รู้จัก ‘ตำรวจลับ’ รัฐบาลทหารพม่า เครื่องมืออำมหิตที่ใช้ปราบฝ่ายประชาธิปไตย

Loading

  บทความในอิรวดีพูดถึงบทบาท ‘ตำรวจลับ’ ของเผด็จการพม่าที่ใช้สอดแนม-ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม และล่าสุดยุครัฐบาลทหารมินอ่องหล่าย นอกจากเครือข่ายที่ใช้จับตาความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านเผด็จการพลัดถิ่นที่อยู่ในไทยแล้ว ยังพบว่าผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและปฏิรูปการเมืองช่วงรัฐบาลเต็งเส่ง ก็ยังกลายเป็นผู้ให้ข้อมูลกับตำรวจลับพม่าอีกด้วย   เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสที่เชี่ยวชาญประเด็นพม่าเขียนบทความเผยแพร่ในอิรวดี เมื่อ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา พูดถึงการที่เผด็จการพม่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการใช้ “ตำรวจลับ” เพื่อคอยสอดแนมและปราบปรามฝ่ายประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งในประนอกประเทศ รวมถึงมีตำรวจลับเหล่านี้ในประเทศไทยด้วย แต่เผด็จการในยุคต่างๆ ก็มีการกวาดล้างเหล่าตำรวจลับพวกนี้เองและตั้งหน่วยใหม่ในชื่อใหม่ขึ้นมาตั้งแต่ยุคของเนวิน มาจนถึงเผด็จการมินอ่องหล่ายในปัจจุบัน   โดยเผด็จการเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องมี “ตำรวจลับ” เอาไว้ใช้งานเพื่อที่จะคงอยู่ในอำนาจได้ และยิ่งตำรวจลับเหล่านี้ มีความโหดเหี้ยมอำมหิตมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลดีกับพวกเขามากขึ้นเท่านั้น พวกนาซีเคยมีตำรวจลับชื่อหน่วยเกสตาโป ชาห์แห่งอิหร่านเคยอาศัยหน่วยซาวัคเป็นตำรวจลับและหน่วยข่าวกรอง เผด็จการแห่งโรมาเนีย นิโคแล โจเชสกู มี “กรมความมั่นคงแห่งรัฐ” ส่วนนายพลพม่านั้นมีหน่วยข่าวกรองของตนเอง ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อหลายชื่อในช่วงเวลาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นเสาหลักทางอำนาจให้กับรัฐเผด็จการทหาร   แต่ด้วยความที่ว่า หน่วยตำรวจลับของพม่านั้นมีลักษณะปกปิดเป็นความลับ ทำให้มีอยู่อย่างน้อยสองครั้งที่หน่วยงานข่าวกรองกองทัพพม่าเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบรัฐซ้อนรัฐ ซึ่งกลายเป็นภัยต่อระเบียบรัฐแบบดั้งเดิม ทำให้มีการกวาดล้างผู้นำของตำรวจลับบางส่วนโดยมีการลงโทษคุมขังพวกเขาเป็นเวลายาวนาน   เรื่องนี้ทำให้ผู้นำเผด็จการพม่าเริ่มหันมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจลับมีความจงรักภักดีต่อพวกเขาโดยไม่ตั้งคำถามใดๆ นั่นกลายเป็นสาเหตุที่มินอ่องหล่าย ผู้นำระดับสูงของกองทัพและผู้นำเผด็จการทหารยุคปัจจุบัน ได้ให้ผู้นำระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเผด็จการคนก่อนๆ   พล.ท.เยวินอู ผู้ที่เป็นประธานของหน่วยงานที่ชื่อว่า สำนักงานแห่งกิจการความมั่นคงเสนาธิการทหาร…

Sberbank ของรัสเซียเปิดตัว GigaChat เพื่อแข่งกับ ChatGPT

Loading

  Sberbank ธนาคารรายใหญ่ของรัสเซียได้ประกาศเปิดตัว GigaChat แชตบอต AI ของตนเองที่มีเป้าหมายเพื่อแข่งขันกับ ChatGPT ของ Microsoft แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบ   การมาของ ChatGPT โดย OpenAI ได้กระตุ้นการแข่งขันในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี AI ส่งผลให้หลาย ๆ บริษัทพัฒนา AI ของตนเองขึ้น ในส่วนของ Sberbank เป้าหมายต้องการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ Sberbank กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ GigaChat แตกต่างจากคู่แข่ง คือ ความสามารถที่เหนือกว่าในการสื่อสารอย่างชาญฉลาดในภาษารัสเซียมากกว่าโครงข่ายต่างประเทศอื่น ๆ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของตนใช้ภาษารัสเซียเป็นหลัก โดยต้องการให้ GigaChat ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมแล้วเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของผู้คนและดำเนินธุรกิจในรัสเซีย โดยหวังพัฒนาสู่การแข่งขันในตลาดแชตบอตในไม่ช้า           ที่มา Reuters           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :   …

เตือนภัย ปชช.อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์

Loading

  กรุงเทพฯ 25 เม.ย. – ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ ฉวยโอกาสช่วงค่าไฟฟ้าแพง   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวเตือนภัยประชาชน กรณีมิจฉาชีพเข้ามาแฝงตัวในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อหลอกลวงขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ดังนี้   ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) พบว่าเริ่มมีผู้เสียหายหลายรายทยอยแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ หลังจากถูกมิจฉาชีพหลอกลวงขายแผงโซลาร์เซลล์ หรืออุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ให้กับเหยื่อผู้ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายการอุปโภคและบริโภคจากการใช้ไฟฟ้าในรูปแบบของที่พักอาศัย โดยมิจฉาชีพฉวยโอกาสในช่วงโซลาร์เซลล์กำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้บัญชีเฟซบุ๊กปลอมแฝงตัวเข้ามาในกลุ่มต่าง ๆ ที่มีการซื้อขายโซลาร์เซลล์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โพสต์ประกาศขายสินค้าดังกล่าวในราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด ใช้รูปภาพที่คัดลอกมาจากช่องทางที่มีการซื้อจริง โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณต่าง ๆ และมีการเร่งรัดให้รีบตัดสินใจว่าสินค้าใกล้จะหมด นอกจากนี้แล้วมิจฉาชีพยังใช้วิธีการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมาทั้งหมด เพื่อหลอกลวงขายสินค้าประเภทดังกล่าวอีกด้วย   ที่ผ่านมานับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 – 16 เม.ย.66 พบว่าการหลอกลวงซื้อสินค้าหรือบริการ ยังคงมีประชาชนตกเป็นเหยื่อ โดยได้แจ้งความร้องทุกข์ผ่านระบบการรับแจ้งความออนไลน์สูงที่สุดเป็นลำดับที่ 1 จำนวนกว่า 85,395 เรื่อง หรือคิดเป็น 35.61% ของเรื่องที่มีการรับแจ้งความออนไลน์ทั้งหมด…

ธนาคารเร่งสแกนใบหน้า ยืนยันตัวตนเมื่อโอนเงินเกิน 50,000 เริ่มพ.ค.-มิ.ย นี้

Loading

    แบงก์ชาติ เร่งธนาคารเอกชน อัปเกรดระบบสแกนใบหน้า รวมทั้งเร่งอัปเดตระบบแอปพลิเคชั่น ให้สามารถตรวจสอบตัวตนภายในเดือนพ.ค.-มิ.ย.นี้ หากมีการโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เพื่อป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์   จากกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ มีนโยบายให้ธนาคารทุกแห่งที่ให้บริการโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชัน ยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมบนแอปธนาคาร   เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับมิจฉาชีพ ได้ใช้ช่องทางดังกล่าว หลอกให้ประชาชนโอนเงิน โดยแบงก์ชาติกำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องยืนยันตัวตนเมื่อทำธุรกรรมตามกำหนด ถือว่าเป็นนโยบายการบริหารจัดการปัญหาการทุจริตและหลอกลวง ผ่านการใช้บัญชีเงินฝากหรือบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนทุกครั้ง   สำหรับธุรกรรมที่ต้องยืนยันตัวตนสแกนใบหน้า เมื่อใช้บริการผ่านแอปธนาคาร โมบายแบงก์กิ้ง ดังนี้   1.โอนเงินเกิน 50,000 บาทต่อครั้ง   2.โอนเงินเกิน 200,000 บาทต่อวัน   3.ปรับเปลี่ยนวงเงินโอน   โดยแบงก์ชาติกำหนดให้ทุกธนาคารเริ่มดำเนินการได้ภายในเดือนมิถุนายน 2566 แต่หากทำธุรกรรมโอนเงินไม่ถึงวงเงินดังกล่าว ก็ยังสามารถโอนเงินใช้บริการได้ตามปกติเช่นเดิม     โดยทางธนาคารเอกชนต่างก็อัปเกรดระบบแอปพลิเคชั่นทางการเงินและทยอยให้ผู้ใช้งานอัปเดตการสแกนใบหน้าบ้างแล้ว   ธนาคารไทยพาณิชย์   ไทยพาณิชย์ แจ้งลูกค้าเตรียมความพร้อมสำหรับการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า เมื่อทำธุรกรรม ผ่านแอปพลิเคชัน…

กฎหมายกับการกำกับธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

    “Platform economy” หรือ เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมากได้ ดังนั้น กฎหมายเพื่อควบคุมและดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จึงมีเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน   ผู้เขียนจึงข้อหยิบยกเนื้อหาบางส่วนของกฎหมายฉบับนี้ มาอธิบายให้ฟัง   ที่มาของกฎหมาย   ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีการตรา พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 (พ.ร.ฎ. แพลตฟอร์มดิจิทัล) โดยเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้กำหนด “สิทธิ” ให้บุคคล “สามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ได้   หากภาครัฐเห็นว่า การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นว่านั้น อาจกระทบกับความมั่นคงทางการเงิน การพาณิชย์ หรือเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับประชาชน ก็สามารถตรากฎหมาย เพื่อกำหนดให้การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว เป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ   แจ้งให้หน่วยงานใดทราบ?   กฎหมายกำหนดให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลต้องแจ้งให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดี หากเป็นผู้ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ใช้บังคับ ให้มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายภายใน 90…

Flipper Zero ทามาก็อตจิ๋ว ปลอมแปลงบัตร-คีย์การ์ด แฮ็กข้อมูลได้ อันตรายแค่ไหน

Loading

  Flipper Zero อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เหมือนของเล่นที่ต้องระวัง เนื่องจากอาจทำให้มิจฉาชีพสามารถปลอมแปลงบัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต หรือคีย์การ์ดได้ ซึ่งเป็นไวรัลใน TikTok ที่ Flipper Zero สามารถปลดล็อกได้แม้กระทั่งรถ Tesla   Flipper Zero ได้เป็นไวรัลใน TikTok มากมาย Flipper Zero มีรูปร่างหน้าตาเหมือนทามาก็อตหรือของเล่นวัยเด็กที่เราคุ้นเคยกัน ซึ่งอุปกรณ์นี้ได้เคยเปิดระดมทุนใน Kickstarter.com ไปก่อนหน้านี้   ซึ่งทางผู้ผลิตได้โพสต์วีดีโอเกี่ยวกับ Flipper Zero ว่าทำอะไรได้บ้าง โซเชียลถึงกับตะลึง เพราะอุปกรณ์จิ๋วที่ดูเหมือนทามาก็อต กลับทำได้หลากหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น โคลนคีย์การ์ดเข้าห้องโรงแรม, โคลนกุญแจเปิดรถ, โคลนรีโมททีวีหรือแอร์ ทั้งหมดนี้ทำได้ด้วยทามาก็อตจิ๋วๆ หนึ่งอัน     Flipper Zero อันตรายแค่ไหนกัน?   ผู้เชี่ยวชาญยังพูดถึงอุปกรณ์นี้ว่าไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น ซึ่งมีอุปกรณ์ที่คล้ายกับ Flipper Zero วางขายในร้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มานานแล้ว และได้พูดถึงวีดีโอการโชว์ปลดล็อกต่างๆ หรือการแฮ็ก ว่าไม่ได้ใช้เพียงอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวแต่ต้องใช้ความรู้พอสมควร    …