ปืนพกอัจฉริยะ Biofire ยิงไม่ออกหากไม่ใช่เจ้าของตัวจริง

Loading

    Biofire ปืนอัจฉริยะ ตรวจจับด้วยลายนิ้วมือ-ระบบสแกนใบหน้า 3 มิติ ยิงไม่ได้หากไม่ใช่เจ้าของตัวจริง   บริษัท ไบโอไฟร์ เทคโนโลยี (Biofire Technologies) จากรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่าได้คิดค้นปืนพกที่มีเครื่องตรวจจับชีวภาพในชื่อ ไบโอไฟร์ สมาร์ท กัน (Biofire Smart Gun) ที่มีระบบตรวจสอบลายนิ้วมือ ล็อกการใช้งานปืนป้องกันการนำไปใช้งานในทางที่ผิด   โดยบริษัทระบุในเว็บไซต์ว่า ปืนไบโอไฟร์ขนาด 9 มม. สามารถป้องกันสถานการณ์ปืนผิดมือ และไม่สามารถยิงได้หากเจ้าของปืนไม่หยิบขึ้นมาใช้ จึงสามารถนิยามได้ว่าเป็นปืนอัจฉริยะที่ยิงได้เฉพาะเป้าหมายที่เจ้าของปืนต้องการ เพื่อป้องกันเหตุการร้ายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่เด็กหรืออาชญากรหยิบปืนไปใช้งาน   “สำหรับผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาต ปืนไบโอไฟร์จะใช้งานได้ง่ายเหมือนกับอาวุธปืนปกติ และด้วยระบบ การ์เดียน ไบโอเมตริก เอนจิน (Guardian Biometric Engine) ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ Biofire สามารถตรวจจับลายนิ้วมือทั้งยังมีระบบจดจำใบหน้า 3 มิติเพื่อยืนยันตัวตนผู้ใช้ในทุกสถานการณ์ ผู้ใช้สามารถปลดล็อกปืนได้ในทันทีจับปืนขึ้นมา ไม่ต้องใช้รหัส ปุ่ม หรืออุปกรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น”…

รัสเซียขับนักการทูตเยอรมนี “มากกว่า 20 คน” ลั่น “คือการตอบโต้แบบเดียวกัน”

Loading

    รัสเซียเนรเทศเจ้าหน้าที่การทูตของเยอรมนี “มากกว่า 20 คน” เท่ากับจำนวนนักการทูตของรัฐบาลมอสโก ซึ่งต้องเดินทางออก ตามคำสั่งของรัฐบาลเบอร์ลิน   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ว่า กระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ออกแถลงการณ์ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า นักการทูตของเยอรมนี “มากกว่า 20 คน” ถือเป็น “บุคคลไม่พึงปรารถนา” และต้องเดินทางออกจากรัสเซีย “ภายในระยะเวลาที่กำหนด” มาตรการดังกล่าว “คือ การตอบโต้แบบเดียวกัน” กับที่เยอรมนีเนรเทศเจ้าหน้าที่การทูตของรัฐบาลมอสโก   ด้านแหล่งข่าวในกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี กล่าวว่า มีการหารือหลายครั้งกับรัฐบาลมอสโก ในรอบหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับจำนวนบุคลากรการทูตของทั้งสองประเทศ โดยรัฐบาลเบอร์ลินมีเป้าหมายคือ เพื่อต้องการลดจำนวน “การแฝงตัวในคราบสายลับ” ของเจ้าหน้าที่จากรัสเซียเท่านั้น     ขณะที่สื่อท้องถิ่นหลายแห่งของทั้งสองประเทศรายงานว่า เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำรัสเซีย ได้รับแจ้งเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่การทูตของเยอรมนีซึ่งต้องเดินทางออกจากรัสเซียในรอบนี้ คือ 34 คน จากทั้งหมด…

‘ข่าวปลอม’ Fake news พุ่งไม่หยุด!! ประเด็น ‘สุขภาพ-โควิด’ บิดเบือนสูงสุด

Loading

    “ดีอีเอส”จับตา“ข่าวปลอม”สุขภาพพุ่งไม่หยุด ทั้งเส้นเลือดสมองแตก-โควิด ทำคนตื่นตระหนก เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์ พบข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด   เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์นี้ พบ ข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด โดยเฉพาะข่าวปลอม ไม่ควรสระผมก่อนอาบน้ำ เพราะทำให้เส้นเลือดสมองแตก รองลงมาข่าว โควิดสายพันธุ์ XBB และ XBB.1.16 ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลต้า 5 เท่า มีอัตราการตายที่สูงกว่า และดื้อต่อภูมิคุ้มกัน ข้อมูลเท็จ ไม่เป็นความจริง อย่าแชร์!   ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 14- 20 เมษายน 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,243,222 ข้อความ…

ความมั่นคงปลอดภัย “ไซเบอร์ของไทย” ต้องมีความเป็นอิสระ…ไม่พึ่งใคร

Loading

    เมื่อเร็วๆ นี้มีคนร้ายเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนทั่วไป (Hacker) โดยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวประกอบไปด้วย เลขบัตรประจำตัวประชาชน, ชื่อ-นามสกุล, วัน เดือน ปีเกิด, ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ และพบมีการโพสต์จำหน่ายข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลคนไทย 55 ล้านรายการ ต่อมาทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบสวนจนทราบว่าแฮ็กเกอร์ผู้ก่อเหตุที่ใช้ชื่อ 9near นั้นเป็นจ่าทหาร จ.ส.ท.เขมรัฐ บุญช่วย ทหารสังกัดกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) ล่าสุดผู้ต้องหารายนี้ได้มอบตัวต่อกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผู้ก่อเหตุยังไม่ได้นำข้อมูลไปขายหรือนำไปใช้ เพียงเป็นการนำมาโพสต์เพื่อสร้างกระแสในโซเชียลมีเดีย และเป็นการกระทำส่วนบุคคลเท่านั้นตามที่นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ยืนยัน แต่เรื่องนี้ถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่งสำหรับเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cyber security) ของไทย     ข้อที่น่าสนใจคือ…ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเลือกตั้ง เรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นั้นนำไปสร้างเป็นประเด็นทางการเมืองได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้อันเนื่องมาจากประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก แต่ยังมีความรู้ความเข้าใจต่อ cyber security ไม่มากพอ   ยิ่งไปกว่านั้น…ประเทศของเรายังไม่มียุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่อิสระไม่ขึ้นต่อใคร ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของรัฐ และอดคิดไม่ได้ว่าการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองในประเทศหรือกลุ่มอิทธิพลนอกประเทศหรือไม่ ….ในที่สุด การก่ออาชญากรรมไซเบอร์ที่เป็นการกระทำส่วนบุคคลก็อาจกลายเป็นเรื่องของการก่อการร้ายทางไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางได้   การสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต้องมีความเป็นอิสระโดยไม่ขึ้นต่อใคร…

ญี่ปุ่นปรับกระบวนยุทธ์อย่างสำคัญ

Loading

      ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ก่อนจะถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู 2 ลูก โดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้พ่ายแพ้สงครามในที่สุด ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ห้ามมิให้ญี่ปุ่นมีกองทัพทหารเยี่ยงประเทศอื่นใด แต่อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังสามารถมีกองกำลังป้องกันตนเองได้ (Self-defense force) โดยจะต้องปฏิบัติการแค่ภายในอาณาบริเวณ หรือน่านน้ำและน่านอากาศ และบนภาคพื้นดินภายในเขตดินแดนของตนเองเท่านั้น   ญี่ปุ่นจึงตกในสภาพที่อยู่ใต้อาณัติของสหรัฐอเมริกา ผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยปริยาย เพราะสหรัฐฯ ได้ตั้งฐานทัพ และกองกำลังอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีนัยของการควบคุมญี่ปุ่นให้อยู่ในร่องในรอยและในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ก็อ้างตนว่าเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองญี่ปุ่นจากภยันตรายจากภายนอกประเทศด้วย จึงจัดได้ว่าญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เป็นพันธมิตรทางด้านการทหารและความมั่นคงอย่างเหนียวแน่น   จริงอยู่ที่ญี่ปุ่นรู้สึกว่ามีความมั่นคงปลอดภัย ก็เพราะมีสหรัฐฯ คอยเป็นโล่ และผู้ปกป้องคุ้มครองภัยให้ แต่ในระยะหลังๆ สหรัฐฯ ที่ทำตนเป็นเสมือนตำรวจโลก ได้มีภารกิจที่หลากหลายไปทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันก็พยายามเรียกร้องให้ประเทศพันธมิตรต่างๆ มาร่วมแบกภาระ แทนการพึ่งพาจากสหรัฐฯ อย่างเดียวแบบแต่ก่อน และยังขอให้ร่วมมือช่วยเหลือสหรัฐฯ ในโอกาสสำคัญที่จำเป็น ด้วยการร้องให้ประเทศพันธมิตรจัดเพิ่มงบประมาณทางทหาร เสริมสร้างความทันสมัยของอาวุธยุทโธปกรณ์ และการขยายและพัฒนากำลังพล อีกทั้งภยันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของโลก ก็มีรูปแบบขึ้นมาใหม่ เช่น การก่อการร้ายสากล และการบ่อนทำลายซึ่งกันและกันทางด้านระบบการสื่อสารทางอวกาศ…

มุมมองผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ การแบน TikTok อาจทำให้ ภัยคุกคาม รุนแรงขึ้น

Loading

TikTok ไม่ใช่แอปแรกและแอปเดียว ที่มีการใช้งานข้อมูลส่วนบุคล แต่ TikTok เป็นแอปที่สร้างความกังวลในกลุ่มนักการเมืองสหรัฐฯ กว่าแอปอื่น ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ เพราะเป็นแอปที่มาจากจีน   ซึ่งหลายคนคงเคยอ่านผ่านตามาบ้าง ทั้งเรื่องความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน และการกีดกันการค้าด้วยการแบนหัวเว่ย, ZTE ไปแล้ว ลามมาถึง TikTok ซึ่งสหรัฐฯ ก็ฮึ่มๆ อยากแบนจากสหรัฐฯ อยู่ในตอนนี้   แต่การแบน TikTok เป็นทางออกที่ดีที่สุดจริงหรือ   Robert Olson ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จากสถาบัน Rochester Institute of Technology เขียนบทความความเห็นว่า การแบน TikTok จะเป็นหายนะทางไซเบอร์ และอาจทำให้ความปลอดภัยทางดิจิทัลของบุคคลถดถอย   หากเกิดการแบน TikTok ในสหรัฐฯ จริงๆ วิธีที่รัฐบาลจะใช้ก็มีไม่กี่อย่าง คือถอดแอปออกจาก Play Store และ App Store หรือกรองทราฟฟิกที่ส่งไปยังที่อยู่ซึ่งเชื่อว่าเป็นของ TikTok ออกไป  …