ระเบิดสุราบายา: ปธน. สั่งทำลายเครือข่าย “คนขลาด” หลังเหตุร้ายระลอกใหม่ในรอบ 13 ปี

Loading

  อินโดนีเซียเปิดปฏิบัติการกวาดล้างกลุ่มหัวรุนแรง หลังเกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายหลายระลอกในสุราบายา เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอินโดนีเซีย ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 25 คน ซึ่งรวมถึงมือระเบิดฆ่าตัวตาย 13 คนและผู้ต้องสงสัยที่ถูกตำรวจยิงเสียชีวิต การโจมตีต่อเนื่องนี้นับว่าเป็นครั้งร้ายแรงที่สุดของอินโดนีเซียในรอบกว่า 10 ปี โฆษกตำรวจชวาตะวันออก ฟรานส์ บารัง กล่าวว่าวันนี้ ตำรวจได้ล้อมจับผู้ต้องสงสัย 7 คน ซึ่ง 2 ใน 7 นั้นถูกยิงเสียชีวิตระหว่างการยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ “พวกเขาวางแผนที่จะก่อเหตุในหลายพื้นที่ แต่แผนล้มเหลวเสียก่อน” นายบารัง กล่าวระหว่างแถลงข่าว แต่ไม่ได้บอกว่าพื้นที่เหล่านั้นเป็นที่ใดบ้าง ตั้งแต่วันอาทิตย์ (13 พ.ค.) มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นในสุราบายา เมืองหลวงของจังหวัดชวาตะวันออก แล้วถึง 5 ครั้ง สามครั้งแรกเกิดขึ้นช่วงเช้าวันอาทิตย์ในโบสถ์สามแห่งในเมือง ครั้งที่สี่เกิดขึ้นที่อพาร์ทเมนท์อีกด้านหนึ่งของเมืองในวันเดียวกัน ก่อนจะเกิดการโจมตีที่สำนักงานตำรวจของสุราบายาในวันนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 5     ลำดับเวลาโดยประมาณ (ตามเวลาท้องถิ่น) 6 สมาชิกในครอบครัวเดียวกันเริ่มก่อเหตุโจมตีเมื่อวันอาทิตย์ 1. 7:30 น. ลูกชายวัยรุ่นขับขี่มอเตอร์ไซค์เข้าไปยังโบสถ์ซานตา มาเรีย…

สนามบินญี่ปุ่นจะใช้เทคโนโลยี “สแกนใบหน้า” ในระบบตรวจคนเข้าเมือง

Loading

กระทรวงยุติธรรมของญี่ปุ่นจะติดตั้งเทคโนโลยี “จดจำใบหน้า” ตามสนามบินต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจคนเข้าเมืองสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2019 นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าออกประเทศญี่ปุ่นจะผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองโดยการสแกนใบหน้า ซึ่งเมื่อคอมพิวเตอร์เทียบข้อมูลกับภาพถ่ายที่เข้ารหัสไว้ในไมโครชิปที่ฝังไว้ในหนังสือเดินทางแล้ว ประตูอัตโนมัติก็จะเปิดออก ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาเพียง 15 วินาทีเท่านั้น และภาพถ่ายใบหน้าที่สแกนไว้จะถูกลบทันทีเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล เทคโนโลยี “จดจำใบหน้า” จะถูกนำมาใช้ตามสนามบินหลักทั่วประเทศญี่ปุ่นในปี 2019 เพื่อลดเวลาต่อแถวในการตรวจคนเข้าเมือง และจะได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติภารกิจอื่น เช่น การป้องกันการก่อการร้าย ในช่วงก่อนที่กรุงโตเกียวจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี 2020 ปัจจุบันมีเครื่องสแกนใบหน้าติดตั้งอยู่ที่สนามบินฮาเนดะจำนวน 3 เครื่อง แต่จะเพิ่มเป็น 137 เครื่องในปีหน้า และยังจะติดตั้งในสนามบินนาริตะ, สนามบินชูบุ, สนามบินคันไซ และสนามบินฟุกุโอกะ เมื่อปี 2007 ญี่ปุ่นได้ใช้ระบบสแกนลายนิ้วมือในการตรวจคนเข้าเมือง แต่กลับมีชาวญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวใช้เพียงแค่ร้อยละ 7.9 เท่านั้น เนื่องจากต้องลงทะเบียนลายนิ้วมือก่อน แต่ระบบสแกนใบหน้านี้เป็นการเปรียบเทียบกับภาพในหนังสือเดินทาง ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนใดๆ รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าจะให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเยือนญี่ปุ่น 40 ล้านคนในปี 2020 จึงจำเป็นใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจคนเข้าเมือง ธนาคารก็ใช้ “สแกนใบหน้า” แทนรหัสลับ เทคโนโลยี “จดจำใบหน้า” ยังกำลังถูกทดลองใช้โดยธนาคารต่างๆ ในญี่ปุ่นเพื่อยืนยันตัวตน โดยให้เจ้าของบัญชีใช้กล้องบนสมาร์ทโฟนถ่ายภาพตัวเอง…

บึ้ม!กลางอัฟกานิสถาน ดับเกือบ 40 ราย

Loading

เกิดเหตุระเบิดในเมืองกันดาฮาร์ ของประเทศอัฟกานิสถานถึง 2 ครั้งในวันเดียวกัน ทำให้นักข่าวเสียชีวิต 1 ราย โดยล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 38 คน ขณะที่สหรัฐฯและยูเอ็นประณามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วันนี้ (1 พ.ค. 61) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มือระเบิดปลิดชีพตนเอง 1 คนก่อเหตุระเบิดในจังหวัดกันดาฮาร์ทางใต้ของอัฟกานิสถานเมื่อวานนี้ (30 เม.ย.) โดยมีเป้าหมายที่ขบวนรถของทหารนาโต้ แต่ผู้เสียชีวิตกลับเป็นเด็กนักเรียน 11 คนที่อยู่ในโรงเรียนสอนศาสนาที่ตั้งอยู่ริมถนน ใกล้กับจุดที่เกิดเหตุระเบิดและมีผู้บาดเจ็บอีก 16 คน โดยเป็นทหารนาโต้จากโรมาเนีย 8 คน นอกนี้เป็นตำรวจและพลเรือนอัฟกานิสถานอีก 8 คน โดยเหตุระเบิดที่กันดาฮาร์ดังกล่าวยังเกิดขึ้นในวันเดียวกับเหตุระเบิดปลิดชีพตนเอง 2 ครั้งซ้อนในกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 คน ซึ่งรวมถึงผู้สื่อข่าวและช่างภาพ 9 คนและมีผู้บาดเจ็บอีก 49 คน ขณะที่ในวันเดียวกัน เกิดเหตุผู้สื่อข่าวชาวอัฟกานิสถาน 1 คนของสำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษ ภาคภาษาอัฟกานิสถาน ถูกยิงเสียชีวิตในเมืองคอสต์ ทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน ทำให้ยอดรวมผู้เสียชีวิตใน 3 เมืองดังกล่าวเพิ่มเป็น 38 คน ซึ่งรวมถึงผู้สื่อข่าวและช่างภาพที่เสียชีวิตมากถึง 10 คนด้วย นับเป็นวันที่มีสื่อมวลชนเสียชีวิตมากที่สุดในอัฟกานิสถานในรอบ 17 ปีนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ด้านกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ออกมาอ้างความรับผิดชอบเฉพาะเหตุระเบิด 2 ครั้งซ้อนในกรุงคาบูล ทั้งนี้ นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯคนใหม่ ประณามเหตุระเบิดและเหตุร้ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (30 เม.ย.) ในอัฟกานิสถาน ซึ่งโฆษกของนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็นร่วมประณามด้วย ที่มา : TNN24 1 พ.ค. 61, 13.37 น. ลิงค์ : http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=166302&t=news

US-CERT เตือน! รัสเซียหนุนหลังการโจมตีอุปกรณ์ Network ทั่วโลก พร้อมเผยแนวทางระวังตัวสำหรับ Vendor, ISP, องค์กร และผู้ใช้งาน

Loading

ในการแจ้งเตือนรหัส TA18-106A ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงาน FBI, DHS และ NCSC ของสหรัฐอเมริกาได้ออกมาแจ้งเตือนถึงการที่รัฐบาลรัสเซียได้หนุนหลังให้มีการโจมตีเจาะช่องโหว่ของอุปกรณ์ Router, Switch, Firewall, IDS และอื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการรายงานถึงกลวิธี, เทคนิค และกระบวนการที่ถูกใช้ในการโจมตีครั้งนี้ ทั้งนี้ในรายงานนี้ก็ได้ระบุด้วยว่าทางรัฐบาลสหรัฐนั้นตรวจพบการโจมตีที่สนับสนุนโดยรัสเซียมาตั้งแต่ปี 2015 แล้ว โดยเป้าหมายในการโจมตีหลักๆ ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ การเจาะช่องโหว่ใน Protocol เก่าๆ และเหล่าองค์กรที่ไม่ดูแลด้าน Security ของตนเอง การโจมตี Router เพื่อเข้าตรวจสอบและควบคุม Traffic ต่างๆ รวมถึงระบบ Industrial Control System (ICS) การเจาะอุปกรณ์ Network ต่างๆ โดยตรง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เหล่าผู้ใช้งานมักไม่ดูแลให้ปลอดภัย ไม่แก้ไขอะไรตราบเท่าที่ยังใช้งานได้ รวมถึงหากอุปกรณ์เหล่านี้ผู้ผลิตไม่สนับสนุนการใช้งานแล้ว ผู้ใช้งานก็มักยังคงใช้งานต่อไปเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้ถูกเจาะได้สำเร็จแล้ว ผู้ใช้งานก็มักจะไม่รู้ตัว และไม่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้ออกจากเครือข่ายด้วย โดยทาง US-CERT ได้เตือนให้เฝ้าระวัง…

ย้อนประวัติศาสตร์อาวุธเคมี

Loading

ข่าวการใช้อาวุธเคมีโจมตีพลเรือนผู้บริสุทธิ์ในเมืองดูมาของซีเรีย รวมทั้งข่าวการใช้สารทำลายระบบประสาทหวังลอบสังหารอดีตสายลับรัสเซียในอังกฤษ ทำให้เรื่องอาวุธเคมีกลายเป็นประเด็นที่โลกให้ความสนใจอีกครั้ง บีบีซีขอย้อนรอยประวัติศาสตร์การใช้อาวุธเคมีซึ่งเริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว นายฮามิช เดอ เบรต์ตอง-กอร์ดอง อดีตทหารอังกฤษ และเจ้าหน้าที่หน่วยอาวุธเคมี ชีวภาพ และนิวเคลียร์องค์การนาโต เล่าว่า อาวุธเคมีชนิดแรกของโลกคือ คลอรีน (Chlorine) เป็นสารทําลายระบบทางเดินหายใจ (Choking agent) แม้ในตอนแรกมันจะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำให้เหยื่อพิการมากกว่าทำให้เสียชีวิต แต่ที่ผ่านมาอาวุธชนิดนี้ก็คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก สารคลอรีนถูกใช้ครั้งแรกในสงครามเมืองอีเพรส์ครั้งที่ 2 ในเบลเยียม เมื่อปี 1915 และสร้างความหายนะครั้งใหญ่หลวง เพราะตอนนั้นยังไม่เคยมีการใช้สารคลอรีนเป็นอาวุธทางการทหารมาก่อน แม้จะเป็นสารเคมีพื้นฐานก็ตาม ต่อมาก็มีการใช้แก๊สมัสตาร์ด ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองผิวหนังและเกิดแผลพุพอง (Blister agents) จากนั้นกองทัพนาซีเยอรมนีได้พัฒนาสารทำลายระบบประสาท (Nerve agents) ขึ้น โดยเป็นสารสังเคราะห์จากกรดฟอสฟอริก ซึ่งเป็นสารกำจัดศัตรูพืช และพบว่าสารทาบุน และโซมาน สามารถฆ่าคนได้มีประสิทธิภาพ สารทำลายระบบประสาทถูกใช้อย่างแพร่หลายในสงครามอิหร่าน-อิรัก เมื่อปี 1984-1988 ซึ่งเหตุโจมตีเมืองฮาลับยาในอิรัก เมื่อวันที่ 16 มี.ค.1988 ยังติดอยู่ในความทรงจำของผู้คนจำนวนมาก เพราะมีผู้เสียชีวิตมากถึง 5,000 คนในเหตุโจมตีวันนั้น ปัจจุบันอาวุธเคมีกลายเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้ง…