จีนตั้งข้อหาผู้บริหารบริษัทยาชาวญี่ปุ่น ฐานจารกรรม บั่นทอนความสัมพันธ์ 2 ชาติ

Loading

นายฮิโรชิ นิชิยามะ ผู้บริหารบริษัทยาชาวญี่ปุ่นที่ถูกควบคุมตัวในกรุงปักกิ่ง ในฐานะผู้ต้องสงสัยในคดีจารกรรม ได้ถูกตั้งข้อหาอย่างเป็นทางการแล้ว โดยคดีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับจีน อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในจีนอีกด้วย

แคนาดาแบนแอปฯ “วีแชต” จากอุปกรณ์ของรัฐบาล

Loading

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทางการแคนาดาสั่งแบนแอปพลิเคชันส่งข้อความของจีน “วีแชต” (WeChat) และโปรแกรมป้องกันไวรัสของรัสเซีย “แคสเปอร์สกี” (Kaspersky) บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของรัฐบาล โดยระบุว่า มีความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย แต่กล่าวว่าข้อมูลของรัฐบาลยังคงปลอดภัย

‘กาตาร์’ ตัดสินประหาร ‘ชาวอินเดีย’ 8 ราย ข้อหา ‘สายลับอิสราเอล’

Loading

กาตาร์ตัดสินประหารชีวิตอดีตทหารเรือชาวอินเดีย 8 ราย หลังพบมีความผิดจริงโทษฐานสอดแนมโครงการเรือดำน้ำของกาตาร์ให้กับอิสราเอล ขณะรัฐบาลอินเดีย ประกาศหาทางเลือกทางกฎหมายทั้งหมด เพื่อช่วยชีวิตทั้ง 8 คน สำนักข่าวไฟแนนเชียล ไทมส์รายงานว่า กาตาร์ไม่ได้ออกแถลงการณ์คำตัดสินดังกล่าวต่อสาธารณชน

ศรีลังกาไฟเขียวเรือจีนสำรวจทางทะเล แม้อินเดียกังวลเป็นพาหนะสอดแนม

Loading

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ว่ากระทรวงการต่างประเทศศรีลังกาออกแถลงการณ์ ว่าอนุญาตให้เรือสำรวจ “ซื่อ เยี่ยน 6” ( Shi Yan 6 ) ของจีน ซึ่งจอดเทียบท่าในกรุงโคลัมโบ เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา สามารถดำเนินการสำรวจทางทะเล ในเขตชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศ “ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด” เป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยให้เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 30 ต.ค.

ไต้หวันสั่งคุก 20 ปี “นายพันทัพฟ้า” ตั้งหน่วยล้วงตับ-สืบราชการลับส่งข้อมูลให้จีน

Loading

บีบีซี รายงานวันที่ 27 ต.ค. ว่า ศาลไต้หวันพิพากษาจำคุก 20 ปี พันเอก (เทียบเท่านาวาอากาศเอก) หลิว เฉิงซู เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพอากาศไต้หวันที่เกษียณอายุราชการ เป็นเวลา 20 ปี ตามความผิดฐานลักลอบจัดตั้งหน่วยสืบราชการลับและสอดแนมข้อมูลทางการทหารส่งให้จีน

จีนเตรียมปรับปรุงกฎหมายการรักษาความลับของรัฐครั้งใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ

Loading

เมื่อ 25 ต.ค.66 จีนเผยแพร่รายละเอียดของร่างกฎหมายว่าด้วยการรักษาความลับของรัฐฉบับปรับปรุง โดยเพิ่มมาตราใหม่ครอบคลุมด้านการศึกษา เทคโนโลยี และการใช้อินเทอร์เน็ต ไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหาร นับเป็นการปรับปรุงร่างกฎหมายการรักษาความลับของรัฐครั้งใหญ่ครั้งที่สองตั้งแต่ประกาศใช้ปี 2531