กลุ่มมุสลิมไอเอสโจมตีโรงแรมชาวจีนในอัฟกานิสถาน

Loading

  มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย หลังมือปืนบุกโจมตีโรงแรมซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักธุรกิจชาวจีนในกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน   ควันดำที่เห็นได้ชัดว่าออกมาจากโรงแรมคาบูล ลองแกน ในย่านการค้าหลักของกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม โดยโรงแรมแห่งนี้เป็นที่นิยมของนักธุรกิจจีน และถูกโจมตีล่าสุดจากกลุ่มอิสลามไอเอส จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย และบาดเจ็บนับสิบ (Photo by Wakil KOHSAR / AFP)   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 13 ธันวาคม 2565 กล่าวว่า กลุ่มคนร้ายติดอาวุธบุกเข้าไปยังโรงแรมคาบูล ลองแกน (Kabul Longan) ในอัฟกานิสถานเมื่อวันจันทร์ ก่อนก่อเหตุกราดยิงแบบไม่เลือกเป้าหมาย จนมีผู้เสียชีวิตเบื้องต้น 3 ราย   พยานในที่เกิดเหตุให้ข้อมูลว่า มีเสียงระเบิดและเสียงปืนดังขึ้นหลายครั้ง โดยโรงแรมดังกล่าวสามารถเห็นควันดำพวยพุ่งจากพื้นที่หลายชั้น ขณะที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยของตอลิบันรุดไปยังที่เกิดเหตุในเวลาไม่นานและปิดล้อมพื้นที่ใกล้เคียงทันที   กลุ่มตอลิบันซึ่งปกครองอัฟกานิสถานอ้างว่าได้ปรับปรุงมาตรฐานการคุ้มครองความปลอดภัยนับตั้งแต่เข้ายึดอำนาจได้ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว แต่อัฟกานิสถานยังคงเกิดเหตุวางระเบิดและการโจมตีด้วยอาวุธอยู่หลายครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝีมือของกลุ่มอิสลามิสต์ติดอาวุธ (ไอเอส) เช่นเดียวกับการโจมตีโรงแรมครั้งนี้   โรงพยาบาลใกล้เคียงจุดเกิดเหตุ…

จีนออกมาตรการคุมเทคโนโลยี “ดีพเฟค” เริ่มบังคับใช้ ม.ค. นี้

Loading

  สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (ซีเอซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน ระบุว่า กฎใหม่ของจีน สำหรับผู้ให้บริการเนื้อหาที่มีการแก้ไขข้อมูลใบหน้าและเสียง จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2566 โดยหน่วยงานมุ่งหวังที่จะตรวจสอบเทคโนโลยีและบริการที่เรียกว่า “ดีพเฟค” อย่างเข้มงวดมากขึ้น   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ว่า กฎระเบียบใหม่จากซีเอซี ซึ่งออกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กำหนดให้บุคคลได้รับการคุ้มครองจากการถูกแอบอ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม อันมาจากเทคโนโลยี “ดีพเฟค” ภาพเสมือนที่มีความคล้ายคลึงกับภาพต้นฉบับจนแยกไม่ออก และถูกนำไปใช้เพื่อการบิดเบือน หรือการให้ข้อมูลเท็จได้โดยง่าย   China's rules for "deepfakes" to take effect from Jan. 10 https://t.co/faLf9KG1gj pic.twitter.com/52XnzO89iw — Reuters (@Reuters) December 12, 2022   ซีเอซี กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวข้างต้นมีเป้าหมายเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้บริการโดยแพลตฟอร์มดังกล่าว…

หน่วยสืบราชการลับสหรัฐฯ เผยแฮ็กเกอร์จีนขโมยเงินมหาศาลไปจากกองทุนโควิด-19

Loading

  หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา (Secret Service) เผยว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์แบบอำพรางขั้นสูง (APT) ที่มีรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนได้ขโมยเงินอย่างน้อย 20 ล้านเหรียญ (ราว 700 ล้านบาท) ไปจากกองทุนช่วยเหลือโควิด-19 ของสหรัฐฯ   แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า APT41 มีฐานปฏิบัติการอยู่ในมณฑลเฉิงตู ที่ผ่านมาเคยขโมยเงินจากกองทุนกู้ยืมธุรกิจขนาดเล็ก (SBA) และกองทุนประกันการว่างงานในมากกว่า 12 รัฐ   แต่หน่วยสืบราชการรัฐเชื่อว่าเหยื่อจริง ๆ อาจมีจำนวนมากกว่านั้นมาก โดยเผยว่ามีการสืบสวนมากกว่า 1,000 คดีที่กำลังดำเนินอยู่ คดีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการฉ้อโกงและการจารกรรมเงินจากกองทุนสาธารณะ   รอย ดอตสัน (Roy Dotson) ผู้ประสานงานด้านการกู้คืนจากการฉ้อโกงโรคระบาดแห่งชาติของหน่วยสืบราชการลับเชื่อว่าหาก APT41 จะโจมตีทั้ง 50 รัฐของสหรัฐฯ ก็ย่อมเป็นไปได้   สำนักข่าว NBC ชี้ว่าปฏิบัติการโจมตีของ APT41 เริ่มต้นในกลางปี 2020 จนส่งผลกระทบต่อ 2,000 บัญชีที่มีการทำธุรกรรมมากกว่า 40,000 รายการ ขณะที่…

นักวิเคราะห์ชี้ จีนขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมในแอฟริกาด้วย ‘สถาบันขงจื๊อ’

Loading

Confucius Institute’s presence at University of the Western Cape, South Africa   เป็นเวลาเกือบสองทศวรรษแล้วที่รัฐบาลจีนได้ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรม หรือ soft culture ผ่าน “สถาบันขงจื๊อ” ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สถาบันดังกล่าวในมหาวิทยาลัย ทั้งในสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกอื่น ๆ ได้ปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นแต่ในแอฟริกาที่มีการเปิดสถาบันขงจื๊อเพิ่มมากขึ้น   สถาบันขงจื๊อแห่งใหม่ล่าสุดในเมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นหนึ่งในสถาบันขงจื๊อประมาณ 60 แห่งที่ตั้งในทวีปแอฟริกา โดยสถาบันเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน และนักเรียนจะได้เรียนภาษาจีน วัฒนธรรม รวมถึงชั้นเรียนต่าง ๆ อย่างเช่น ศิลปะการป้องกันตัว “ไทเก็ก” และการแพทย์แผนจีน อีกทั้งนักเรียนยังมีโอกาสที่จะเดินทางไปยังประเทศจีนด้วย   เจเดน บิทเทอร์บอส นักศึกษาวัย 20 ปี ที่เรียนภาษาจีนมาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รู้สึกตื่นเต้นกับโอกาสที่จะได้เดินทางไปต่างประเทศมาก   Jaden Bitterbos,…

“อังกฤษ” ขวางจีน สร้างสถานทูตใหม่ใกล้หอคอยลอนดอน อ้างภัยความมั่นคง

Loading

  สภาเขตหอคอยแฮมเล็ตอังกฤษ มีมติปฏิเสธแผนสร้างสถานทูตใหม่จีนใกล้หอคอยลอนดอนเมื่อวันพฤหัสบดี (1 ธ.ค.) หลังได้รับร้องเรียนจากผู้พักอาศัยในบริเวณดังกล่าวเกี่ยวกับความมั่นคง ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย   จีนต้องการสร้างสถานทูตที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปที่คฤหาสน์โรงกษาปณ์หลวง (Royal Mint Court) ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของโรงกษาปณ์อังกฤษ โดยจีนซื้อสถานที่ดังกล่าวด้วยเงิน 255 ล้านปอนด์ (311 ล้านดอลลาร์) ในเดือน พ.ค. 2561 เพื่อสร้างสถานทูตแห่งใหม่ขึ้นแทนสถานทูตปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ในย่านแมรี่ลีโบน   แผนการดังกล่าวถูกต่อต้าน และก่อให้เกิดกระแสถกเถียงกันเรื่องความมั่นคง ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยสำหรับผู้พักอาศัยในละแวกดังกล่าว โดยทางสภาได้รับจดหมายร้องเรียนทั้งหมด 51 ฉบับ โดยผู้พักอาศัยในบริเวณดังกล่าววิตกกังวลว่า ละแวกดังกล่าวจะตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อการร้าย และเป็นจุดที่เต็มไปด้วยกล้องรักษาความปลอดภัย   เมื่อปีที่แล้ว ทางสภาฯ เปิดเผยว่ากำลังพิจารณาที่จะเปลี่ยนชื่อถนนรอบรอยัล มินต์ คอร์ตเป็นจัตุรัสเทียนอันเหมิน, คฤหาสน์อุยกูร์ และถนนฮ่องกง เพื่อประท้วงวิธีที่จีนปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายต่อต้านชาวอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียง   ในสัปดาห์นี้ นายริชี ซูแน็ก นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ใช้โอกาสการกล่าวสุนทรพจน์นโยบายต่างประเทศครั้งสำคัญครั้งแรก เพื่อส่งสัญญาณลดความตึงเครียดระหว่างอังกฤษกับจีน และยุติสิ่งที่เรียกว่า “ยุคทอง” โดยนายซูนัคได้ผ่อนปรนท่าทีที่อังกฤษมีต่อจีนในระหว่างเข้ารับตำแหน่ง…

“จีน” ใช้โปรแกรมสแกนใบหน้า จดจำ-ตามรอยผู้ประท้วงต้านมาตรการโควิด

Loading

  “ตำรวจ” จีนติดตั้งเครื่องมือสอดแนม ด้วยการใช้โปรแกรมสแกนใบหน้า เพื่อจดจำและติดตามรอยกลุ่มผู้ประท้วง หวังควบคุมความไม่สงบทั่วประเทศ   ความไม่พอใจต่อมาตรการควบคุมโควิด-19 ปะทุขึ้น ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้ยุติมาตรการล็อกดาวน์ และให้เสรีภาพทางการเมืองแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน   หวัง เซิ่งเซิง นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่า ปักกิ่งประกาศปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม โดยส่งเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงลงพื้นที่เข้าจัดการ อีกทั้งยังใช้ซอฟต์แวร์แกะรอยที่ซ้อนตัวของผู้ประท้วงอีกด้วย   “ในปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว ดูเหมือนเจ้าหน้าตำรวจได้ใช้อาวุธไฮเทคเพื่อจัดการผู้ชุมนุม” นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวกับเอเอฟพีและเสริมว่า ต่างจากเมืองอื่น ๆ ที่ต้องพึ่งภาพในกล้องวงจรปิดที่จดจำใบหน้า   ตำรวจปักกิ่งอาจใช้ตำแหน่งทางโทรศัพท์มือถือที่บันทึกจากการแสกนใบหน้าหรือโคดข้อมูลทางสุขภาพช่วงโควิด-19 เพื่อติดตามรอยหลังกลับจากการประท้วงแล้ว   อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้โทรศัพท์หลายต่อหลายคนแปลกใจที่ได้รับสายจากเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มอบตัว ทั้งที่พวกเขาเดินผ่านกลุ่มผู้ประท้วงเท่านั้น       ———————————————————————————————————————————- ที่มา :                               …