“หมู่เกาะโซโลมอน” อนุญาตให้ “ตำรวจจีน” รักษาความปลอดภัยในประเทศตามข้อตกลงความมั่นคง 2 ชาติ

Loading

  รอยเตอร์/เอเจนซีส์ – สารวัตรทหารจีนเริ่มปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบให้ประชากร 700,000 คนในประเทศหมู่เกาะโซโลมอนตามข้อตกลงความมั่นคงของทั้ง 2 ประเทศที่สร้างความวิตกให้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ เกิดขึ้นหลังตำรวจหมู่เกาะล้มเหลวในการรับมือวิกฤตจลาจลเขตไชน่าทาวน์ในกรุงโฮนีอาราปีที่แล้ว   รอยเตอร์รายงานวันนี้ (2 พ.ค.) ว่า เจ้าหน้าที่การทูตระดับสูงหมู่เกาะโซโลมอนประจำออสเตรเลียกล่าวให้สัมภาษณ์ทางสถานีวิทยุวันจันทร์ (2) ยืนยันการปรากฏตัวของสารวัตรทหารจีนในหมู่เกาะโซโลมอน   เจ้าหน้าที่การทูตโซโลมอนเปิดเผยว่า ความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงความมั่นคงระดับทวิภาคีของ 2 ชาติเนื่องมาจากเหตุผลตำรวจโซโลมอนไม่สามารถจัดการกับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลได้   ข้าหลวงใหญ่ประเทศหมู่เกาะโซโลมอนประจำออสเตรเลีย โรเบิร์ต ซิซิโล (Robert Sisilo) เปิดเผยกับสถานีวิทยุเอบีซีเรดิโอว่า หมู่เกาะโซโลมอนกำลังยกระดับการรักษาความสงบภายในประเทศหลังตำรวจโซโลมอนไม่สามารถควบคุมจลาจลที่เกิดเมื่อพฤศจิกายนปีที่แล้วในเขตไชน่าทาวน์ภายในกรุงโฮนีอารา (Honiara)   ภายใต้ข้อตกลงระบุว่า “สารวัตรทหารจีน” สามารถถูกเรียกมาช่วยปฏิบัติภารกิจแต่ต้องอยู่ภายใต้การบัญชาการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติโซโลมอนเท่านั้น เหมือนเช่นเดียวกับตำรวจออสเตรเลียที่ถูกส่งมาปฏิบัติหน้าที่ที่นี่ ซิซิโล กล่าว   “พวกเราจะพยายามและทำอย่างดีที่สุดในการจัดการพวกเขาเพื่อทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในประเทศอื่น เป็นต้นว่า ฮ่องกง จะไม่เกิดขึ้นในประเทศของเรา”   ข้อตกลงความมั่นคงระหว่างหมู่เกาะโซโลมอน และจีนนั้นทำให้พันธมิตรโลกตะวันตกต่างออกมาวิตกเกี่ยวกับการที่หมู่เกาะแปซิฟิกซึ่งเป็นเสมือนหลังบ้านของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เปิดทางให้ตำรวจจีนเข้าไปทำงานที่นั่นกับพลเมืองโซโลมอนอาจจะสร้างปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนเหมือนเช่นที่ตำรวจจีนเคยกระทำในฮ่องกง และในจีนแผ่นดินใหญ่   นายกรัฐมนตรีหญิงนิวซีแลนด์ จาซินดา อาร์เดิร์น ในเดือนที่แล้วเคยออกมาตั้งคำถามกับบีบีซีของอังกฤษถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของข้อตกลงความมั่นคงระหว่างกันนี้  …

‘ไต้หวัน’ โวอาศัยบทเรียน ‘สงครามยูเครน’ ซ้อมรบใหญ่ปีนี้เพื่อเตรียมรับมือจีนบุกโจมตี

Loading

  กองทัพไต้หวันแถลงวันพุธ (27 เม.ย.) การซ้อมรบใหญ่ของตนปีนี้จะอิงกับบทเรียนประสบการณ์จากการสู้รบขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน โดยโฟกัสที่เรื่องสงครามอสมมาตร สงครามความรับรู้ความเข้าใจ และสงครามข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนถึงการใช้ทหารกองหนุน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือการโจมตีของจีน   ไต้หวัน ซึ่งจีนถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน ประกาศยกระดับการเตือนภัยนับตั้งแต่ที่รัสเซียบุกยูเครนเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากกังวลว่า อาจถูกปักกิ่งทำแบบเดียวกัน แม้ยอมรับว่า ยังไม่มีสัญญาณว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ตาม   กระนั้น กระทรวงกลาโหมไต้หวันระบุว่า ในไต้หวันมีการอภิปรายถกเถียงกันถึงสิ่งที่เรียนรู้จากสงครามยูเครนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งยังได้หารือเรื่องนี้กับอเมริกา   พล.ต.หลิน เหวินหวง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการร่วมของกระทรวงกลาโหมไต้หวัน บอกว่า การซ้อมรบใหญ่ประจำปีของเกาะแห่งนี้ซึ่งใช้ชื่อว่า “ฮั่นกวง” และมุ่งจำลองสถานการณ์การที่จีนอาจรุกรานเข้ามานั้น สำหรับปีนี้จะมีการยึดโยงกับบทเรียนประสบการณ์จากสงครามยูเครน   เขากล่าวว่า ไทเปจะติดตามสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนอย่างใกล้ชิด รวมถึงจับตาความเคลื่อนไหวของกองทัพจีน และจะซ้อมรบเพื่อผลักดันการปรับปรุงยกระดับเรื่องการใช้สงครามอสมมาตร สงครามความรับรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติการสงครามข้อมูลข่าวสารและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการใช้ทหารกองหนุนและศักยภาพที่มีอยู่ให้เต็มที่   ทั้งนี้ รัสเซียยกพลเรือนแสนเข้าสู่ยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ใน “ปฏิบัติการพิเศษ” เพื่อบ่อนทำลายศักยภาพทางทหารของยูเครน และถอนรากถอนโคนกลุ่มชาตินิยมอันตราย   ทว่า กองกำลังยูเครนต้านทานอย่างแข็งกร้าว ขณะที่ตะวันตกออกมาตรการแซงก์ชันสถานหนักกับรัสเซียเพื่อบีบให้ถอนทหารออกจากยูเครน   ทางด้านไต้หวันนั้นอยู่ระหว่างการปฏิรูปทหารกองหนุนให้มีศักยภาพในการสู้รบมากขึ้น…

เผยไอพีผู้โพสต์ เว่ยโป๋ปราบเกรียนข่าวปลอม เปิดที่อยู่ทุกคอมเมนต์

Loading

  เผยไอพีผู้โพสต์ – วันที่ 28 เม.ย. รอยเตอร์รายงานว่า เว่ยโป๋ แอพพลิเคชั่นโซเชียลยอดนิยมของชาวจีน (เทียบเท่าทวิตเตอร์) ประกาศจะเปิดเผย IP Address ของผู้โพสต์แสดงความคิดเห็นทุกคน เพื่อเป็นมาตรการป้องปรามพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นอย่างไร้ความรับผิดชอบ   มาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้คอมเมนต์ของผู้ใช้แพล็ตฟอร์มสนทนาดังกล่าวถูกแนบด้วย IP Address หมายเลขรหัสทางไซเบอร์ที่สามารถใช้บ่งบอกเครื่องที่ใช้งานและแหล่งที่มาได้   การประกาศข้างต้นมีชาวจีนเข้ามาอ่านกว่า 200 ล้านครั้งและถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมดิจิตอลของชาวจีนอย่างกว้างขวาง โดยบางคนมองว่าการเปิดเผย IP Address ผู้โพสต์เป็นเสมือนกับการที่ต้องการกระซิบข้างหูผู้ใช้ตลอดเวลาว่า “ระวังตัวให้ดี”   โปรไฟล์ผู้ใช้สามารถดูรายละเอียดที่อยู่และ IP Address ได้ (เว่ยโป๋)   อย่างไรก็ดี มีชาวจีนบางส่วนที่สนับสนุนมาตรการดังกล่าวด้วยโดยเฉพาะในช่วงที่จีนกำลังเผชิญกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาปี 2019 หรือโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนครั้งรุนแรง เพื่อปราบปรามการเผยแพร่ข่าวปลอมสร้างความสับสนและเข้าใจผิดให้สังคม   แถลงการณ์ของเว่ยโป๋ ระบุว่า มาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดพฤติกรรมการแอบอ้าง การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง การใช้บ็อต และเพื่อแสดงถึงความโปร่งใสตรวจสอบได้ของการแสดงคิดเห็นต่างๆ   “เว่ยโป๋ยืนหยัดเพื่อรักษาบรรยากาศการสนทนาที่ดีและเป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอมา รวมทั้งการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการในการตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริงได้อย่างรวดเร็วที่สุดเสมอ” เว่ยโป๋ ระบุ  …

DJI งดขายในรัสเซียและยูเครน กันถูกนำโดรนไปใช้ในสงคราม

Loading

  สถานการณ์รัสเซียกับยูเครนยังคงร้อนระอุ ล่าสุดทาง DJI ผู้ผลิตโดรนสัญชาติจีน ได้เผยกับทาง The Verge ว่า ตอนนี้ทางบริษัทได้ระงับการจัดส่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดไปยังรัสเซียและยูเครนแล้ว หลังหวั่น ‘โดรน’ ของตัวเอง จะถูกนำไปใช้ในสงครามของทั้งสองประเทศ   ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าจน พบโดนโดรนของ DJI ถูกนำไปใช้สำหรับการลาดตระเวน ด้วยการใช้ AeroScope มาช่วยระบุพิดกัดบนแผนที่กับกำหนดเป้าหมาย และบางส่วนถูกนำไปติดอาวุธด้วย แน่นอนว่าขัดกับความตั้งใจของทาง DJI ที่ไม่สนับสนุนการใช้โดรนสร้างความเสียหายหรืออันตรายต่อผู้อื่น   “เป็นเวลา 15 ปีแล้ว ที่ทาง DJI พยายามอย่างที่สุด ที่จะเลี่ยงภูมิศาสตร์ต่อการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” Adam Lisberg โฆษกของ DJI กล่าว   ย้อนกลับไปช่วงเดือนมีนาคม DJI เคยบอกกับ The Verge ว่า บริษัทจะยังไม่หยุดการขายในรัสเซียหรือยูเครน แม้ว่าตตอนนั้นจะมีบริษัทหลายร้อยแห่งถอนตัวออกจากรัสเซียก็ตาม   กลับมาปัจจุบัน DJI ประกาศระงับการขายทั้งหมดในรัสเซียกับยูเครนเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งประกาศว่าจะไม่มีการสนับสนุนระบบอีกต่อไป โดยเฉพาะตัวระบบช่วยติดตามอย่าง AeroScope…

จีน เตือนเอเชียกลาง ระวังต่างชาติแทรกแซง ขัดขวาง-บ่อนทำลายความมั่นคง

Loading

วันที่ 26 เม.ย. เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ รายงานว่า พล.อ.เว่ย เฟิ่งเหอ รัฐมนตรีกลาโหมจีน เรียกร้องให้เอเชียกลางระวังการแทรกแซงของต่างชาติ และว่าจีนจะยกระดับความร่วมมือกลาโหมกับคาซัคสถาน อันเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันมากขึ้นเพื่อความมั่นคงในภูมิภาค พล.อ.เว่ยกล่าวข้อเรียกร้องดังกล่าวในการประชุมกับประธานาธิบดีคาซัคถสาน กาซิม-โจมาร์ต โตคาเยฟ ในกรุงนุล-ซุลตัน เมืองหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ 25 เม.ย. ซึ่งเป็น 3 เดือน หลังการประท้วงครั้งใหญ่ทั่วคาซัคสถานเมื่อต้นเดือน ม.ค. “จีนคัดค้านอย่างแข็งขันกับกองกำลังภายนอกที่จงใจยุยงเพื่อเกิด “การปฏิวัติสี” ในคาซัคสถาน และสนับสนุนรัฐบาลคาซัคสถานในการใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติและสังคม” กระทรวงกลาโหมของจีนรายงานคำพูดของ พล.อ.เว่ย รัฐมนตรีกลาโหมจีนยังเรียกร้อง “ความระมัดระวังมหาอำนาจสำคัญบางประเทศที่แทรกแซงในเอเชียกลาง เพื่อขัดขวางและบ่อนทำลายความมั่นคงในภูมิภาค” และว่า “จีนให้ความสำคัญและสนับสนุนคาซัคสถานอย่างมั่นคง ไม่ว่าทั้งสองประเทศจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายใด” การประท้วงครั้งใหญ่ดังกล่าวเกิดขึ้นจากปัญหาราคาเชื้อเพลิงพุ่งสูง ในเวลานั้น นายโตคาเยฟเรียกผู้ประท้วงเป็น “โจร” และออกคำสั่งยิงสังหารผู้ประท้วงเพื่อระงับความไม่สงบเรียบร้อย จากนั้น คาซัคสถานขอให้รัสเซียส่งกองกำลังเข้ามาช่วยฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยผ่านกลไกในองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (ซีเอสทีโอ) ซึ่งเป็นพันธมิตรภูมิภาคที่มีหัวหอกเป็นรัสเซีย จีน กล่าวในเวลานั้นจะช่วยรัฐบาลคาซัคสถานต่อสู้กับการก่อการร้าย การแบ่งแยกดินแดน และลัทธิหัวรุนแรงทางศาสนา และต่อต้านความพยายามของกองกำลังต่างชาติที่จะก่อปัญหา ขณะที่ประธานาธิบดีโตคาเยฟขอบคุณประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน และบรรดาผู้นำของจีน อุซเบกิสถาน…

ทำไม ‘สนธิสัญญาความมั่นคง’ จีน – หมู่เกาะโซโลมอน สร้างเซอร์ไพรส์ ‘สหรัฐ’

Loading

“นายกรัฐมนตรีหมู่เกาะโซโลมอน” ออกโรงปกป้องสนธิสัญญาด้านความมั่นคงที่เพิ่งลงนามไปกับจีนเมื่อเร็วนี้ๆ ท่ามกลางความกังวลจากประเทศเพื่อนบ้านร่วมมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ออสเตรเลีย ไปจนถึงสหรัฐฯ นายมานาสเซห์ โซกาวาเร นายกรัฐมนตรีหมู่เกาะโซโลมอน กล่าวต่อรัฐสภาว่า ข้อตกลงที่มีต่อรัฐบาลปักกิ่งตอกย้ำถึงความจำเป็น ในการจัดการกับ “สถานการณ์ความมั่นคงภายใน” ของหมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะโซโลมอนต่อสู้กับความไม่สงบทางการเมืองมาช้านาน โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ได้มีเหตุการณ์ผู้ประท้วงรวมกลุ่มกันที่ไชน่าทาวน์ ในเมืองโฮนีอารา หลังจากนั้นเดินเท้าและพยายามบุกเข้าไปในบ้านพักของนายโซกาวาเร ก่อนหน้านี้ มีเหตุการณ์ความรุนแรงอีกหลายครั้ง และยังเกิดรัฐประหารเมื่อปลายทศวรรษที่ 1990 ทำให้ออสเตรเลียส่งเจ้าหน้าที่ช่วยรักษาเสถียรภาพบ้านเมือง ตามคำร้องขอรัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอน สนธิสัญญาฯ หายนะ “ออสเตรเลีย – สหรัฐฯ” รัฐบาลแคนเบอร์ราส่งสัญญาณเตือนสนธิสัญญาความมั่นคงดังกล่าว หลังจากร่างเอกสารฯได้หลุดเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่สหรัฐฯแสดงความกังวลว่า เรื่องนี้อาจส่งผลให้ “จีนตั้งฐานทัพ” ในมหาสมุทรแปซิฟิก มาร์ค แฮร์ริสัน อาจารย์อาวุโสด้านจีนศึกษาของมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย บอกกับอัลจาซีราว่า ข้อตกลงนี้ถือเป็น “หายนะ” สำหรับออสเตรเลีย และสหรัฐฯ เพราะมีความสัมพันธ์ตึงเครียดกับรัฐบาลปักกิ่งมานานแล้ว “เรื่องนี้ท้าทายออสเตรเลีย ว่าจะประเมินอนาคตในภูมิภาคต่อไปอย่างไร เพราะจีนกำลังแผ่อิทธิพลในภูมิภาคนี้มากขึ้น” แฮร์ริสัน กล่าว หมู่เกาะโซโลมอน มีประชากรน้อยกว่า 700,000 คน…