การทดลองเผย แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ล้มเหลวในการกรองข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  Global Witness องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิทธิมนุษยชน และทีมงาน Cybersecurity for Democracy (C4D) แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเผยว่า Facebook และ TikTok ล้มเหลวในการขัดขวางโฆษณาที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน   โดย Global Witness ได้ทำการทดสอบมาตรการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนโซเชียลมีเดีย ด้วยการสร้างบัญชีปลอมบน Facebook, TikTok และ YouTube จากนั้นใช้บัญชีเหล่านี้สร้างโฆษณาทั้งในภาษาอังกฤษและสเปน   ทางองค์กรระบุว่าโฆษณาแต่ละตัวมีเนื้อหาที่เป็นข้อมูลเท็จอย่างชัดเจน อย่างการอ้างว่าคนที่จะไปเลือกตั้งได้ต้องฉีดวัคซีนก่อน หรืออ้างว่าต้องโหวต 2 ครั้งถึงจะมีความหมาย โฆษณาบางตัวก็ใส่วันที่ของการเลือกตั้งแบบผิด ๆ   พื้นที่เป้าหมายของโฆษณาเหล่านี้คือรัฐที่มีการแข่งขันกันอย่างสูสีระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ แอริโซนา โคโลราโด จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนา และเพนซิลเวเนีย   ผลก็คือมีเพียง YouTube เท่านั้นที่สามารถปิดกั้นโฆษณาทั้งหมด รวมถึงยังสามารถบล็อกบัญชีที่สร้างโฆษณาเท็จได้ด้วย   ในทางกลับกัน ในการทดลองครั้งแรก Facebook อนุมัติถึงร้อยละ 20 ของโฆษณาปลอมที่เป็นภาษาอังกฤษ และอนุมัติครึ่งหนึ่งของโฆษณาภาษาสเปน ในขณะที่การทดลองใหม่อีกครั้ง…

TikTok เผยตรวจพบบัญชีปลอมประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2022 ทั้งสิ้น 33.6 ล้านบัญชี

Loading

  ติ๊กต่อก (TikTok) เผยในรายงานการบังคับใช้หลักเกณฑ์สำหรับชุมชนประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2022 พบมีการใช้บัญชีปลอมในแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น 61 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 33.6 ล้านบัญชี และประเทศไทยอยู่อันดับ 14 ประเทศที่ถูกลบวิดีโอมากที่สุด   ติ๊กต่อก แพลตฟอร์มวิดีโอโซเชียลมีเดีย เผยแพร่รายงานการบังคับใช้หลักเกณฑ์สำหรับชุมชน ประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 โดยรายงานฉบับนี้ ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 30 มิถุนายน 2022   สิ่งที่น่าสนใจของรายงานฉบับนี้อยู่ตรงที่ ติ๊กต่อก ได้เปิดเผยว่า มีการตรวจพบบัญชีปลอมและได้ลบบัญชีปลอมเหล่านี้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 33.6 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 61 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ถ้ามองย้อนกลับไปช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จะเห็นได้ว่า อัตราการลบบัญชีปลอมของติ๊กต่อก เพิ่มขึ้นมากกว่า 2,000 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว   ตัวเลขการลบบัญชี     พร้อมกันนี้ ติ๊กต่อก กล่าวว่า…

เมื่อ TikTok ถูกใช้หาข้อมูลแทน Google! มีรายงานชี้ว่า 1 ใน 5 ของวิดีโอนำเสนอข้อมูลที่ผิด

Loading

  TikTok สำหรับหลายคนเป็นแหล่งรวมวิดีโอสนุก ๆ ไว้ดูคั่นเวลาว่าง เป็นเหมือนพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจเอาไว้สำหรับความบันเทิง ซึ่งตัวแพลตฟอร์มมีอัลกอริทึมที่เรียนรู้ความชอบของผู้ใช้งานแต่ละคนและนำเอาวิดีโอที่คิดว่าเราน่าจะสนใจมาป้อนให้ดูอย่างไม่มีวันหมด (ซึ่งบางทีก็ติดพันดูไปเป็นชั่วโมงได้เหมือนกัน)   แต่อย่างที่เราทราบกันดีครับว่า TikTok ไม่ใช่แหล่งรวมวิดีโอเพื่อความบันเทิงเพียงเท่านั้น มันยังเป็นพื้นที่ของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากที่ต่าง ๆ ทั้งเชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้รวมกันไว้ในนี้ด้วย รายงานล่าสุดของนักวิจัยจาก NewsGuard (เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว) บอกว่า 1 ใน 5 (หรือ 20%) ของวิดีโอบน TikTok นั้นแสดงข้อมูลที่เป็นข่าวปลอมหรือมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง   ยกตัวอย่างถ้าค้นหาเรื่อง ‘mRNA Vaccine’ จะมีวิดีโอที่มีข้อมูลผิด ๆ ขึ้นมาถึง 5 คลิปใน 10 คลิปแรก อย่างเช่นวิดีโอหนึ่งบอกว่าวัคซีน Covid-19 นั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายกับอวัยวะสำคัญของเด็กแบบที่รักษาไม่หาย ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อพิสูจน์หรือหลักฐานใด ๆ มาอ้างอิงเลย   แถม TikTok ยังแสดงคำค้นหาที่ส่อถึงอคติอันเอนเอียงด้วยอย่างเช่น ถ้าเราคนหา “Covid Vaccine” อัลกอริทึมของ TikTok ก็จะแนะนำขึ้นมาเพิ่มว่า “Covid…

พบ TikTok ก็ฝังสคริปต์ในเบราว์เซอร์ภายในแอป แถมไม่มีออปชั่นให้ใช้เบราว์เซอร์ภายนอก

Loading

  พบ TikTok ก็ฝังสคริปต์ในเบราว์เซอร์ภายในแอป   หลังจาก Felix Krause รายงานว่าเบราว์เซอร์ภายในแอปของ Meta ฝังสคริปต์ติดตามผู้ใช้ เขาก็รายงานเพิ่มเติมว่าเบราว์เซอร์ใน TikTok ก็ฝังสคริปต์แบบเดียวกัน แถมยังไม่มีตัวเลือกให้ใช้งานเบราว์เซอร์ปกติของระบบปฎิบัติการ   สคริปต์ที่ TikTok ฝังยังดักอีเวนต์ในเบราว์เซอร์อย่างหนัก อีเวนต์ที่สำคัญๆ เช่น keydown ดักการพิมพ์ทุกตัวอักษร และ click ที่ดักการคลิกทุกจุด อย่างไรก็ดี Krause ระบุว่าไม่มีหนักฐานชัดเจนว่า TikTok ฝังสคริปต์เพื่อมุ่งร้ายอะไร รวมถึงสคริปต์เก็บข้อมูลอย่างไร และส่งข้อมูลอะไรกลับเซิร์ฟเวอร์บ้าง   Krause อาศัยการตรวจสอบจากการสร้างเว็บ InAppBrowser.com มาตรวจการแทรกสคริปต์จากตัวเบราว์เซอร์เอง แต่ในความเป็นจริงแล้วนักพัฒนาอาจจะแทรกโค้ดหรืออ่านข้อมูลจากตัวเบราว์เซอร์โดยไม่ต้องฝังสคริปต์เลยก็ได้   ที่มา – krausefx       ————————————————————————————————————————- ที่มา :      Blognone  by lew   …

“สหรัฐ” ชี้กองทัพใช้แอปติ๊กต็อก เสี่ยงจีนสอดแนม

Loading

  นายเบรนแดน คาร์ หนึ่งในคณะกรรมการด้านการสื่อสารของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FCC) เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่กองทัพสหรัฐมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงจากการใช้บริการแอปพลิเคชันติ๊กต็อก   สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลสหรัฐ ต่างเคลือบแคลงใจว่า ติ๊กต็อกอาจส่งข้อมูลส่วนบุคคลของชาวอเมริกันกลับไปให้รัฐบาลจีน โดยก่อนหน้านี้ นายคาร์ได้เรียกร้องให้บริษัทแอปเปิล และกูเกิลลบแอปติ๊กต็อกออกจากแอปสโตร์ของทั้งสองบริษัท เนื่องจากมีความวิตกเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลที่เกี่ยวกับจีน ด้วย   นายคาร์ กล่าวในที่ประชุมคณะกรรมการของสภาผู้แทนราษฎรว่า แม้หน่วยงานต่างๆ ของกองทัพสหรัฐจะห้ามติดตั้งแอปติ๊กต็อกในอุปกรณ์ของทางราชการ แต่ยังมีการใช้งานแพร่หลายในอุปกรณ์ส่วนบุคคล ผมจึงคิดว่านั่นคือ ความเสี่ยงที่เราต้องจัดการ   “เรามีความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีการส่งข้อมูลกลับไปให้รัฐบาลจีน การใช้แอปติ๊กต็อกก็เหมือนมีอุปกรณ์ในกระเป๋าโดยอัตโนมัติ ที่แทรกซึมเข้าไปในฐานทัพทางทหาร ขณะที่ดูข้อมูลตำแหน่งที่ตั้ง คนอื่นก็จะรู้ข้อมูลความเคลื่อนไหวของกองทัพด้วย” นายคาร์ กล่าว   อย่างไรก็ตาม นายคาร์ได้ให้การในระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ของกองทัพ และทหารปลดประจำการต้องตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกง และการหลอกเงิน โดยการไต่สวนดังกล่าวจัดขึ้นโดยคณะอนุกรรมการด้านความมั่นคงแห่งชาติ ในสังกัดคณะกรรมการกำกับดูแล และปฏิรูปของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ     ————————————————————————————————————————- ที่มา :   กรุงเทพธุรกิจออนไลน์            / วันที่เผยแพร่ …

ผู้บริหาร TikTok ยอมรับพนักงานในประเทศจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาได้

Loading

  ติ๊กต่อก (TikTok) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยมของโลก ออกมายอมรับอย่างเป็นทางการว่า พนักงานที่อยู่ในประเทศจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกาได้ แต่อยู่ภายใต้การควบคุมความปลอดภัยอย่างเข้มงวด   ยังคงเป็นประเด็นอย่างต่อเนื่องสำหรับกรณีของติ๊กต่อก ซึ่งเคยมีรายงานก่อนหน้านี้ว่า พนักงานไบต์แดนซ์ (ByteDance) บริษัทแม่ของติ๊กต่อกในประเทศจีนบางส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาได้ ก่อนที่โฆษกของติ๊กต่อกจะออกมายอมรับว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริง แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวด   Shou Zi Chew ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของติ๊กต่อก ได้เขียนจดหมายถึงวุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ จำนวน 9 คน เพื่อตอบคำถามที่พวกเขาสงสัยในประเด็นเรื่องของความมั่นคงจากการที่ พนักงานไบต์แดนซ์ในประเทศจีน สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานในสหรัฐฯ ได้   ผู้บริหารสูงสุดของติ๊กต่อก ได้ตอบคำถามที่เป็นคำถามสำคัญของวุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ มากที่สุด นั่นคือ เรื่องของการแบ่งปันข้อมูลให้กับรัฐบาลจีน ซึ่ง Shou Zi Chew ยืนยันว่า ไม่มีการแบ่งปันข้อมูลใดๆ ให้กับรัฐบาลจีน พร้อมทั้งบอกด้วยว่า ติ๊กต่อกมีการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเข้มงวด   ในเวลาเดียวกัน ติ๊กต่อก ได้มีการทำความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งข้อมูลของผู้ใช้งานติ๊กต่อกในสหรัฐอเมริกา ได้จัดเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ของบริษัทออราเคิล (Oracle) นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ของติ๊กต่อกหลังจากนี้…