ยูเครนใช้เทคโนโลยีระบบจดจำใบหน้าช่วยระบุตัวทหารรัสเซีย

Loading

ในภาวะสงคราม การทราบข้อมูล พร้อมทั้งสามารถระบุว่าใครเป็นใครได้นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นทหารที่เสียชีวิต ผู้ที่ถูกจับกุมตัว ขโมย คนที่เข้า-ออกเขตชายแดน หรือกระทั่งการบันทึกข้อมูลอาชญากรรมสงครามต่าง ๆ รัฐบาลและหน่วยงานของประเทศยูเครนจึงนำเทคโนโลยีใหม่ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์จดจำใบหน้า (facial recognition) สุดล้ำสมัยจากสหรัฐฯ เข้ามาใช้เพื่อตอบโจทย์ข้างต้น โดยเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถระบุตัวทหารรัสเซีย ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิต ลีโอนิด ทิมเชนโก (Leonid Tymchenko) หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการและสนับสนุนข้อมูลของตำรวจแห่งชาติยูเครน บอกกับผู้สื่อข่าว วีโอเอ ว่า เทคโนโลยีจดจำใบหน้าคือเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับยูเครน ซึ่งมีการนำมาใช้ใน 5 หน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติของยูเครนแล้ว และ ระบบนี้ก็ทำงานได้ตามเป้าประสงค์อย่างไม่มีที่ติ   Clearview.ai – Screenshot Clearview AI บริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นบริษัทที่ตกเป็นเป้าการถกเถียงกันอยู่ในเวลานี้ คือ ผู้ที่อนุมัติให้รัฐบาลยูเครนใช้ฐานข้อมูลใบหน้าผู้คนนับพันล้านคนเพื่อใช้ในการระบุตัวทหารรัสเซียนั้น ทั้งนี้ Clearview AI เพิ่งสิ้นสุดกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีฟ้องร้องในชั้นศาล เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจากซอฟต์แวร์ที่สามารถระบุและให้ข้อมูลตัวส่วนตัว โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ยินยอม ซึ่งทางบริษัทอ้างว่า ตนเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์สาธารณะต่าง ๆ รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศรัสเซียอย่าง VKontakte (VK) อย่างไรก็ตาม บริษัทดังกล่าวจบคดีโดยการตกลงว่า จะขายซอฟต์แวร์ของตนให้แก่ตำรวจและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น…

สหราชอาณาจักรปรับ Clearview AI เป็นเงิน 320 ล้านบาท ฐานใช้ภาพประชาชนให้บริการค้นหา

Loading

  Information Commissioner’s Office (ICO) หน่วยงานกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของสหราชอาณาจักร ประกาศปรับบริษัท Clearview AI ฐานใช้ภาพประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยสั่งปรับ 7.5 ล้านปอนด์หรือ 320 ล้านบาท พร้อมกับสั่งให้หยุดดาวน์โหลดข้อมูลส่วนบุคคล และลบข้อมูลที่ดาวน์โหลดไปแล้วออกทั้งหมด Clearview AI ดำเนินธุรกิจเก็บภาพใบหน้าจำนวนมากจากอินเทอร์เน็ตแล้วเปิดให้ลูกค้าค้นหาภาพใบหน้าได้ ลูกค้าของบริษัทมักเป็นหน่วยงานรัฐ ทาง ICO ระบุว่าความผิดของ Clearview AI มีหลายประเด็น ได้แก่ – ไม่แจ้งประชาชนถึงการใช้งานข้อมูลอย่างเปิดเผย ทำให้เจ้าของข้อมูลไม่ตระหนักว่าข้อมูลอาจถูกใช้งานไปค้นหาใบหน้า – ไม่มีเหตุจำเป็นตามกฎหมายในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล – ไม่มีกระบวนการขอให้หยุดเก็บข้อมูล – เมื่อเจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบข้อมูลก็ยิ่งขอข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม ตอนนี้ Clearview AI เก็บภาพบุคคลไปแล้วกว่าสองหมื่นล้านภาพจากทั่วโลก ทาง ICO ระบุว่าข้อมูลเช่นนี้ไม่ใช่แค่การค้นหาตัวตนแต่ยังสามารถตรวจสอบพฤติกรรมบุคคลในภาพด้วย ที่มา – ICO     ที่มา : blognone    /   วันที่เผยแพร่…

รายงานเผย องค์กร 60% เคยสูญเสียข้อมูล เหตุเพราะพนักงานทำพลาด

Loading

  จากแบบสำรวจใหม่ล่าสุดของทาง Ponemon Institute เรียกว่าองค์กรที่อยู่ในแบบสำรวจถึง 3 ใน 5 ที่ได้เคยสูญเสียข้อมูลหรือถูกคัดออกไปจากองค์กร อันเนื่องมาจากความผิดพลาดของพนักงานที่จัดการเกี่ยวกับอีเมลในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยแบบสำรวจดำเนินการกับผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไอที (IT Security) จำนวน 614 ท่านทั่วโลก ซึ่งเผยให้เห็นว่าอีเมลนั้นเป็นช่องที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะทำให้ข้อมูลองค์กรสูญหายไปได้ ด้วยตัวเลขที่ตอบแบบสำรวจกว่า 65% เลยทีเดียว นอกจากนี้ แบบสำรวจยังพบว่า “ความประมาทเลินเล่อของพนักงาน” (เพราะไม่ได้ทำตามนโยบาย Policy ที่วางไว้) นั้นจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่เหตุการณ์ความสูญเสียข้อมูลได้ ซึ่งพบว่า เหตุการณ์กว่า 27% นั้นเกิดจาก Malicious ที่อยู่ภายในองค์กร โดยการขโมยข้อมูลออกไปโดยเจตนานี้ยังสร้างความเครียดให้กับทีมไอทีอย่างต่อเนื่อง เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวต้องใช้เวลาราว 3 วัน สำหรับทีมบริหารจัดการความเสี่ยงและความมั่นคงปลอดภัยในการตรวจจับและแก้ไขปัญหาเหตุการณ์สูญข้อมูลไปอันเนื่องมาจาก Malicious ภายในหรืออีเมลก็ตาม ข้อมูลที่มักจะสูญหาบ่อย ๆ นั้นมักจะเป็นข้อมูลความลับองค์กรที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลลูกค้า (61%) ข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา (56%) ข้อมูลผู้บริโภค (47%) รวมไปถึงข้อมูลที่ผู้ใช้สร้างขึ้น เช่น เนื้อหาในอีเมล…

อังกฤษเปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่เพื่อสู้กับสายลับที่หลอกเอาข้อมูลลับจากผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดีย

Loading

  “รัฐบาลสหราชอาณาจักรเปิดตัว Think Before You Link แอปพลิเคชันช่วยตรวจสอบตัวตนบัญชีผู้ใช้บนโซเชียลมีเดียอย่าง LinkedIn และ Facebook” เคน แม็คคอลลัม (Ken McCallum) ผู้อำนวยการทั่วไปของแผนกต่อต้านการจารกรรมแห่งสหราชอาณาจักร หรือ เอ็มไอไฟว์ (MI5) ได้เปิดเผยในช่วงเดือนเมษายนปีที่แล้วว่ามีผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะบนลิงก์อิน (LinkedIn) และเฟซบุ๊ก (Facebook) กว่า 10,000 คน ตกเป็นเป้าหมายการจารกรรมข้อมูลความมั่นคงแห่งชาติผ่านบัญชีที่สร้างตัวตนปลอมขึ้นมา และในปีนี้ ทางการได้เปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ที่มีชื่อว่า Think Before You Link เพื่อยกระดับการจัดการกับปัญหานี้ คิดก่อนลิงก์ (Think Before You Link) เป็นโครงการรณรงค์การตระหนักรู้ทางไซเบอร์ (Cyber Awareness) ที่เริ่มรณรงค์ตั้งแต่ปีก่อนเพื่อป้องกันการถูกล่อลวงจากบัญชีแปลกหน้าที่มีประวัติดีเกินไปบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยเฉพาะ ลิงก์อิน (LinkedIn) ที่เป็นแพลตฟอร์ม (Platform) ยอดนิยมสำหรับคนทำงาน เป้าหมายของสายลับที่แฝงตัวบนลิงก์อิน (LinkedIn) ส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลที่มีสิทธิ์เข้าถึงระดับชั้นความลับขั้นสูง ปลอมตัวเป็นตัวแทนจากบริษัทที่อ้างว่าเป็นเครือข่ายคนทำงานหรือเครือข่ายอาชีพเฉพาะทางระดับโลก หลังจากทำความคุ้นเคยกับเป้าหมายแล้ว สายลับจะพาไปงานเสวนาปลอมที่จัดขึ้นในต่างประเทศเพื่อหลอกถามข้อมูลลับต่อไป แอปพลิเคชันในชื่อเดียวกับโครงการถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยต่อกรกับบัญชีที่มีตัวตนปลอมเหล่านี้…

สงครามเทคโนโลยี ดาวเทียมจีนบรรลุเป้า ติดตามเรือรบได้เรียลไทม์

Loading

  สำนักข่าว South China Morning Post เปิดเผยรายงานว่า ดาวเทียมจีน ที่ติดตั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้าไป สามารถตรวจจับพิกัดที่แน่นอนของเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Harry S. Truman ได้แล้ว   ดาวเทียมดังกล่าวสามารถติดตามเรือบรรทุกเครื่องบินตั้งแต่เคลื่อนตัวออกจากชายฝั่ง Long Island รัฐนิวยอร์กตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วพร้อมกับส่งข้อมูลไปยังปักกิ่งได้ตลอดเวลา   นอกจากนี้ เทคโนโลยีภาพดาวเทียมของจีนก็ไม่ใช่เล่น ๆ ครับ สามารถให้ความละเอียดได้สูงถึง 200 เฟรมต่อวินาที นั่นเท่ากับว่า มันมีความคมชัดมากพอจะเห็นว่าเรือรบกำลังทำอะไรได้แบบเรียลไทม์ และการมีปัญญาประดิษฐ์ติดตั้งอยู่ ก็ทำให้สามารถรู้รับรู้ได้ตลอดว่า เรือไปทำอะไรอยู่ในหรือจุดไหนของโลก   รายงานดังกล่าวถูกเปิดเผยเมื่อ สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) อัพโหลดวีดีภาพยนต์สั้นเรื่องใหม่ผ่านทางยูทูปชาแนล เกี่ยวกับแผนการของจีนที่ต้องการขโมยเทคโนโลยีของทางสหรัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายในการครอบงำตลาดโลก โดยภาพยนต์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพยายามเรียกร้องให้ภาคเอกชนของอเมริกาพยายามปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขา ไม่ให้ถูกจีนขโมยไป   การเปิดเผยรายงานดังกล่าวก็เป็นการบอกว่า เฮ้ย… นี่ชั้นก็มีเทคโนโลยีทางทหารที่ล้ำหน้ามากที่สุดในโลกนะ ไม่ได้ขโมยมาจากแกด้วย… สามารถติดตามเรือบรรทุกเครื่องบินมูลค่าหลายหมื่นล้านของแกไปได้ทุกที่บนโลกนะ ซึ่งต้องรอดูต่อไปว่าสหรัฐจะตอบโต้กลับยังไงครับ     ที่มาข้อมูล https://americanmilitarynews.com/2022/05/chinas-ai-satellites-can-track-us-ships-in-real-time-around-the-world-report/ https://www.youtube.com/watch?v=GdapE82GceA    …

สเปนปลด ผอ.หน่วยข่าวกรอง เซ่นปมสปายแวร์ดักฟังโทรศัพท์นักการเมือง

Loading

  ผอ.หญิงแห่งหน่วยข่าวกรองของสเปน ถูกปลดจากตำแหน่งแล้ว หลังจากมีการเปิดเผยเรื่องการใช้สปายแวร์ เพกาซัส ดักฟังโทรศัพท์ของนักการเมืองระดับสูงหลายสิบคน สำนักข่าว เดอะ การ์เดียน รายงานว่า นาง ปาซ เอสเตบัน หญิงคนแรกผู้ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ (CNI) ของสเปน ถูกปลดจากตำแหน่งแล้ว หลังเกิดกรณีอื้อฉาวเรื่องการใช้สปายแวร์ที่เรียกว่า ‘เพกาซัส’ (Pegasus) ดังฟังโทรศัพท์ของนักการเมืองระดับสูงหลายคน การปลดนางเอสเตบันเกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองในสเปนที่กำลังพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเกือบ 2 ปี หลังจากการสืบสวนร่วมกันของสื่ออย่าง เดอะ การ์เดียน และ เอล ปาอิส เปิดเผยเป็นครั้งแรกว่ามีนักการเมืองระดับสูงฝ่ายสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนในแคว้นกาตาลุญญาหลายคน ได้รับการแจ้งเตือนว่าโทรศัพท์ของพวกเขาถูกดักฟังด้วยเพกาซัส กรณีอื้อฉาวนี้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ ซิติเซน แลบ (Citizen Lab) ของมหาวิทยาลัยโทรอนโต เปิดเผยว่า มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวสนับสนุนการแยกตัวเป็นอิสระของแคว้นกาตาลุญญาอย่างน้อย 63 คน ตกเป็นเป้าหมาย หรือโทรศัพท์ถูกฝังด้วยสปายแวร์เพกาซัส ระหว่างปี 2560-2563 เรื่องดังกล่าวทำให้พรรค ERC ซึ่งหนุนการแยกเป็นอิสระของแคว้นกาตาลุญญา ประกาศถอนตัวจากรัฐบาลผสมซึ่งนำโดยพรรคสังคมนิยมทันที ก่อนจะมีการเปิดเผยว่า เมื่อปีก่อนโทรศัพท์มือถือของนายกรัฐมนตรี เปโดร…