น้ำที่คุณดื่ม สะอาดไหม?

Loading

เพื่อนผมคนหนึ่งทำงานอยู่ด้วยกันเคยบ่นครับว่าเบื่ออยู่กรุงเทพฯ เพราะแม้แต่น้ำดื่มก็ต้องซื้อ ก็เลยขอย้ายไปทำงานที่จังหวัดบ้านเกิด น้ำจึงมีความสำคัญต่อชีวิตและอนาคตอย่างนี้แหละครับ น้ำดื่มบรรจุขวดเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 อย่างไร ไปดูกันครับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรีได้รับหนังสือจากบริษัท ห้าง ร้านขวดกลมที่ประกอบธุรกิจบรรจุภัณฑ์และชุดทดสอบคุณภาพน้ำดื่มเพื่อขอข้อมูลรายชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ ผู้ประกอบการกิจการน้ำดื่ม น้ำแข็ง ในจังหวัดสระบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรีในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่อนุญาตประกอบกิจการด้านอาหารจะสามารถเปิดเผยข้อมูลของผู้ประกอบกิจการน้ำดื่ม น้ำแข็งดังกล่าวให้ผู้ขอได้หรือไม่ และเปิดเผยอะไรได้บ้าง จึงมีหนังสือไปหารือคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ คณะอนุกรรมการตอบข้อหารือตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการพิจารณาแล้วเห็นว่า ในมาตรา 11 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 บัญญัติว่า “ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐจัดหาให้ต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วในสภาพพร้อมจะให้ได้ ไม่ต้องจัดทำใหม่…แต่หากเห็นว่าการขอนั้นมิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าและเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้น หรือเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสารให้ก็ได้” ดังนั้น กรณีที่บริษัท ห้าง ร้านขวดกลมที่ประกอบธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์ และชุดทดสอบคุณภาพน้ำดื่ม ขอข้อมูลรายชื่อผู้ประกอบกิจการน้ำดื่ม น้ำแข็ง ถ้าสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรีมีข้อมูลอยู่แล้วก็ให้ได้ แต่ก็ต้องพิจารณาด้วยว่า การขอข้อมูลข่าวสารอย่างนี้ ผู้ขอมีเหตุผลสมควรหรือไม่ ที่ขอหารือไปนั้นคณะอนุกรรมการฯเห็นว่า การขอเพื่อนำไปใช้ในการติดต่อเสนอขายผลิตภัณฑ์ ถือว่าเพื่อนำไปใช้ในการแสวงหาประโยชน์ทางการค้าและอาจมีผลกระทบต่อบุคคลอื่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรีสามารถใช้ดุลพินิจไม่จัดหาข้อมูล ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ขอให้แก่บริษัทขวดกลมได้ เรื่องนี้ก็ไม่ได้ตอบครับ ว่าน้ำที่เราดื่มสะอาดหรือไม่ ต้องเลือกซื้อและดู อย.กันเอง เพียงแต่บอกว่าการจะใช้กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการไปใช้ในลักษณะง่ายต่อการทำธุรกิจนั้นไม่ได้ครับ ที่มา : วันที่…

กลุ่มรณรงค์เสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสารวิพากษ์กรณีเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ได้รับเอกสารลับของคณะรัฐมนตรี

Loading

     ข้อมูลจากการระบุในเอกสารของรัฐบาลอังกฤษที่เพิ่งได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะหลังจากมีการรณรงค์ต่อสู้ในเรื่องเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารชี้ว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ทรงได้รับสำเนาเอกสารลับสำหรับแจกจ่ายในคณะรัฐมนตรีของอังกฤษด้วย ขณะที่กลุ่มรณรงค์ที่ใช้ชื่อว่า รีพับลิค (สาธารณรัฐ) ที่ได้ข้อมูลดังกล่าวหลังจากทำการรณรงค์ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารมาเป็นเวลาสามปี กล่าวว่าการเข้าถึงข้อมูลของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ดังกล่าวเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง      หนังสือที่เรียกว่า “พรีซีเดนท์ บุค (หนังสือแบบอย่างบรรทัดฐาน)” ของสำนักงานคณะรัฐมนตรีระบุว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ พระราชินี รัฐมนตรีและบุคคลอื่นอีกจำนวนหนึ่งเป็นผู้ได้รับเอกสารต่างๆ ของคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการกระทรวงต่างๆ โดยหนังสือเล่มดังกล่าวถูกเขียนขึ้นในปี 2535 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการดำเนินการเช่นนั้นมานานกว่า 20 ปีแล้ว      หนังสือระบุว่าเอกสารเหล่านั้นเป็นความลับมากจนต้องมีความระมัดระวังมากเป็นพิเศษกับการแจกจ่าย และรัฐมนตรีจะได้รับเอกสารด้วยตัวเอง บุคคลที่ได้รับบันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรีประกอบด้วยพระราชินี เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ รัฐมนตรีทั้งหมด อัยการสูงสุดและวิปหรือผู้คุมเสียงในสภา      เนื้อหาสี่บทของหนังสือเล่มนี้ได้รับการเปิดเผยต่อกลุ่มรีพับลิคหลังจากสำนักงานคณะรัฐมนตรีล้มเหลวในการคัดค้านการเปิดเผยต่อสาธารณะ      กลุ่มรณรงค์ดังกล่าวได้ส่งจดหมายไปถึงนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน โดยเรียกร้องให้เขายุติการส่งเอกสารไปให้กับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์      จดหมายดังกล่าวระบุว่า “เป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์จะทรงสามารถล็อบบี้ข้อเสนอนโยบายใหม่ๆ ได้ ก่อนหน้าที่ประชาชนจะทันได้รู้ว่ามีข้อเสนอเหล่านั้นเสียอีก”      หัวหน้ากลุ่มรีพับลิค แกรห์ม สมิธ บอกว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ทรง “ไม่มีความจำเป็นที่ชอบธรรม” ที่จะได้เห็นเอกสารเหล่านั้น และเขาเรียกการปฏิบัติดังกล่าวว่า “ค่อนข้างไม่ธรรมดาและยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิง”…

อ้างกฎหมายอะไรมาดักฟัง ดักรับข้อมูลข่าวสาร……

Loading

: จากบางส่วนของบทความ นายสุทัศน์ เงินหมื่น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม น.ส.พ.มติชน/12 มิถุนายน 2543 คำถาม  กฎหมายใดให้อำนาจในการดักฟัง/ดักรับข้อมูลจากโทรศัพท์ และหากมีการดักฟัง/ดักรับข้อมูลจากโทรศัพท์โดยไม่ชอบ ผู้กระทำและการกระทำนี้มีผลตามกฎหมายอย่างไร คำตอบ   เนื่องจากมีกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จึงเริ่มจาก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 105  บัญญัติว่า จดหมาย ไปรษณียบัตร โทรเลข สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอื่น ซึ่งส่งทางไปรษณีย์และโทรเลข จากหรือถึงผู้ต้องหาหรือจำเลย และยังมิได้ส่ง ถ้าเจ้าหน้าที่ต้องการเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนไต่สวน มูลฟ้อง พิจารณา หรือการกระทำอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายนี้ ให้ขอคำสั่งจากศาลถึงเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์โทรเลขให้ส่งเอกสารนั้นมา ถ้าอธิบดีกรมตำรวจ หรือข้าหลวงประจำจังหวัดเห็นว่า เอกสารนั้นต้องการใช้เพื่อการดังกล่าวแล้ว ระหว่างที่ขอคำสั่งต่อศาล มีอำนาจขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไปรษณีย์โทรเลขเก็บเอกสารนั้นไว้ก่อน บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ไม่ใช้ถึงเอกสารโต้ตอบระหว่างผู้ต้องหา หรือจำเลยกับทนายความของผู้นั้น พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 วัตถุประสงค์หลักของมาตรา 105  คือ ต้องการได้ข้อมูลการติดต่อสื่อสารของตัวจำเลยหรือผู้ต้องหา ด้วยเหตุว่า ข้อมูลการติดต่อสื่อสารนั้นเป็นประโยชน์ต่อการสืบทราบข้อเท็จจริงในการจะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ     ความเหมาะสมในด้านสิทธิ/เสรีภาพของบุคคลของกฎหมายนี้ ต้องพิจารณา  2  เเง่ คือ 1. เพื่อประโยชน์ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาขั้นการสืบสวน สอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง…

พฤติกรรมการละเมิดของสายลับ CIA

Loading

อัลดริช เฮเซน เอมส์ ( Aldrich Hazen Ames) อัลดริช เฮเซน เอมส์ ( Aldrich Hazen Ames) เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ.2484  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน  เคยปฏิบัติหน้าที่ต่อต้านการข่าวกรองและนักวิเคราะห์ของหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (CIA)  พ.ศ. 2537 ถูกตัดสินให้มีความผิดในข้อหาเป็นสายลับให้กับสหภาพโซเวียต นักปฏิบัติการหัวรุนแรงชื่อ เดนิซ กิชมิช นายเอมส์ ได้รับมอบหมายให้ไปประจำการที่กรุงอังคารา ตุรกี ปี 2512 รับผิดชอบในการประเมินและระบุตัวเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของโซเวียตในตุรกีเพื่อให้เป็นผู้ให้ข่าวแก่ CIA  และประสบความสำเร็จในการแทรกซึมเข้าไปในองค์กรคอมมิวนิสต์  ผ่านนักศึกษาและนักปฏิบัติการหัวรุนแรงชื่อ เดนิซ กิชมิช แม้ว่าจะประสบความสำเร็จ แต่ผลการประเมินการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน่าพึงพอใจ ทำให้นายเอมส์หมดกำลังใจและ คิดจะลาออกจาก CIA ในปี 2515 นายเอมส์กลับสหรัฐฯ และปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ CIA กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ แผนกโซเวียต-ยุโรปตะวันออก (Soviet-East Europe;…