ว่าด้วยการเผยแพร่เอกสารราชการของสื่อมวลชน

Loading

จากกรณี น.ส.พ.ข่าวสด (www.khaosod.co.th/politics/news_3056014) รายงานข่าวหัวข้อ “บิ๊กตู่ ไอเดียบรรเจิด สั่งหามาตรการ ดึงเงินประกันสังคมปล่อยกู้” : วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 – 15:36 น. ถือเป็นการเผยแพร่ข้อมูลราชการของสื่อมวลชนต่อสาธารณะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อรัฐบาล รายละเอียด คือ “บิ๊กตู่ – เมื่อวันที่ 8 พ.ย. ที่ผ่านมา นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือ ด่วน ที่ นร 0505/ว 459 แจ้งถึงข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้ส่วนราชการรับทราบว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 พ.ย. นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการหลัก ๆ 3 ประเด็น โดยข้อที่น่าสนใจ นั้นคือ สั่งให้กระทรวงแรงงาน…

ว่าด้วยเอกสารราชการที่กำหนดชั้นความลับ

Loading

  จากวิทยาการสมัยใหม่ที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลต่อรูปแบบของข้อมูลข่าวสารที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่จับต้องได้ เช่น ข้อมูลข่าวสารในหนังสือ กับข้อมูลข่าวสารที่จับต้องไม่ได้ คือ ข้อมูลข่าวสารที่บันทึกด้วยสัญญาณ ต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์แปลงสัญญาณนั้นก่อน จึงจะสื่อความเข้าใจได้ เช่น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จากการนำมาใช้งานของส่วนราชการ ข้อมูลข่าวสารทั้ง 2 รูปแบบดังกล่าวจึงถูกแบ่งลักษณะออกเป็นข้อมูลข่าวสารทั่วไป และข้อมูลข่าวสารที่กำหนดชั้นความลับหรือมีความสำคัญ จากลักษณะการใช้งานนี้จึงเป็นผลให้ต้องกำหนดระเบียบราชการ เพื่อเป็นแนวทางบริหารและปฏิบัติ กับเป็นแนวทางดูแล คุ้มครองและป้องกันการสูญหาย ถูกปรับเปลี่ยน แก้ไขเนื้อความไปจากเดิม หรือถูกนำไปเปิดเผยก่อนเวลาอันควร หรือรั่วไหลไปสู่ผู้ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ สำหรับรูปแบบข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐที่ใช้ปฏิบัติงานอยู่ขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นเอกสารบันทึกบนกระดาษ นับเป็นประเภทหนึ่งของข้อมูลข่าวสารที่จับต้องได้ จำเป็นต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับเอกสารราชการ เพื่อให้หน่วยงานทุกประเภทของรัฐอยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน ที่สำคัญคือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ซึ่งเป็นแนวทางบริหารจัดการงานเอกสารราชการ สำหรับการดูแล คุ้มครอง และป้องกันนั้น แต่เดิมถือปฏิบัติตามบทการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารของระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517 แต่ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และเพื่อให้รองรับมาตรา 16 และมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ซึ่งเนื้อความของระเบียบการรักษาความลับของทางราชการนั้นปรับมาจากบทการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารของระเบียบการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517…

“สุพิศาล” ยกกรณีสื่อออสซี่แฉ “ธรรมนัส” ใช้ Data Government เป็นประโยชน์ ลั่นไทยต้องไปให้ถึง

Loading

เมื่อวานนี้ (10 กันยายน 2562) ที่พรรคอนาคตใหม่ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคคตใหม่ กล่าวถึง กรณีที่หนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิง เฮอรัลด์ ของออสเตรเลีย นำเสนอข่าวการถูกดำเนินคดียาเสพติดของ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตอนที่ตนเองอภิปรายรายงาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. นั้น ก็มีประเด็นในเรื่องนี้ที่เตรียมไว้ แต่เนื่องจากเวลาจำกัดจึงอภิปรายไปไม่ถึง นั่นคือเรื่องความร่วมมือกันปราบปรามยาเสพติด ของ ป.ป.ส.กับต่างประเทศ โดยประเด็นสำคัญคือหน่วยงาน ป.ป.ส. ต้องเก็บข้อมูลผู้ค้ายาเสพติดในรายงานให้มากสุด จากนั้นก็ต้องมีการรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ จะได้รู้ข้อมูล รวมถึงศึกษาในรายละเอียด โดยเฉพาะช่วงนั้นที่มีการพูดถึงเรื่งคุณสมบัติของรัฐมนตรี ที่จะมาร่วมรัฐบาลกับท่าน เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจริงหรือไม่ “ในกรณีของหนังสือพิมพ์ต่างประเทศที่เปิดเผยข่าวนี้ในลักษณะข่าวการสืบสวน ก็มาจากการที่มีข้อเท็จจริงปรากฏอยู่ในชั้นศาล ของต่างประเทศ ข้อมูลเหล่านี้สำหรับต่างประเทศแล้ว เขาเรียก ดาต้า กอฟเวอร์เม้น (Data Government ) ที่สามารถนำมาเปิดเผยได้ ซึ่งประเทศไทยเรายังไปไม่ถึงขนาดนั้น โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาล นี่แสดงให้เห็นว่าสื่อ ออสเตรเลียมีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องในชั้นศาลอย่างชัดเจน ซึ่งข้อมูลอ้างอิงจากในชั้นศาล นั้นน่าเชื่อถือ…

ทำไมประชาคมข่าวกรองสหรัฐฯจึงคัดค้าน ‘จีน’ และ ‘หัวเว่ย’ ถึงขนาดนี้

Loading

By Spengler  การที่ประชาคมข่าวกรองของสหรัฐฯ มีความระวังตื่นภัยจากเรื่องที่บริษัทหัวเว่ยของจีนก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านระบบสื่อสารไร้สาย 5 จี เบื้องลึกลงไปก็เพราะมันหมายถึงการแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารเพื่อสอดแนมสืบความลับของอเมริกา จะทำไม่ได้อีกต่อไป และพวกสปายสายลับมีหวังจะต้องตกงาน  การที่ประชาคมข่าวครองสหรัฐฯเกิดความระวังตื่นภัยจากเรื่องที่จีนก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านบรอดแบนด์เคลื่อนที่ 5 จี (5G mobile broadband) นั้น มีสาเหตุมาจากภัยคุกคามที่จีนอาจแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารเพื่อสอดแนมสืบความลับ น้อยเสียยิ่งกว่าความเป็นไปได้ที่การแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารเพื่อสอดแนมสืบความลับกำลังจะกลายเป็นสิ่งที่แทบเป็นไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ทั้งนี้ต้องขอบคุณวิทยาการเข้ารหัสลับด้วยเทคโนโลยีควอนคัม (quantum cryptography) ผมได้สนทนาว่าด้วยหัวข้อนี้อยู่หลายครั้งหลายครากับบรรดาแหล่งข่าวทั้งของสหรัฐฯและของจีน แต่อันที่จริงข้อสรุปเช่นนี้มีปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในพวกแหล่งข้อมูลข่าวสารสาธารณะอยู่แล้ว ประชาคมข่าวกรองของอเมริกา ใช้จ่ายงบประมาณปีละเกือบๆ 80,000 ล้านดอลลาร์ [1] โดยยอดนี้ครอบคลุมทั้งจำนวนราว 57,000 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Program) และ 20,000 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการข่าวกรองทหาร (Military Intelligence Program) ทั้งนี้การข่าวกรองด้านสัญญาณการสื่อสาร (Signals intelligence ใช้อักษรย่อว่า SIGINT) ซึ่งงานหลักคือการสืบความลับด้วยการแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารนั้น เป็นด้านซึ่งได้รับงบประมาณส่วนใหญ่ไป โดยที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency) [2] นอกเหนือจากปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ แล้ว งานสำคัญคือการบันทึกรายการพูดคุยโทรศัพท์และการรับส่งข้อความเป็นตัวอักษรของคนอเมริกัน…