ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok

Loading

iT24Hrs   ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok โดย TikTok กำลังเผชิญกับข้อจำกัดที่เพิ่มขึ้นและการแบน TikTok ในหลายประเทศทั่วโลก   โดยในสหรัฐอเมริกาได้เตรียมคำสั่งห้าม และได้พิจารณาคดีในรัฐสภาเมื่อเร็ว ๆ นี้กับ Shou Zi Chew CEO ของ TikTok ทำให้หลายคนพูดถึง TikTok เยอะ เป็นพาดหัวหลายสำนักข่าวทั้งในสหรัฐและทั่วโลก นอกจากนี้ ทั่วทั้งอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย หลายประเทศได้บังคับใช้ข้อจำกัดระดับหนึ่งกับแอป TikTok   เนื่องด้วยเหตุผลความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแม่ ที่หลายประเทศมองว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok มีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน ทำให้หน่วยงานรัฐบาลระหว่างประเทศรวมถึงคณะกรรมาธิการยุโรปและNATOได้สั่งห้ามไม่ให้พนักงานใช้ TikTok บนมือถือของบริษัท เช่นเดียวกับรัฐบาลกลางในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องด้วยเหตุผลความมั่นคงของชาติ   ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok   อัฟกานิสถาน กลุ่มตาลีบันห้าม TikTok ในอัฟกานิสถานในเดือนเมษายน 2565 โดยกล่าวว่าเนื้อหาของแพลตฟอร์ม “ไม่สอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม”…

สหราชอาณาจักรสั่งปรับ “TikTok” 500 กว่าล้านบาท

Loading

  สหราชอาณาจักร สั่งปรับ TikTok เป็นเงิน 500 กว่าล้านบาท เหตุพบการละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูล   เรียกว่างานเข้าไม่หยุด สำหรับแพลตฟอร์มวิดีโอคอนเทนต์ชื่อดังอย่าง “TikTok” ที่ก่อนหน้านี้ก็ถูกสั่งแบนในอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐหลายประเทศ ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 เม.ย. หน่วยเฝ้าระวังข้อมูลของสหราชอาณาจักรได้ประกาศสั่งปรับ TikTok เป็นเงินจำนวนกว่า 12.7 ล้านปอนด์ (ราว 538 ล้านบาท) เนื่องจากพบการละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูล จากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และพบการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง     สำนักงานคณะกรรมาธิการด้านข้อมูลข่าวสารแห่งสหราชอาณาจักร (Information Commissioner’s Office หรือ ICO) ประมาณการว่า ในปี 2020 แอปพลิเคชัน TikTok อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ประมาณ 1.4 ล้านคนทั่วสหราชอาณาจักร สามารถเข้าถึง TikTok ได้ แม้แอปพลิเคชันจะกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้สร้างบัญชีใช้งานว่า ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 13…

ออสซี่โดดร่วมวง แบนติ๊กต็อก บนอุปกรณ์ของรัฐ ปักกิ่งประณามทันที จี้ปฏิบัติเป็นธรรมกับบริษัทจีน

Loading

แฟ้มภาพรอยเตอร์   ออสซี่โดดร่วมวง แบนติ๊กต็อก บนอุปกรณ์ของรัฐ ปักกิ่งประณามทันที จี้ปฏิบัติเป็นธรรมกับบริษัทจีน   เมื่อวันที่ 4 เมษายน ออสเตรเลีย ประกาศแบนการใช้ ติ๊กต็อก แอปพลิเคชันแชร์วิดีโอสั้นยอดนิยม บนอุปกรณ์ของรัฐบาลทุกชนิด ส่งผลให้ออสเตรเลีย เป็นประเทศล่าสุดในกลุ่มชาติพันธมิตรตะวันตกที่ห้ามการใช้งานแอปสัญชาติจีนนี้บนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐบาล เนื่องจากกลัวเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ   มาร์ก เดรย์ฟัส รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของออสเตรเลีย กล่าวว่า การตัดสินใจครั้งนี้มีขึ้นภายหลังได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านข่าวกรองของประเทศและจะเริ่มปฏิบัติใช้โดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ดีรัฐบาลจะอนุมัติข้อยกเว้นบางประการเป็นรายกรณีไปด้วยการผ่อนปรนด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม   ท่าทีนี้ส่งผลให้ออสเตรเลีย เป็นชาติสุดท้ายในกลุ่ม “ไฟฟ์ อายส์” พันธมิตรด้านความมั่นคง ร่วมกับสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และ นิวซีแลนด์ ที่ได้แบนติ๊กต็อกเข้าถึงอุปกรณ์ของหน่วยงานรัฐบาลของตนเองไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ยังมีฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และ สหภาพยุโรป (อียู) ที่ก็ได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน   ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ กล่าวเตือนว่า ติ๊กต็อก ที่อ้างว่ามีผู้ใช้งานแอปนี้อยู่ทั่วโลกมากกว่า 1,000 ราย ได้แบ่งปันข้อมูลของผู้ใช้งานให้กับรัฐบาลจีน ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศต่าง…

นักวิเคราะห์เตือนแอป “พินตัวตัว” สามารถสอดแนมกิจกรรมบนโทรศัพท์มือถือ

Loading

  นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เปิดเผยกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า “พินตัวตัว” (Pinduoduo) แอปพลิเคชันชอปปิงยอดนิยมที่สุดแอปหนึ่งของจีนนั้น สามารถฝ่าระบบป้องกันความปลอดภัยบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วสอดแนมกิจกรรมบนแอปอื่น ๆ ตลอดจนตรวจสอบการแจ้งเตือน อ่านข้อความส่วนตัว และเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า   โดยแอปดังกล่าวขายสินค้าเกือบทุกประเภท ตั้งแต่เสื้อผ้าไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีผู้ใช้งานกว่า 750 ล้านรายต่อเดือน   ขณะเดียวกัน นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เตือนด้วยว่า เมื่อติดตั้งแอปพินตัวตัวแล้วก็ยากที่จะลบมัลแวร์สอดแนมออกจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้   แม้แอปจำนวนมากรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานกันเป็นปกติ โดยบางครั้งก็ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายเตือนว่า พินตัวตัวนั้นละเมิดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยด้านข้อมูลมากกว่าแอปทั่ว ๆ ไป   สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นได้พูดคุยกับทีมความปลอดภัยทางไซเบอร์ประมาณ 6 ทีมจากเอเชีย ยุโรป และสหรัฐ รวมถึงพนักงานทั้งในอดีตและปัจจุบันของพินตัวตัว โดยผู้เชี่ยวชาญหลายรายระบุว่ามีมัลแวร์อยู่บนแอปพินตัวตัว ซึ่งฉวยโอกาสจากความเปราะบางในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ขณะเดียวกันกลุ่มคนวงในระบุว่า มัลแวร์ดังกล่าวใช้ในการสอดแนมผู้ใช้งานและคู่แข่ง เพื่อกระตุ้นยอดขาย   “เราไม่เคยเห็นแอปขนาดใหญ่เช่นนี้พยายามเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ควรเข้าถึง โดยถือเป็นเรื่องผิดปกติเอามาก ๆ และไม่ดีต่อพินตัวตัวนัก” มิกโก ฮิปโพเนน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยบริษัทวิธซีเคียว (WithSecure) บริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์จากฟินแลนด์กล่าว   มัลแวร์นั้นอ้างอิงถึงซอฟต์แวร์ทุกชนิดที่พัฒนาขึ้นเพื่อขโมยข้อมูลหรือรุกล้ำระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยการเปิดเผยเรื่องมัลแวร์ในแอปพินตัวตัวมีขึ้นในช่วงที่สหรัฐตรวจสอบแอปติ๊กต๊อกอย่างเข้มงวด เนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านข้อมูล…

สื่อผู้ดีอ้างจีนตั้งฐานเรดาร์ทหารกลางป่าทึบศรีลังกา สอดแนมสหรัฐฯ-อังกฤษ-อินเดีย

Loading

    เอเจนซีส์ – โปรเจกต์สถานีรับสัญญาณดาวเทียมกลางป่าทึบของสถาบันวิจัยข้อมูลอวกาศ AIR (Aerospace Information Research Institute) ของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน CAS ที่กำลังจะเกิดขึ้นกลางป่าทึบที่อ่าวดอนดรา (Dondra Bay) มีเป้าหมายเพื่อสอดแนมความเคลื่อนไหวเรือรบชาติตะวันตกและอินเดียในมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงฐานที่ตั้งทางทหารอเมริกัน-อังกฤษในดินแดนอาณานิคมอังกฤษ ดิเอโก การ์เซีย (Diego Garcia) กลางมหาสมุทรอินเดียและของอินเดียอย่างไม่ต้องสงสัย   เดลีเอ็กซเพรสของอังกฤษรายงานวันนี้ (3 เม.ย.) ว่า โปรเจกต์สถานีรับสัญญาณดาวเทียมจีนนี้ถูกเปิดเผยโดยแหล่งข่าวกรองศรีลังกา และโปรเจกต์ฐานเรดาร์ลับของทางการทหารของจีนกลางป่าทึบที่อ่าวดอนดรา (Dondra Bay) ในรูฮูนา (Ruhuna) ตั้งอยู่ทางปลายสุดศรีลังกา ที่ถูกผู้เชี่ยวชาญประณามได้กลายเป็นข้อพิสูจน์อย่างแน่นหนาว่า ปักกิ่งใช้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อทำให้ศรีลังกาตกอยู่ในบ่วงหนี้โปรเจกต์โครงสร้างพื้นฐานพันล้านอย่างถอนตัวไม่ขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของปักกิ่ง   สถานีรับสัญญาณดาวเทียมเป็นของสถาบันวิจัยข้อมูลอวกาศ AIR (Aerospace Information Research Institute) ของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน CAS สื่ออังกฤษชี้ว่า ปักกิ่งสามารถใช้ฐานเรดาร์ลับใหม่นี้ที่มีที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญในทางปลายแหลมของศรีลังกาเพื่อการเพิ่มศักยภาพในการสอดแนมปฏิบัติการข่าวกรองของตัวเองต่อการเคลื่อนไหวเรือรบโลกตะวันตกในมหาสมุทรอินเดีย   และที่ร้ายแรงกว่านั้นมันจะเป็นการเปิดโอกาสให้จีนสามารถสอดแนมที่ตั้งทางการทหารสหรัฐฯ และอังกฤษตั้งอยู่ในดินแดนอาณานิคมอังกฤษกลางมหาสมุทรอินเดีย ดิเอโก การ์เซีย (Diego Garcia) และอินเดีย…

รัฐเซาท์แคโรไลนา ผ่านร่างกฎหมายห้ามขายอสังหาริมทรัพย์ให้ชาวจีนและรัสเซีย

Loading

  ฝ่ายนิติบัญญัติของเซาท์แคโรไลนาได้อนุมัติกฎหมายที่ห้ามขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ชาวจีนและรัสเซีย เพื่อเป็นการป้องกันอสังหาริมทรัพย์ตกไปอยู่ในมือของประชาชนหรือบริษัทจากจีน รัสเซีย และประเทศอื่น ๆ ที่กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า เป็น “ศัตรูต่างชาติของสหรัฐ” ซึ่งได้แก่ จีน รัสเซีย อิหร่าน คิวบา และเกาหลีเหนือ   การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ยังเป็นการสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ลงระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่าจีนเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยในรัฐเซาท์แคโรไลนา มีบริษัทที่มีชาวจีนเป็นเจ้าของหลายสิบแห่งเปิดดำเนินการอยู่ กับมีชุมชนชาวจีนและนักศึกษาชาวจีนในมหาวิทยาลัยจำนวนหลายพันคน   อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ไม่มีผลย้อนหลังในกรณีที่มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เกิดขึ้นก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ขณะที่สื่อในท้องถิ่น รายงานว่าเป้าหมายที่แท้จริงของกฎหมายฉบับนี้คือการขัดขวางแผนการของบริษัทจีนที่จะจัดซื้อที่ดิน 500 เอเคอร์ในรัฐ นอกจากนี้ สภานิติบัญญัติในอีกอย่างน้อย 11 รัฐของสหรัฐฯ กำลังพิจารณาร่างกฎหมายที่จะจำกัดหรือห้ามการถือครองอสังหาริมทรัพย์โดยศัตรูต่างชาติ หลังจากที่เกิดเหตุการณ์บอลลูนสอดแนมของจีน       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                 จส.100 …