สหรัฐฯ เผยรัสเซียสกัดโดรนสอดแนมตกในทะเลดำ

Loading

    สหรัฐฯ เผย เครื่องบินขับไล่ Su-27 ของกองทัพรัสเซีย เข้าสกัดโดรนสอดแนม MQ-9 REAPER ของกองทัพ จนตกในทะเลดำ เหตุการณ์นี้จุดชนวนความตึงเครียดระหว่างสองชาติขึ้นอีกครั้ง   วันนี้ (15 มี.ค.2566) เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความกังวลไปทั่วโลกอีกครั้ง เมื่อโดรนสอดแนมของสหรัฐฯ ตกในทะเลดำ โดยสหรัฐฯ ระบุว่ามีเครื่องบินรัสเซียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นับว่าเพิ่มระดับความเสี่ยงในการเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ในสงครามยูเครน   การกระทบกระทั่งกันในลักษณะนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายจับตามองสถานการณ์ในแถบนั้นวิตกมาตลอดว่าจะเกิดขึ้น จนนำไปสู่ความขัดแย้งที่บานปลายและมีสหรัฐฯ เข้าไปเกี่ยวข้องในสมรภูมิอย่างโดยตรง   เหตุการณ์นี้จุดชนวนความตึงเครียดระหว่างสองชาติมหาอำนาจขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางสงครามในยูเครนที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลง   กองบัญชาการภาคพื้นยุโรปของกองทัพสหรัฐฯ เปิดเผยว่า อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน MQ-9 REAPER ของกองทัพ ถูกเครื่องบินขับไล่ Su-27 ของกองทัพรัสเซีย 2 ลำบินสกัดหลายครั้ง และทิ้งน้ำมันใส่โดรนและบินตัดหน้า ก่อนจะบินชนใบพัด จนส่งผลให้โดรนสอดแนมดังกล่าวตกในทะเลดำ   กองบัญชาการภาคพื้นยุโรปของกองทัพสหรัฐฯ ระบุว่า การกระทำของเครื่องบินรัสเซียเป็นการสกัดที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นมืออาชีพและไม่ปลอดภัย   ทางการสหรัฐฯ ระบุว่า โดรนลำนี้บินอยู่ในน่านฟ้าสากล…

อินเดียอาจออกข้อบังคับใหม่ สมาร์ทโฟนต้องลบแอป Pre-installed ได้ทั้งหมด ป้องกันการสอดแนม

Loading

    สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวและเอกสารที่ตรวจสอบพบ เผยว่าทางการอินเดียมีแผนออกข้อบังคับกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ขายในประเทศ โดยต้องอนุญาตให้ผู้ใช้งานลบแอปพื้นฐานที่ติดตั้งมาได้ทุกแอป รวมทั้งระบบปฎิบัติการรุ่นใหม่ที่ออกอัปเดต ต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากทางการก่อน   รายงานบอกว่าเหตุผลที่ทางการอินเดียเตรียมออกข้อบังคับใหม่นี้ เพื่อป้องกันการสอดแนมข้อมูลผู้ใช้งาน ซึ่งมองว่าเป็นความมั่นคงระดับชาติ ทั้งนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อินเดียได้สั่งแบนแอปจากจีนเป็นจำนวนมาก โดยให้เหตุผลเรื่องความมั่นคง   ข้อกำหนดเรื่องการอนุญาตให้ลบแอปพื้นฐานได้ ย่อมกระทบกับผู้ผลิตหลายรายที่นิยมลงแอป pre-installed มาให้ก่อน เช่น Xiaomi, ซัมซุง และแอปเปิล ซึ่งในรายของแอปเปิลนั้น แอปบางตัวสามารถซ่อนแต่ไม่สามารถลบได้   ส่วนข้อกำหนดเรื่องการตรวจสอบระบบปฏิบัติการนั้น รายละเอียดเบื้องต้นจะมีหน่วยงานตัวแทนของรัฐบาลในการตรวจสอบ เมื่อมีการออกอัปเดตใหญ่แต่ละครั้ง ทั้งด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้งาน   ปัจจุบันส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนในอินเดีย มี Xiaomi, vivo และ OPPO ครองส่วนแบ่งรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่ง ซัมซุงมีส่วนแบ่ง 20% และแอปเปิล 3%         ที่มา  Reuters         ——————————————————————————————————————————————…

บริษัทญี่ปุ่นกังวลพนักงานใช้ ChatGPT ห่วงข้อมูลรั่ว เตรียมออกกฎป้องกัน

Loading

    บริษัทญี่ปุ่นนำโดย SoftBank Hitachi ได้เริ่มตั้งกฎจำกัดการใช้งานเทคโนโลยี AI ที่สามารถโต้ตอบได้อย่างเช่น ChatGPT ในการดำเนินธุรกิจ ห่วงข้อมูลรั่วไหล สั่งห้ามพนักงานป้อนข้อมูลสำคัญ   ความนิยมของ ChatGPT ความน่าทึ่งในศักยภาพของมัน และมูลค่าทางธุรกิจในอนาคต ทำให้หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกโดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีเริ่มนำ AI เข้ามาใช้ช่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นการตอบข้อความ ร่างอีเมล สรุปประชุม และถามตอบข้อสงสัย อย่างไรก็ตามการใช้งานเทคโนโลยีนี้ยังคงทิ้งข้อกังวลไว้ให้ธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องข้อมูล ซึ่งล่าสุดบริษัทในญี่ปุ่นเริ่มขยับตัวออกมาตรการควบคุมป้องกัน   บริษัทญี่ปุ่นจำกัดการใช้งาน ChatGPT ห่วงข้อมูลรั่ว   เมื่อเดือนที่แล้ว SoftBank ได้เตือนพนักงานเกี่ยวกับการใช้งาน ChatGPT และแอปพลิเคชันทางธุรกิจอื่น ๆ โดยห้ามพนักงานป้อนข้อมูลที่เป็นความลับหรือข้อมูลใด ๆ ที่จะระบุถึงบริษัท และหลังจากนี้บริษัทจะสร้างกฎระเบียบขึ้นมาระบุว่าภาคส่วนใดบ้างในองค์กรที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีได้ รวมถึงระบุประเภทแอปพลิเคชันที่อนุญาตให้ใช้   ด้าน Hitachi พิจารณากำหนดกฎจริยธรรมใหม่สำหรับการใช้งาน AI แบบโต้ตอบ เช่นเดียวกับกลุ่มเทคโนโลยีของ Fujitsu ก็ได้เตือนพนักงานเกี่ยวกับการใช้งาน ChatGPT และบริการ AI…

เหตุผลของความมั่นคง! เบลเยียมแบนการติดตั้ง “ติ๊กต็อก” บนอุปกรณ์ของรัฐ

Loading

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ว่า นายกรัฐมนตรีอเล็กซานเดอร์ เดอ โกร ผู้นำเบลเยียม ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ห้ามการติดตั้งแอปพลิเคชันติ๊กต็อก บนอุปกรณ์สื่อสารทุกประเภทที่เป็นของหน่วยงานรัฐ โดยเป็นไปตามคำเตือนของสภาความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับความเสี่ยงของกลยุทธ์การเก็บข้อมูลโดยติ๊กต็อก ซึ่งบริษัทไบต์แดนซ์ของจีนเป็นเจ้าของ “มีการให้ความร่วมมือกับหน่วยข่าวกรองของจีน”   ต่อมา ติ๊กต็อกออกแถลงการณ์ “ผิดหวังเป็นอย่างมาก” ต่อมาตรการของรัฐบาลเบลเยียม ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ “ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน” เนื่องจาก ปัจจุบันติ๊กต็อกเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานไว้ที่สหรัฐและสิงคโปร์ พร้อมทั้งมีแผนการสร้างศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติมอีกหลายแห่งในยุโรปด้วย   Belgium bans TikTok from federal government work phones https://t.co/GD96HxBLXq pic.twitter.com/j3B8XuGpzE — Reuters (@Reuters) March 10, 2023   ทั้งนี้ ติ๊กต็อก เพิ่งประกาศเมื่อกลางสัปดาห์นี้ จัดตั้ง “Project Clover” ที่หนึ่งในแนวทางดำเนินงานสำคัญ คือการ…

WhatsApp จะไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายสหราชอาณาจักรที่จะลดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

Loading

  ผู้บริหาร WhatsApp ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายด้านความปลอดภัยของสหราชอาณาจักรที่บริษัทมองว่าจะกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน   ร่างกฎหมายความปลอดภัยออนไลน์ (Online Safety Bill) มีเนื้อหาที่ระบุว่าเจ้าของแพลตฟอร์มการสนทนาจะต้องสามารถเข้าดูเพื่อกรองเนื้อหาการสนทนาของผู้ใช้บนแพลตฟอร์มได้ ผู้ใช้ก็จะเสียความเป็นส่วนตัวไป   ซึ่งหาก WhatsApp ยอมปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ หมายความว่าต้องมีการนำวิธีการเข้ารหัสแบบ 2 ฝั่ง (E2EE) ที่เป็นเครื่องมือปกป้องความเป็นส่วนตัวระหว่างผู้สนทนาออกไป   วิล แคตคาร์ต (Will Cathcart) ผู้บริหาร WhatsApp ชี้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการลดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้สำหรับเพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่จะกระทบผู้ใช้ส่วนอื่นของโลกด้วย   แคตคาร์ตอยู่ระหว่างการเดินทางเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อเสนอการแก้เนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าวกับฝ่ายนิติบัญญัติ   แคตคาร์ตชี้ว่าบางประเทศแก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นไม่ให้ใช้งานแพลตฟอร์มที่ไม่ยอมทำตามกฎหมายในลักษณะนี้ ตัวยกตัวอย่างอิหร่าน   “เราไม่เคยเห็นว่ามีประเทศประชาธิปไตยเสรีนิยมที่ทำแบบนั้น” แคตคาร์ตระบุ     ที่มา Silicon Republic       ————————————————————————————————————————- ที่มา :             …

Acer ยอมรับเหตุการณ์ถูกขโมยข้อมูลกว่า 160 GB

Loading

  แฮ็กเกอร์ได้ประกาศเร่ขายข้อมูลที่อ้างว่าเป็นของบริษัท Acer โดยมีขนาดราว 16 GB ที่แฮ็กมาได้ ล่าสุดทาง Acer ก็ออกมายอมรับแล้วว่ามีเหตุเกิดขึ้นจริงแต่จากการสืบสวนยังไม่พบผลกระทบกับข้อมูลลูกค้า   ตามคำกล่าวอ้างของแฮ็กเกอร์ชี้ว่าตนสามารถขโมยข้อมูลออกมาได้ช่วงราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมานี้เอง โดยข้อมูลครอบคลุมในส่วนของ คู่มือ ซอฟต์แวร์ รายละเอียดของระบบหลังบ้าน เอกสารโมเดลสินค้าทั้งโทรศัพท์ แท็บเล็ตและพีซี รวมไปถึง Bios image, rom และเลขคีย์สินค้าที่ใช้บริการเปลี่ยนซ่อมบำรุง ทั้งนี้แฮ็กเกอร์เสนอการซื้อขายผ่านช่องทางที่ติดตามได้ยาก (อาจจะเป็นเงินดิจิทัลสกุลต่างๆ) กับผู้ที่ให้ราคาสูงสุด   โฆษกของ Acer เองได้ออกมายอมรับกับสำนักข่าว Bleepingcomputer ว่าบริษัทพบการบุกรุกจริงที่เซิร์ฟเวอร์หนึ่งที่ใช้โดยฝ่ายทีมซ่อมบำรุง แต่จากการสืบสวนตอนนี้ยังไม่พบหลักฐานที่จะเชื่อมโยงไปยังข้อมูลของลูกค้า   นี่ไม่ใช่เหตุการณ์ถูกโจมตีครั้งแรกของ Acer โดยเมื่อมีนาคมปี 2021 คนร้ายแรนซัมแวร์ REvil ได้เข้าโจมตีระบบพร้อมเรียกร้องเงินค่าไถ่สูงถึง 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อมาเดือนตุลาคมปีเดียวกันกลุ่มแฮ็กเกอร์ Desorden ก็ได้อ้างความสำเร็จในการขโมยข้อมูลนับหมื่นรายการ ซึ่งกระทบกับลูกค้าและคู่ค้าจากระบบหลังการขายในอินเดีย และในสัปดาห์เดียวกันคนร้ายกลุ่มเดิมยังเจาะเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์สำนักงานประเทศไต้หวันสู่ข้อมูลพนักงานและ Credential ที่ใช้เข้าระบบด้วย      …