เยอรมนีบุกทลายแก๊งค้ามนุษย์เวียดนาม

Loading

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี ระดมกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 700 นาย บุกตรวจค้นบ้านพักและอาคารธุรกิจ กว่า 30 แห่ง ทั่วประเทศ เมื่อวันอังคาร เพื่อกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์จากเวียดนาม สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ว่า ปฏิบัติการจู่โจมมีเป้าหมายจับกุมผู้ต้องสงสัย 13 คน ซึ่งเป็นชาวเวียดนามทั้งหมด และถูกระบุว่าเป็นตัวการใหญ่แก๊งนำพาชาวเวียดนาม เข้าสู่เยอรมนีโดยผิดกฎหมาย อย่างน้อย 155 คน นายแอ็กเซล แบร์นาร์ด โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี เผยว่า เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 6 คนในกรุงเบอร์ลิน และรัฐซัคเซิน และอีก 4 คนจากรัฐอื่นๆ เจ้าหน้าที่หน่วยสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี เผยว่า กลุ่มผู้ต้องสงสัยร่วมขบวนการนี้ เก็บเงินจากชาวเวียดนามคนละ 5,000 – 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ (156,820 – 627,290 บาท)เพื่อเป็นค่าบริการลักลอบนำพาเข้าสู่เยอรมนี โดยผู้อพยพผิดกฎหมายเหล่านี้จำนวนมาก ลงเอยด้วยการทำงานในร้านเสริมสวย ภัตตาคาร และกรรมกรในโรงงาน เพื่อหาเงินจ่ายหนี้ค่าหัวเดินทาง…

“ปืน” ผิด ก.ม.หาซื้อง่าย ถูกใช้สนองเหตุแก้ปัญหา

Loading

เหตุการณ์ “คนร้าย” ใช้อาวุธปืนก่อความรุนแรง มุ่งประสงค์ต่อชีวิตบุคคลอื่น มีลักษณะแนวโน้มเกิดถี่มาก ต้นเหตุหนึ่ง ผู้ครอบครองอาวุธปืน โดยถูกกฎหมาย และ…ผู้เป็นเจ้าของครอบครองแบบไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ทำให้บ่อยครั้ง…มีเหตุใช้ “ปืนแก้ปัญหา”…ก่อเหตุอาชญากรรม “ฆ่ากันตายรายวัน” และยังใช้เป็นเครื่องมือระบายอารมณ์ความเครียด แม้แต่ปัญหาเล็กน้อย…ข้อพิพาทขับรถปาดหน้ากัน ก็ใช้ปืนออกมาข่มขู่ง่ายขึ้น โดยเฉพาะนับแต่เหตุบุกกราดยิง ร้านทอง จ.ลพบุรี หรือเหตุทหารคลั่งสังหารยิงผู้บริสุทธิ์ ใน อ.เมืองนครราชสีมา จนมีหนุ่มเครียดระบายอารมณ์ยิงปืน 40 นัด ซอยจุฬา 10 กทม. กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่น่าวิตกกังวลมากขึ้น สาเหตุลักษณะการนำปืนก่อเหตุนี้ “ทีมข่าวสกู๊ปหน้า 1” ได้พูดคุยกับ ครูสอนยิงปืน สนามยิงปืนสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เล่าว่า การขออนุญาตมีปืนมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง…ข้าราชการทหาร ตำรวจ ได้รับรองโดย ผู้บังคับบัญชา ในตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ เหตุผลจำเป็นที่ขออนุญาตออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ในการใช้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทำให้ทหาร ตำรวจ ขอได้ง่ายกว่าพลเรือน แต่ไม่ใช่ว่า…ทุกคนจะสมหวังเสมอไป เพราะผู้ออกใบอนุญาตอาจมองถึงหลักความจำเป็นสำคัญ เช่น ขอมีปืนขนาด…

ตัวตนข้าราชการสองหน้า แฉข้อมูลลับให้สื่อจนริชาร์ด นิกสัน ทิ้งเก้าอี้ปธน. คดีวอเตอร์เกต

Loading

(ซ้าย) ริชาร์ด นิกสัน (ขวา) มาร์ก เฟลต์ ฉากหลังเป็นภาพการจัดแสดงหลักฐานจากวาระครบ 30 ปี การงัดสำนักงานพรรคเดโมแครต ที่วอเตอร์เกต (ภาพจาก PAUL J. RICHARDS / AFP) คดีวอเตอร์เกต (Watergate) อันลือลั่นซึ่งว่าด้วยการแฉข้อมูลทางการเมือง แม้จะล่วงเลยมาหลายสิบปีแล้ว จนถึงปัจจุบัน คดีนี้ยังอยู่ในความทรงจำในฐานะเรื่องอื้อฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หรืออาจเป็นประวัติศาสตร์โลก คดีวอเตอร์เกต การแฉข้อมูลเบื้องลึกว่าด้วยการดำเนินการของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน และผู้ใกล้ชิดซึ่งกระทำการโดยผิดกฎหมายเพื่อให้มีชัยเหนือคู่แข่งทางการเมือง และชนะการเลือกตั้ง แต่จุดที่ทำให้ถูกเปิดโปง คือกรณีที่ทีมงานเข้าไปติดตั้งเครื่องดักฟังในศูนย์รณรงค์หาเสียงของพรรคเดโมแครต และถูกตำรวจจับได้ ขณะที่สื่อสารมวลชนที่รายงานเบื้องหลังของการงัดแงะครั้งนั้นอย่างต่อเนื่อง จนข้อมูลเบื้องลึกถูกเปิดโปงใหญ่โต จากคดีงัดแงะเล็กน้อยกลายเป็นคดีอื้อฉาวระดับประเทศอันเป็นผลทำให้ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และน้ำตาตกต่อหน้าการแถลงข่าว สื่อมวลชนกลุ่มที่ปฏิบัติการนี้เองมีแหล่งข่าวปริศนารายสำคัญซึ่งสาธารณชนรู้จักในนามแฝงว่า “ดีพโธรต” (Deep Throat) แล้วเขาคือใคร? หากเอ่ยถึงในข้อเท็จจริงโดยรวมแล้ว คดีวอเตอร์เกทในช่วงต้นยุค 70s มีตัวละครสำคัญที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อคดีคือบทบาทสื่อมวลชนทั้งของวอชิงตัน โพสต์ (The Washington Post) และนิวยอร์ก ไทม์ส (The New York Times) โดยเฉพาะบทบาทการทำข่าวสืบสวนสอบสวนโดยบ๊อบ…

รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มสู้คดีในอังกฤษเพื่อขอส่งตัวผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์กลับมาดำเนินคดี

Loading

Julian Assange รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มสู้คดีในศาลอังกฤษ เพื่อขอให้ส่งตัวนายจูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ (WikiLeaks) กลับมาดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนรัฐบัญญัติการจารกรรม จากการเผยแพร่เอกสารลับของราชการและกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งอ้างว่าส่งผลให้ชีวิตของคนหลายคนต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย เจมส์ ลูอิส ทนายตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ ขึ้นเบิกความในศาลกรุงลอนดอน ในวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น เพื่ออธิบายต่อศาลถึงเหตุผลที่ควรส่งตัวนายอัสซานจ์กลับสหรัฐฯ โดยระบุว่า การที่วิกิลีกส์เผยแพร่เอกสารของกองทัพและการทูต เป็นการก่อความเสียหายครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ให้กับการเก็บข้อมูลลับของทางการ รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้สนับสนุนวิกิลีกส์จำนวนหนึ่งรวมตัวกันมาประท้วงหน้าศาลที่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคุ้มกันอย่างแน่นหนา ขณะที่การเบิกความดำเนินอยู่ รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งฟ้องนายอัสซานจ์ใน 18 ข้อหา ต้องการตัวเขากลับมาเพื่อลงโทษด้วยการจำคุกสูงสุดเป็นเวลา 175 ปี สำหรับการเปิดเผยข้อมูลลับหลายแสนชิ้นต่อสาธารณะในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งนายอัสซานจ์แก้ต่างว่า เป็นการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าว ด้วยการทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงการทำความผิดโดยกองทัพสหรัฐฯ และการกระทำดังกล่าวก็ได้รับการปกป้องตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 แห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ แต่ นายลูอิสยืนยันว่า สิ่งที่ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ทำไม่ใช่เรื่องของเสรีภาพในการพูด แต่เป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และทางการสหรัฐฯ ต้องการลงโทษนายอัสซานจ์สำหรับการทำให้ชีวิตของคนหลายคนในสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรต้องตกอยู่ในอันตราย เพราะการเปิดเผยข้อมูลลับของเขา เขากล่าวด้วยว่า การกระทำของนายอัสซานจ์ ทำให้สหรัฐฯ ต้องดำเนินการย้ายถิ่นฐานชาวอเมริกันที่ทำให้หน้าที่ป้อนข้อมูลต่างๆ ให้รัฐบาลไปอยู่ที่ๆ ปลอดภัย ขณะที่มีคนหลายคนหายสาบสูญไปแล้ว…

ระวังภัย พบมัลแวร์เรียกค่าไถ่แพร่กระจายผ่านอีเมลโดยอ้างชื่อไวรัสโคโรน่า

Loading

เป็นเรื่องปกติที่ผู้ประสงค์ร้ายมักจะฉวยโอกาสนำเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เช่น ข่าวอุบัติเหตุ หรือข่าวโรคระบาด มาใช้ในการหลอกลวงขโมยข้อมูลหรือแพร่กระจายมัลแวร์ เมื่อปลายเดือนมกราคม 2563 มีรายงานการแพร่กระจายมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Emotet โดยใช้วิธีส่งอีเมลเรื่องไวรัสโคโรน่า พร้อมกับแนบไฟล์ที่มีมัลแวร์มาด้วย ผู้ใช้ในประเทศญี่ปุ่นแจ้งว่าได้รับอีเมลที่อ้างว่าส่งมาจากกระทรวงสาธารณสุข มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า โดยอีเมลฉบับดังกล่าวแนบไฟล์ Microsoft Word มาด้วย หากเปิดไฟล์แนบจะพบว่ามีสคริปต์ macro ซึ่งหากอนุญาตให้รันสคริปต์ดังกล่าว มัลแวร์เรียกค่าไถ่ Emotet จะถูกดาวน์โหลดมาติดตั้งลงในเครื่องทันที และยังถูกใช้ส่งอีเมลแพร่กระจายมัลแวร์ต่อไปยังเครื่องอื่นๆ ด้วย เทคนิคการโจมตีในลักษณะนี้จะมีมาอยู่เรื่อยๆ ผู้ใช้ควรระมัดระวังการเปิดไฟล์แนบหรือคลิกลิงก์จากอีเมลที่น่าสงสัย ไม่ควรเปิดใช้งาน macro ใน Microsoft Office หากไม่สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือของไฟล์ดังกล่าว ไม่ควรล็อกอินด้วยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ สำรองข้อมูลสำคัญ อัปเดตแอนติไวรัสและแพตช์ของระบบปฏิบัติการ รวมถึงหมั่นติดตามข่าวสารด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ ————————————————- ที่มา : ThaiCERT / 30 มกราคม 2563 Link : https://www.thaicert.or.th/newsbite/2020-01-30-02.html?fbclid=IwAR2MElzcGqOwQqmHPUa_xXmo82gCztbVq2rKS0sQxgIS5PdCHuLO_tQ7cu4#2020-01-30-02

เอกสารหลุดเผย Avast Free Antivirus เก็บข้อมูลผู้ใช้ขายให้บริษัทโฆษณา เสี่ยงละเมิดความเป็นส่วนตัว

Loading

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 สำนักข่าว Motherboard ร่วมกับ PCMag ได้เผยแพร่รายงานผลการสืบสวนกรณีโปรแกรมแอนติไวรัสของบริษัท Avast เก็บข้อมูลของผู้ใช้แล้วนำไปขายต่อให้กับบริษัทอื่น ข้อมูลหลายอย่างที่ถูกเก็บไปขาย (เช่น ประวัติการเข้าชมเว็บไซต์หรือประวัติการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต) อาจละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ทาง Motherboard และ PCMag พบเอกสารหลุดที่ระบุว่า Avast มีบริษัทลูกชื่อ Jumpshot เพื่อขายข้อมูลผู้ใช้ให้กับบริษัทขนาดใหญ่หลายราย ถึงแม้ในเอกสารจะระบุว่าทาง Avast นั้นเก็บเฉพาะข้อมูลจากผู้ใช้ที่เลือก opt-in (ยินยอมให้เก็บข้อมูลการใช้งานได้) แต่ผู้ใช้จำนวนหนึ่งก็บอกว่าไม่เคยทราบว่ามีการแจ้งขอความยินยอมในเรื่องนี้ จากรายงาน ตัวอย่างข้อมูลที่ถูกเก็บไปขาย เช่น ประวัติการค้นหาใน Google และ Google Maps, คลิปที่เข้าชมผ่าน YouTube, รวมถึงประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งในกรณีหลังนั้นมีการเก็บประวัติข้อความที่ค้นหาและประเภทวิดีโอที่รับชมด้วย ถึงแม้ในบรรดาข้อมูลที่ถูกเก็บไปนั้นจะถูกทำให้เป็นนิรนาม (anonymization) เช่น ไม่มีข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้ชัดเจน แต่ผู้เชี่ยวชาญก็วิเคราะห์ว่าทาง Jumpshot ยังจัดการกับข้อมูลได้ไม่ดีพอ จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะตรวจสอบย้อนกลับเพื่อระบุตัวตนเจ้าของข้อมูลดังกล่าวได้ ไทยเซิร์ตได้ทดลองติดตั้งโปรแกรม Avast Free Antivirus เวอร์ชัน…