องค์กรตรวจสอบหวั่น ‘แอปโอลิมปิกจีน’ ลอบเก็บข้อมูลส่วนตัวนักกีฬา

Loading

A woman wearing a face mask to protect against COVID-19 stands next to figures of the Winter Paralympic mascot Shuey Rhon Rhon left, and Winter Olympic mascot Bing Dwen Dwen on a street in Beijing, Jan. 15, 2022.   รายงานการศึกษาขององค์กรตรวจสอบด้านอินเทอร์เน็ตชี้ว่า แอปพลิเคชั่นสำหรับสมาร์ทโฟนที่คาดกันว่าจะถูกใช้อย่างแพร่หลายในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่งในเดือนหน้า มีปัญหาด้านความปลอดภัยที่อาจนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้สมาร์ทโฟนได้ สำนักข่าวเอพีรายงานว่า บริษัท ซิติเซ่น แล็บ (Citizen Lab) ได้ระบุในรายงานว่า แอป MY2022 มีจุดบกพร่องอย่างมากในด้านการเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนตัวสำคัญของผู้ใช้ ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลที่สื่อสารผ่านแอปดังกล่าวสามารถถูกแฮกได้โดยง่าย รวมทั้งอาจถูกเปิดอ่านโดยบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของจีนผ่านระบบ Wi-Fi…

“ดีอีเอส”เตือนข่าวปลอมตรวจสอบสิทธิ สปสช. ทางไลน์ check-sith ระวังถูกหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว

Loading

สปสช.ชี้เป็นการแอบอ้างหน่วยงานรัฐเพื่อหลอกดึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ประสานทางไลน์ระงับการใช้งานแล้ว พร้อมเตรียมแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างดังกล่าว น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า  ตามที่ได้มีข่าวปรากฏในสื่อออนไลน์ต่างๆ ในประเด็นเรื่อง ตรวจสอบสิทธิเกี่ยวกับ สปสช.ได้ทางไลน์ check-sith ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ โดยการส่งต่อข้อมูลระบุว่า ตอนนี้สามารถตรวจสอบสิทธิผู้ป่วยผ่านช่องทางไลน์ @check-sith ได้แล้ว เพียงแค่พิมพ์เลขบัตรประชาชน 13 หลัก และวันเดือนปีเกิด ซึ่งทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ชี้แจงว่า สปสช. ไม่เคยมีการจัดทำการสื่อสารดังกล่าว เป็นการแอบอ้างหน่วยงานรัฐเพื่อหลอกดึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน โดย สปสช. ได้มีการประสานไปยัง บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้ระงับการใช้งาน Line @check-sith แล้ว พร้อมกันนี้ทางสำนักกฎหมาย สปสช. ยังได้เตรียมแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างดังกล่าว จึงขอย้ำกับประชาชนว่า สปสช. ไม่เคยมีการสื่อสารใดๆ ผ่านช่องทางนี้     ซึ่งในกรณีที่ประชาชนต้องการที่จะตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพของตนเอง สามารถดำเนินการได้โดยผ่าน…

เดนมาร์กแฉถูกรัสเซีย-จีน-อิหร่านล้วงตับ

Loading

  หน่วยความมั่นคงเดนมาร์กออกโรงเตือน เดนมาร์กกำลังเผชิญภัยคุกคามด้านจารกรรมสูงขึ้น จากจีน รัสเซีย อิหร่าน และประเทศอื่นๆ รวมถึงในภูมิภาคอาร์กติก ที่ซึ่งชาติมหาอำนาจกำลังแสวงหาทรัพยากร และเส้นทางเดินเรือผ่าน สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ว่า รายงานของสำนักข่าวกรองและความมั่นคงแห่งชาติเดนมาร์ก (ดีเอสไอเอส) เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี ระบุว่า มีตัวอย่างจำนวนมาก สำหรับความพยายามจารกรรมเดนมาร์ก ซึ่งบทบาทโดดเด่นในเวทีโลก ทำให้กลายเป็นเป้าหมายล่อใจ นายแอนเดอร์ส เฮนริคเซน ผู้อำนวยการแผนกต่อต้านข่าวกรองของ ดีเอสไอเอส กล่าวว่า ภัยคุกคามจากกิจกรรมข่าวกรอง ของต่างชาติหลายประเทศ ต่อเดนมาร์ก กรีนแลนด์ และหมู่เกาะแฟโร สูงขึ้นในระยะไม่กี่ปีล่าสุด     กรีนแลนด์และหมู่เกาะแฟโร เป็นดินแดนอธิปไตยภายใต้ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และยังเป็นสมาชิกของสภาอาร์กติก โดยเดนมาร์กทำหน้าที่ด้านการต่างประเทศ และความมั่นคง ของดินแดนทั้งสอง รายงานฯ ระบุเหตุการณ์ในปี 2562 จดหมายปลอมที่ทำให้ดูเหมือน รัฐมนตรีต่างประเทศกรีนแลนด์ เขียนส่งถึงวุฒิสมาชิกสหรัฐรายหนึ่ง แจ้งว่า การลงประชามติเอกราชกรีนแลนด์ กำลังจะเกิดขึ้น จดหมายซึ่งมีการแชร์ลงในอินเทอร์เน็ต โดยทีมสายลับชาวรัสเซีย ดูเหมือนต้องการสร้างความสับสน…

ฝรั่งเศส สั่งปรับเงิน Google และ Facebook กว่า 8 พันล้านบาท ในประเด็นการติดตามข้อมูลของผู้ใช้งาน

Loading

  หน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัวในประเทศฝรั่งเศส สั่งปรับเงินกูเกิล (Google) และเฟซบุ๊ก (Facebook) รวมกันเป็นเงิน 210 ล้านยูโร ภายหลังทั้งสองบริษัทมีความพยายามขัดขวางผู้ใช้งานในกรณีที่ไม่ต้องการให้ติดตามพฤติกรรมและข้อมูลของผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต   Commission Nationale de l’Informatique et des Libertés หรือ CNIL ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัวในประเทศฝรั่งเศส เปิดเผยว่า หน่วยงานได้ลงดาบกูเกิล ยักษ์ใหญ่ด้านเสิร์ชเอนจินเป็นจำนวนเงิน 150 ล้านยูโร (ราว 5,800 ล้านบาท) เนื่องจากกูเกิล สร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้ใช้งาน จนทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถปิดคุกกี้ (cookies) เพื่อหยุดการติดตามพฤติกรรมการใช้งานบนโลกไซเบอร์ เฟซบุ๊ก ก็ถูกหน่วยงานของประเทศฝรั่งเศสปรับด้วยเหตุผลเดียวกัน เพียงแต่ในรายของเฟซบุ๊ก ถือว่าเบากว่ากูเกิล เพราะโดนสั่งปรับเป็นเงิน 60 ล้านยูโร (ราว 2,300 ล้านบาท) เท่านั้น หน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัว ยืนยันว่า การยอมรับการติดตามของคุกกี้ สามารถทำได้เพียงคลิกเดียว เพราะฉะนั้นแล้ว การที่จะปฏิเสธคุกกี้ ก็ต้องทำได้ง่ายพอๆ กับการกดยอมรับ ทั้งนี้ สิ่งที่กูเกิลและเฟซบุ๊กปฏิบัติกลับตรงกันข้าม…

กองทัพสวิส ยุติการใช้งาน Whatsapp ยกเหตุผลความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว

Loading

    กองทัพสวิส ออกโรงเปลี่ยนแอปพลิเคชันแชต จากเดิมที่เคยใช้วอตส์แอป (Whatsapp) มาเป็น Threema ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันท้องถิ่นของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สาเหตุที่เปลี่ยนแอปเพราะความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว   กองทัพสวิส ประกาศสั่งห้ามใช้แอปพลิเคชันชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นวอตส์แอป, ซิกแนล (Signal) และเทเลแกรม (Telegram) ในการใช้ส่งข้อความภายในองค์กร พร้อมกับสั่งให้เจ้าหน้าที่หันมาใช้แอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Threema แทน ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าว เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยบริษัทในสวิตเซอร์แลนด์ นั่นเอง   Threema เป็นแอปแชตที่เริ่มให้บริการในช่วงปี 2012 มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 10 ล้านราย รองรับทั้ง iOS และ Android   สาเหตุที่มีการออกประกาศดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากการที่กองทัพสวิส มีความกังวลต่อนโยบายความเป็นส่วนตัวของแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว แอปหลักที่ใช้งานเป็นประจำก็คือวอตส์แอป อีกทั้งกองทัพสวิสยังมีความกังวลหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ อาจสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของกองทัพสวิสได้   พร้อมกันนี้ ความกังวลของกองทัพสวิสน่าจะเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่จากวอชิงตัน ดี.ซี. สามารถเข้าถึงข้อมูลของบริษัทที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของรัฐบาลสหรัฐฯ   ขณะที่แอปพลิเคชัน Threema เป็นบริษัทที่มาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และไม่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในสหรัฐอเมริกา…

อัปเดตพลาด เซิร์ฟเวอร์มหาลัยเกียวโต ทำข้อมูลวิจัยหายกว่า 77 TB

Loading

เคยหงุดหงิดเพราะไฟล์งานหายไหม ? . เชื่อเถอะว่าแค่ไฟล์ไม่กี่ไฟล์ก็อาจเปลี่ยนชีวิตคนหนึ่ง ๆ ได้เลย แต่ถ้าเทียบกับเคสนี้แล้ว คงอาจเปลี่ยนชีวิตของใครหลายคน เมื่อมหาลัยวิทยาลัยเกียวโต ทำข้อมูลการวิจัยกว่า 77 TB หายไป จากการอัปเดตซอฟต์แวร์ภายในเซิร์ฟเวอร์ . เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการอัปเดตซอฟต์แวร์ที่ผิดพลาดสำหรับระบบสำรองข้อมูล โดยบังเอิญไปลบไฟล์ 34 ล้านไฟล์ในระยะเวลาสองวัน . ต้นเหตุของการสูญเสียข้อมูลมาจากสคริปต์ที่ผิดพลาด ซึ่งเดิมที่ตั้งใจจะลบไฟล์บันทึกเก่าที่ไม่จำเป็นออกจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดตซอฟต์แวร์ แต่มันจบลงด้วยการลบข้อมูลการวิจัยกว่า 77 TB และมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ . อย่างไรก็ตาม ซัพพลายเออร์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเกียวโต Hewlett Packard Japan (HPE) ได้ออกมายอมรับความรับผิดชอบ 100 เปอร์เซ็นต์สำหรับเหตุการณ์นี้และได้ออกจดหมายขอโทษไปให้กับมหาวิทยาลัยแล้วครับ . งานนี้ได้แต่ภาวนาให้พวกเขากู้ข้อมูลกลับมาได้หรือมีการ Backup ข้อมูลไว้บ้างแล้วนะ… . ที่มาข้อมูล https://www.techspot.com/news/92822-japanese-university-loses-77tb-research-data-following-buggy.html     ที่มา : techhub        /  วันที่เผยแพร่ 4 ม.ค.2565…