ลดพึ่งต่างชาติ! จีนสั่งห้ามเจ้าหน้าที่รัฐใช้ ‘ไอโฟน-มือถือแบรนด์นอก’ ในการทำงาน

Loading

  จีนสั่งห้ามเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐบาลกลางทุกแห่งใช้ “ไอโฟน” และมือถือแบรนด์ต่างประเทศอื่น ๆ ในการทำงาน รวมถึงห้ามพกติดตัวมาออฟฟิศด้วย ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล (WSJ) เมื่อวันพุธ (6 ก.ย.)   WSJ อ้างแหล่งข่าวซึ่งระบุว่า ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาผ่านทางแชตกรุ๊ปหรือที่ประชุมให้เลิกใช้ไอโฟน แต่ไม่ชัดเจนว่าคำสั่งนี้ถูกกระจายไปยังหน่วยงานต่าง ๆ กว้างขวางมากน้อยเพียงใด   นักวิเคราะห์ระบุว่า คำสั่งแบนนี้มีขึ้นก่อนที่แอปเปิลจะจัดงานอีเวนต์ในสัปดาห์หน้า ซึ่งคาดว่าจะมีการเปิดตัวไอโฟนรุ่นใหม่ด้วย และความเคลื่อนไหวนี้อาจยิ่งกระพือความวิตกกังวลในหมู่บริษัทต่างชาติที่ประกอบธุรกิจในจีน   รายงานของ WSJ ไม่ได้ระบุว่า มีแบรนด์มือถือใดบ้างที่ถูกสั่งห้ามใช้นอกเหนือจากแอปเปิล ขณะที่สำนักงานสารนิเทศของสภาแห่งรัฐจีน (State Council Information Office) ซึ่งมีหน้าที่ตอบคำถามสื่อมวลชนในนามรัฐบาล ก็ยังไม่ให้คำตอบกับรอยเตอร์ในประเด็นนี้   ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนพยายามลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างชาติ โดยขอให้บริษัทในกำกับของรัฐ เช่น ธนาคารต่าง ๆ เปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตในจีน รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศ   การรณรงค์นี้ยิ่งเข้มข้นขึ้นเป็นพิเศษตั้งแต่ปี 2020 เมื่อคณะผู้นำจีนประกาศนโยบายเศรษฐกิจวงจรคู่ขนาน (dual circulation) ซึ่งตั้งเป้าลดการพึ่งพาตลาดและเทคโนโลยีต่างชาติ…

Microsoft เผยแฮ็กเกอร์จีนเจาะบัญชีวิศวกรล้วงข้อมูลเจ้าหน้าที่สหรัฐ

Loading

  Microsoft Corp เปิดเผยเมื่อวันพุธว่า การแฮ็กเจ้าหน้าที่อาวุโสในหน่วยงานของรัฐและพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาโดยจีนที่เปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดจากการเจาะบัญชีของวิศวกรขององค์กร   Microsoft ชี้ว่าบัญชีของวิศวกรถูกเจาะโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มีชื่อว่า Storm-0558 ซึ่งถูกกล่าวหาว่าขโมยอีเมลหลายแสนฉบับจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกา รวมถึงรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ จินา ไรแมนโด เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศจีน นิโคลัส เบิร์นส์ และผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ สำหรับเอเชียตะวันออก แดเนียล ครีเทนบริงค์   โพสต์ในบล็อกดังกล่าวได้ตอบคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดการตรวจสอบความปลอดภัยของ Microsoft อย่างละเอียด และนำไปสู่การเรียกร้องให้ตรวจสอบแนวทางปฏิบัติของบริษัท   โพสต์อธิบายว่าแฮ็กเกอร์สามารถดึงคีย์เข้ารหัสจากบัญชีของวิศวกรได้อย่างไร และใช้เพื่อเข้าถึงบัญชีอีเมลที่ไม่ควรให้สิทธิ์เข้าถึง   Microsoft กล่าวว่าได้แก้ไขข้อบกพร่องที่ทำให้สามารถเข้าถึงคีย์ได้จากบัญชีของวิศวกรที่ไม่ระบุชื่อ ซึ่งทำให้แฮ็กเกอร์สามารถเจาะอีเมลได้ในวงกว้าง ตัวแทนของ Microsoft กล่าวว่าบัญชีของวิศวกรถูกโจมตีโดยใช้ “มัลแวร์ขโมยโทเค็น” แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือช่วงเวลาของเหตุการณ์   สถานทูตจีนในกรุงวอชิงตันไม่ได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นนี้ ก่อนหน้านี้ ปักกิ่งได้อธิบายข้อกล่าวหาที่ว่าตนขโมยอีเมลจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ว่าเป็น “การกล่าวอ้างที่ไม่มีมูล”   ทั้งนี้ สหรัฐได้กล่าวหาจีนและรัสเซียมาหลายปีแล้วว่า อยู่เบื้องหลังความพยายามของแฮ็คเกอร์ ในการเจาะเว็บไซต์หรืออีเมลของเจ้าหน้าที่ระดับสูง โดยครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อ…

TikTok ว่าจ้างบริษัท NCC ของอังกฤษตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลบนแพลตฟอร์ม

Loading

ภาพ : REUTERS/Mike Blake   TikTok ได้ว่าจ้าง NCC NCCG.L บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอังกฤษ เพื่อตรวจสอบการควบคุมและการปกป้องข้อมูลของผู้ใช้บริการบนแพลตฟอร์มโดยอิสระ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือน มี.ค.67   กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของบริษัทโซเชียลมีเดีย หรือเรียกชื่อย่อว่า “Project Clover” ทั้งนี้ TikTok และ NCC จะต้องร่วมมือกับผู้กำหนดนโยบายทั่วยุโรป เพื่อให้ข้อมูลในทางปฏิบัติว่า ระบบจะทำงานอย่างไร   การดำเนินการดังกล่าวสืบเนื่องมาจากแรงกดดันเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นจากฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมทั้งหน่วยงานของรัฐหลายแห่งได้สั่งห้ามให้เจ้าหน้าที่ใช้งาน TikTok เพราะมีความกังวลว่า TikTok ที่มีเจ้าของโดย ByteDance บริษัทสัญชาติจีน ซึ่งรัฐบาลจีนอาจสามารถรวบรวมข้อมูลผู้ใช้ของประเทศอื่นได้   TikTok กำลังเปิดศูนย์ข้อมูลในยุโรปทั้งหมด 3 แห่ง ในไอร์แลนด์สองแห่ง และอีกหนึ่งแห่งในนอร์เวย์   นาง Elaine Fox หัวหน้าฝ่ายความเป็นส่วนตัวของ TikTok ในยุโรป กล่าวว่า “ปัจจุบัน TikTok ได้เริ่มโยกย้ายและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ในเขตเศรษฐกิจยุโรป (European…

ร้านค้าแอปในจีนเริ่มบังคับให้เจ้าของแอปทำข้อมูลรายงานรัฐบาล ตามกฎหมายใหม่

Loading

  ร้านแอปออนไลน์ของ Tencent, Xiaomi และเจ้าอื่น ๆ ของจีนเริ่มห้ามไม่ให้นำแอปที่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลตามที่รัฐบาลระบุมาขายในร้าน   มาตรการใหม่นี้เป็นการปฏิบัติตามกฎใหม่ที่รัฐบาลจีนนำมาใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในอุตสาหกรรมแอปของจีน ทำให้หลายแอปจะหายไปจากตลาด   กฎหมายใหม่บังคับให้ผู้จัดจำหน่ายแอปต้องส่งรายละเอียดการดำเนินธุรกิจให้กับรัฐบาล และบังคับให้ร้านค้าแอปตั้งระบบการรายงานการทำตามกฎของรัฐบาล   ริช บิชอบ (Rich Bishop) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AppInChina เผยว่ากฎใหม่บังคับให้แอปต่างชาติที่อยู่ในร้านค้าแอปเหล่านี้จะต้องตั้งสำนักงานภายในประเทศหรือทำงานร่วมกับหุ้นส่วนในจีน   เมื่อสัปดาห์ที่แล้วร้านค้าแอปที่บริหารโดย Tencent, Huawei, Xiaomi, Oppo และ Vivo แจ้งไปยังบรรดาผู้ขายแอปว่าจะไม่ให้วางแอปใหม่หากไม่มีการดำเนินเอกสารที่เพียงพอ     ที่มา   Reuters         ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   แบไต๋         …

กฎหมายเอไอจีน

Loading

  เมื่อเร็ว ๆ นี้ จีนบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับเนื้อหาที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดยเป็นเวอร์ชันที่อ่อนลงของร่างกฎหมายที่เข้มงวดกว่า ซึ่งพยายามทำให้ประเทศอยู่ในการแข่งขันด้านเอไอ ควบคู่ไปกับการคงไว้ซึ่งการเซนเซอร์เนื้อหาออนไลน์อย่างเด็ดขาด   ความก้าวหน้าที่รวดเร็วของเอไอสำหรับการสร้างคอนเทนต์ ทำให้เกิดความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีในการบิดเบือนข้อมูล และการใช้งานในทางที่ผิด ดังเช่นเทคโนโลยี “ดีพเฟค” ที่ทำให้เห็นภาพเสมือนของผู้คนซึ่งพูดในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยพูด   บรรดาผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า กฎระเบียบใหม่ 24 ข้อของจีน ดูเหมือนจะเป็นมาตรการที่ผ่อนคลายจากร่างข้อบังคับที่เข้มงวด ซึ่งเผยแพร่เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลปักกิ่งพยายามสนับสนุนให้คนในประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมที่สหรัฐมีอิทธิพล   สำหรับกฎระเบียบใหม่ของรัฐบาลปักกิ่ง ซึ่งมีเป้าหมายให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป มีข้อกำหนดกับแนวทางสำคัญที่ควรทราบและปฏิบัติตามหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น เอไอสำหรับการสร้างคอนเทนต์ ต้องยึดมั่นใน “ค่านิยมหลักของระบบสังคมนิยม” ตลอดจนละเว้นจากการคุกคามความมั่นคงของชาติ และการส่งเสริมการก่อการร้าย ความรุนแรง หรือความเกลียดชังทางชาติพันธุ์   ประการถัดมา ผู้ให้บริการต้องกำกับเนื้อหาที่สร้างโดยเอไอให้ชัดเจน และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติทางเพศ อายุ และเชื้อชาติ เมื่อดำเนินการออกแบบอัลกอริธึม อีกทั้งซอฟต์แวร์ของพวกเขาไม่ควรสร้างเนื้อหาที่มี “ข้อมูลอันเป็นเท็จ และเป็นอันตราย”   นอกจากนี้ โปรแกรมเอไอต้องได้รับการฝึกให้รับแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งไม่เป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และบุคคลต้องให้ความยินยอม…

ESET เผยแฮ็กเกอร์จีนให้แอป Signal และ Telegram ปลอมล้วงข้อมูลเหยื่อ

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญจาก ESET เผยแฮ็กเกอร์จีนใช้แอปแชตปลอมแฝงมัลแวร์สอดแนมผู้ใช้งาน Android ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2020 เป็นต้นมา   ESET เชื่อว่าผู้อยู่เบื้องหลังคือกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มีชือเรียกว่า Gref ซึ่งปฏิบัติการสอดคล้องกับกลุ่มอื่นอย่าง APT15, Vixen Panda และ Ke3Chang   แอปที่ Gref ใช้ในการโจมตีเป็นแอปที่ทำเลียนแบบ Signal และ Telegram ด้วยการตั้งชื่ออย่าง Signal Plus Messenger และ FlyGram แฝงไว้ใน Google Play และ Samsung Galaxy Store   แอปเหล่านี้ซ่อนสปายแวร์ที่ชื่อ BabBazaar ซึ่งเป็นตัวเดียวกันที่เคยใช้สอดแนมชาวอุยกูร์ และชนกลุ่มน้อยชาวเตอร์กิกในจีน   การวิเคราะห์ชี้ว่าเป้าหมายของ Greg คือผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่อยู่ในโปแลนด์และเยอรมนีเป็นหลัก แต่ขยายวงไปถึงบราซิลและออสเตรเลียด้วย   วิธีการที่ใช้ลวงเหยื่อให้ดาวน์โหลดแอปปลอมคือการโปรโมตแอปในกลุ่ม Telegram ของชาวอุยกูร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแอป Android   ข้อมูลที่ดูดออกไปจากเหยื่อมีทั้งข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ…