ข้อมูล DNA ยังโดนแฮ็ก พันธุกรรม 6.9 ล้านคนรั่วไหลและไม่มีทางแก้ไขได้

Loading

  “แฮ็กเกอร์” เจาะระบบ 23andMe บริการตรวจสอบ DNA ทำข้อมูลพันธุกรรมกว่าล้านคนถูกขโมย มูลค่ามหาศาลที่ไม่มีทางแก้ไขได้ บริษัท “23andMe” ผู้ให้บริการตรวจสอบ DNA ระดับโลกที่มีข้อมูลของลูกค้ากว่า 6.9 ล้านรายอยู่ในมือกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่คับขัน ทั้งด้านธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนผ่านและ “แฮ็กเกอร์” ที่ใช้ชื่อว่า “Golem” เป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่กำลังเข้าถึง ข้อมูล DNA ของลูกค้าทั้งหมดที่อาจรั่วไหลครั้งใหญ่   23andMe ประกาศว่ามี แฮ็กเกอร์เจาะระบบข้อมูลพันธุกรรม ทั้งหมด 6.9 ล้านคนอาจได้รับผลกระทบ โดยการเจาะระบบเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ตอนแรกทาง 23andMe บอกว่ามีผู้ใช้โดนขโมยข้อมูล 14,000 คน แต่เมื่อสอบสวนอย่างละเอียดมากขึ้นก็พบว่ามีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก แฮ็กเกอร์ Golem พุ่งเป้าไปที่รหัสพันธุกรรมของคนที่มีเชื้อสายยิวอัชเกนัซ (Ashkenazi Jews) พร้อมประกาศว่า   ยินดีขายข้อมูล DNA เหล่านี้ให้กับใครก็ได้ที่จ่ายเงินถึง ราคาเสนอขายมีตั้งแต่ 100 โปรไฟล์ในราคา 1,000 ดอลลาร์ (36,400 บาท)…

ประชุมสุดยอดบริกส์ที่เมืองคาซาน

Loading

    12-19 ตุลาคม 2024 คณะของ รศ.ทรงกลด จารุสมบัติ ที่มีอาจารย์นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย เป็นที่ปรึกษา ไปประชุมกับ 1.สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเขตสหพันธ์ตะวันออกไกล เมืองคาบารอฟสค์ และ 2.กลุ่มนักธุรกิจที่สถาบันพัฒนาธุรกิจจังหวัดพรีมอร์สกี เมืองวลาดิวอสตอค เขตสหพันธ์ตะวันออกไกล รัสเซีย คนไทยไปร่วมประชุม 17 คน   22-24 ตุลาคม 2024 นายวลาดิมีร์ ปูติน เป็นประธานการประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ที่รู้จักกันในนามกลุ่มบริกส์ ที่คาซาน เมืองหลวงของสาธารณรัฐตาตาร์สถาน รัสเซีย   อำนาจทางเศรษฐกิจโลกกำลังย้ายจากกลุ่มพัฒนาแล้วอย่างจี 7 ที่ประกอบด้วย สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และแคนาดา มายังกลุ่มบริกส์ สำนักวิจัยเศรษฐกิจระดับโลกทุกแห่ง ไม่เว้นแม้แต่โกลด์แมน แซคส์ ทำนายทายตรงกันว่าใน ค.ศ.2050 หรืออีก 26 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจกลุ่มบริกส์ จะสูงกว่าเศรษฐกิจกลุ่มประเทศจี…

สังคมโลก : เล่นกับไฟ

Loading

  กระทรวงกลาโหมสหรัฐระบุว่า กองทหารสหรัฐเดินทางถึงอิสราเอล ตามส่วนหนึ่งของการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธในบริเวณพิกัดตำแหน่งสูง หรือ “ทาด” (THAAD) นับเป็นความเคลื่อนไหวที่จะช่วยปกป้องพันธมิตรของรัฐบาลวอชิงตัน แต่ก็ทำให้สหรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งมากขึ้นด้วย   การติดตั้งระบบทาด เกิดขึ้นในขณะที่อิสราเอลเตรียมตอบโต้อิหร่าน ซึ่งโจมตีด้วยขีปนาวุธพิสัยไกลครั้งใหญ่ เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา และระบบป้องกันขีปนาวุธดังกล่าว จะเสริมสร้างการป้องกันของอิสราเอล ในกรณีที่รัฐบาลเตหะรานโต้ตอบกลับอีกครั้ง   อนึ่ง อิสราเอลมุ่งเป้าไปยังบรรดาผู้นำของกลุ่มต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ และกลุ่มฮามาส ท่ามกลางสงครามในฉนวนกาซา อีกทั้งรัฐบาลเทลอาวีฟ ยังถูกกล่าหาว่า สังหารผู้นำทางการเมืองของกลุ่มฮามาส บนแผ่นดินของอิหร่าน ซึ่งรัฐบาลเตหะรานอ้างว่า เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่โจมตีอิสราเอลในเดือนนี้   แม้เรือรบและเครื่องบินรบของสหรัฐ ช่วยปกป้องอิสราเอลจากการโจมตีของอิหร่าน แต่การติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธจะทำให้ทหารสหรัฐประมาณ 100 นาย ต้องประจำการภาคพื้นดินในอิสราเอล และเผชิญกับการเสี่ยงอันตรายโดยตรงมากขึ้นเช่นกัน   “การส่งทหารสหรัฐไปประจำการในอิสราเอลอย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลวอชิงตันมีความมุ่งมั่นอย่างเห็นได้ชัดและจริงจัง ต่อความมั่นคงของอิสราเอล และจะต่อสู้หากมีความจำเป็น” นายราฟาเอล โคเฮน นักรัฐศาสตร์อาวุโสจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร “แรนด์ คอร์ปอเรชัน” กล่าว   นอกจากนี้ โคเฮน…

ประเมิน “ตากใบ-ไฟใต้” อะไรจะเกิดหลังคดีประวัติศาสตร์ขาดอายุความ

Loading

  ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านความมั่นคงชื่อดัง สะบัดปากกาอีกครั้ง ในห้วงใกล้ครบรอบ 20 ปีของเหตุการณ์ตากใบเต็มที   สาเหตุที่ต้องมีข้อเขียนแนวประเมินสถานการณ์ เพราะวาระครบรอบเหตุการณ์ตากใบปีนี้แตกต่างจากปีอื่นๆ เนื่องจากเป็นปีที่คดีตากใบจะขาดอายุความด้วย   และไม่ใช่ขาดแบบ “หายเงียบ” เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่เป็นการขาดอายุความโดยที่ศาลจังหวัดนราธิวาสประทับรับฟ้องคดี และอัยการสูงสุดก็มีคำสั่งฟ้องคดีต่อศาลปัตตานี รวมเป็น 2 สำนวนคดีแทบจะพร้อมกัน   เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้นำตัวผู้ที่ถูกฟ้องทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในชั้นศาล เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับผู้สูญเสีย   แต่การณ์กลับกลายเป็นว่าผู้ถูกฟ้อง 14 คนทั้ง 2 สำนวน ไม่มีใครไปปรากฏตัวที่ศาล หรือยอมเข้าสู่กระบวนการเลย   จึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง หนำซ้ำยังกระทบพรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำรัฐบาลเข้าอย่างจัง เนื่องจาก “จำเลยที่ 1” คนสำคัญที่สุด เป็น สส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรค   แม้สุดท้ายเจ้าตัวจะลาออกจากพรรคไปแล้ว แต่กระแสเรียกร้องให้พรรคแสดงความรับผิดชอบก็ยังไม่จบลง   อาจารย์สุรชาติ จึงตัดสินใจวิเคราะห์พร้อมตั้งคำถามถึงปัญหาชายแดนใต้ว่าจะมีทิศทางอย่างไรต่อไป โดยมองข้ามช็อตไปในโจทย์ที่ว่าคดีตากใบขาดอายุความ   การคาดการณ์ในทางรัฐศาสตร์และความมั่นคง สรุปได้ 15 ประเด็น…

แม่ผู้สูญเสียยื่นฟ้อง “กูเกิล” กล่าวหา “เอไอ” ล่อลวงลูกชายให้ปลิดชีวิตตัวเอง

Loading

    ซีเวลล์ เซตเซอร์ ลูกชายวัย 14 ปี ของ เมแกน การ์เซีย เริ่มใช้งานโปรแกรม Characer.AI เมื่อเดือน เม.ย. ปีที่แล้ว เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยใช้ปืนยิงศีรษะตัวเอง หลังจากที่พูดคุยประโยคสุดท้ายกับโปรแกรมแชตบอตดังกล่าว   การ์เซียยื่นฟ้อง “กูเกิล” บริษัทผู้ให้การสนับสนุนบริการ Character.Ai ต่อศาลประจำเขตออร์แลนโด รัฐฟลอริดา เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยกล่าวหาว่า Character.Ai ประมาทเลินเล่อ, ทำให้บุคคลเสียชีวิตอย่างผิดกฎหมาย, สร้างอารมณ์ทุกข์ใจโดยเจตนา และข้อหาอื่น ๆ   Character.Ai เป็นบริการพูดคุยกับโปรแกรมแชตบอต ก่อตั้งในปี 2564 โดยทีมงานหลักอยู่ในแคลิฟอร์เนีย มีจุดเด่นที่เป็นโปรแกรม “เอไอ” ที่ปรับแต่งได้ตามความพอใจของผู้ใช้งาน หรือจะใช้ตัวละครเอไอที่สร้างไว้แล้วก็ได้ โดยเอไอแต่ละตัวก็จะมีบุคลิกที่แตกต่างกัน   การยื่นฟ้องครั้งนี้ระบุชื่อบริษัทอัลฟาเบต (กูเกิล) เป็นจำเลย เนื่องจากเป็นบริษัทสนับสนุนทีมพัฒนา Character.Ai ก่อนที่จะเปิดให้บริการ เมื่อเดือน…

รู้ทัน ‘ภัยไซเบอร์’ เสริมภูมิคุ้มกันบนโลกดิจิทัล

Loading

    ครึ่งปีแรกปี 2567 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า มีมูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรมไซเบอร์สูงถึง 65,715 ล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละ 80 ล้านบาทเลยทีเดียว   ช่วงปีที่ผ่านมา อาชญากรรมไซเบอร์ ดูเหมือนจะทวีความรุนแรง และสร้างความเสียหายให้องค์กร และผู้คนเป็นจำนวนมาก อย่างที่เราเห็นในข่าวไม่เว้นแต่ละวัน ที่มีคนโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินผ่านมือถือ หรือข่าวข้อมูลในองค์กรรั่วไหลจนต้องสูญเงินมหาศาล เชื่อไหมครับ ว่าแค่ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 สำนักงานตำรวจแห่งชาติเผยว่า มีมูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรมไซเบอร์สูงถึง 65,715 ล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละ 80 ล้านบาทเลยทีเดียว   การที่จำนวนอาชญากรรมไซเบอร์เพิ่มอย่างก้าวกระโดด ส่วนหนึ่งมาจากวิถีชีวิตผู้คนที่เปลี่ยนมาอยู่บนโลกออนไลน์แบบติดสปีดหลังโควิด ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ รวมถึงการติดต่อสื่อสารผ่านโลกโซเชียล ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจทำให้หลายคนละเลยต่อภัยอันตรายที่มากับความสะดวกสบายของการใช้เทคโนโลยีบนโลกออนไลน์เหล่านี้   ดังนั้น การรู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องเรียนรู้ และอัปเดตอยู่เสมอ   ภัยคุกคามทางไซเบอร์สามารถเข้าถึงเราหลากหลายรูปแบบ อย่างในภาคธุรกิจ ที่พบเห็นได้บ่อย จะเป็นการรั่วไหลของข้อมูล (Data Breach) จากการโจมตีภายนอก หรือช่องโหว่ภายในระบบ…