แก้ปัญหาโกงวุฒิการศึกษา ดิจิทัล เวนเจอร์ส เปิดตัว B.VER แพลตฟอร์มตรวจสอบวุฒิการศึกษาออนไลน์

Loading

โดย อธิชญา สุขธรรมรัตน์ ดิจิทัล เวนเจอร์ส ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เปิดตัว B.VER (Blockchain Solution for Academic Document Verification) แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับตรวจสอบเอกสารทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีบล็อคเชน (Blockchain) ที่ให้สถาบันการศึกษา หรือองค์กรต่างๆ สามารถตรวจสอบวุฒิการศึกษา หรือ Transcript ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้แบบเรียลไทม์ ช่วยป้องกันปัญหาการปลอมแปลงวุฒิการศึกษา อรพงศ์ เทียนเงิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่าปัญหาเรื่องการปลอมแปลงวุฒิการศึกษามีมาอย่างยาวนาน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงอยากจะนำเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างบล็อคเชนมาแก้ปัญหาดังกล่าว จึงพัฒนาเป็นแพลตฟอร์ม B.VER เพื่อให้มหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบวุฒิการศึกษา ด้านจีรพล มัทวพันธุ์ Head of Project Delivery ของบริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด อธิบายการทำงานของ B.VER ว่าการถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือการอัพโหลดไฟล์ต้นฉบับขึ้นสู่แพลตฟอร์มโดยมหาวิทยาลัย จากนั้นระบบจะดำเนินการเข้ารหัสและเก็บเอกสารไว้ในบล็อคเชน…

4.0 ของจริง! คนสวีเดนเริ่มฝังไมโครชิปบนผิวหนังแทนพกบัตรประชาชน

Loading

สำนักข่าว AFP รายงานว่าปัจจุบันประชาชนชาวสวีดิชเริ่มทำการฝังไมโครชิปลงบนผิวหนังของตนเอง ซึ่งสามารถใช้งานในชีวิตประจำวันให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น อาทิ ไม่ต้องพกบัตรประชาชน, ใช้สแกนแทนคีย์การ์ดในการเข้าทำงานในออฟฟิศ, ซื้ออาหารจากตู้อัตโนมัติ, เข้ายิม, หรือแม้แต่ใช้แทนตั๋วรถไฟ โดยรายงานระบุว่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา มีชาวสวีดิชกว่า 3,000 รายที่ติดไมโครชิปแล้ว สำหรับการฝังชิปนั้นถูกระบุว่ามีอาการเจ็บเพียงเล็กน้อยระดับมดกัดไม่ต่างจากการเจาะหู ซึ่งการฝังชิปแม้จะฝังไว้ที่ผิวหนังแต่ก็อยู่ในระดับชั้นที่ไม่ลึก ทำให้การอ่านค่าชิปรวมทั้งบันทึกข้อมูลจัดเก็บสามารถทำได้ง่ายและแม่นยำ ซึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้คนสวีเดนหันมาใช้ไมโครชิปมากกว่าชาติอื่น ๆ ก็เนื่องจากระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูลในประเทศนั้นมีประสิทธิภาพระดับสูงสุดที่ผู้ใช้สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนตัวจะเป็นความลับไม่รั่วไหลแน่นอน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีประชากรในสวีเดนเพียง 2% ที่ยังพกเงินสดติดตัว ขณะที่อีก 98% นั้นจ่ายผ่านบัตรเครดิตและสมาร์ทโฟนหมดแล้ว ซึ่งเทรนด์ของการใช้ร่างกายมนุษย์มาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยี (Biohackng) โดยน่าสนใจไม่น้อยกว่าในอนาคตอุปกรณ์ไอทีพื้นฐานมากมายที่อาจถูกออกแบบมาเมื่อฝังลงในร่างกายของมนุษย์ By  Nattaphan Songviroon ——————————————————————- ที่มา : เว็บแบไต๋ / 5 มิถุนายน 2561 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/247810?utm_source=LINEToday&utm_medium=Referral&utm_campaign=DirectLink

นักวิจัยพบ องค์กรกว่า 31% ทำข้อมูลความลับใน Google G Suite รั่วสู่สาธารณะ

Loading

Kenna Security บริษัทวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยได้ทำการสำรวจข้อมูลบน Google Group ขององค์กรกว่า 9,600 แห่ง และพบว่ามีองค์กรกว่า 31% ที่ทำข้อมูลจาก Email ขององค์กรรั่วบน Google Group นี้เนื่องจากการตั้งค่าที่ผิดพลาด Kenna Security ได้ให้ความเห็นว่า Google Group ซึ่งเป็นหนึ่งในความสามารถใน Google G Suite นี้มีความสามารถในการใช้งานที่ซับซ้อน และทำให้ผู้ดูแลระบบเกิดความสับสนในเรื่องของการกำหนดสิทธิ์ต่างๆ ภายในระบบ ทำให้ผู้ดูแลระบบบางส่วนเข้าใจเอกสารอธิบายความสามารถและการทำงานของระบบผิด ทำให้การตั้งค่าผิดตาม และเกิดกรณีที่ข้อมูล Email นั้นรั่วไหลสู่สาธารณะออกมาทาง Google Group นั่นเอง กรณีข้อมูลรั่วในครั้งนี้เกิดขึ้นกับองค์กรหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่หน่วยงานรัฐ, ธุรกิจใน Fortune 500, โรงพยาบาล, มหาวิทยาลัย, หนังสือพิมพ์, สถานีโทรทัศน์ และอื่นๆ ครอบคลุมทั้งข้อมูลด้านการเงิน, รหัสผ่าน และอื่นๆ โดยที่ผู้โจมตีและต้องการเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ ไม่ได้ต้องอาศัยความรู้เทคนิคเชิงลึกเลย อย่างไรก็ดี กรณีนี้ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการตั้งค่าของผู้ดูแลระบบ ดังนั้นจึงไม่มีการแก้ไขออกมาจากทางฝั่งของ Google…

สั่งคุกอดีตปธน.ไต้หวัน 4 เดือน ฐานทำข้อมูลความมั่นคงรั่ว เจ้าตัวลั่นอุทธรณ์สู้

Loading

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า อดีตประธานาธิบดีหม่า อิง จิ่ว ของไต้หวัน ถูกศาลสูงพิพากษาโทษจำคุกเป็นเวลา 4 เดือน ในข้อกล่าวหาทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติรั่วไหล ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมายการสื่อสารและข่าวกรองของไต้หวัน หลังสิ้นคำตัดสินอดีตผู้นำไต้หวันประกาศจะอุทธรณ์สู้คดี การตัดสินของศาลสูงไต้หวันในวันนี้เป็นการกลับคำตัดสินของศาลชั้นต้นที่พิพากษาก่อนหน้านี้ว่านายหม่าไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาที่มีการยื่นฟ้องดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม ศาลสูงยังระบุว่าจำเลยอาจไม่ต้องรับโทษจำคุกดังกล่าว เนื่องจากตามกฎหมายไต้หวันความผิดดังกล่าวเป็นความผิดลหุโทษ สามารถจ่ายเงินเป็นค่าปรับราว 120,000 ดอลลาร์ไต้หวัน( ราว 128,000 บาท) แทนได้ ด้านนายหม่า อดีตผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไต้หวันระหว่างปี 2551-2559 อันเป็นยุคที่ไต้หวันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนแผ่นดินใหญ่ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เขาจะอุทธรณ์สู้คดีนี้ที่ไม่เพียงเป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของตนเองเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับอำนาจของประธานาธิบดีไต้หวันในอนาคตที่เขามองว่าไม่ควรจะถูกจำกัด ——————————————————— ที่มา : MATICHON Online / 15 พฤษภาคม 2561 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_956803