แนวคิดในการนำเอไอมาใช้กับข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

โดย จรัล งามวิโรจน์เจริญ Chief Data Scientist & VP of Data Innovation Lab ในโลกปัจจุบัน เรามีข้อมูลที่ถูกสร้างและถูกเก็บจำนวนมาก โดยมาจากสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เช่น พฤติกรรมการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ จากโทรศัพท์มือถือและจากในโลกอินเทอร์เน็ต ที่ถูกแปลงไปอยู่ในโลกดิจิทัล เพื่อช่วยให้เอไอและแมชชีนเลิร์นนิง (AI & machine learning) ทำการประมวลผลบางอย่าง เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและสังคม ทั้งในด้านของการช่วยตัดสินใจ การคาดการณ์ (prediction) การทำงานอย่างอัตโนมัติ (automation) โดยองค์กรอาจนำเอาข้อมูลส่วนตัวมาร่วมใช้วิเคราะห์ตัดสินใจควบคู่กันไปด้วย เพื่อทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้งานที่ดี (user experience) และอยู่ใช้บริการกับองค์กรได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยสร้างรายได้ให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้นเช่นกัน จากประโยชน์ของการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้เพื่อประโยชน์ขององค์กรหรือภาคธุรกิจต่างๆ นี้เอง ทำให้ช่วงที่ผ่านมาหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้ออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้องค์กรและผู้ประกอบการเกิดความตระหนักและต้องคิดให้รอบคอบมากขึ้นในกรณีที่ต้องการนำข้อมูลต่างๆ มาใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่าการที่จะทำ personalization ที่ดีได้นั้น ต้องอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลจำนวนมาก แต่จะทำอย่างไรให้การนำข้อมูลมาใช้ยังคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ในขณะที่ก็ให้ประโยชน์กับผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก โดยองค์กรหรือผู้ประกอบการอาจจะเป็นผู้ที่ควบคุมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้ใช้ได้ ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย บทความนี้ผมอยากนำเสนอแนวคิด…

โปรดเกล้าฯ ประกาศนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง

Loading

เป็นไปตาม รธน. มาตรา 52 รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และ พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ปี 2560 เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุปัญหาอ้างความเท็จบ่อนทำลายสถาบันฯ รวมถึงความผูกพันของเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีต่อสถาบันฯ น้อยลงเนื่องจากขาดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถาบันฯ 22 พ.ย. 2562 วันนี้ ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศเรื่อง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2562-2565) ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบให้ประกาศใช้นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2562-2565 ) ตามบทบัญญัติมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2559 เพื่อเป็นแผนหลักของชาติที่เป็นกรอบทิศทางการดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งมีสาระสำคัญตามที่แนบท้ายนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ใช้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562-2565) ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2562 เป็นปีที่…

สหรัฐฯ อาจลดการแชร์ข้อมูลข่าวกรองกับแคนาดา หากแคนาดาเลือกใช้เทคโนโลยี 5G ของ Huawei

Loading

ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยระดับชาติของสหรัฐฯ ได้เตือนแคนาดาว่าอย่าใช้เทคโนโลยี 5G ของบริษัท Huawei โดยระบุว่าจะทำข่าวกรองที่แชร์ระหว่างแคนาดาและสหรัฐฯ ตกอยู่ในอันตราย รวมถึงสุ่มเสี่ยงต่อการที่ประชาชนชาวแคนาดาจะถูกเก็บข้อมูลโดยรัฐบาลจีนอีกด้วย Robert O’Brien ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยสหรัฐฯ ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวในระหว่างงานสัมมนาด้านความปลอดภัยที่ Halifax ว่า หากพันธมิตรที่ใกล้ชิดของเราเลือกที่จะเปิดให้ม้าโทรจันเข้ามาอยู่ในเมือง ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการแชร์ข้อมูลข่าวกรองได้ ถ้าพวกเขา (หมายถึงจีน) นำ Huawei เข้ามาที่แคนาดาหรือประเทศแถบตะวันตกอีกหลายประเทศ ก็จะรู้ข้อมูลด้านสุขภาพ, การธนาคาร, โพสต์บนโซเชียลมีเดีย พวกเขาจะรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับชาวแคนาดาแต่ละคน ส่วนฝ่ายแคนาดาโดยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม Harjit Sajjan ที่อยู่ในงาน Halifax ด้วย ระบุว่าแคนาดาต้องใช้เวลาสักระยะที่จะสามารถพิจารณาภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรอบด้าน ปัจจุบัน ประเทศที่แบนเทคโนโลยี 5G ของ Huawei ไปแล้วก็มีสหรัฐฯ, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในขณะที่อังกฤษนั้นยังไม่ได้แบนแต่เลือกที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ของ Huawei ในพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ —————————————— ที่มา : Blognone / 24 November 2019 Link : https://www.blognone.com/node/113309

ศาลสหรัฐฯ สั่งจำคุก 19 ปี ‘อดีตซีไอเอ’ ทำงานเป็นสายลับให้จีน

Loading

รอยเตอร์ – อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ถูกศาลแขวงรัฐเวอร์จิเนียตัดสินจำคุกเป็นเวลา 19 ปีวานนี้ (22 พ.ย.) หลังศาลพิพากษาเมื่อเดือน พ.ค. ว่ามีความผิดฐานเป็นสายลับให้รัฐบาลจีน เจอร์รี ชุน ชิง ลี (Jerry Chun Shing Lee) วัย 55 ปี ลาออกจากซีไอเอในปี 2007 และย้ายไปอยู่ที่ฮ่องกง ต่อมาในปี 2010 เขาได้รับการติดต่อทาบทามจากเจ้าหน้าที่ข่าวกรองจีน ซึ่งเสนอจะให้ค่าตอบแทน 100,000 ดอลลาร์ และให้ความคุ้มครอง “ตลอดชีวิต” หากยอมเผยข้อมูลลับของสหรัฐฯ ที่เขาได้ล่วงรู้มาขณะเป็นซีไอเอ เงินสดหลายแสนดอลลาร์ถูกโอนเข้าบัญชีของ ลี ในช่วงระหว่างปี 2010-2013 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานของเขา “แทนที่จะแสดงความรับผิดชอบและเคารพต่อคำมั่นสัญญาว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลด้านกลาโหมของชาติ ลี กลับเลือกที่จะทรยศต่อประเทศของเขา ยอมเป็นสายลับให้รัฐบาลต่างชาติ และยังให้การเท็จต่อพนักงานสอบสวนหลายครั้ง” แซคคารี เทอร์วิลลิเกอร์ อัยการประจำแขวงตะวันออกเวอร์จิเนีย ระบุในถ้อยแถลง จากข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เอฟบีไอได้เข้าตรวจค้นห้องพักของ ลี ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในฮาวายเมื่อเดือน ส.ค. ปี…

รู้จักการโจมตีแบบ Juice Jacking และความเสี่ยงของการใช้ที่ชาร์จมือถือสาธารณะ

Loading

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำเตือนว่าให้ระวังการนำโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตไปเสียบกับที่ชาร์จสาธารณะเพราะอาจมีความเสี่ยงถูกขโมยข้อมูลหรืออาจติดมัลแวร์ได้ คำเตือนนี้มีที่มาจากงานวิจัยเรื่องการโจมตีในชื่อ Juice Jacking ที่ถูกนำเสนอโดยทีม Wall of Sheep ในงาน Defcon ปี 2011 ซึ่งในสมัยนั้นโทรศัพท์มือถือถูกออกแบบให้นำไปเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วสามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ง่าย ผลที่ตามมาคือผู้ไม่หวังดีอาจทำที่ชาร์จปลอมแล้วเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ไว้ข้างในเพื่อขโมยข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือที่นำมาเชื่อมต่อได้ รวมถึงอาจติดตั้งโปรแกรมใดๆ ลงในเครื่องได้ด้วยหากโทรศัพท์มือถือนั้นมีการตั้งค่าให้สามารถติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งภายนอกได้ผ่านช่องทาง USB งานวิจัย Juice Jacking นี้ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากเนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจถูกนำมาใช้โจมตีได้จริง ซึ่งต่อมาผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือทั้ง Android และ iOS ก็ได้ปรับปรุงระบบเพื่อให้การนำโทรศัพท์มือถือมาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์นั้นมีความมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เช่น การแสดงข้อความแจ้งเตือนเมื่อพบว่าอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ไม่ใช่ที่ชาร์จไฟตามปกติ การป้องกันไม่ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในเครื่องได้หากล็อกหน้าจออยู่ หรือการตั้งค่าเริ่มต้นของการเชื่อมต่อให้เป็นการชาร์จไฟเท่านั้น หากต้องการเข้าถึงข้อมูลหรือติดตั้งโปรแกรมต้องให้ผู้ใช้กดอนุญาตสิทธิ์ก่อน เป็นต้น ซึ่งกระบวนการป้องกันเหล่านี้ก็ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสังเกตพบความผิดปกติได้ทันทีหากมีการพยายามซ่อนเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในที่ชาร์จสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีการยืนยันว่า Juice Jacking นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริง รวมถึงมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ออกมามากขึ้นในเวลาต่อมา แต่จนถึงปี 2019 (ณ เวลาที่เขียนบทความนี้) ก็ยังไม่พบรายงานว่าเทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ในการโจมตีจริงแต่อย่างใด อาจจะด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีความสามารถในการป้องกันการโจมตีในลักษณะนี้อยู่แล้ว รวมถึงการนำที่ชาร์จที่มีจุดประสงค์เพื่อขโมยข้อมูลไปติดตั้งในสถานที่จริงนั้นทำได้ยากและมีความเสี่ยงสูงเพราะมีโอกาสถูกระบุตัวของผู้กระทำผิดได้ง่าย ข้อมูลที่ขโมยมาได้นั้นอาจไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่จะทำ เป็นต้น สรุปแล้วการนำโทรศัพท์มือถือไปเสียบกับที่ชาร์จสาธารณะนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน? เนื่องจากจนถึงปัจจุบันยังไม่พบรายงานว่า Juice Jacking ถูกนำมาใช้ในการโจมตีจริง…