สื่อนอกรายงาน “ไทย” ก้าวหน้าใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าสู้ก่อการร้ายภาคใต้ แต่กลุ่มสิทธิฯออกมาค้าน “เลือกปฎิบัติ”

Loading

เอเอฟพี/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – กลายเป็นที่ฮือฮาบวกกับความไม่พอใจเกิดขึ้นเมื่อพบว่า ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในภาคใต้ซึ่งมีประชากรมุสลิมส่วนมากถูกรัฐบาลไทยออกคำสั่งให้ทำการส่งภาพถ่ายไปให้ทางการเพื่อใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ( facial recognition software) ในการขุดรากถอนโคนกลุ่มผู้ก่อการไม่สงบ หากผู้ใช้รายใดไม่ทำตามจะถูกสั่งตัดสัญญาณมือถือ หมดเขตลงทะเบียน 31 ต.ค นี้ แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนมุสลิม สถาบันข้ามวัฒนธรรม( Cross Cultural Foundation) ออกมาโต้วานนี้(25 มิ.ย) ถือเป็นการเลือกปฎิบัติ และเทคโนโลยีนี้ยังมีปัญหาเป็นต้นว่า ในสหรัฐฯ เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าของแอมะซอนที่เสนอให้ทางตำรวจสหรัฐฯใช้ทำงานผิดพลาด ระบุใบหน้าของสมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐฯ 28 คนเป็นผู้ต้องหากระทำความผิด  เอเอฟพีรายงานวันนี้(26 มิ.ย)ว่า ทางรัฐบาลไทยใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจดจำใบหน้า (facial recognition software )ในการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ที่มีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนมุสลิมเชื้อสายมาเลย์เป็นตัวการลอบวางระเบิดทำให้ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนับครั้งไม่ถ้วน แต่ทว่าคำสั่งให้ประชาชนที่อาศัยในภาคใต้และมีโทรศัพท์มือถือต้องลงทะเบียนกับทางการด้วยการส่งรูปถ่ายไปให้นั้นสร้างความไม่พอใจ ซึ่งทางโฆษกกองทัพได้ออกมากล่าวปกป้องในวันพุธ(26) ชี้ว่า นโยบายการใช้ระบบจดจำใบหน้าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อต้องการถอนรากถอนโคนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์จุดระเบิด ทั้งนี้พบว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส นับตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมาอยูในความไม่สงบจากฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชื้อสายมาเลย์ ซึ่งความรุนแรงในภูมิภาคได้คร่าชีวิตคนไปแล้วกว่า 7,000 คน ส่วนใหญ่เป็นพลเรือนชาวมุสลิมและชามพุทธในพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคงได้ทำการจับกุมผู้ต้องสงสัยว่าอาจเป็นกลุ่มกบฎโดยที่ไม่ใช้หมายมาแล้วเมื่อครั้งอดีต แต่ในเวลานี้บริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้รับคำสั่งจากกองทัพให้ผู้ใช้จำนวนร่วม 1.5…

ร้อนระอุขึ้นเข้าไปอีก สหรัฐถล่มระบบควบคุมขีปนาวุธอิหร่าน

Loading

สหรัฐเปิดฉากโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบควบคุมขีปนาวุธของอิหร่าน และโจมตีเครือข่ายสายลับของอิหร่านในเวลาเดียวกัน คาดว่าเพื่อตอบโต้ที่อิหร่านยิงโดรนของสหรัฐตก The Washington Post รายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้สั่งการให้หน่วยปฏิบัติการไซเบอร์ของสหรัฐลอบโจมตีอิหร่าน จนทำให้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการยิงจรวดและขีปนาวุธใช้การไม่ได้ ขณะที่ Yahoo News รายงานว่าเครือข่ายข่าวกรองของอิหร่านที่สอดแนมความเคลื่อนไหวของเรือในอ่าวเหอร์เซียถูกโจมตีเช่นกัน ด้านสำนักข่าว Fars ของอิหร่านรายงานว่า ในเวลานี้ยังไม่ชัดเจนว่าการโจมตีส่งผลกระทบมากเพียงใด แต่ตอบโต้ว่าสื่อในสหรัฐพยายามที่จะรายงานข่าวเพื่อสร้างกระแสให้สาธารณชนเห็นว่าสหรัฐทำการสำเร็จ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนจากความอับอาย หลังจากที่โดรนสหรัฐถูกอิหร่านยิงตก การโจมตีโดรนของสหรัฐเกิดขึ้นหลังจากการโจมตีของเรือบรรทุกน้ำมันในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งสหรัฐอ้างว่าเป็นฝีมือของอิหร่าน แต่อิหร่านปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว กรณีที่เกิดขึ้นทำให้สหรัฐใช้เป็นข้ออ้างส่งกำลังทหารเข้าไปประจำการเพิ่มในอ่าวเปอร์เซีย ส่วนกรณีการยิงโดรนของสหรัฐ อิหร่านอ้างว่าโดรนดังกล่าวรุกล้ำน่านฟ้า แต่สหรัฐปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม พลจัตวา อาบอลฟาซี เชการ์ชี ในกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติของอิหร่าน แสดงความเห็นว่าโดรนอาจล่วงล้ำเข้ามาโดยบังเอิญ แต่การส่งโดรนสอดแนมเข้ามาในน่านฟ้าสากล ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ล่วงละเมิดอยู่ดี ด้านพล. ต. โกลามาลี ราชิด ของอิหร่านเตือนสหรัฐว่า หากสหรัฐก่อสงครามกับอิหร่านจะส่งผลกระทบทั่วทั้งภูมิภาคอย่างที่ไม่อาจควบคุมได้ ทั้งนี้ ภาพประกอบรายงานข่าว คือการยิงขีปนาวุธของกองทัพเรืออิหร่าน ระหว่างการฝึกซ้อมทางทหารในอ่าวโอมาน โดยเป็นภาพจากสำนักงานกองทัพเรืออิหร่านเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2019 (ภาพถ่ายโดย – / สำนักงานกองทัพเรืออิหร่าน…

สุดล้ำ!!! นักวิจัยคิดวิธีขโมยรหัสผ่าน จากการฟังเสียงแป้นพิมพ์

Loading

แฮกเกอร์พยายามสรรหาวิธีใหม่ ๆ มาขโขมยรหัสผ่านของเรา ล่าสุดนักวิจัยประสบความสำเร็จ ในการขโมยรหัสผ่าน ด้วยการฟังเสียงสิ่งที่เรากำลังพิมพ์ ตอนนี้มีแฮกเกอร์ใช้หลากหลายวิธีในการขโมยรหัสผ่าน วิธีที่ง่ายที่สุดคือการเดารหัสผ่านที่คนนิยมใช้เป็นประจำอย่าง 1234 ซึ่งไม่ต้องใช้ความพยายามมากมายอะไรนัก วิธีขั้นสูงขึ้นไปก็มีตั้งแต่การใช้เครื่องมือดักรหัสผ่านหรือการฟิชชิ่งปลอมเป็นบริการต่างๆ หลอกให้คนที่หลงเชื่อ กรอกรหัสของตัวเองเข้าไป จากนั้นก็นำรหัสไปใช้เพื่อขโมยข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งแฮกเกอร์เองก็พยายามสรรหาวิธีใหม่ๆมาช่วยให้ขโมยได้แนบเนียนและง่ายยิ่งขึ้น ล่าสุดทางนักวิจัยจาก University of Cambridge และ Linköping University ได้คิดค้นวิธีขโมยรหัสผ่านรูปแบบใหม่จากการฟังเสียงสิ่งที่เราพิมพ์ลงไปบนคีย์บอร์ด การจะใช้เทคนิกนี้ได้ แฮกเกอร์จะต้องติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องของเป้าหมายก่อน เพื่อให้เข้าถึงการใช้ไมโครโฟนบนมือถือหรือคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็ทำการเก็บคลื่นเสียงและการสั่นสะเทือนเวลาที่เรากดคีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์บนหน้าจอ อัลกอริทึ่จะคำนวณออกมาว่าเรากดตัวไหนไป โดยระยะเวลาเดินคลื่นเสียงที่เดินทางมายังไมโครโฟนซึ่งจะเป็นตัวช่วยบอกตำแหน่งอีกทางนึง แน่นอนว่ามันยังเป็นงานวิจัยที่ยังไม่สมบูรณ์ 100% แต่ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าแนวคิดนี้นำมาใช้ได้จริง ตัวระบบจะใช้อัลกอริทึ่มในการคาดเดาการพิมพ์รหัสผ่าน 4 หลักจากการฟังเสียงที่เรากดแป้นพิมพ์ ผลที่ได้คือสามารถเดารหัสผ่านได้สำเร็จ 31 ล็อกกินจากทั้งหมด 50 ล็อกอินด้วยความพยายามแค่ 10 ครั้งเท่านั้น  นั่นหมายความว่าถ้ายิ่งรหัสผ่านยาวขึ้น ความสามารถในการเดารหัสผ่านจากการฟังเสียงจะยากขึ้นตามไปด้วย ———————————————————— ที่มา : DailyGizmo / Jun 6, 2019 Link : https://www.dailygizmo.tv/2019/06/06/steal-password-by-hearing-typing/