สหรัฐฯตั้งข้อหา 2 จนท.ข่าวกรองจีน หลังพยายามติดสินบนหน่วยงานปมคดีหัวเว่ย

Loading

  วันที่ 25 ตุลาคม 2565 เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานเมื่อวานนี้ (24 ตุลาคม) ตามเวลาท้องถิ่นว่า อัยการกลางสหรัฐฯ ได้ทำการตั้งข้อหาพร้อมออกหมายจับ เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองจีน 2 คน จากความพยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ทางกฎหมาย ในการจะเข้าถึงข้อมูลวงในเกี่ยวกับคดีอาญากับหัวเว่ย บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีน   เมอร์ริค การ์แลนด์ อัยการสูงสุดสหรัฐฯ เปิดเผยถึงการตั้งข้อหา 2 เจ้าหน้าที่จีนว่า พวกเขายังได้คุกคามผู้เห็นต่างในสหรัฐฯ และกดดันให้นักวิชาการของสหรัฐฯ ทำงานให้กับพวกเขาแสดงให้เห็นว่า จีน “พยายามแทรกแซงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในสหรัฐอเมริกาและบ่อนทำลายระบบตุลาการของเราที่ปกป้องสิทธิ์เหล่านั้น   “กระทรวงยุติธรรมจะไม่ยอมให้อำนาจต่างชาติพยายามบ่อนทำลายหลักนิติธรรมซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยของเรา” อัยการสูงสุด กล่าว   ตามเอกสารคำฟ้อง เจ้าหน้าที่ข่าวกรองจีน 2 คนที่ถูกตั้งข้อหาคือ เห่อ กัวชุน และเฉิง หวัง พยายามเตรียมแผนเพื่อขโมยบันทึกกลยุทธ์การดำเนินคดี รายชื่อพยาน และหลักฐานที่เป็นความลับอื่นๆ จากสำนักงานอัยการสหรัฐฯ ในเขตตะวันออกของนิวยอร์ก   “นี่เป็นความพยายามอย่างมหันต์โดยเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อปกป้องบริษัทที่ตั้งอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนจากความรับผิดชอบและบ่อนทำลายความสมบูรณ์ของระบบตุลาการของเรา” อัยการสูงสุด กล่าว   ด้านแหล่งข่าวที่ติดตามเรื่องดังกล่าวระบุว่า เอกสารคำฟ้องต่อนายเห่อและหวังนั้น…

กต.เผยเมืองเคมปารานาที่หมอสองถูกจับเป็นพื้นที่อันตราย มีกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม

Loading

  กระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยเมืองเคมปารานา ที่ “หมอสอง” ถูกจับเรียกค่าไถ่สุดอันตรายเป็นพื้นที่ที่มีการปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม ยังไม่ชัดกลุ่มที่จับไปใช่กลุ่มก่อการร้ายหรือไม่   จากกรณีเกือบเอาชีวิตไปทิ้งที่ประเทศมาลี แอฟริกา สำหรับ “หมอสอง” นพ.นพรัตน์ รัตนวราห หมอศัลยกรรมชื่อดัง หลังจากเดินทางไปท่องเที่ยวในอัฟกานิสถานและถูกลักพาตัวเรียกค่าไถ่ที่ประเทศมาลี หมอสองได้ติดต่อญาติถึงการถูกลักพาตัว มีการประสานงานไปยังผู้ใหญ่ในไทยเพื่อให้การช่วยเหลือประสานงานข้ามประเทศ กลายเป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศ ส่งทหารประเทศมาลีควานหาตัวหมอสอง หมดเงินค่าไถ่และค่าดำเนินการต่าง ๆ 10 กว่าล้าน ขณะนี้หมอสองเตรียมเดินทางไปประเทศดูไบเพื่อกลับมาประเทศไทย   อย่างไรก็ตาม วันนี้ (24 ต.ค.) มีรายงานจากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศที่ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “หมอสอง” ทางกระทรวงได้รับรายงานการให้ความช่วยเหลือจากกรมการกงสุล สถานเอกอัครราชทูต กรุงดาการ์ ทราบว่าหมอสองกำลังเดินทางกลับไทยแล้ว พื้นที่ที่หมอสองจะถูกจับตัวไปคือเมืองที่ชื่อว่า เคมปารานา อยู่ทางภาคตะวันออกของมาลี ติดกับพรมแดนบูร์กินาฟาโซ เป็นพื้นที่ที่มีการปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม มีกลุ่มที่ประกาศว่าสวามิภักดิ์ต่อกลุ่มอัลกออิดะห์ เป็นต้น   ข้อมูลที่กระทรวงการต่างประเทศได้รับและประเมินคนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ยังไม่สามารถประเมินได้แน่ชัดว่ากลุ่มที่จับหมอสองไปใช่กลุ่มก่อการร้ายหรือเปล่า นอกจากนี้ ช่วงที่ทหารเริ่มค้นหาตัวและมีการไปพบตัวหมอสองครั้งแรกจำแทบไม่ได้ ซูบผอม เต็มไปด้วยหนวดเครา ผมฟู และเหมือนมีการชี้ให้ดูรอยกระสุน 2 รอยที่บอกว่ามีการลอบยิง และเรียกค่าไถ่    …

วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวอินเดียวัย 32 ปีต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต จากข้อหาก่อการร้ายไซเบอร์

Loading

  ศาลเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย พิพากษาให้ อานีส อันซารี (Anees Ansari) วิศวกรคอมพิวเตอร์วัย 32 ปี จำคุกตลอดชีวิต ในความผิดฐานก่อการร้ายไซเบอร์ จากกรณีที่อันซารีวางแผนสังหารหมู่ชาวต่างชาติในโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในเมืองมุมไบ   ถือเป็นการตัดสินคดีก่อการร้ายไซเบอร์คดีแรกในประวัติศาสตร์ของรัฐมหาราษฎระของอินเดีย   อันซารีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทที่เขาทำงานอยู่ในการสร้างบัญชี Facebook ปลอมที่ใช้ชื่อปลอมว่า อุซายริม โลแกน (Usayrim Logan) เพื่ออัปโหลดเนื้อหาที่ส่งเสริมความรุนแรงในช่วงระหว่างปี 2011 – 2014   หน่วยงานของรัฐพบว่าอันซารีเผยแพร่และส่งข้อความสนับสนุนการปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้ายไอเอส (Islamic State – IS) และร่วมวางแผนกับชายชื่อ โอมาร์ เอลฮัจจ์ (Omar Elhajj) ในการมุ่งสังหารชาวต่างชาติ ในโรงเรียนอเมริกันที่ตั้งอยู่ในย่าน บันดรา เคอร์ลา คอมเพล็กซ์ ใจกลางเมืองมุมไบ โดยอันซารียังได้รับข้อมูลวิธีการประกอบระเบิดเทอร์ไมต์ด้วย   อย่างไรก็ดี อันซารีถูกจับกุมในเดือนตุลาคม 2014 จากกรณีที่เขาส่งข้อความที่มีเนื้อหาสนับสนุนแนวคิดรุนแรงของกลุ่มไอเอสไปยังโอมาร์ ซึ่งศาลวินิจฉัยว่าเป็นเนื้อหาที่คุกคามเอกภาพ อธิปไตย และความมั่นคงของอินเดีย  …

ญี่ปุ่นปิดสถานทูตในเฮติชั่วคราว เหตุกังวลสถานการณ์ความมั่นคง

Loading

  กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นออกแถลงการณ์ในวันนี้ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจปิดสถานทูตในประเทศเฮติเป็นการชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์ด้านความมั่นคงในเฮติกำลังเข้าขั้นวิกฤต   กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้จัดตั้งสำนักงานสถานทูตญี่ปุ่นในสาธารณรัฐโดมินิกัน ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของเฮติ เป็นการชั่วคราว เพื่อปกป้องพลเมืองชาวญี่ปุ่นและเพื่อให้บริการด้านต่าง ๆ หลังจากที่ตัดสินใจปิดสถานทูตญี่ปุ่นในเฮติเป็นการชั่วคราวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (23 ต.ค.)   การปิดสถานทูตดังกล่าวมีขึ้นหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกระดับคำเตือนในการเดินทางไปยังเฮติสู่ระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด โดยแนะนำให้ชาวญี่ปุ่นทั้งหมดอพยพออกจากเฮติและไม่ควรเดินทางไปยังเฮติ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ลักพาตัวและอาชญกรรมโดยกลุ่มติดอาวุธ   เฮติกำลังเผชิญกับวิกฤติด้านมนุษยธรรม ซึ่งรวมถึงการขาดแคลนอาหาร เชื้อเพลิง และน้ำ ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลเฮติต้องร้องขอความช่วยเหลือทางทหารจากต่างประเทศ   รายงานระบุว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ดังกล่าวนั้น มาจากการที่กลุ่มอาชญากรรมติดอาวุธ หรือ “กลุ่มจี 9” ได้ทำการปิดกั้นท่าเรือเชื้อเพลิงหลักของประเทศตั้งแต่เดือนก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่การขาดแคลนน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล อีกทั้งยังเป็นการขัดขวางการขนส่งส่วนใหญ่ของประเทศ จนทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าพื้นฐาน รวมถึงขาดแคลนน้ำสะอาด   ทั้งนี้ กลุ่มอาชญากรรมในเฮติได้ขยายอิทธิพลในการควบคุมอาณาเขตของประเทศนับตั้งแต่การลอบสังหารนายโฌเวเนล โมอิส อดีตประธานาธิบดีของเฮติ เมื่อปี 2564       —————————————————————————————————————————————————– ที่มา :           …

แฮ็กเกอร์เจาะระบบสำนักงานพลังงานปรมาณูอิหร่าน กดดันปล่อยนักโทษการเมือง

Loading

Suspected Hackers Impersonated   กลุ่มแฮ็กเกอร์เจาะล้วงเครือข่ายของสำนักงานพลังงานปรมาณูอิหร่าน (Iran’s Atomic Energy Organization) เรียกร้องให้รัฐบาลเตหะราน ปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่ถูกจับระหว่างการประท้วงทั่วประเทศ   ทางสำนักงานพลังงานปรมาณูอิหร่าน ระบุในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์เข้าถึงระบบเครือข่ายสำรองและเข้าถึงระบบอีเมลขององค์กรได้ และว่าเนื้อหาที่เหล่าแฮ็กเกอร์เข้าถึงนั้นเป็น “อีเมลโต้ตอบรายวันและมีข้อมูลเชิงเทคนิคอยู่”   แถลงการณ์ของสำนักงานพลังงานปรมาณูอิหร่าน มีขึ้นหลังจากกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่เรียกตนเองว่า Black Reward แสดงความรับผิดชอบต่อการเจาะล้วงเครือข่ายของหน่วยงานนี้ และเผยภาพของโรงงานนิวเคลียร์พร้อมกับข้อมูลอย่างน้อย 50 กิกะไบต์ของสำนักงานพลังงานปรมาณูอิหร่าน นอกจากนี้ ทาง Black Reward ยังเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวและสลิปเงินเดือนของวิศวกรและพนักงานในหน่วยงานนี้ด้วย   แฮกเกอร์ Black Reward เรียกร้องให้รัฐบาลอิหร่านปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่ถูกจับกุมระหว่างการประท้วงทั่วประเทศนี้ ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อกลางเดือนกันยายน หลังจาก มาห์ซา อะมินี วัย 22 ปีถูกตำรวจศีลธรรมอิหร่านจับกุมตัวในข้อหาสวมผ้าคลุมผมไม่เรียบร้อย ก่อนจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา   รัฐบาลอิหร่านอ้างว่า อะมินี มีอาการของโรคหัวใจและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จึงเสียชีวิต แต่ครอบครัวของเธอยืนยันว่า เธอไม่มีประวัติอาการป่วยเกี่ยวกับหัวใจ และร่างของเธอมีรอยช้ำและร่องรอยของการถูกทุบตีด้วย     มีเนื้อหาบางส่วนจากเอพี…

‘เซเลนสกี’ โวยรัสเซียจ้อง ‘ระเบิดเขื่อน’ เสี่ยงทำภาคใต้ยูเครนน้ำท่วมใหญ่ จี้ตะวันตกลงโทษเทียบเท่าใช้ ‘นิวเคลียร์-อาวุธเคมี’

Loading

  ประธานาธิบดี โวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนเรียกร้องให้ชาติตะวันตกช่วยยับยั้งรัสเซียไม่ให้ระเบิดทำลายเขื่อนแห่งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ภาคใต้ยูเครนต้องเผชิญ “น้ำท่วม” ครั้งใหญ่ ขณะที่กองกำลังเคียฟเตรียมรุกคืบขับไล่ทหารรัสเซียออกจากภูมิภาคเคียร์ซอน (Kherson)   เซเลนสกี แถลงผ่านสื่อโทรทัศน์วานนี้ (20 ต.ค.) ว่า กองทัพรัสเซียได้วางทุ่นระเบิดเอาไว้ภายในเขื่อนโนวาคาคอฟกา (Nova Kakhovka ) ซึ่งกั้นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และมีแผนที่จะระเบิดทำลายมันทิ้ง   “ตอนนี้ทุกคนทั่วโลกต้องร่วมมืออย่างแข็งขันเพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียก่อการร้ายครั้งใหม่ เพราะการทำลายเขื่อนแห่งนี้ย่อมหมายถึงหายนะในวงกว้าง” ผู้นำยูเครนกล่าว   รัสเซียเคยออกมากล่าวหายูเครนว่ายิงจรวดโจมตี และวางแผนที่จะทำลายเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งนี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ยูเครนชี้ว่าเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามอสโกกำลังคิดที่จะระเบิดเขื่อน และโยนความผิดให้เคียฟ   แม่น้ำดนีโปร (Dnipro) ซึ่งแบ่งยูเครนออกเป็น 2 ส่วนมีความกว้างหลายกิโลเมตร ในบางจุด และการระเบิดทำลายเขื่อนโนวาคาคอฟกาจะส่งผลให้มีมวลน้ำมหาศาลไหลหลากเข้าท่วมชุมชนที่อยู่เบื้องล่าง รวมถึงเมืองเคียร์ซอนซึ่งกองกำลังยูเครนตั้งเป้าว่าจะต้องยึดคืนจากรัสเซียให้ได้ นอกจากนี้ ยังจะส่งผลกระทบต่อระบบคลองชลประทานที่หล่อเลี้ยงพื้นที่ภาคใต้ของยูเครน ตลอดจน “คาบสมุทรไครเมีย” ซึ่งรัสเซียใช้กำลังผนวกไปเมื่อปี 2014   เซเลนสกี เรียกร้องให้ผู้นำทั่วโลกประกาศชัดเจนว่า การระเบิดทำลายเขื่อนมีค่าเท่ากับ “การใช้อาวุธทำลายล้างสูง” และจะต้องได้รับบทลงโทษเช่นเดียวกับในกรณีที่รัสเซียใช้ “ระเบิดนิวเคลียร์” หรือ “อาวุธเคมี”…