สหรัฐฯ แบนอุปกรณ์สื่อสาร ‘หัวเว่ย-ZTE’ อ้างกระทบความมั่นคงของชาติ

Loading

  รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ออกคำสั่งห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารจากบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ และบริษัท ZTE ของจีน โดยอ้างว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติจนถึงขั้นที่ “ไม่อาจยอมรับได้”   คณะกรรมาธิการกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission : FCC) ประกาศวานนี้ (25 พ.ย.) ว่า ทางหน่วยงานยังได้บังคับใช้กฎห้ามการนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์สอดแนมที่ผลิตโดยบริษัท Dahua Technology รวมไปถึงกล้องวิดีโอวงจรปิดของบริษัท Hangzhou Hikvision Digital Technology และบริษัทโทรคมนาคม Hytera Communications Corp ด้วย   มาตรการนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่จะกีดกันบริษัทไฮเทคของจีนท่ามกลางความวิตกกังวลว่าปักกิ่งอาจใช้อุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้เป็นเครื่องมือสอดแนมชาวอเมริกัน   “กฎใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในความพยายามของเราที่จะปกป้องชาวอเมริกันจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติที่เกิดจากระบบโทรคมนาคม” เจสซิกา โรเซนวอร์เซล ประธาน FCC ระบุในถ้อยแถลง   กรรมาธิการทั้ง 4 คนใน FCC ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรครีพับลิกัน 2 คน…

อังกฤษจำกัดการใช้กล้องซีซีทีวีผลิตโดยจีน “ด้วยเหตุผลความมั่นคง”

Loading

GETTY IMAGES   รัฐบาลสหราชอาณาจักรขอให้หน่วยงานของรัฐไม่ติดตั้งกล้องวีดีโอวงจรปิด ที่ผลิตโดยบริษัทของจีน เพราะความวิตกกังวลในเรื่องความมั่นคง   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ว่านายโอฃิเวอร์ โดวเดน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ยื่นหนังสือต่อสภาสามัญ ขอความร่วมมือให้หน่วยงานทุกแห่งของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ไม่ติดตั้งกล้องวีดีโอวงจรปิดที่ผลิตโดยบริษัทของจีน “ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง”   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของรัฐบาลสหราชอาณาจักรเกิดขึ้น หลังตลอดช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สมาชิกสภาสามัญหลายสิบคนร่วมกันเรียกร้อง ให้มีการบัญญัติกฎหมาย หรืออย่างน้อยกำหนดมาตรการควบคุมการจำหน่ายและการใช้งาน กล้องวีดีโอวงจรปิด ซึ่งผลิตโดยบริษัทเจ้อเจียง ต้าหัว เทคโนโลยี ( ต้าหัว ) และบริษัทฮิควิชั่น   UK restricts Chinese cameras in government buildings over security fears https://t.co/HdeOXHRgNk pic.twitter.com/N0bVv6RDsP — Reuters (@Reuters) November 25, 2022   ขณะที่บริษัทฮิควิชั่นออกแถลงการณ์ปฏิเสธ “ความวิตกกังวล”…

สื่อแฉ! ทหารไต้หวันถูก ‘จีน’ ซื้อตัวเป็นสายลับ-ทำสัญญาให้ ‘ยอมแพ้’ หากเกิดสงคราม

Loading

  ไต้หวันกำลังสอบสวนทหารยศนายพันผู้หนึ่งฐานต้องสงสัยว่ารับเงินเดือนจาก “จีน” มาเป็นเวลาหลายปี แลกกับการรวบรวมข่าวกรองส่งให้ปักกิ่ง และให้ “ยอมแพ้” หากสงครามระหว่างจีนกับไต้หวันปะทุขึ้น   สำนักข่าวกลางไต้หวัน (CNA) รายงานโดยไม่อ้างอิงแหล่งข่าวเมื่อวันอังคาร (22 พ.ย.) ว่า เซี่ยง เต๋อเอิน (向德恩) ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าแผนกปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาในสังกัดกองบัญชาการฝึกทหารราบประจำเมืองเกาสง ถูกว่าจ้างให้เป็น “สายลับ” ตั้งแต่ปี 2019 และรับเงินจากรัฐบาลจีนจำนวน 40,000 ดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 46,000 บาท) ต่อเดือน   ทหารนายนี้ยังเคยถ่ายรูปขณะถือจดหมายลงนามสัญญาว่าจะ “ยอมแพ้” ต่อจีนหากเกิดสงครามขึ้น   กรณีที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงภัยคุกคามด้านการจารกรรมที่ไต้หวันกำลังเผชิญอยู่ ขณะที่สหรัฐฯ เองก็มีความกังวลมานานแล้วว่า ไต้หวันจะสามารถเก็บรักษาความลับทางเทคโนโลยีและอื่น ๆ ไม่ให้ตกไปถึงมือปักกิ่งได้หรือไม่   สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ก่อนหน้านี้ จาง เจ๋อผิง (張哲平) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมไต้หวัน เคยถูกสอบสวนเมื่อปี 2021 ฐานต้องสงสัยว่ามีการติดต่อกับเครือข่ายจารชนจีน ทว่าต่อมาถูกประกาศให้พ้นข้อหา และทำหน้าที่เป็นพยานในคดีจนสามารถเอาผิดกับนายพลเกษียณและทหารยศพันโทนายหนึ่งได้เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา  …

อดีตทีมข่าว ‘แอปเปิลเดลี’ ฮ่องกง ยอมรับผิด กม. ความมั่นคง หลังถูกกล่าวหาว่าร่วมมือต่างชาติทำลายจีน

Loading

  23 พ.ย. 2565 สื่อต่างประเทศรายงานว่าในคดีหมุดหมายสำคัญของการใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติกับสื่อ 6 อดีตสมาชิกกองบรรณาธิการของ ‘แอปเปิลเดลี’ สำนักข่าวฮ่องกงที่วิจารณ์รัฐบาลจีนและถูกบีบให้ปิดตัวเมื่อกลางปีที่แล้ว ยอมรับความผิดตามกฎหมายเพื่อขอลดโทษ ฝ่ายอัยการใช้การประชุมประจำสัปดาห์ของกองบรรณาธิการข่าว ซึ่งเป็นกิจวัตรปกติของสำนักข่าวทั่วไป เป็นหลักฐานกล่าวหาว่าพวกเขา ‘สมรู้ร่วมคิด’ ในการเผยแพร่บทความ เรียกร้องให้ประชาชนเข้าร่วมการประท้วง และเรียกร้องให้ต่างชาติคว่ำบาตรรัฐบาลจีนและเขตบริหารพิเศษฮ่องกง   ผู้ที่ยอมรับผิดในคดีนี้แล้ว ได้แก่ (1.) เชิง คิม-ฮุง อดีตซีอีโอของ ‘เน็กซ์ดิจิตัล’ บริษัทเจ้าของสำนักข่าวแอปเปิลเดลี (2.) ไรอัน ลอว์ อดีตหัวหน้าบรรณาธิการ (3.) ชาน พุย-มัน อดีตผู้ช่วยเผยแพร่ (4.) ลัม มัน-ชุง อดีตหัวหน้าบรรณาธิการฝ่ายบริหาร (5.) ฟุง ไว-กง อดีตหัวหน้าบรรณาธิการฝ่ายข่าวภาษาอังกฤษ และ (6.) เยิง ชิง-กี อดีตนักเขียนของกองบรรณาธิการ   ผู้ยอมรับผิดทั้ง 6 รายเดินทางไปขึ้นศาลสูง เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (22 พ.ย. 2565)…

เปิดเบื้องลึก “DJI” บริษัทโดรนเบอร์ 1 โลก ทำไมถึงถูกสหรัฐสั่งแบน?

Loading

  จากความเป็นคู่แข่งกันในทุกอุตสาหกรรมและความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างจีนกับสหรัฐ ไม่นานมานี้ ผลกระทบก็ลามถึงภาคธุรกิจ เมื่อสหรัฐสั่งแบน “DJI” บริษัทโดรนเบอร์ 1 ของโลก สัญชาติจีน อ้างบริษัทส่งข้อมูลจากโดรนให้รัฐบาลปักกิ่ง แล้วความจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่   เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา เกิดประเด็นใหญ่ในสหรัฐ เมื่อบริษัทโดรนชื่อดังอย่าง DJI ถูกรัฐบาลสหรัฐสั่งแบนในประเทศ โดยโดรน DJI ครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ของโลกและอันดับ 1 ในสหรัฐสูงถึง 76% ด้วย อีกทั้งถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในสหรัฐทั้งในด้านการก่อสร้าง ตามจับอาชญากร อัคคีภัย ไปจนถึงถ่ายทำหนังชื่อดังไม่ว่าจะเป็น Mission Impossible, Star Wars ฯลฯ ก็เลือกใช้โดรนบริษัทนี้   ไม่น่าเชื่อว่า บริษัทโดรนที่ขึ้นมาครองอันดับ 1 ในตลาดสหรัฐนี้ได้จะเป็นบริษัทสัญชาติจีน ซึ่งมีผู้ก่อตั้งชื่อ “แฟรงค์ หวัง” (Frank​ Wang) นักธุรกิจด้านการบินชาวจีน โดยเหตุผลที่รัฐบาลสหรัฐสั่งแบนคือ เป็นภัยต่อความมั่นคงชาติและเก็บข้อมูลส่งไปยังรัฐบาลปักกิ่ง   – โดรนของบริษัท DJI…

ส่องรถผู้นำจีน Hongqi N701 ลีมูซีนสุดไฮเทคของพญามังกร สี จิ้นผิง

Loading

  เช่นเดียวกับประธานาธิบดีและผู้นำแห่งขั้วอำนาจของโลก ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน นำรถประจำตำแหน่งประธานาธิบดีรุ่นใหม่ล่าสุดเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุม เอเปก 2022 รถคันดังกล่าวคือ ยานยนต์ Hongqi N701 ซึ่งเป็นลีมูซีนรุ่นพิเศษที่ผลิตในจีน   Hongqi เป็นแบรนด์รถหรูสัญชาติจีน เจ้าของโดย FAW Car Company ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ FAW Group Hongqi เปิดตัวในปี 1959 ทำให้เป็นแบรนด์รถยนต์นั่งที่เก่าแก่ที่สุดของจีน       การออกแบบของ N701 แทบไม่แตกต่างจากรถซาลูนขนาดใหญ่ของฝั่งยุโรป ด้วยขนาดตัวถังที่ใหญ่โต รูปลักษณ์ออกแนวคลาสสิกร่วมสมัย และมีสไตล์เป็นของตัวเอง Hongqi N701 ถ่ายทอดภาพลักษณ์ที่สง่างาม ดูคล้าย Rolls Royce หรือ Bentley รุ่นพิเศษ ที่สั่งทำสำหรับผู้นำระดับสูง ภายในของ Hongqi N701 เป็นความลับจนไม่มีภาพถ่ายภายในที่ถูกเปิดเผยให้เห็นแต่อย่างใดทั้งสิ้น รวมถึงระบบขับเคลื่อนและอุปกรณ์อารักขาผู้นำสูงสุดของแดนมังกร ก็ไม่มีการเปิดเผยแต่อย่างใดทั้งสิ้น    …