“เอไอเอส”เตือนลูกค้าระวังมิจฉาชีพ แอบอ้างใช้ชื่อ “Serenade” หลอกให้กดลิงก์ลวงข้อมูล

Loading

    “เอไอเอส” ยืนยัน Serenade ไม่มีนโยบายส่ง SMS ให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินเด็ดขาด เตรียมดำเนินคดีขั้นสูงสุด หลังจากประสานกับดีแทค ในฐานะต้นทาง   นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีลูกค้าแจ้งกรณีที่ได้รับ SMS หลอกลวงในลักษณะของการให้ทำธุรกรรมทางการเงิน จากมิจฉาชีพที่ส่ง (Sender) ในชื่อ Serenade โดยมีลิงก์เว็บไซต์ปลอมแนบท้าย เพื่อให้ลูกค้าหลงเชื่อและกดเข้าไป อันอาจนำไปสู่ความเสียหายจากการสูญเสียทรัพย์สิน หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ทาง เอไอเอส ขอเรียนยืนยันว่า กรณีนี้ไม่ได้เป็นการส่งจาก เอไอเอส และบริษัทไม่มีนโยบายในการส่ง เอสเอ็มเอส ให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงิน หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวอย่างเด็ดขาด   “เมื่อลูกค้าร้องเรียนเรื่องการได้รับ SMS ที่ส่งในชื่อ Serenade โดยมีข้อความหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินนั้น ทางเอไอเอสได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียด และพบว่า การส่ง SMS ดังกล่าว มาจากผู้ที่ซื้อบริการส่ง SMS ของ DTAC โดยแอบอ้างใช้ชื่อ Serenade เป็นชื่อผู้ส่ง…

สกมช.เตรียมแก้ กม.เพิ่มอำนาจปรับหน่วยงานระบบไอทีไม่ปลอดภัย

Loading

    เหตุเป็นช่องแฮกเกอร์เจาะข้อมูล หลังพบสถิติองค์กรไทยถูกแก๊งแรนซัมแวร์ขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ เดือนละ 5-6 บริษัท   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) กล่าวว่า ภัยไซเบอร์ขององค์กรปีนี้ยังคงพบความเสี่ยงขององค์กรที่ไม่มีการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ จนกลายเป็นช่องโหว่ของ แก๊งแรนซัมแวร์ ในการขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ ประจาน และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั่วโลกมีบริษัทถูกแฮกข้อมูลกว่า 100 บริษัทต่อเดือน ขณะที่ประเทศไทยถูกแฮกเฉลี่ยเดือนละ 5-6 บริษัท แต่ไม่มีใครเปิดเผย เพราะกลัวมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พีดีพีเอ   ทั้งนี้ เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยมีบริการ เครดิต วอช ด้วยการซื้อประกันข้อมูลรั่ว หากข้อมูลรั่วบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าและรัฐบาล เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องมีบริการรูปแบบนี้ เพราะ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีโทษปรับทางปกครองสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท กับหน่วยงานที่ปล่อยให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว   อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สกมช.มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานระบบไอทีให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ…

ผบช.น.กำชับ 1 ก.พ. สถาปนาอุเทนถวาย เตรียมมาตรการรักษาความปลอดภัย หวั่นล้างแค้นคืน

Loading

    พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. ได้เรียกประชุมชุดสืบสวน กก.สส.บก.น.6 ชุดสืบสวนนครบาล และฝ่ายสืบสวน สน.ปทุมวัน เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา กรณี มีผู้ก่อเหตุ 2 คน คาดว่าเป็นวัยรุ่น ขี่จักรยานยนต์มาแล้วคนซ้อนท้ายชักอาวุธออกมายิง นักศึกษาคณะวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย 2 คนที่เดินอยู่ริมฟุตบาท ไปทั้งหมด 5 นัด กระสุนไปถูกนักศึกษาเสียชีวิต 1 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งติดตามผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีให้ได้โดยเร็วที่สุด   ซึ่งขณะนี้ข้อมูลจากฝ่ายสืบสวนมีความคืบหน้าไปมาก ทั้งหลักฐานจากกล้องวงจรปิด รวมถึงเส้นทางการหลบหนี ส่วนมาตรการป้องกันเหตุ ตำรวจพอจะมีข้อมูลคนก่อเหตุ ขณะนี้ได้กำชับตำรวจในพื้นที่จัดกำลังเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดในพื้นที่โดยรอบแล้ว   รายงานข่าวแจ้งว่า นักศึกษาที่โดนยิงอยู่คณะวิศวกรรมโยธา โดยผู้ลงมือเป็นนักศึกษาสถาบันคู่อริ เคยมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ผู้ก่อเหตุมีการวางแผนกันมาอย่างดี หลังก่อเหตุ เขาขี่ จยย.แบบวกวนเพื่อให้ยากแก่การติดตาม แต่ตำรวจสืบทราบว่าปลายทางอยู่จังหวัดนนทบุรี คนลงมือน่าจะมีความชำนาญใช้อาวุธปืน เพราะกระสุนเข้าเป้าทั้งๆ ที่รถจยย.เคลื่อนตัวแล้วเเละเป็นคนนั่งซ้อนท้ายด้วย   พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง…

เงินหาย ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ ที่แท้ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน

Loading

    เงินหาย ที่แท้ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ แต่ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน ยืนยันว่าสายชาร์จดูดข้อมูลมีจริง แต่ไม่สามารถดูดเงินในบัญชีได้   18 ม.ค. 2566 – จากกรณี นายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด นำผู้เสียหายร้องเรียนต่อสื่อมวลชน หลังถูกกลุ่มมิจฉาชีพแฮ็กข้อมูลโทรศัพท์มือถือ โอนเงินออกไปจากบัญชี ผู้เสียหายรายหนึ่ง เล่าว่า ได้ชาร์จมือถือทิ้งไว้ จู่ ๆ มีข้อความจากธนาคารแจ้งมาว่า มีการโอนเงินจากแอปพลิเคชันธนาคารตนเอง ออกไป 100,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำธุรกรรมอะไรเลย โดยโทรศัพท์ทั้งหมดที่ถูกแฮ็กนั้น เป็นโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีผู้เสียหายมากกว่า 10 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีหลายฝ่ายคาดว่าอาจถูกสายชาร์จมือถือ ดูดเงินออกจากแอปพลิเคชันบัญชีนั้น   ความคืบหน้าล่าสุด พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่า ได้รับรายงานจาก พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ว่า จากการตรวจสอบเครื่องโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย…

ที่ปรึกษา ปธน.ยูเครนขอลาออก ยอมรับให้ข้อมูลมั่วจนคนด่าทั้งประเทศ

Loading

    ที่ปรึกษาประธานาธิบดียูเครน ซึ่งคอยอัปเดตสถานการณ์ในประเทศรายวัน ยื่นจดหมายขอลาออก หลังให้ข้อมูลผิดพลาดเกี่ยวกับเหตุรัสเซียยิงมิสไซล์โจมตีอพาร์ตเมนต์ในเมืองดนีโปร   เมื่อวันอังคารที่ 17 ม.ค. 2566 นายโอเลกซีย์ อาเรสโตวิช ที่ปรึกษาประธานาธิบดียูเครน ยื่นจดหมายขอลาออกจากตำแหน่งแล้ว หลังจากออกมาบอกว่ามิสไซล์รัสเซียที่ตกใส่อาคารในเมืองดนีโปรทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 44 ศพนั้น ถูกฝ่ายยูเครนยิงตก โดยเขาขอโทษและยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดอย่างแท้จริง   นายอาเรสโตวิชเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีจากการที่เขาคอยอัปเดตสถานการณ์การต่อสู้ในยูเครนเป็นประจำทุกวันผ่านยูทูบ ซึ่งมีผู้รับชมหลายล้านคน แต่คำพูดดังกล่าวของเขาทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจไปทั่วประเทศ และถูกฝ่ายรัสเซียนำไปใช้เพื่อกล่าวโทษยูเครน   เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากอพาร์ตเมนต์ในเมืองดนีโปรถูกมิสไซล์โจมตีเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยนายอาเรสโตวิชกล่าวในตอนนั้นว่า ดูเหมือนมิสไซล์ของรัสเซียจะตกลงสู่อาคารดังกล่าว หลังจากถูกยิงตกโดยระบบป้องกันทางอากาศของยูเครน   อย่างไรก็ตามกองทัพยูเครนออกมาโต้แย้งว่า อพาร์ตเมนต์แห่งนี้ถูกยิงโดยขีปนาวุธ Kh-22 ของรัสเซีย ที่พวกเขาไม่มีขีดความสามารถพอในการยิงสกัด และคำพูดของนายอาเรสโตวิชไม่ตรงกับความเป็นจริงอย่างยิ่ง   ด้านชาวยูเครนออกมาตอบโต้คำพูดของนายอาเรสโตวิชอย่างโกรธเกรี้ยว โดยบางคนกล่าวหาเขาว่ากำลังส่งเสริมจุดยืนให้แก่นักโฆษณาชวนเชื่อของรัสเซีย ขณะที่สมาชิกรัฐสภายูเครนบางคนร่วมกันลงนามคำร้อง เพื่อเรียกร้องให้ปลดนายอาเรสโตวิชออกจากตำแหน่งในรัฐบาล   กระแสโจมตีอย่างหนักทำให้ในเวลาต่อมานายอาเรสโตวิชโพสต์จดหมายลาออกของเขาบนโลกออนไลน์และระบุว่า เขาทำให้เกิดข้อผิดพลาดอย่างแท้จริง พร้อมกับขอแสดงความเสียใจอย่างจริงใจต่อผู้เสียชีวิต ญาติ และประชาชนชาวดนีโปรและทุกคนที่ต้องเจ็บปวดเพราะความผิดพลาดของเขา   ประธานาธิบดี โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใดๆ เกี่ยวกับการตัดสินใจลาออกของนายอาเรสโตวิช…

สมาชิกตาลีบันจ่ายเงินซื้อ “เครื่องหมายยืนยันตัวตน” บนทวิตเตอร์

Loading

    สมาชิกรัฐบาลตาลีบันบางคนมีเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าหลังชื่อบัญชีทวิตเตอร์แล้ว หลังยอมจ่ายเงินแลกตามนโยบายใหม่ของ อีลอน มัสก์   หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงใหญ่ของทวิตเตอร์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดัง นับตั้งแต่การเข้ามาของ อีลอน มัสก์ ก็คือเรื่องของเครื่องหมายยืนยันตัวตน “บลูมาร์ก” หรือเครื่องหมายติ๊กถูกหลังชื่อบัญชีผู้ใช้ ที่เมื่อก่อนเป็นสัญลักษณ์ของความน่าเชื่อของบุคคลนั้น   มัสก์ต้องการสร้างรายได้จากจัดเก็บเงิน “ค่ายืนยันตัวตน” ให้คนทั่วไปสามารถมีเครื่องหมายยืนยันตัวตนหลังชื่อบัญชีของตัวเองได้ในราคา 8 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ และ 11 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ iOS     ผู้ที่ได้รับเครื่องหมายบลูมาร์กนี้จะสามารถเข้าถึงฟีเจอร์พิเศษของทวิตเตอร์ได้ เช่น ฟีเจอร์เซฟข้อความทวีตพร้อมแยกหมวดหมู่ หรือฟีเจอร์ Undo ข้อความที่ทวีตไป เป็นต้น   ส่วนบัญชีผู้ใช้งานที่มีความน่าเชื่อถือเดิมนั้น หากเป็นบุคคลสาธารณะจะยังคงมีเครื่องหมายบลูมาร์กสีฟ้าอยู่ ซึ่งหากกดเข้าไปดูจะเขียนว่า “บัญชีนี้ได้รับการยืนยันเนื่องจากเป็นบัญชีที่มีชื่อเสียงในหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับรัฐบาล ข่าว ความบันเทิง หรืออื่น ๆ” ส่วนอีกประเภทจะเขียนว่า “นี่คือบัญชีแบบเดิมที่ยืนยันแล้ว ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีชื่อเสียงก็ได้”   ซึ่งผู้รับสารจะต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าบัญชีที่เผยแพร่ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ นั้นเป็นบัญชีประเภทไหน เป็นบัญชีที่ทวิตเตอร์รับรองความน่าเชื่อถือให้เอง หรือเป็นบัญชีที่จ่ายเงินซื้อบลูมาร์กมา   ขณะที่บัญชีที่เป็นขององค์กรหรือบริษัทเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือ…