พบมัลแวร์ทำลายล้างอุปกรณ์ IoT ใหม่ ‘Silex’ คาดฝีมือแฮ็กเกอร์วัย 14 ปี

Loading

Larry Cashdollar นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Akamai ได้รายงานพบมัลแวร์ประเภททำลายล้างตัวใหม่ โดยให้ชื่อว่า ‘Silex’ ที่ได้เข้าไปลบพื้นที่บนอุปกรณ์ IoT หรือปฏิบัติการอื่นที่ทำให้อุปกรณ์ไม่สามารถใช้การได้ โดยหลังจากมัลแวร์ปฏิบัติการได้เพียงไม่กี่ชั่วโมงมีอุปกรณ์ถูกโจมตีแล้วกว่า 2,000 ชิ้น Silex ได้อาศัยใช้ Default Credentials เพื่อล็อกอินเข้าไปทำลายล้างอุปกรณ์ โดยฟีเจอร์ที่พบมีดังนี้ เขียนค่าสุ่มจาก /dev/random ไปยังพื้นที่ Mount Storage ที่ค้นพบ ลบการตั้งค่าของเครือข่าย เช่น rm -rf / Flush ค่าใน iptable และเพิ่ม Rule เพื่อตัดทุกการเชื่อมต่อทิ้งจากนั้นก็ทำให้อุปกรณ์หยุดทำงาน นักวิจัยกล่าวว่า “มัลแวร์จ้องเล่นงานระบบที่คล้าย Unix โดยใช้ Default Credentials” นอกจากนี้ยังเสริมว่า “IP Address ที่เข้ามาโจมตี Honeypot นั้นมาจาก VPS ที่ตั้งในอิหร่านจาก novinvps.com” ทั้งนี้ปัจจุบัน IP ดังกล่าวถูกเพิ่มเข้าไปในบัญชีดำแล้ว นอกจากนี้สำหรับเหยื่อที่ถูกโจมตีจำเป็นต้องเข้าไปลง…

เตือนผู้ใช้ VLC เล่นไฟล์วิดีโอแปลกปลอมเสี่ยงถูกแฮ็กได้

Loading

Symeon Paraschoudis นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Pen Test Partners ออกมาแจ้งเตือนถึงช่องโหว่บน VLC แอปพลิเคชันสำหรับเล่นวิดีโอยอดนิยม ซึ่งช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถเข้าควบคุมระบบคอมพิวเตอร์จากระยะไกล ถ้าผู้ใช้เผลอเล่นไฟล์วิดีโออะไรก็ไม่รู้ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต Paraschoudis พบว่า VLC เวอร์ชันก่อน 3.0.7 มีช่องโหว่ความรุนแรงระดับสูงถึง 2 รายการ และช่องโหว่ความรุนแรงระดับปานกลางและต่ำอีกไม่รู้กี่รายการ ซึ่งช่องโหว่เหล่านี้อาจนำไปสู่การโจมตีแบบ Arbitrary Code Execution ได้ ช่องโหว่ความรุนแรงระดับสูงประกอบด้วย CVE-2019-12874 ซึ่งเป็นช่องโหว่ประเภท Double-free บนฟังก์ชัน zlib_decompress_extra ของ VLC อาจถูกโจมตีได้เมื่อมีการ Parse ไฟล์ MKV ที่ถูกปรับแต่งมาเป็นพิเศษภายใน Matroska Demuxer และ CVE-2019-5439 ซึ่งเป็นช่องโหว่ Read-buffer Overflow บนฟังก์ชัน ReadFrame อาจถูกโจมตีได้เมื่อใช้ไฟล์ AVI ที่ถูกปรับแต่งมาเป็นพิเศษ จากการ PoC โดยใช้ช่องโหว่ทั้งสอง เพียงแค่สร้างไฟล์วิดีโอ MKV หรือ AVI ขึ้นมาเป็นพิเศษ แล้วหลอกให้ผู้ใช้เล่นไฟล์นั้นๆ…

พี่เห็น (ข้อมูล) หนูด้วยหรอคะ?

Loading

เคยไหมที่จู่ ๆ ก็มีคนรู้ข้อมูลบางเรื่องของเราจากโลกออนไลน์ ทั้ง ๆ ที่เรามั่นใจว่าปกปิดไว้อย่างดีแล้ว? เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยพบกับเหตุการณ์นี้ด้วยตัวเองจนเกิดข้อสงสัยขึ้นมา เมื่อไม่นานมานี้มีผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งหนึ่งได้โพสต์เล่าว่า เธอบังเอิญไปรับรู้รายละเอียดการสั่งซื้อสินค้าของคนรู้จักภายในแอปพลิเคชันหนึ่งได้ ทั้งที่คนรู้จักนั้นใช้นามแฝงในการสั่งซื้อแล้วก็ตาม จนสุดท้ายพบว่า ภายในแอปพลิเคชันมีการตั้งค่าพื้นฐานของข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้เป็นสาธารณะ “ข้อมูลส่วนตัว” ทำอย่างไรไม่ให้รั่วไหลในโลกออนไลน์? หลายท่านคงสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ข้อมูลส่วนตัวของเราไม่ถูกเปิดเผยแก่คนอื่น ๆ ที่อาจเป็นคนรู้จักหรืออาจเป็นผู้ไม่หวังดี ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด 2 ขั้นตอนที่ควรทำและศึกษารายละเอียดอย่างรอบครอบก่อนทำการเลือกใช้แอปพลิเคชัน หรือ แพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ได้แก่ 1) อ่านนโยบายการใช้ข้อมูลบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันอย่างละเอียด  นโยบายการใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันจะแสดงให้เห็นถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการของแต่ละแพลตฟอร์มว่ามีกฎข้อบังคับการใช้งานอย่างไร รวมทั้งเรื่องของนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลว่าบริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มนั้น ๆ มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรและเก็บข้อมูลของเราเพื่อประโยชน์อะไร รวมทั้งเรื่องการจำกัดความรับผิดชอบจากการใช้งานในกรณีใดบ้าง ส่วนใหญ่แล้วบริษัทผู้ให้บริการจะสอบถามความยินยอมข้อตกลงดังกล่าวในขั้นตอนการสมัครเข้าใช้บริการ ซึ่งขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในการใช้งานเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มใด ๆ ก็ตาม  จาก รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561 โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA พบว่า มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 63.3% เคยอ่านข้อตกลงเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบหรือนโยบายการใช้ข้อมูล แต่ในกลุ่มผู้ที่ตอบว่าเคยอ่านข้อตกลง มีเพียง 12.3% เท่านั้นที่อ่านอย่างละเอียด อีก 36% จะอ่านเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ ในขณะที่ 51.7% อ่านเป็นบางส่วนเท่านั้น ในส่วนนี้เองที่อาจทำให้ผู้ใช้งานไม่ทราบถึงรายละเอียดการนำข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ไปใช้และมีข้อจำกัดอย่างไร 2) สำรวจข้อมูลการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันอย่างละเอียด หลังจากอ่านนโยบายการใช้ข้อมูลบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันอย่างละเอียดแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเริ่มใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ก่อนการใช้งานเราควรศึกษาและสำรวจการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอย่างละเอียดก่อนว่ามีข้อมูลส่วนใดที่จะเปิดเผยสู่สาธารณะและเราจะยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนนั้นหรือไม่…

เว็บไซต์ฟิชชิ่งเกินครึ่งใช้ HTTPS แล้ว ดูไอคอนกุญแจอย่างเดียวไม่ได้ต้องตรวจสอบโดเมนเว็บไซต์ด้วย

Loading

ก่อนหน้านี้หนึ่งในคำแนะนำในการตรวจสอบเว็บไซต์ฟิชชิ่ง (Phishing – เว็บไซต์ปลอมที่ทำขึ้นมาหลอกขโมยข้อมูล) คือการดูว่าเว็บไซต์ดังกล่าวนั้นใช้การเชื่อมต่อแบบที่มีการเข้ารหัสลับข้อมูลหรือไม่ ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายโดยการเชื่อมต่อจะเป็นแบบ HTTPS และมีไอคอนรูปกุญแจอยู่ตรงแถบที่อยู่เว็บไซต์ สาเหตุของข้อแนะนำนี้เกิดจากในสมัยก่อนนั้นการขอใบรับรองดิจิทัลเพื่อให้เว็บไซต์สามารถใช้ HTTPS ได้นั้นมีราคาแพงและมีเงื่อนไขการขอที่ค่อนข้างเข้มงวด ส่วนใหญ่จึงมีเฉพาะเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเงินหรือเว็บไซต์ที่มีการรับส่งข้อมูลสำคัญที่มีการใช้งาน HTTPS ไม่ค่อยพบเว็บไซต์ฟิชชิ่งที่ใช้เทคนิคนี้เท่าไหร่นักเนื่องจากยังไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังค่าใช้จ่ายในการขอใบรับรองดิจิทัลเพื่อทำเว็บไซต์ให้รองรับ HTTPS นั้นเริ่มถูกลง (หรือแม้กระทั่งสามารถขอได้ฟรี) จึงเริ่มมีการพบเว็บไซต์ฟิชชิ่งที่ใช้ HTTPS เพิ่มมากขึ้น (ข่าวเก่า https://www.thaicert.or.th/newsbite/2019-04-17-01.html) เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2562 บริษัท PhishLabs ได้เปิดเผยสถิติเว็บไซต์ฟิชชิ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 พบว่าเกินครึ่ง (58%) ใช้ HTTPS แล้ว และมีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลดังกล่าวน่าจะพอสรุปได้ว่าปัจจุบันคำแนะนำให้ตรวจสอบว่าเว็บไซต์ใช้การเชื่อมต่อแบบ HTTPS หรือไม่นั้นไม่สามารถใช้ยืนยันได้อีกต่อไปแล้ว ในทางเทคนิคแล้ว เว็บไซต์ที่ใช้การเชื่อมต่อแบบ HTTPS นั้นหมายความว่าข้อมูลที่รับส่งระหว่างผู้ใช้กับตัวเว็บไซต์นั้นถูกเข้ารหัสลับไว้ บุคคลอื่นไม่สามารถดักอ่านหรือแก้ไขข้อมูลที่อยู่ระหว่างทางได้ อย่างไรก็ตาม การรับส่งข้อมูลอย่างปลอดภัยนั้นไม่ได้เป็นการยืนยันว่าข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งให้กับผู้ให้บริการตัวจริงหรือส่งไปยังเว็บไซต์ที่ถูกต้องแต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อเว็บไซต์ฟิชชิ่ง ผู้ใช้ควรตรวจสอบโดเมนและที่อยู่ของเว็บไซต์ให้ถูกต้องทุกครั้งก่อนกรอกข้อมูลหรือดำเนินการใด ๆ ————————————————– ที่มา : ThaiCERT /…