นพฤติกรรมเสแสร้งและมีการทำงานอย่างประสานสอดคล้องกันด้วย ถึงแม้ว่าการตัดสินใจของบริษัทสื่อสังคมออนไลน์ใหญ่ทั้งสามจะไม่ค่อยเห็นได้บ่อยนัก แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อก็เตือนว่ายังมีงานที่รอให้ต้องทำอยู่อีกมาก เพราะขณะนี้การรณรงค์ระดับโลกของจีนเพื่อควบคุมข่าวสารข้อมูลไร้พรมแดนเป็นไปอย่างกว้างขวางทั้งยังคุกคามเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาธิปไตยทั่วโลกด้วย โดยคุณ Cedric Alviani ผู้อำนวยการของหน่วยงานผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนประจำเอเชียตะวันออกที่กรุงไทเปเรียกร้องให้สาธารณชนให้ความสนใจเป็นพิเศษกับแหล่งที่มาของข่าวสารข้อมูลที่ได้รับ รวมทั้งช่วยรายงานเนื้อหาที่เห็นว่านำเสนอภาพหรือเหตุการณ์ที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริงอย่างจงใจ เมื่อเดือนมีนาคมปีนี้องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนดังกล่าวได้ออกรายงานเกี่ยวกับความพยายามของจีนเพื่อสร้างระเบียบความสัมพันธ์ของสื่อในโลกยุคใหม่ และชี้ว่าการโฆษณาชวนเชื่อรวมทั้งการบิดเบือนความจริงนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาลกรุงปักกิ่งที่ใช้กับผู้ตำหนิวิจารณ์ตน อย่างไรก็ตามข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งของจีนด้านปฏิบัติการข่าวสารข้อมูลระดับโลกก็คือ ในขณะที่สื่อสังคมออนไลน์ที่สำคัญของสหรัฐ เช่น Facebook, Twitter และ YouTube นั้นไม่สามารถใช้งานอย่างเป็นทางการได้ในประเทศจีน สื่อสังคมของจีนเองเช่น Weibo และ WeChat สามารถมีบทบาทได้ทั่วโลกและมักได้รับอิทธิพลด้านเนื้อหาจากสื่อต่างๆ…