ดึงหน่วยงานรัฐรับมือป้องกันภัยไซเบอร์ 252 หน่วยงาน

Loading

     กรุงเทพฯ 11 ก.พ. เผยไทยติดอันดับเสี่ยงภายคุกคามไซเบอร์อันดับที่ 25 เสี่ยงอันดับ 2 ในอาเซียน รัฐบาลเร่งดึงหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมรับมือป้องกันภัยไซเบอร์ครบ 252 หน่วยงาน คาดใช้เวลาปีครึ่ง      นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเปิดโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ให้หน่วยงานสำคัญของประเทศว่า คณะกรรมการเตรียมการสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล (กรรมการดีอี) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความมั่นคงทางไซเบอร์กับระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ ในอนาคตภาครัฐต้องปรับเข้าสู่การบริหารและการบริการด้วยดิจิทัลตามแผนแม่บทที่จะเกิดขึ้น ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนการทำงานของหน่วยงานรัฐบาลในส่วนนี้ความมั่นคงปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในระบบ      นายอุตตม กล่าวอีกว่า จากสถิติของศูนย์ประสานการรักษความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ หรือไทยเซิร์ต ในปี  2015 ต้องจัดการกับภัยคุกคามรวม  4,300  กรณี ในจำนวนนี้เป็นภัยคุกคามที่ไม่พึงประสงค์1500 กรณี หรือร้อยละ 35 รองลงมาคือภัยจากการหลอกลวง 1100 กรณี  ประเทศไทยถูกจัดอันดับความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ในลำดับที่ 25 ของโลก และอันดับที่ 2 ในอาเซียน ซึ่งไม่ใช่สถิติที่ดี เพื่อป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้หน่วยงานภาครัฐจึงมีโครงการในการดูแลภัยคุกคามไซเบอร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมแล้ว 40 หน่วยงาน คาดว่าจะมีหน่วยงานเข้าร่วมในปีนี้อีก…

NEC เสริมแกร่งธุรกิจด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยการเปิด Cyber Security Factory ในสิงคโปร์

Loading

     บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (NEC Corporation)(NEC; TSE: 6701) ประกาศเปิดตัว Cyber Security Factory ในสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ โดยโรงงานดังกล่าวจะช่วยเสริมผลงานระดับโลกให้แก่ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย      เมื่อปี 2557 เอ็นอีซี ได้จัดตั้ง Cyber Security Factory สาขาแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ด้วยการทำหน้าที่เป็นหน่วยงานพิเศษซึ่งมุ่งเน้นการตอบโต้การคุกคามและการโจมตีทางไซเบอร์ โดยได้ให้บริการหลากหลายรูปแบบแก่กลุ่มลูกค้าในญี่ปุ่น อันประกอบด้วย บริการสอดส่องติดตามเครือข่ายและเว็บไซต์แบบมืออาชีพตลอด 24 ชั่วโมง บริการพิสูจน์หลักฐานเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของมัลแวร์และที่มาของการรั่วไหลของข้อมูล รวมถึงการบริการฝึกอบรมแบบเป็นทีมเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่พนักงานรักษาความปลอดภัยระดับมืออาชีพ      Cyber Security Factory สาขาใหม่ในสิงคโปร์จะทำงานร่วมกับหน่วยปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัยของเอ็นอีซี ซึ่งกระจายอยู่ตามจุดยุทธศาสตร์ทั่วโลกซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บริการเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างกัน และแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ รวมทั้งบริการด้านการรักษาความปลอดภัยแก่ลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงทุกๆวัน      เอ็นอีซีทำงานร่วมกับรัฐบาลสิงคโปร์เพื่อเสริมความพร้อมให้กับประเทศในการต่อกรกับการคุกคามทางไซเบอร์ครั้งล่าสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอ็นอีซี และคณะกรรมการพัฒนาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสิงคโปร์ (EDB) ได้ร่วมกันเปิดตัวโครงการติดตามและฝึกอบรมตามยุทธศาสตร์ (STRAT) เพื่อเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้านไอทีไซเบอร์รุ่นใหม่ชาวสิงคโปร์…

PwC คาดองค์กรจะลงทุนความปลอดภัยไอทีเพิ่ม หลังภัยไซเบอร์ปี 58 สูงขึ้น

Loading

     PwC เผยจำนวนภัยคุกคามระบบไอที-อาชญากรรมไซเบอร์พุ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 38% คุกคามบริษัททั่วโลกธุรกิจเร่งลงทุนด้านไอทีซิเคียวริตี้ ทั้งบิ๊กดาต้า คลาวด์ และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (IoT) เพื่อรับมือความเสี่ยงมากขึ้น…      นางสาววิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) เปิดเผยถึงผลสำรวจ The Global State of Information Security Survey 2016: Turnaround and transformation in cybersecurity จัดทำโดย PwC ร่วมกับนิตยสาร CIO และ CSO ผ่านการสำรวจความคิดเห็นบรรดานักธุรกิจและผู้นำบริษัทไอทีชั้นนำทั่วโลกกว่า 10,000 ราย คลอบคลุมกว่า 127 ประเทศ โดยแบ่งเป็นผู้ถูกสำรวจจากทวีปอเมริกาเหนือ (37%) ยุโรป (30%) เอเชียแปซิฟิก (16%) อเมริกาใต้ (14%) และ…

แคสเปอร์สกี้เผยยอดโจมตีแรนซัมแวร์2015เพิ่มขึ้น2เท่า องค์กรตกเป็นเป้าเพราะยอมจ่ายเงิน

Loading

ปี 2015 ทูลที่ใช้โจมตีไซเบอร์ในภาคธุรกิจมีลักษณะแตกต่างจากทูลที่ใช้กับผู้ใช้งานทั่วไป รวมถึงการแสวงหาผลประโยชน์จากซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายและมัลแวร์ที่มีลายเซ็นดิจิตอลที่ถูกต้อง เพื่อซุกซ่อนไฟล์ประสงค์ร้ายในระบบได้นานขึ้น

สาเหตุการประกาศใช้กฎหมายควบคุมโดรนในญี่ปุ่น ซึ่งบังคับใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2558

Loading

เมื่อวันศุกร์ที่ 24  เมษายน 2558  ชายวัย 40 ปี เข้ามามอบตัวเองที่สถานีตำรวจในเมืองโอะบะมะ จังหวัด ฟุกุอิ พร้อมกับวัตถุพยาน คือ ทรายและอุปกรณ์ควบคุมโดรน เพื่อเป็นหลักฐาน  โดยแจ้งว่า ตนเป็นผู้ที่ควบคุมโดรน (โดยควบคุมโดรนจากระยะไกลได้ถึง 1.2 กิโลเมตร)  ให้ลงจอดบนดาดฟ้าอาคารทำเนียบนายกรัฐมนตรีในกรุงโตเกียว เมื่อวันพุธที่ 22 เมษายน 2558 ญี่ปุ่นเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย และ เตรียมออกกฎหมายควบคุม โดรน ASTV ผู้จัดการออนไลน์.   เมษายน  28, 2558.  http://bit.ly/1byvUxo สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันศุกร์ที่ 24  เมษายน 2558  ชายวัย 40 ปี ควบคุมโดรนพร้อมถุงบรรจุทราย ให้ลงจอดบนดาดฟ้าทำเนียบนายกรัฐมนตรีในกรุงโตเกียว ด้วยมีเจตนากระทำการดังกล่าวเพื่อต่อต้านนิวเคลียร์ โดยทรายที่บรรจุถุงติดไปกับโดรน เป็นทรายจากจังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ที่ได้รับความเสียหายหนักจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2554     เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสั่งเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการต่างๆ  รวมทั้งเตรียมออกกฎหมายควบคุมการใช้เครื่องบินบังคับ หรือ โดรน   เนื่องจากมีการใช้โดรนเพื่อถ่ายภาพและวีดิโออย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น แต่กลับยังไม่มีกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับการใช้อากาศยานที่บินต่ำกว่าความสูง 250เมตร กฎหมายควบคุมโดรนในญี่ปุ่น เริ่ม 10 ธันวาคม 2558 NHK WORLD;  ASTV ผู้จัดการออนไลน์  ;Blognone; สปอตเจแปน; ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2558   กฎหมายการบินพลเรือนที่ควบคุมการใช้โดรนและอากาศยานไร้คนขับประเภทอื่นๆ  ฉบับแก้ไข   เริ่มมีผลบังคับใช้ ระเบียบชุดใหม่นี้ กำหนดว่า ผู้ควบคุมอากาศยานไร้คนขับต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาล…