จีนโต้ข้อกล่าวหาตั้งสถานีตำรวจในสหรัฐ

Loading

  จีนปฏิเสธคำอ้างของเอฟบีไอ ที่ระบุว่ากำลังดำเนินการ ‘สถานีตำรวจ’ ในดินแดนของสหรัฐฯ โดยระบุว่า เป็นการทำงานแบบอาสาสมัคร หลังจากที่ผู้อำนวยการเอฟบีไอได้กล่าวว่าเขา “กังวลอย่างมาก” เกี่ยวกับสำนักงานที่ไม่ได้รับอนุญาตซึ่งดำเนินงานภายใต้อิทธิพลของกรุงปักกิ่ง   ก่อนหน้านี้ ในเดือนกันยายน องค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนที่ตั้งอยู่ในยุโรปได้เผยแพร่รายงานที่เปิดเผยถึงการมี’สถานีบริการ’ ของตำรวจจีนหลายสิบแห่งในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก รวมถึงนิวยอร์กด้วย   คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอ เข้าให้การกับวุฒิสภาเมื่อวันพฤหัสบดีว่ามันเป็น “ความเดือดดาล” ที่รัฐบาลจีนจะพยายามจัดตั้งสถานีตำรวจในสหรัฐอเมริกา โดยกล่าวว่า นี่เป็นการละเมิดอธิปไตยและหลีกเลี่ยงกระบวนการความร่วมมือด้านการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายมาตรฐาน   ด้านสถานเอกอัครราชทูตจีนในวอชิงตันยอมรับว่ามีสถานที่ดำเนินการอาสาสมัครในสหรัฐอเมริกา แต่กล่าวว่าพวกเขาไม่ได้เป็น “สถานีตำรวจ” หรือ “ศูนย์บริการตำรวจ”   ‘พวกเขาให้การช่วยเหลือชาวจีนโพ้นทะเลในการเข้าถึงแพลตฟอร์มบริการออนไลน์ต่างๆ เช่นต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ หรือเพื่อขอรับการตรวจร่างกาย’   หลิว เพิงยู โฆษกสถานเอกอัครราชทูตกล่าวทางอีเมลไปยังรอยเตอร์เมื่อวันศุกร์   ‘พวกเขาไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตำรวจจากประเทศจีน ฝ่ายสหรัฐควรหยุดการสะกดจิตอย่างไร้เหตุผลของปัญหานี้’   โดยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศของจีนได้กล่าวเช่นเดียวกันเกี่ยวกับสถานที่ในเนเธอร์แลนด์หลังจากที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์สั่งให้ปิดกิจการและเข้าตรวจสอบกิจกรรมของพวกเขา ขณะที่สมาชิกของรัฐสภาอังกฤษได้เรียกร้องให้มีการตรวจสอบสถานที่คล้าย ๆ กัน   พรรครีพับลิกันในสภาคองเกรสสหรัฐ ได้ขอคำตอบจากรัฐบาลไบเดนเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานที่ดังกล่าว   นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิกล่าวว่าสถานที่เหล่านี้เป็นส่วนขยายของความพยายามของกรุงปักกิ่งที่จะกดดันชาวจีนหรือญาติของพวกเขาในต่างประเทศให้กลับไปยังประเทศจีน…

เอฟบีไอเผย ‘ติ๊กต๊อก’ สร้างความกังวลด้านความมั่นคง

Loading

FILE – A TikTok logo is displayed on a smartphone in this illustration taken Jan. 6, 2020.   คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ (FBI) กล่าวว่า เอฟบีไอเป็นกังวลด้านความมั่นคงแห่งชาติ ต่อสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยม ติ๊กต๊อก (TikTok) ของจีน ซึ่งกำลังขออนุมัติจากทางการสหรัฐฯ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจในอเมริกาได้ต่อไป   เรย์ กล่าวต่อคณะกรรมาธิการด้านความมั่นคงมาตุภูมิของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวันอังคาร ว่าด้วยเรื่องภัยคุกคามจากทั่วโลกต่อสหรัฐฯ โดยระบุว่า ความกังวลที่มีต่อ TikTok นั้นรวมถึงการที่รัฐบาลจีนสามารถใช้ TikTok เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลของผู้ใช้หลายล้านคน และรัฐบาลปักกิ่งยังอาจสามารถควบคุมชุดคำสั่งอัลกอริทึมและซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์สื่อสารหลายล้านเครื่องได้ด้วย   ผอ.เอฟบีไอ ระบุว่า “หน่วยข่าวกรองข้ามชาติและภัยคุกคามทางเศรษฐกิจจากจีนนั้น คือภัยคุกคามที่น่ากลัวที่สุดในระยะยาว ต่อความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ”   ความเชื่อมโยงระหว่างแอปป์ TikTok กับรัฐบาลจีน…

เรดาร์ตัวตึงของจีน พร้อมขายให้มิตร ไม่คิดขายให้คู่ขัดแย้ง !

Loading

  จีนแย้มว่าพร้อมส่งมอบเรดาร์ตรวจจับวัตถุบนท้องฟ้าตัวท็อปที่ตรวจได้แม้แต่ดาวเทียม ให้กับประเทศพันธมิตรเพื่อนำไปใช้งานด้วยเช่นกัน   ประเทศจีนเร่งพัฒนาเทคโนโลยีในหลากหลายมิติ รวมถึงมิติทางการทหาร นอกเหนือจากการพัฒนาอาวุธโจมตีต่าง ๆ เช่น รถถัง เครื่องบินขับไล่ เรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว ก็ยังมีอาวุธป้องกันภัยต่าง ๆ รวมถึงเรดาร์ด้วย และหนึ่งในเรดาร์รุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง SLC-18 ที่ทางจีนอ้างว่าทรงพลังในระดับตรวจจับดาวเทียมฝ่ายตรงข้ามได้ก็ได้มีการเปิดเผยผ่านสำนักข่าวในจีนว่า ทางจีนพร้อมขายเรดาร์สุดเทพรุ่นดังกล่าวให้กับประเทศพันธมิตรของตน   ระบบเรดาร์ SLC-18 เป็นเรดาร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำการสำรวจและตรวจจับวัตถุต่าง ๆ ในรูปแบบช่องลำดับ (Array) ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกในงานนิทรรศการอวกาศและอากาศยานนานาชาติ (International Aviation and Aerospace Exhibition) ในเมืองซูไห่ (Zhuhai) มณฑลกวางดง ซึ่งผลิตโดยบริษัท ไชน่า อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี กรุ๊ป (China Electronics Technology Group Corporation: CETC) ที่เป็นรัฐวิสาหกิจภายในประเทศ   ความสามารถที่โดดเด่นที่สุดของระบบเรดาร์ SLC-18 คือระบบตรวจจับดาวเทียมในระดับวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit: LEO)…

Apple จำกัดการใช้งาน AirDrop ในประเทศจีน จำกัดเวลาเพียง 10 นาที

Loading

  การอัปเดตครั้งล่าสุดของระบบปฏิบัติการ iOS 16.1.1 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในฟีเจอร์ AirDrop ส่งผลให้การใช้งานฟีเจอร์นี้ในประเทศจีน จำกัดเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น   แอปเปิล ซึ่งเพิ่งปล่อยอัปเดตของระบบปฏิบัติการ iOS 16.1.1 ได้มีการปรับเปลี่ยนความสามารถการใช้งานของฟีเจอร์ AirDrop โดยการแชร์ไฟล์แบบไร้สายที่ว่านี้ มีเวลาจำกัดแค่ 10 นาทีเท่านั้น เมื่อมีการรับ-ส่งไฟล์ไปหาผู้ใช้งานทุกคน (for everyone)   แต่ในส่วนการทำงานของ AirDop กรณีที่ต้องการแชร์ไปให้ผู้ติดต่อที่เป็นเพื่อนกันยังคงส่งไฟล์หากันได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดระยะเวลาเหมือนกรณีข้างต้น   การปรับเปลี่ยนความสามารถที่ว่านี้ของแอปเปิล นั่นเป็นเพราะว่า ในประเทศจีน ผู้ประท้วงชาวจีนที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลปักกิ่งนั้นมีการเลือกใช้ AirDrop สำหรับส่งไฟล์ซึ่งภายในมีข้อความที่ต้องการต่อสู้กับการปกครองแบบเผด็จการของรัฐบาลจีน   แน่นอนว่ากรณีนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่แอปเปิลถอนฟีเจอร์การใช้งานบางอย่างในประเทศจีน ในบางกรณีแอปเปิลก็เลือกที่จะถอดบางแอปพลิเคชันที่ทำให้รัฐบาลจีนไม่สบายใจก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว   อย่างไรก็ดี ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงของ AirDrop แอปเปิลไม่ได้บอกว่าเป็นเพราะอะไร แต่บอกว่าในปีหน้าจะบังคับให้การแชร์ไฟล์ไปหาใครก็ได้ทำได้จำกัดในเวลา 10 นาทีเท่านั้น เพื่อลดการแชร์ไฟล์ที่ไม่ต้องการ     ที่มา: Mashable      …

ชังชาติ! ศาลฮ่องกงสั่งคุก หญิงวัย 42 ประเดิมโทษ ‘หมิ่นเพลงชาติจีน’ คนแรก

Loading

ธงฮ่องกงยุคอาณานิคมที่ถูกโบกโดยกลุ่มผู้ประท้วงเมื่อปี 2015 FILE PHOTO (AFP)   ชังชาติ! ศาลฮ่องกงสั่งคุก หญิงวัย 42 ประเดิมโทษ ‘หมิ่นเพลงชาติจีน’ คนแรก   สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน อ้างอิงข้อมูลจากสื่อท้องถิ่นว่า ศาลฮ่องกงสั่งจำคุก พอลล่า เหลิง ชาวฮ่องกง ด้วยข้อหาดูหมิ่นเพลงชาติจีนเป็นรายแรก เนื่องจากเธอโบกธงฮ่องกงสมัยตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ขณะชมการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกกรุงโตเกียว   เซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ รายงานว่า เหลิง วัย 42 ปี ยอมรับว่าทำผิดข้อหาดูหมิ่นเพลงชาติจีน “March of the Volunteers” ขณะที่มีการเปิดเพลงดังกล่าวเพื่อเป็นเกียรติแก่ เอ็ดการ์ เฉิง นักกีฬาฟันดาบฮ่องกง ที่คว้าเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเลื่อนมาจัดในปีถัดมาเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19   โดยศาลฮ่องกงให้การว่า เหลิงโบกธงฮ่องกงยุคอาณานิคมขณะที่มีถ่ายทอดพิธีมอบเหรียญดังกล่าวผ่านจอฉายขนาดใหญ่ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2021   ผู้พิพากษาจึงตัดสินโทษจำคุกหญิงฮ่องกงผู้นี้เป็นเวลา…

จีนประกาศอัพเกรดระบบดาวเทียมนำทาง BeiDou ให้ทันสมัยไม่แพ้ระบบของชาติอื่น

Loading

  ทางการจีนเตรียมอัปเกรดระบบการทำงานของดาวเทียมระบุพิกัด BeiDou ของตนเอง (ชื่อตัวย่อคือ BDS มาจาก BeiDou Navigation Satellite System) พร้อมทั้งเผยแพร่ไวท์เปเปอร์ (เอกสารนำเสนอข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการ) ฉบับใหม่ในวันนี้ โดยเป้าหมายสำคัญคือยกระดับการทำงานของดาวเทียมระบุพิกัดให้ทันสมัยทัดเทียมกับระบบของชาติอื่น   ในการอัปเกรดนี้จะมีการพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่ทั้งระบบการทำงานหลัก, การซ่อมบำรุง รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อการใช้งานดาวเทียมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะมีการปรับปรุงการใช้งานให้ดีขึ้นในหลายด้าน อาทิ การสื่อสารด้วยข้อความ, การเพิ่มคุณภาพสัญญาณทั้งภาคพื้นดินและที่ตัวดาวเทียมเอง, ระบบนำทางเครื่องบินพลเรือน, ระบบนำทางสำหรับการเดินเรือ รวมทั้งปรับปรุงระบบการทำงานสำหรับปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยในระดับนานาชาติ   ในแง่การปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อการค้นหาและกู้ภัยนั้น BDS จะเปลี่ยนจากการสื่อสารทางเดียวเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จากเดิมที่ผู้ประสบเหตุส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือผ่านดาวเทียมนั้นจะไม่สามารถรับรู้ได้ว่ามีหน่วยกู้ภัยได้รับสัญญาณของตนหรือไม่ ก็จะเปลี่ยนมารับรู้ได้หลังการปรับปรุงนี้   ทั้งนี้ในปัจจุบันระบบดาวเทียม BDS สามารถระบุพิกัดตำแหน่งในระยะคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5 เมตร (ในบางพื้นที่คลาดเคลื่อนแค่ 2-3 เมตร) ซึ่งถือว่าทำได้ดีกว่าเป้าหมายในตอนออกแบบที่กำหนดความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10 เมตร แต่หลังการปรับปรุงระบบในครั้งใหม่นี้ระบบ BDS จะสามารถระบุพิกัดตำแหน่งได้ด้วยความแม่นยำที่คลาดเคลื่อนในระดับเดซิเมตร (นั่นคือคลาดเคลื่อนในระดับไม่กี่สิบเซนติเมตร) ส่วนเรื่องความแม่นยำด้านเวลานั้นระบบดาวเทียม BDS มีความคลาดเคลื่อนในระดับ…