Silicon Valley สหรัฐฯ เร่งคัดกรองพนักงานชาวจีนเพื่อป้องกันการจารกรรม

Loading

OpenAI หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ที่ได้เพิ่มการตรวจสอบความปลอดภัยพนักงานและผู้สมัครงาน   เว็บไซต์ VOA News รายงานเมื่อ 4 ก.ค.67 ว่า ซิลิคอนแวลลีย์ (Silicon Valley) ศูนย์รวมบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐฯ อาทิ Google OpenAI NVIDIA และ Sequoia Capital ได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลต่อพนักงานและผู้สมัครงานทุกเชื้อชาติให้เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะชาวจีนหรือผู้ที่มีครอบครัวหรือมีความสัมพันธ์กับจีน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อแรงกดดันจากรัฐบาลจีนเป็นพิเศษ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์จากจีน และตอบสนองต่อคำเตือนของรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับภัยคุกคามจากการจารกรรมของจีนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา   นักศึกษาจีนในสหรัฐฯ แซ่เจิ้ง ซึ่งไม่ต้องการเปิดเผยชื่อจริงเพราะกลัวถูกตอบโต้จากรัฐบาลจีนและกำลังขอสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองในสหรัฐฯ กล่าวว่า “ฉันหวังว่าจะกลายเป็นกำลังสำคัญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของสหรัฐฯ และมีบทบาทในการต่อสู้กับการโจมตีทางไซเบอร์ของจีน” อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้กังวลว่าการตรวจสอบความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบต่อโอกาสในการทำงาน แต่นักเรียนต่างชาติในสหรัฐฯ หลายคนอาจกังวลว่าพวกเขาจะถูกปิดกั้นจากงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในสหรัฐฯ   นาย Ray Wang ซีอีโอของบริษัท Constellation Research ซึ่งตั้งอยู่ในซิลิคอนแวลลีย์ อ้างว่า การขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ มีมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 และคนที่มีความเชื่อมโยงกับจีนมักตกเป็นเป้าหมาย โดยผู้คนในสหรัฐฯ ซึ่งมีญาติในจีน รัฐบาลจีนจะขอให้ทำงานบางอย่าง มิฉะนั้น…

ธุรกิจ 62% ยอมรับ ‘มีช่องโหว่’ ระบบกันภัย ‘สำนักงานใหญ่ – สาขา’

Loading

  การศึกษาล่าสุดโดย “แคสเปอร์สกี้” เผย ธุรกิจที่มีสาขาอยู่ทั่วโลกกว่า 62% พบว่า องค์กรมีช่องโหว่ จากความแตกต่างกันในระดับความแข็งแรงของการป้องกันทางไซเบอร์   บริษัท 48% ยอมรับว่ามีปัญหานี้ แต่ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องวิกฤติ บริษัท 14% ระบุว่า สาขาของตนนั้นต้องการมาตรการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มเติม   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้เตือนธุรกิจที่มีหลายสาขาว่า ความแตกต่างกันดังกล่าวอาจส่งผลต่อความปลอดภัยขององค์กรทั้งหมด   62% ยอมรับว่า ‘มีช่องโหว่’ แคสเปอร์สกี้เผยถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัยของเครือข่ายและข้อมูลที่บริษัทเหล่านี้ต้องเผชิญโดยระบุว่า มีบริษัทที่ตอบแบบสอบถามเพียง 38% เท่านั้น ที่มั่นใจว่าระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ของบริษัทสาขามีประสิทธิภาพเท่ากับในสำนักงานใหญ่   ขณะที่ บริษัท 62% ยอมรับว่ามีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขา โดยแบ่งเป็นบริษัท 48% เห็นว่ามีปัญหาแต่ไม่ได้รุนแรง บริษัทเหล่านี้เชื่อว่าสาขาส่วนใหญ่ได้รับการป้องกันที่ดี   บริษัท 13% มองว่าปัญหานี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง โดยคิดว่ามีเพียงไม่กี่สาขาที่ได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ บริษัท 1% ระบุว่า ไม่มีสาขาใดเลยที่ได้รับการรักษาความปลอดภัยอย่างแท้จริง   นอกเหนือจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้การป้องกันไซเบอร์มีความเหลื่อมล้ำ คือการขาดความเชื่อมั่นในความเชี่ยวชาญของพนักงานประจำสาขา   รายงานพบว่าบริษัท 37%…

พบการโจมตีอุปกรณ์ OT ‘สาธารณูปโภค’ เพิ่มขึ้นอย่างมาก

Loading

  การโจมตีทางไซเบอร์ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่มีทีท่าจะหมดลงได้ง่ายๆ   ล่าสุดมีการเปิดเผยจาก ไมโครซอฟท์ว่า มีการโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยกำหนดเป้าหมายหลักๆ ไปที่เทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน OT (Operational Technology) ที่มีความปลอดภัยค่อนข้างต่ำ   โดยการโจมตีเหล่านี้เน้นไปที่ระบบน้ำและน้ำเสีย WWS (Water and Wastewater Systems) ของสหรัฐเป็นพิเศษ   นอกจากนี้เหล่าบรรดาแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ รวมถึงกลุ่ม CyberAv3ngers ในเครือกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม IRGC (Islamic Revolutionary Guard Corps) อิหร่าน และกลุ่ม hacktivists รัสเซีย ก็มีส่วนเกี่ยวข้องในการโจมตีเหล่านี้ด้วย   ช่องโหว่ของระบบ OT ระบบ OT ควบคุมกระบวนการที่สำคัญมีการใช้งานแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการสร้างระบบสาธารณูปโภคหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตประปา และโรงงานไฟฟ้า ระบบเหล่านี้ทำหน้าที่จัดการพารามิเตอร์ที่สำคัญเช่น ความเร็วและอุณหภูมิในกระบวนการทางอุตสาหกรรม   โดยการโจมตีทางไซเบอร์ในระบบ OT สามารถถ่ายโอนการควบคุมพารามิเตอร์เหล่านี้ไปยังผู้โจมตีซึ่งอาจทำให้ระบบทำงานผิดปกติหรือขัดข้องโดยสมบูรณ์   ตามรายงานพบว่า อุปกรณ์ OT จำนวนมากเชื่อมต่อโดยตรงกับอินเทอร์เน็ตทำให้แฮ็กเกอร์ใช้เครื่องมือสแกนอินเทอร์เน็ตซึ่งตรวจพบได้ง่ายมาก…

สกมช.ร่ายแผนงานป้องภัยไซเบอร์ ระบุปี’68 ถูกท้าทายจากภัยด้าน AI

Loading

  สกมช.เตรียม พร้อมยกระดับขีดความสามารถบุคลากร ผลักดันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย คาดปีหน้า AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า ในปี 2568 สกมช. มีแผนการดำเนินงานที่ท้าทายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ ในการขยายความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีแนวโน้มซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น   รวมถึงการระมัดระวังการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมทั้งยังมีภัยที่แฝงเข้ามาในลักษณะ AI ด้วย นอกจากนี้ สกมช.จะเร่งแผนงานด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้และความตระหนักรู้ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประชาชนทุกช่วงวัยให้สามารถใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย   ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สกมช. ได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็งและปลอดภัย ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ (บุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี) การบูรณาการความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือทางไซเบอร์ รวมถึงสร้างบริการภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัย   เขา กล่าวว่า สกมช.ยังได้จัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์…

สกมช. จับมือ DGA ยกระดับป้องกันภัยทางไซเบอร์ ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างปลอดภัย

Loading

วันที่ 10 มิ.ย. 2567 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดย พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (DGA) โดย นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และยกระดับทักษะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งในรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ e-learning รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลอดจนการดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ร่วมกัน

แฮ็กเกอร์ใช้ไฟล์ Word เป็นพาหะนำมัลแวร์เข้าโจมตี

Loading

ไฟล์สกุลหนึ่งที่ทุกคนคงคุ้นเคยกันดีคงจะไม่พ้นไฟล์ Word แต่คุณทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันไฟล์ที่ดูธรรมดา ๆ นี้นั้นกลับถูกนำมาใช้เป็นสิ่งที่จะทำร้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ