เผยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 40% ใน เอเชีย-แปซิฟิก มี Cyber risk สูง

Loading

ความจริงที่น่าตกตะลึง!! ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใน เอเชีย-แปซิฟิก มีพฤติกรรมทางไซเบอร์เสี่ยงสูง (Cyber risk) ผลสำรวจพบว่า 40% เต็มใจเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว… ผลสำรวจชี้ชัด Cyber risk ใน APAC สูง  เมื่อไม่นานมานี้ได้มีเปิดเผยผลสำรวจ Global Privacy Report 2018 ที่ทาง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้สำรวจผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific หรือ APAC) พบว่า 39.2% เต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้ได้ความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบ หรือสอดส่องความปลอดภัยออนไลน์ แต่ยังมีกว่า 40% ที่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว โดยกว่า 22% สารภาพว่าแชร์ข้อมูลโซเชียลมีเดียเพื่อเล่นควิซต่างๆ ขณะที่ 18.9% ยอมรับว่ายอมสละความเป็นส่วนตัวเพื่อรับสินค้า และบริการฟรี เช่น ซอฟต์แวร์หรือของขวัญอื่น ๆ นอกจากนี้ในรายงานฉบับดังกล่าวยังเปิดเผยอีกว่า 55.5% ของผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในช่วงอายุ 16-24 ปี และ 25-34 ปี และมีความคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความเป็นส่วนตัวครบถ้วนสมบูรณ์ในโลกดิจิทัลสมัยใหม่ และเชื่อว่าข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ วันเกิด…

อียูเตือนให้ระวังการโจมตีทางไซเบอร์จากหน่วยงานที่มีรัฐสนับสนุน

Loading

เอเจนซีส์ – สหภาพยุโรปเตือนในวันพุธ (9 ต.ค.) ให้ระวังการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มหรือหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐนอกสหภาพยุโรป พร้อมบอกว่าว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องประเมินความเสี่ยงจากธุรกิจอุปกรณ์โทรคมนาคมที่มีส่วนแบ่งการตลาดที่สำคัญ ความคิดเห็นดังกล่าวปรากฏในรายงาน ซึ่งจัดทำโดยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์กับเครือข่ายมือถือ 5G ยุคใหม่ ซึ่งการเปิดตัวในเวลาที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญต่อการแข่งขันของกลุ่มอียู ในขณะที่รายงานไม่ได้เอ่ยชื่อประเทศหรือบริษัทใดๆ แต่ผู้สังเกตการณ์มักอ้างถึงประเทศจีนและผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Huawei Technologies ว่าเป็นภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น “บรรดาผู้เล่นที่มีศักยภาพ พวกที่ไม่อยู่ในสหภาพยุโรป หรือได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ จะถือว่าเป็นพวกที่มีแนวโน้มมากที่สุด ที่จะมุ่งเป้าเล่นงานเครือข่าย 5G” คณะกรรมาธิการยุโรปและฟินแลนด์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรป ระบุในแถลงการณ์ร่วม รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการให้ยุโรปสั่งแบนอุปกรณ์ของหัวเว่ย โดยบอกว่าปักกิ่งสามารถใช้ทำการสอดแนมได้ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่หัวเว่ยปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำอีก สหราชอาณาจักรซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดสหรัฐอเมริกา ยังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย เกี่ยวกับบทบาทของหัวเว่ยในเครือข่าย 5G โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติตัดสินใจเมื่อเดือนเมษายน กีดกันธุรกิจจีนรายนี้ออกจากส่วนสำคัญของเครือข่าย ———————————————————– ที่มา : MGR Online / 9 ตุลาคม 2562 Link : https://mgronline.com/around/detail/9620000097601

ตรวจสอบด่วน! พบ Google Calendar จำนวนมากเปิดแชร์แบบสาธารณะ ข้อมูลความลับอาจรั่วไหลได้

Loading

Google Calendar เป็นบริการจดบันทึกตารางกิจกรรมในปฏิทิน ซึ่งสามารถใช้งานแบบออนไลน์ได้ หนึ่งในความสามารถเด่นของบริการนี้คือผู้ใช้สามารถตั้งค่าอนุญาตสิทธิ์การเข้าถึงหรือแก้ไขข้อมูลในปฏิทินให้กับบุคคลอื่นหรือเปิดให้เข้าถึงแบบสาธารณะได้ อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าปฏิทินจำนวนมากที่ควรเป็นข้อมูลส่วนตัวกลับถูกเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าถึงหรือแก้ไขข้อมูลได้ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562 นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยชื่อ Avinash Jain ได้รายงานว่าพบ Google Calendar หลายพันรายการถูกตั้งค่าสิทธิ์ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ รวมถึงปรากฎข้อมูลในปฏิทินดังกล่าวในผลการค้นหาจาก search engine ด้วย ในรายงาน นักวิจัยพบว่ามีปฏิทินกว่า 7,000 รายการที่ถูกเปิดเป็นสาธารณะโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งในปฏิทินดังกล่าวมีข้อมูลสำคัญ เช่น นัดหมายการประชุม นัดหมายสัมภาษณ์งาน ข้อมูลภายในองค์กร กิจกรรมในครอบครัว หรือกิจกรรมสำคัญอื่น ๆ เจ้าของปฏิทินอาจมีความเสี่ยงถูกนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลในปฏิทินได้ ผู้ใช้ควรตรวจสอบการตั้งค่าสิทธิ์ของปฏิทิน โดยไม่ควรตั้งเป็นสาธารณะ หากจำเป็นต้องแชร์ควรกำหนดสิทธิ์ให้อนุญาตเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถตรวจสอบการตั้งค่าสิทธิ์ของปฏิทินได้ตามวิธีดังต่อไปนี้ 1. เข้าไปยังเว็บไซต์ https://calendar.google.com/ 2. ไปที่เมนู “การตั้งค่า” (Settings Menu) โดยจะเป็นสัญลักษณ์รูปฟันเฟืองด้านขวาบน 3. เลือก “การตั้งค่า” (Settings) 4.…