ครม.เคาะลักษณะ-กิจการ-หน่วยงานที่ยกเว้นไม่ให้นำ PDPA มาใช้บังคับ

Loading

  รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สนช.) และสำนักงานอัยการสูงสุด ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ การจัดเก็บภาษีของหน่วยงานรัฐ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การดำเนินการของหน่วยงาน ศาล อัยการ และผู้บังคับใช้กฎหมาย โดยมิให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 (การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) หมวด 3 (สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล) หมวด 5 (การร้องเรียน) หมวด 6 (ความรับผิดทางแพ่ง) และหมวด 7 (บทกำหนดโทษ)…

Hacker อ้างว่า ได้ขโมยข้อมูลพลเรือนจีนกว่า 1,000 ล้านรายการ

Loading

  คำอ้างจาก Hacker ถึงจำนวนข้อมูลกว่า 1,000 ล้านรายการ ถ้าเป็นความจริงจะเป็นการละเมิดข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ประเทศจีนมีประชากรมากที่สุดในโลกกว่า 1,400 ล้านคน ถ้าเทียบกับจำนวนข้อมูลที่ถูกขโมยไปตามคำอ้างของ Hacker นั่นหมายถึง 3 ใน 4 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ Hacker ได้โพสว่า ในปี 2022 ฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเซี่ยงไฮ้ (SHGA) รั่วไหล ฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลจำนวน TB และข้อมูลเกี่ยวกับพลเมืองจีนหลายพันล้านคน ประกอบไปด้วยฐานข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับพลเมืองชาวจีน 1,000 ล้านคนและบันทึกคดีหลาย 1,000 ล้านเรื่อง ซึ่งรวมถึง ชื่อ ที่อยู่ บ้านเกิด หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ รายละเอียดอาชญากรรม/คดีทั้งหมด โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิรนาม ซึ่งระบุว่าเป็น “ChinaDan” ยังได้โพสเสนอขายข้อมูลเหล่านี้บน Breach Forums ซึ่งมีขนาดข้อมูลมากกว่า 23 Terabytes ด้วยราคา 10 bitcoin หรือ 287,431 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ความคิดเห็นเกี่ยวกับคำอ้างนี้…

ฮือฮา!! มอสโก “จับ” นักวิทยาศาสตร์รัสเซียชื่อดังไม่ต่ำกว่า 2 คน แอบเป็นสายลับให้ “ปักกิ่ง” ส่งข้อมูลอาวุธไฮเปอร์โซนิกให้จีน

Loading

  รอยเตอร์/เอเจนซีส์ – มาจนถึงวันเสาร์ (2 ก.ค.) มอสโกจับกุมนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังรัสเซียไม่ต่ำกว่า 2 คน จากเขตไซบีเรีย ในข้อหาแอบเป็นสายลับให้ปักกิ่งส่งผ่านข้อมูลลับเกี่ยวข้องกับอาวุธไฮเปอร์โซนิกโปรเจกต์สุดหวงของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ให้จีน รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้ (2 ก.ค.) ว่า แหล่งข่าวใกล้ชิดการสอบสวนเปิดเผยว่า ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มอสโกได้จับกุมนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังรัสเซียเข้าเรือนจำในข้อหาเป็นสายลับให้รัฐบาลจีนไปแล้วถึง 2 คน อนาโตลี มาสโลฟ (Anatoly Maslov) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิทยาศาสตร์เครื่องกลทฤษฎีและการประยุกต์ในโนโวซีบีสค์ โนโวซีบีสค์ (Novosibirsk) เขตไซบีเรีย ตั้งห่างจากกรุงมอสโกออกไปราว 2,800 กิโลเมตร โดยมาสโลฟถูกจับและส่งตัวมายังเรือนจำในกรุงมอสโก เพื่อให้สำนักงานสอบสวนกลางรัสเซีย FSB ทำการสอบสวน สำนักข่าวทาซ (TASS) ของรัสเซียรายงาน แหล่งข่าวเปิดเผยว่า “มาสโลฟถูกต้องสงสัยว่าได้ส่งผ่านข้อมูลความลับของรัฐ” แหล่งข่าวเปิดเผยและชี้ว่า ข้อมูลความลับเกี่ยวข้องกับอาวุธไฮเปอร์โซนิก ทั้งนี้ พบว่าสำนักข่าวรัสเซียไม่กี่แห่งรายงานว่ามาสโลฟถูกจับกุมในวันที่ 28 มิ.ย. และการจับกุมของเขาเกิดขึ้นสัปดาห์เดียวกันกับนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังรัสเซียอีกคนคือ ดมิตรี โคลเคอร์ (Dmitry Kolker) นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงของรัสเซียด้านเทคโนโลยีเลเซอร์ประจำมหาวิทยาลัยสเตทโนโวซีบีสค์…

ผู้บริหาร TikTok ยอมรับพนักงานในประเทศจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาได้

Loading

  ติ๊กต่อก (TikTok) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยมของโลก ออกมายอมรับอย่างเป็นทางการว่า พนักงานที่อยู่ในประเทศจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกาได้ แต่อยู่ภายใต้การควบคุมความปลอดภัยอย่างเข้มงวด   ยังคงเป็นประเด็นอย่างต่อเนื่องสำหรับกรณีของติ๊กต่อก ซึ่งเคยมีรายงานก่อนหน้านี้ว่า พนักงานไบต์แดนซ์ (ByteDance) บริษัทแม่ของติ๊กต่อกในประเทศจีนบางส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาได้ ก่อนที่โฆษกของติ๊กต่อกจะออกมายอมรับว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริง แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวด   Shou Zi Chew ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของติ๊กต่อก ได้เขียนจดหมายถึงวุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ จำนวน 9 คน เพื่อตอบคำถามที่พวกเขาสงสัยในประเด็นเรื่องของความมั่นคงจากการที่ พนักงานไบต์แดนซ์ในประเทศจีน สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานในสหรัฐฯ ได้   ผู้บริหารสูงสุดของติ๊กต่อก ได้ตอบคำถามที่เป็นคำถามสำคัญของวุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ มากที่สุด นั่นคือ เรื่องของการแบ่งปันข้อมูลให้กับรัฐบาลจีน ซึ่ง Shou Zi Chew ยืนยันว่า ไม่มีการแบ่งปันข้อมูลใดๆ ให้กับรัฐบาลจีน พร้อมทั้งบอกด้วยว่า ติ๊กต่อกมีการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเข้มงวด   ในเวลาเดียวกัน ติ๊กต่อก ได้มีการทำความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งข้อมูลของผู้ใช้งานติ๊กต่อกในสหรัฐอเมริกา ได้จัดเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ของบริษัทออราเคิล (Oracle) นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ของติ๊กต่อกหลังจากนี้…

มุกใหม่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถามอาการหลังฉีดวัคซีน ล้วงข้อมูลส่วนตัว

Loading

  โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เตือนอย่าหลงเชื่อ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ โทรถามอาการหลังฉีดวัคซีน ล้วงข้อมูลส่วนตัว   วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้รับแจ้งว่า มีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานด้านสาธารณสุข เช่น ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ โรงพยาบาลพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก โทรศัพท์ไปยังประชาชน เพื่อสอบถามอาการ หลังฉีดวัคซีนโควิด   เบื้องต้น จากการตรวจสอบโทรศัพท์ พบว่า ไม่ใช่เบอร์โทรศัพท์จริงของหน่วยงานนั้นๆ และหน่วยงานดังกล่าวไม่มีการโทรศัพท์ติดตามอาการภายหลังการฉีดวัคซีนแต่อย่างใด   นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวด้วยว่า การติดตามอาการหลังฉีดวัควีนนั้น จะมีการติดตามผ่านแพลตฟอร์ม “หมอพร้อม” ไม่มีการโทรศัพท์ติดตามอาการ จึงขอเตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อ บอกข้อมูลส่วนตัวใด ๆ กับผู้ที่โทรมาทั้งสิ้น   เนื่องจากอาจตกเป็นเหยื่อในการโอนเงิน หรืออาจถูกนำข้อมูลไปสวมรอยกระทำความผิดหรือก่ออาชญากรรมอื่น ๆ ได้ และหากสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่ ขอให้สอบถามกับหน่วยงานที่ถูกอ้างถึงโดยตรงก่อน    …

ด่วน! ตร.จับ ‘ธนาพล อิ๋วสกุล’ บก.ฟ้าเดียวกัน ข้อหาเปิดเผยความลับกระทบความปลอดภัยประเทศ

Loading

  ตำรวจนำหมายจับ รวบตัว ‘ธนาพล อิ๋วสกุล’ บก.ฟ้าเดียวกัน ข้อหาเปิดเผยเอกสารสิ่งต่าง ๆ ที่ปกปิดไว้สำหรับความปลอดภัยประเทศ และคดี พ.ร.บ.คอมพ์ ก่อนพาตัวไป บก.ปอท.ภาค 3   เมื่อเวลา 16.15 น. วันที่ 29 มิถุนายน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เข้าแสดงหมายจับต่อ นายธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ถึงที่ทำการสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน   ต่อมาเวลา 16.45 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวนายธนาพลไปที่ บก.ปอท.ภาค 3 โดยไม่รอให้ทนายพบผู้ถูกจับกุม ซึ่งขณะนี้ได้ประสานทนายความให้ติดตามไปแล้ว   สำหรับหมายจับดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้   “ด้วย นายธนาพล อิ๋วสกุล ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐานการกระทำใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความเอกสารหรือสิ่งใด ๆ อันปกปิดเป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ, การกระทำใด…