แรงมาแรงกลับ! ติ๊กต็อกยื่นฟ้อง ‘รัฐมอนทานา’ ค้านกม.แบนใช้แอป

Loading

    สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ติ๊กต็อก แอปพลิเคชันแชร์วิดีโอชื่อดังของบริษัทไบต์แดนซ์ ของจีน ได้ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐเพื่อคัดค้านการที่รัฐมอนทานาผ่านร่างกฎหมายแบนไม่ให้ประชาชนของรัฐสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันติ๊กต็อก   การยื่นฟ้องดังกล่าวมีขึ้นหลังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมอนทานากลายเป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่ประกาศผ่านร่างกฎหมายแบนติ๊กต็อก ท่ามกลางกระแสการเรียกร้องจากสมาชิกสภานิติบัญญัติและเจ้าหน้าที่รัฐให้มีการแบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อกทั่วประเทศสหรัฐจากข้อกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของรัฐบาลจีนที่มีต่อติ๊กต็อก   ส่งผลให้ติ๊กต็อกยื่นฟ้องร้องต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐในรัฐมอนทานา โดยระบุว่าการแบนดังกล่าวซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม ปี 2024 ได้ละเมิดบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 (First Amendment) ถึงสิทธิเสรีภาพในการพูด และเรียกร้องให้ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐประกาศให้การแบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อกของรัฐมอนทานานั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญและสกัดกั้นไม่ให้รัฐมอนทานามีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว   โฆษกของติ๊กต็อกกล่าวในแถลงการณ์ว่า “เราขอคัดค้านการแบนติ๊กต็อกของรัฐมอนทานาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพื่อปกป้องธุรกิจและผู้ใช้งานติ๊กต็อกหลายแสนคนในรัฐมอนทานา” พร้อมกับระบุอีกว่าเราเชื่อว่าจะได้รับชัยชนะในการยื่นคัดค้านทางกฎหมายจากคำพิพากษาในอดีตและข้อเท็จจริงจำนวนมาก และรัฐมอนทานาได้ออกมาตรการพิเศษที่ไม่เคยมีมาก่อนจากการคาดการณ์ที่ไม่มีมูล พร้อมกับยืนยันในการยื่นฟ้องว่าติ๊กต็อกไม่เคยและจะไม่ส่งข้อมูลของผู้ใช้งานในสหรัฐให้กับรัฐบาลจีน   นายเกร็ก เกียนฟอร์เต ผู้ว่าการรัฐมอนทานาเผยว่าเขาลงนามรับรองกฎหมายการแบนดังกล่าวเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวของประชาชนในรัฐจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน   ภายใต้กฎหมายการแบนแอปติ๊กต็อกของรัฐมอนทานา แอปเปิลและกูเกิลจะต้องนำแอปติ๊กต็อกออกจากแอปสโตร์ (App store) มิเช่นนั้นจะถูกปรับเป็นเงินสูงถึง 1 หมื่นดอลลาร์ หรือกว่า 3.4 แสนบาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม จะไม่มีบทลงโทษต่อผู้ใช้งานติ๊กต็อกและจะไม่มีการห้ามไม่ให้ผู้ที่ใช้งานติ๊กต็อกอยู่ก่อนหน้าเลิกใช้งานแอปดังกล่าว   ด้านทนายความของทางการรัฐมอนทานากล่าวว่า พวกเขาเตรียมที่จะปกป้องการแบนดังกล่าวในชั้นศาล  …

สหรัฐฯ-ปาปัวนิวกินี ลงนามความร่วมมือกลาโหม หวังคานอำนาจจีนในแถบอินโด-แปซิฟิก

Loading

    วานนี้ (22 พฤษภาคม) แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าพบ เจมส์ มาเรบ นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี ก่อนที่ผู้แทนระดับสูงของทั้งสองประเทศจะร่วมลงนามในความร่วมมือด้านกลาโหม โดยสหรัฐฯ หวังคานอำนาจกับจีนในพื้นที่แถบอินโด-แปซิฟิก   โดยสหรัฐฯ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนกิจการด้านความมั่นคงของปาปัวนิวกินี โดยเฉพาะการฝึกเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกองทัพของปาปัวนิวกินี พร้อมท้ังจะขยายความร่วมมือไปยังมิติอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ การรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงการส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม   ก่อนที่ นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย และบลิงเคน จะเดินทางเข้าหารือกับบรรดาผู้นำประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกจำนวน 14 คน ที่กรุงพอร์ตมอร์สบี เมืองหลวงของปาปัวนิวกินี นับเป็นงานการประชุมครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้ ตั้งแต่การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อปี 2018   โดยโมดีได้แสดงจุดยืนว่า “เราต่างเชื่อมั่นในความร่วมมือพหุภาคี เราสนับสนุนอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และโอบรับความหลากหลาย เราเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของทุก ๆ ประเทศ”   แม้ทางการจีนจะไม่ได้มีข้อขัดข้องกับความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และปาปัวนิวกินี แต่ก็แสดงความกังวลใจไม่น้อยถึงกรณีการเพิ่มจำนวนกองกำลังสหรัฐฯ เข้ามายังภูมิภาคดังกล่าวนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดเกมภูมิรัฐศาสตร์ที่ดุเดือดยิ่งขึ้นระหว่างสองมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ภายในภูมิภาค…

บาดหมางไปอีก! จีนสั่งบ.เทคฯ เลิกใช้ชิป ‘ไมครอน’ ของสหรัฐฯ

Loading

    รัฐบาลจีนมีคำสั่งเมื่อวันอาทิตย์ ให้ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ยุติการใช้ชิปจากบริษัทไมครอน เทคโนโลยี (Micron Technology Inc.) ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ นับเป็นการยกระดับความบาดหมางระหว่างรัฐบาลปักกิ่งและรัฐบาลวอชิงตันในประเด็นเทคโนโลยีและความมั่นคง ตามรายงานของเอพี   หน่วยงาน Cyberspace Administration of China หรือ CAC ของจีน ออกแถลงการณ์ความยาว 6 บรรทัด โดยไม่ได้ให้รายละเอียดใด ๆ เพิ่มเติมเมื่อวันอาทิตย์ว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัทไมครอนมี “ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของเครือข่ายอย่างร้ายแรง” ที่ไม่สามารถระบุได้ ซึ่งเป็นอันตรายของโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของจีนและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ   ทาง CAC ระบุในแถลงการณ์ด้วยว่า “ผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลสำคัญของจีนควรหยุดซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทไมครอน”   เมื่อวันที่ 4 เมษายน ทางการจีนสั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทไมครอน เพื่อตอบโต้การที่สหรัฐฯ และพันธมิตรบังคับใช้มาตรการจำกัดการส่งออกสินค้าเทคโนโลยี เพื่อลดโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีชิปประมวลผลขั้นสูงและเทคโนโลยีอื่น ๆ ของจีน ที่สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นมองว่าจีนอาจนำไปใช้พัฒนาอาวุธได้ ในช่วงเวลาที่จีนข่มขู่คุกคามและยกระดับความก้าวร้าวต่อไต้หวัน ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียมากขึ้น   ทางการจีนเตือนว่าจะมีผลที่ตามมาจากมาตรการดังกล่าว แต่ดูเหมือนจะหาทางตอบโต้โดยไม่ให้กระทบกับการผลิตสมาร์โฟนหรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ…

สหรัฐเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงเอเชีย-ไทย หวังสกัดอิทธิพลจีน

Loading

    นายลอยด์ เจ ออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐระบุว่า การของบประมาณสำหรับความริเริ่มในการป้องปรามแปซิฟิก (Pacific Deterrence Initiative : PDI) เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 40% โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในวงกว้างของกระทรวงกลาโหมสหรัฐในการขยายอิทธิพลแซงหน้าจีน   “เรากำลังมุ่งความสนใจไปยังการก้าวนำหน้าจีนตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐ” นายออสติน กล่าวต่อสมาชิกคณะกรรมาธิการงบประมาณวุฒิสภาเมื่อวันอังคาร ที่ 16 พ.ค. พร้อมระบุว่า “จีนเป็นคู่แข่งรายเดียวของเรา โดยจีนมีความตั้งใจ และมีศักยภาพที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในการเปลี่ยนระบบสากลเพื่อให้สอดคล้องกับความเผด็จการของตน”   นายออสติน ระบุว่า ขณะนี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐกำลังทุ่มงบประมาณมากขึ้นในด้านตำแหน่งทางทหารในแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงงบประมาณ 9.1 พันล้านดอลลาร์สำหรับโครงการ PDI เพื่อเป็นการยับยั้งจีน   ขณะเดียวกัน นายออสติน ระบุว่า หลายประเทศในอินโด-แปซิฟิกมีความสนใจที่จะรักษาภูมิภาคให้มีการเปิดกว้างด้านการค้าเสรีเช่นเดียวกับสหรัฐ   นอกจากนี้ นายออสติน ระบุว่า สหรัฐได้พยายามเพิ่มการระดมกำลังสินทรัพย์ไปยังญี่ปุ่น เช่น การวางแผนที่จะจัดตั้งหน่วยนาวิกโยธินที่ 12 (12th Marine Littoral Regiment)…

ถอดบทเรียนยูเครน จีนเล็งเสริมขีดความสามารถทำสงครามนอกแบบ

Loading

    นายพลจีนถอดบทเรียนวิกฤติยูเครน เรียกร้องหลอมรวมขีดความสามารถสมัยใหม่อย่างเอไอ เข้ากับยุทธวิธีสงครามตามแบบก่อนเผชิญหน้าตะวันตก   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน นายพลหวัง ไฮ่เจียง ผู้บัญชาการภาคตะวันตก กองทัพปลดแอกประชาชนจีน (PLA) เขียนบทความพิเศษลงหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ทางการ Study Times ฉบับวันจันทร์ (15 พ.ค.) การทำสงครามลูกผสมรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในความขัดแย้งยูเครน มีการผสมผสานทั้ง “สงครามการเมือง สงครามการเงิน สงครามเทคโนโลยี สงครามไซเบอร์ และสงครามการรับรู้”   ในปัจจุบันและอนาคต ความขัดแย้งในท้องถิ่นและความวุ่นวายจะเกิดขึ้นบ่อย ปัญหาระดับโลกรุนแรง โลกเข้าสู่ความวุ่นวายและการเปลี่ยนแปลงช่วงใหม่ เหตุการณ์แบบหงส์ดำ (เกิดขึ้นได้ยากมาก) และแรดสีเทา (สถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูง แต่ผู้เกี่ยวข้องแยกแยะไม่ออก) อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ โดยเฉพาะด้วยการสกัดกั้น โอบล้อม ตัดขาด กดขี่ และภัยคุกคามจากชาติตะวันตกบางชาติ”   รอยเตอร์ระบุว่า ในนามของความมั่นคงแห่งชาติและเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่รับรู้ได้จากตะวันตก ความพยายามเตรียมตัวรับมือความท้าทายด้านความมั่นคงของจีนไม่ได้ลดน้อยลง แม้เศรษฐกิจชะลอตัวและโควิด-19 ระบาด ปีนี้ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมส่อเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน ซึ่งขนาดและขอบเขตการเตรียมการของกองทัพจีนไม่ได้มีแค่ตะวันตกที่จับตา แต่เพื่อนบ้านรวมถึงไต้หวันที่จีนอ้างว่าเป็นของตนก็จับตาอย่างใกล้ชิดด้วย   แต่แม้ทุ่มเทงบประมาณลงไปหลายแสนล้านดอลลาร์แต่กองทัพจีนไม่ได้ทำสงครามมานานมาก…

หลักฐานเพียบ! จีนกล่าวหาปืนเถื่อนจากสหรัฐฯ ต้นเหตุสังคมชาติแคริบเบียนไม่ปลอดภัย

Loading

    โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนจวกสหรัฐฯ ส่งต่อปัญหาความรุนแรงจากอาวุธปืนในประเทศตัวเอง ไปให้ชาติเพื่อนบ้านแถบทะเลแคริบเบียน   ในการประชุมความมั่นคงหมู่ชาติแคริบเบียน (CANSEC) ซึ่งจัดขึ้นที่สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโกเมื่อเร็ว ๆ นี้ บรรดาผู้นำชาติประชาคมแคริบเบียน (CARICOM) ได้บรรลุฉันทมติสั่งแบนอาวุธปืนจู่โจม เพื่อลดปัญหาความรุนแรงจากอาวุธปืนและปัญหาการลักลอบนำเข้ามาภายในภูมิภาคแคริบเบียน พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ ดำเนินมาตรการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสกัดกั้นอาวุธปืนที่ไหลบ่าจากสหรัฐฯ เข้ามายังภูมิภาคนี้   ตามการแถลงของนายหวัง เหวินปิน โฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีนเมื่อวันอังคาร (16 พ.ค.) ผู้นำจากชาติเหล่านี้ได้กล่าวระหว่างการประชุม CANSEC ว่า การเข้าถึงอาวุธทางทหารประสิทธิภาพสูงมีส่วนทำให้แก๊งมิจฉาชีพในภูมิภาคเหิมเกริม   นายหวัง ระบุว่า อาวุธซึ่งลักลอบขนมาจากสหรัฐฯ เป็นหลักคือเครื่องบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า ปัญหาความรุนแรงจากอาวุธปืนนอกจากเป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็นชาติที่มีพลเมืองครอบครองอาวุธปืนมากที่สุดแล้ว สหรัฐฯ ยังแพร่โรคติดต่อนี้ไปทำให้ความปลอดภัยในสังคมของชาติเพื่อนบ้านเสื่อมโทรมอีกด้วย     นายหวัง ยังอ้างอิงข้อมูลขององค์การตำรวจสากล (Interpol) ซึ่งระบุว่า เหตุฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในแถบแคริบเบียนกว่าร้อยละ 70 เป็นการใช้อาวุธปืน และเมื่อดูจากสถิติของสำนักงานเหล้าบุหรี่อาวุธปืนและระเบิด (ATF) ของสหรัฐฯ จะพบว่า ราวร้อยละ 80 ของอาวุธปืนในการก่อคดีอาญาในแถบแคริบเบียนล้วนมาจากสหรัฐฯ นอกจากนั้น…