Sony โดนเจาะอีกแล้ว โดยกลุ่มใหม่ ได้ข้อมูลไปกว่า 6,000 ไฟล์

Loading

มีกลุ่มแฮ็กเกอร์กลุ่มใหม่ ทำการโจรกรรมข้อมูลจากระบบของ Sony ทุกระบบด้วยการโจมตี ransomware จากข้อมูลอ้างอิงของเว็บไซต์ Cyber Security Connect เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2023 ที่ผ่านมา โดยกลุ่มที่ทำการเจาะระบบมีชื่อว่า Ransomed.vc ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่เพิ่งออกทำการประมาณช่วงเดือนกันยายน

แรนซัมแวร์บุกโจมตี Microsoft OneDrive

Loading

  บรรดาแฮ็กเกอร์ได้เลือก OneDrive เป็นเป้าหมายในการเปิดการโจมตีครั้งใหม่   OneDrive ถือเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมแชร์ไฟล์ที่ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานอย่างแพร่หลาย ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะผู้ใช้งานสามารถเรียกดูไฟล์และทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา   อีกทั้ง Microsoft เป็นเจ้าของ OneDrive ทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือ ขณะที่ Endpoint Detection and Response Program (EDR) ซึ่งเป็นโซลูชันรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังสามารถตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้   อย่างไรก็ตาม เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ได้เลือก OneDrive เป็นเป้าหมายในการเปิดการโจมตีครั้งใหม่ โดยโปรแกรม OneDrive ถูกใช้เป็นแรนซัมแวร์เพื่อเข้ารหัสไฟล์ต่าง ๆ บนเครื่องเป้าหมาย โดยไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้   Microsoft จึงได้เริ่มการแพตช์ OneDrive เพื่อหยุดการทำงานในเวอร์ชัน 23.061.0319.0003, 23.101.0514.0001 และเวอร์ชันที่ใหม่กว่านั้น โดยมีการรวบรวมกระบวนการในการโจมตี OneDrive ไว้ในเครื่องมืออัตโนมัติที่เรียกว่า DoubleDrive   การเข้าครอบครอง(Take over) บัญชี OneDrive จะเริ่มจากกระบวนการบุกโจมตีเครื่องเป้าหมายผ่านการเข้าสู่บัญชี OneDrive และจัดการกำจัด Access…

Cisco Talos พบมัลแวร์เรียกคาไถ่ Yashma ที่ใช้โจมตีองค์กรในจีน เวียดนาม และบัลแกเรีย

Loading

  Cisco Talos พบแฮ็กเกอร์เวียดนามใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวใหม่โจมตีองค์กรต่าง ๆ ในจีน เวียดนาม บัลแกเรีย และประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษอื่น ๆ อย่างน้อยตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายนเป็นต้นมา   มัลแวร์เรียกไถ่ตัวนี้อยู่ในตระกูล Yashma ซึ่งสิ้นฤทธิ์ไปตั้งแต่มีการปล่อยตัวปลดล็อกออกมา โดยเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Chaos ฉบับรีแบรนด์ที่แพร่กระจายครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2022   โดยมีการดัดแปลงให้ดาวน์โหลดจดหมายเรียกค่าไถ่มาจากใน GitHub แทนที่จะเก็บไว้ในตัวมันเอง   Talos พบว่าผู้อยู่เบื้องหลังแฮ็กเกอร์ตัวนี้ใช้ชื่อบัญชีใน GitHub ว่า nguyenvietphat และมักเขียนจดหมายเรียกค่าไถ่เป็นภาษาจีน บัลแกเรีย เวียดนาม และภาษาอังกฤษ   นอกจากชื่อบัญชีที่เป็นภาษาเวียดนามแล้ว อีเมล และองค์กรที่แฮ็กเกอร์รายนี้สวมรอยก็ตั้งอยู่ในเวียดนาม อีกทั้งช่วงเวลาที่มักจะขอให้ติดต่อตัวเองสอดคล้องกับเขตเวลาเวียดนาม   เหยื่อที่ถูกโจมตี ภาพพื้นหลังในอุปกรณ์ของตัวเองจะถูกเปลี่ยนเป็นข้อความที่ระบุว่าไฟล์ถูกเข้ารหัสทั้งหมด   มัลแวร์เรียกค่าไถ่ยังหลบระบบการตรวจจับและซอฟต์แวร์ต้านไวรัสของเป้าหมาย มีระบบต่อต้านการฟื้นฟูข้อมูล โดยเมื่อเข้ารหัสไฟล์แล้ว Yashma จะลบเนื้อหาของไฟล์ที่มีอยู่เดิมทั้งหมด     ที่มา   therecord    …

พบมัลแวร์ Daam บน Android ขโมยข้อมูลได้หลากหลาย

Loading

  CERT-IN องค์กรความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติของอินเดียได้ออกมาเตือนเกี่ยวกับมัลแวร์ตัวใหม่ของ Android ที่มีความอันตรายชื่อว่า Daam   รายงานระบุว่า Daam สามารถหลบหลีกการตรวจจับจากซอฟต์แวร์ได้ สามารถขโมยข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน หรือแม้แต่ติดตั้ง Ransomware บนอุปกรณ์เป้าหมายก็สามารถทำได้เหมือนกัน   เมื่อไหร่ก็ตามที่มัลแวร์ Daam สามารถเข้าถึงเครื่องเป้าหมายได้แล้ว มันจะสามารถเข้าถึงและดึงข้อมูลที่เป็นความลับได้หลากหลาย เช่น ประวัติการท่องเว็บ บันทึกการโทร ข้อมูลติดต่อ ภาพและวิดีโอที่ถ่าย ข้อความ SMS และไฟล์ต่าง ๆ   มันทำงานโดยหลบเลี่ยงมาตรการรักษาความปลอดภัย ทำให้ระบบตรวจจับและถอนการติดตั้งได้ยาก จากนั้นข้อมูลที่ถูกขโมยจะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ของแฮ็กเกอร์ ส่วนเนื้อหาของอุปกรณ์จะถูกเข้ารหัสโดยใช้การเข้ารหัส AES โดยทิ้งไฟล์ “.enc” และไฟล์สำหรับเรียกค่าไถ่ที่มีชื่อว่า “readme_now.txt” เอาไว้ที่เครื่องด้วย   CERT-IN ได้ให้คำแนะนำวิธีป้องกันมัลแวร์ดังกล่าวโดยการไม่ติดตั้งแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ พยายามหลีกเลี่ยงการ Side load แอปเอง รวมถึงตรวจสอบให้ดีว่าแอปที่ติดตั้งมีการร้องขอ Permission อะไรบ้าง     ที่มา Gizmochina    …

‘Royal ransomware’ โจมตีระบบไอทีเมืองแดลลัส

Loading

  ในวันนี้ ผมขอหยิบยกข่าวที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐเกี่ยวกับกรณีที่เมืองแดลลัส (Dallas) รัฐเท็กซัส ถูกโจมตีจาก “Royal ransomware” ทำให้ต้องปิดระบบไอทีบางส่วนชั่วคราวเพื่อเป็นการสกัดการแพร่กระจายของการโจมตีในครั้งนี้   อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า เมืองแดลลัส เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของสหรัฐ มีประชากรประมาณ 2.6 ล้านคน ซึ่งจุดนี้เองน่าจะเป็นสาเหตุที่ให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เลือกเมืองแดลลัสเป็นเป้าหมายในการโจมตี   โดยสื่อท้องถิ่นรายงานว่า ระบบการสื่อสารของตำรวจและระบบไอทีของเมืองถูกชัดดาวน์ เนื่องจากมีความสงสัยว่ามีการบุกโจมตีของแรนซัมแวร์   จากสถานการณ์นี้มีผลทำให้เจ้าหน้าที่ของ 911 ต้องจดบันทึกรายงานเหตุต่าง ๆ ที่ประชาชนแจ้งเข้ามาและส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแทนการส่งผ่านระบบสั่งการทางคอมพิวเตอร์โดยตรง และมีการปิดเว็บไซต์ของกรมตำรวจแดลลัสเพื่อความปลอดภัยก่อนกลับมาเปิดใช้งานอีกครั้งในเวลาต่อมา   นายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลเมืองได้รับการแจ้งเหตุการณ์การโจมตีตามแผนการตอบสนองภัยคุกคาม (IRP) โดยเครื่องมือตรวจสอบความปลอดภัยของแดลลัสได้แจ้งเตือนไปยังศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย (SOC) ว่ามีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์และได้รับการยืนยันว่าเซิร์ฟเวอร์จำนวนหนึ่งถูกแฮ็กซึ่งส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ  รวมถึงเว็บไซต์กรมตำรวจอีกด้วย   โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งจัดการแยกแรนซัมแวร์เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย เริ่มจากการลบแรนซัมแวร์ออกจากเซิร์ฟเวอร์ที่ติดไวรัสและกู้คืนบริการต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาใช้งานได้อย่างปกติ และในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็เร่งประเมินผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับประชาชน   กล่าวคือ หากประชาชนพบกับปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการสามารถโทรติดต่อ 311 แต่ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินให้โทรติดต่อ 911 และมีผลกระทบกับระบบศาลของเมืองแดลลัสที่ต้องยกเลิกการพิจารณาคดีของคณะลูกขุนเพราะระบบไอทีใช้งานไม่ได้   มีรายงานเกี่ยวกับการออกปฏิบัติการของเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์พบว่า รัฐบาลท้องถิ่นถูกแรนซัมแวร์บุกโจมตีเพิ่มเรื่อย ๆ…

รักษาความปลอดภัยอย่าวางใจ แฮ็กเกอร์ก็ชอบวันหยุด

Loading

  เมื่อถึงวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน มักเป็นช่วงเวลาที่สร้างรอยยิ้มให้กับคนทำงาน เพราะจะได้พักผ่อนและวางภาระหน้าที่จากการงานลง มีเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวมากขึ้น หรือไปเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ   แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจาก “พวกเรา” ที่ตั้งตารอวันหยุดอยางมีความสุขกันแล้ว “มิจฉาชีพ” ก็ชอบวันหยุดเช่นกัน เห็นได้จากข่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า ในช่วงวันหยุดยาวที่เราหลายคนพักผ่อน มิจฉาชีพจะออกทำงาน เช่น โจรกรรมทรัพย์สิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมีโครงการ “ฝากบ้านไว้กับตำรวจ” เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดเหตุ และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน   ในช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ก็เป็นเวลาทองของ “แฮ็กเกอร์” เช่นเดียวกัน จากข้อมูลของ Cybersecurity and Infrastructure Security Agency (CISA) และ Federal Bureau of Investigation (FBI) ระบุตรงกันว่า ในอดีตแฮ็กเกอร์มักจะโจมตีในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ คือ วันศุกร์และวันเสาร์ แต่ในปัจจุบันแฮกเกอร์จะเลือกโจมตีในช่วงวันหยุดยาวของเหยื่อในแต่ละประเทศ เช่น โจมตีเหยื่อในประเทศจีน ช่วงเทศกาลตรุษจีน โจมตีเหยื่อในประเทศญี่ปุ่น ช่วงเทศกาลโอบง เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบเช่นกัน…