ความสำคัญของ Big Data

Loading

โดย ณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด ในโลกปัจจุบันนี้เป็นโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลขนาดใหญ่หรือเล็ก โดยเฉพาะข้อมูลขนาดใหญ่หรือที่เราเรียกกันว่า Big Data เช่น ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในปี 2017 มีการประมาณว่าจำนวนเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตมีขนาดกว่า 1,766 ล้านเว็บไซต์ โดยเพิ่มจากในปี 2016 จำนวน 1,045 ล้านเว็บไซต์ คิดเป็นอัตราการเติบโตกว่า 69% นอกจากนี้จำนวนผู้ใช้ Social Media มีจำนวนผู้ใช้บริการกว่า 3,196 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่า 7% โดยใน Facebook, Twitter, Instagram เฉลี่ยมีการกด like หรือ tweet ขึ้นมากกว่าล้านครั้งในแต่ละนาที ในโลกของการลงทุนก็เช่นกัน มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของ Big Data และการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว โดยเฉพาะกองทุนเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund) เช่น กองทุน Renaissance Technologies, DE…

รักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัวบน “เฟซบุ๊ก”

Loading

  ในขณะที่ราคาหุ้นของเฟซบุ๊กกำลังตกลงอย่างต่อเนื่อง และแฮชแทก #DeleteFacebook หรือ #ลบเฟซบุ๊ก กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในทวิตเตอร์ขณะนี้ คำถามสำหรับผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายคนคือ ข้อมูลส่วนตัวของเราถูกใครเอาไปใช้บ้าง และเราสามารถทวงคืนมันกลับมาได้หรือเปล่า? คำถามนี้เกิดขึ้นจากกรณีข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทที่ปรึกษาด้านการเมือง เคมบริดจ์ อนาลิติกา (Cambridge Analytica) นำข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 50 ล้านคนไปใช้ และล่าสุดคณะกรรมาธิการสอบข้อเท็จจริงของสภาสามัญชนของอังกฤษ ก็ได้เรียกตัว มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอเฟซบุ๊ก เข้าให้ปากคำ สำหรับเฟซบุ๊กแล้ว ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เป็นสิ่งจูงใจให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาซื้อโฆษณา และเป็นที่รู้กันดีว่าเฟซบุ๊กสามารถเข้าใจตัวตนและสร้างโปรไฟล์ของผู้ใช้ขึ้นมาอย่างละเอียดลึกซึ้งผ่านการกดไลค์ การกดอันไลค์ ดูรูปแบบการใช้ชีวิต และความคิดทางการเมือง ของผู้ใช้ และด้วยเหตุนี้ คำถามที่สำคัญก็คือ เฟซบุ๊กได้ให้ข้อมูลเหล่านี้ไปกับใครบ้าง และเราจะทวงคืนข้อมูลส่วนตัวเรากลับมาได้หรือไม่   มาลองทดสอบไอคิวของคุณกัน เราหลายคนอาจเคยเล่น ควิซ หรือ แบบทดสอบบนเฟซบุ๊ก อาจจะเป็นทดสอบบุคลิกส่วนตัวคุณ หรือไม่ก็วัดระดับสติปัญญาหรือไอคิว และแบบทดสอบที่กำลังเป็นที่ถกเถียงอยู่ในขณะนี้คือแบบทดสอบที่ชื่อ This is Your Digital Life โดยบริษัทเคมบริดจ์   อนาลิติกา ถูกกล่าวหาว่าได้ใช้แบบทดสอบนี้เพื่อดึงข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายล้านคนไปใช้เพื่อชักจูงผลโหวตการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี…

เฟซบุ๊กอึ้ง ถูกดูดข้อมูลไปใช้ในแคมเปญหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี

Loading

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (16 มี.ค.) มีรายงานว่า เฟซบุ๊ก (Facebook) โซเชียลมีเดียชื่อดัง ได้ยุติการเข้าถึงข้อมูลของบริษัท Strategic Communication Laboratories (SCL) และบริษัทด้านดาต้าอะนาไลติกส์อย่าง แคมบริดจ์ อะนาไลติกา (Cambridge Analytica) เนื่องจากพบว่ามีการเก็บและแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กประมาณ 50 ล้านคน โดยปราศจากการได้รับอนุญาตใด ๆ จากเจ้าตัว การกระทำดังกล่าวถือว่ากระทบต่อข้อกำหนดในการให้บริการของเฟซบุ๊ก และทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ข้อมูลที่บริษัทดังกล่าวเก็บไปได้นั้น ถูกนำไปใช้กับแคมเปญหาเสียงของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อปี 2016 หรือไม่ เนื่องจากมันเป็นข้อมูลจำนวนมากพอที่นักการตลาดสามารถสร้างโปรไฟล์ส่วนบุคคล รวมถึงสามารถสร้างโฆษณาที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเต็มที่ ผู้ที่ออกมาแจ้งความผิดปกติดังกล่าว คือ พนักงานในส่วน Academic ของมหาวิทยาลัย Cambridge ชื่อคริสโตเฟอร์ ไวลี่ ที่ได้มีการส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยัง The Observer และนิวยอร์กไทม์ พร้อมอธิบายว่า บริษัทมีการกระทำบางอย่างที่อาจผิดศีลธรรม การรั่วไหลของข้อมูลครั้งนี้ ได้ทำให้หลายฝ่ายจับตามากขึ้นว่า แพลตฟอร์มของเฟซบุ๊กไม่ปลอดภัย แต่เฟซบุ๊กก็ได้ออกมาชี้แจงว่า ข้อมูลที่รั่วไหลนั้นไม่ได้เกิดจากเฟซบุ๊ก ตรงกันข้าม มันเป็นการส่งผ่านข้อมูลโดยศาสตราจารย์…

ที่ปรึกษาปูตินระบุ ‘รัสเซีย’สามารถตัดขาดจาก ‘อินเทอร์เน็ตระดับโลก’ ได้ในเวลาเกิดสงคราม

Loading

เฮอร์มาน คลีเมนโค ที่ปรึกษาคนสำคัญด้านไอทีของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน พูดเมื่อเร็วๆ นี้ว่า รัสเซียสามารถตัดขาดตัวเองออกจากอินเทอร์เน็ตระดับโลกในเวลาเกิดสงคราม รวมทั้งยังกำลังสร้างระบบชื่อโดเมนแบบทางเลือกขึ้นมา  ที่ปรึกษาระดับท็อปทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน พูดชี้เอาไว้ระหว่างการให้สัมภาษณ์คราวหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ว่า รัสเซียนั้นสามารถที่จะตัดขาดตัวเองออกจากอินเทอร์เน็ตระดับโลกได้ในเวลาที่เกิดสงคราม ทั้งนี้เพื่อลดทอนจำกัดจุดอ่อนเปราะบางที่อาจจะถูกฝ่ายตะวันตกเจาะเล่นงาน “ในทางเทคนิคแล้ว เวลานี้เราพรักพร้อมอยู่แล้วสำหรับการลงมือปฏิบัติการ” รายงานข่าวอ้างคำพูดของที่ปรึกษาผู้มีนามว่า เฮอร์มาน คลีเมนโค (Herman Klimenko) ซึ่งบอกกับสถานีโทรทัศน์ “เอ็นทีวี” (NTV) ของรัสเซียเมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา แต่คลีเมนโคก็กล่าวด้วยว่า ความเคลื่อนไหวในลักษณะดังกล่าว แม้กระทั่งว่ายังไม่ถึงขั้นที่มีการปฏิบัติการในเชิงเป็นปรปักษ์ใดๆ ก็ใช่ว่าจะไม่สร้างความเจ็บปวดบาดแผลให้แก่รัสเซีย –ตรงนี้ดูเหมือนเป็นการพูดพาดพิงมุ่งแสดงให้เห็นว่า แดนหมีขาวต้องพึ่งพิงอาศัยการต่อเชื่อมต่างๆ กับอินเทอร์เน็ตระดับโลกถึงขนาดไหน “ดีเฟนซ์ วัน” (Defense One) เว็บไซต์ของกองทัพสหรัฐฯ คือผู้ที่เขียนถึงเรื่องนี้เอาไว้ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.defenseone.com/technology/2018/03/if-war-comes-russia-could-disconnect-internet-yes-entire-country/146572/?oref=d-skybox) โดยบอกด้วยว่า มอสโกกำลังทำงานกันง่วนในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อแสวงหาวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้กองทัพของตนสามารถที่จะพึ่งพาอาศัยเฉพาะเครือข่ายออนไลน์ภายในเท่านั้นในระหว่างที่เกิดสงคราม กล่าวกันว่าความพยายามเช่นนี้กำลังถูกนำมาขยายให้กลายเป็นแรงผลักดันในแวดวงกว้างขวางใหญ่โตยิ่งขึ้นมาก เพื่อทำให้รัฐบาลรัสเซียและภาคประชาสังคมของรัสเซียสามารถตัดขาดในทางดิจิตอลจากลิงก์อินเตอร์เน็ตภายนอกทั้งหลาย หากเมื่อถึงเวลาที่เกิดความจำเป็นต้องทำเช่นนั้น “ในปี 2016 รัฐบาลรัสเซียเริ่มต้นการใช้งาน ‘Closed…

เตือนสคริปต์ Cryptojacking อาจแฝงมากับไฟล์ MS Word

Loading

Amit Dori นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภภัยจาก Votiro ออกมาแจ้งเตือนถึงการซ่อนสคริปต์ Cryptojacking ไว้ในไฟล์วิดีโอที่ฝังมากับไฟล์เอกสาร MS Word เวอร์ชันล่าสุด เสี่ยงถูกลอบขุดเหรียญ Monero โดยไม่รู้ตัว การโจมตีนี้เกิดขึ้นได้จากการที่ Microsoft Word เวอร์ชันล่าสุดนั้นรองรับให้ผู้ใช้สามารถฝังวิดีโอจากอินเทอร์เน็ตเข้าไปในไฟล์เอกสาร แต่เป็นการฝังสคริปต์ ไม่ได้ใช้วิธีการฝังไฟล์วิดีโอเข้าไปในเนื้อเอกสารจริงๆ กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถก็อปวางโค้ด iframe ของวิดีโอเข้าไปยังไฟล์ MS Word เมื่อผู้ใช้กดปุ่มเล่นวิดีโอบน iframe วิดีโอจะถูกโหลดและเด้งขึ้นมาเล่นในรูปแบบของ Pop-up ทันที ด้วยวิธีรันสคริปต์บนไฟล์ MS Word แบบนี้ ส่งผลให้แฮ็กเกอร์สามารถลอบฝังสคริปต์ Cryptojacking ไว้ในวิดีโอเพื่อขุดเหรียญดิจิทัลอย่าง Monero ได้ Dori ระบุว่า สาเหตุเกิดจากการที่ MS Word ยินยอมให้ฝังโค้ด iframe จากไหนไม่รู้บนอินเทอร์เน็ตลงบนไฟล์เอกสาร แทนที่จะบังคับให้เป็นโค้ดที่มาจากแหล่งที่มาที่ตัวเอง Whitelist ไว้ เช่น YouTube รวมไปถึง Pop-up ที่ให้เช่นวิดีโอนั้น…