เมื่อ TikTok ถูกใช้หาข้อมูลแทน Google! มีรายงานชี้ว่า 1 ใน 5 ของวิดีโอนำเสนอข้อมูลที่ผิด

Loading

  TikTok สำหรับหลายคนเป็นแหล่งรวมวิดีโอสนุก ๆ ไว้ดูคั่นเวลาว่าง เป็นเหมือนพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจเอาไว้สำหรับความบันเทิง ซึ่งตัวแพลตฟอร์มมีอัลกอริทึมที่เรียนรู้ความชอบของผู้ใช้งานแต่ละคนและนำเอาวิดีโอที่คิดว่าเราน่าจะสนใจมาป้อนให้ดูอย่างไม่มีวันหมด (ซึ่งบางทีก็ติดพันดูไปเป็นชั่วโมงได้เหมือนกัน)   แต่อย่างที่เราทราบกันดีครับว่า TikTok ไม่ใช่แหล่งรวมวิดีโอเพื่อความบันเทิงเพียงเท่านั้น มันยังเป็นพื้นที่ของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากที่ต่าง ๆ ทั้งเชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้รวมกันไว้ในนี้ด้วย รายงานล่าสุดของนักวิจัยจาก NewsGuard (เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว) บอกว่า 1 ใน 5 (หรือ 20%) ของวิดีโอบน TikTok นั้นแสดงข้อมูลที่เป็นข่าวปลอมหรือมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง   ยกตัวอย่างถ้าค้นหาเรื่อง ‘mRNA Vaccine’ จะมีวิดีโอที่มีข้อมูลผิด ๆ ขึ้นมาถึง 5 คลิปใน 10 คลิปแรก อย่างเช่นวิดีโอหนึ่งบอกว่าวัคซีน Covid-19 นั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายกับอวัยวะสำคัญของเด็กแบบที่รักษาไม่หาย ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อพิสูจน์หรือหลักฐานใด ๆ มาอ้างอิงเลย   แถม TikTok ยังแสดงคำค้นหาที่ส่อถึงอคติอันเอนเอียงด้วยอย่างเช่น ถ้าเราคนหา “Covid Vaccine” อัลกอริทึมของ TikTok ก็จะแนะนำขึ้นมาเพิ่มว่า “Covid…

ตั้งสติก่อนสแกน ! QR Code อันตรายกว่าที่คิด !

Loading

  ทุกวันนี้ คิวอาร์โค้ด (QR Code) เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้วก็ว่าได้ ไม่ว่าจะด้วยความง่ายในการสแกน หรือการเตรียมภาพ QR Code มาให้สแกน แต่รู้หรือไม่ว่า ที่จริงแล้ว QR Code นั้นอันตรายกว่าที่เราคิด !   ผู้เขียนได้พูดคุยกับ เลน โนอี (Len Noe) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และแฮกเกอร์สายขาว (Technical Evangelist/Whitehat Hacker) จากทาง CyberArk หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นผู้ที่หาช่องโหว่ในระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ผ่านการแฮกข้อมูล และพัฒนาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นต่อไป ซึ่งการนัดคุยกันในครั้งนี้ เขามาพร้อมกับความมั่นใจ และความกังวลในสิ่งที่เขาอยากจะเล่าอย่างมาก   Len Noe – ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และแฮกเกอร์สายขาว จาก CyberArk   เขาได้ให้หัวข้อไว้แต่แรกเลยว่า QR Code นั้นอันตรายกว่าที่เราคิด !   ‘QR Code อันตรายได้ขนาดนั้นเลยหรอ…

จรวด Delta 4-Heavy ส่งดาวเทียมลับของสหรัฐฯ ขึ้นสู่อวกาศ

Loading

  ความสำเร็จของจรวดเดลต้า โฟร์ เฮฟวี (Delta 4-Heavy) ในครั้งนี้ถือเป็นช่วงท้าย ๆ ของการทำภารกิจของจรวดรุ่นนี้   วันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา บริษัท ยูแอลเอ (ULA) หรือยูไนเต็ด ลัน อลิอันซ์ (United Launch Alliance) ประสบความสำเร็จส่งจรวดเดลต้า โฟร์ เฮฟวี (Delta 4-Heavy) พร้อมดาวเทียมสอดแนมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา จากบริเวณฐานปล่อยจรวดฐานทัพอากาศแวนเดนเบิร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย ชายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา   ข้อมูลรายละเอียดของดาวเทียมสอดแนมดวงใหม่นี้ถูกเก็บเป็นความลับและไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนมากนัก นักวิเคราะห์เชื่อว่าอาจเป็นภารกิจ NROL-91 เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวเทียม KH-11 มีลักษณะเป็นดาวเทียมกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่หันกลับมายังโลกสามารถตรวจจับเฝ้าระวังไฟฟ้าแบบออปติคัลความละเอียดสูงจากระดับวงโคจรของโลก   ความสำเร็จของจรวดเดลต้า โฟร์ เฮฟวี (Delta 4-Heavy) ในครั้งนี้ถือเป็นช่วงท้าย ๆ ของการทำภารกิจของจรวดรุ่นนี้ เนื่องจากเป็นจรวด 3 ลำสุดท้ายของบริษัท ยูแอลเอ (ULA) โดยจรวดอีก 2 ลำ…

ไม่ง้อดาวเทียม ใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับไฟป่า ติดกล้อง AI เตือนภัยน้ำท่วม

Loading

  น้ำท่วม และไฟป่า ยังคงเป็นโจทย์ปัญหาที่ทั่วโลกต้องรับมือ ที่ผ่านมาเทคโนโลยีดาวเทียมถูกนำมาใช้ช่วยระบุตำแหน่งจุดเกิดเหตุ และประเมินความเสียหายของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ มากกว่าการป้องกัน   แต่ล่าสุดในเวทีการแข่งขันนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของอิสราเอล ได้เกิดแนวคิดใหม่ในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้เฝ้าระวังภัยธรรมชาติก่อนเกิดเหตุ   Eversense บริษัทสตาร์ทอัพอิสราเอล ได้พัฒนาเซ็นเซอร์กระตุ้นความร้อนที่ใช้ตรวจจับไฟป่าได้ในระยะเริ่ม โดยออกแบบโซลูชันให้ใช้งานง่ายได้ในทุกสภาพอากาศ โดยไม่ต้องบำรุงรักษา   จากเดิมที่ต้องอาศัยกล้องจากดาวเทียม และเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายในการทำงาน โซลูชันสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่จากแผงโซลาร์เซลล์ หรือแหล่งพลังงานภายนอก อีกทั้งยังสามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนของการเกิดเพลิงไหม้ได้อีกด้วย   โซลูชันนี้กำลังถูกนำไปทดสอบติดตั้งในสถานที่จริง เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงาน และกลายเป็นความหวังที่จะช่วยแก้ปัญหาผลกระทบจากไฟป่าตามฤดูกาลที่จัดการได้ยาก อย่างไฟป่าในแคลิฟอร์เนีย   ขณะที่บริษัท SighBit ได้ใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อตรวจสอบระดับน้ำ โดยอาศัยกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจจับสถานการณ์น้ำที่ในพื้นที่อยู่ในความเสี่ยง และแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ถึงเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้น   ระบบของ SightBit เป็นระบบเดียวที่ใช้ฟุตเทจจากกล้องเพื่อตรวจจับรูปแบบน้ำในแบบเรียลไทม์ และคาดการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นตามมา   โดยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น จะถูกนำไปใช้ในพื้นที่ทางตอนเหนือของอิสราเอลที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดน้ำท่วมในช่วงฤดูหนาวที่มีฝนตกชุก และจัดการปัญหาได้ยากลำบาก   หากทั้ง 2 โครงการผ่านทดสอบการใช้งานจริงแล้วได้ผลดี โอกาสที่จะมีเทคโนโลยีใหม่ จาก AI จัดการกับภัยธรรมชาติก็เป็นไปได้สูงครับ…

โลกระทึก! “อีลอน มัสก์” เตรียมเปิดเน็ตดาวเทียม “สตาร์ลิงค์” ให้เตหะรานใช้ฟรีหลังวอชิงตันไฟเขียว ตำรวจศีลธรรมอิหร่านโดนคว่ำบาตรเซ่นคดี “มาห์ซา อามินี” ตายไปแล้วกว่า 41 โดนจับ 1,200

Loading

  รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – ยอดเสียชีวิตสื่อทางการการประท้วงอิหร่านล่าสุดมีไม่ต่ำกว่า 41 คน และถูกจับอีก 1,200 คน ขณะที่อีลอน มัสก์ แถลงวันศุกร์ (23 ก.ย.) ว่า สตาร์ลิงค์จะเริ่มต้นเปิดสัญญาณให้ประชาชนอิหร่านใช้หลังถูกเตหะรานสั่งตัดสัญญาณเป็นวงกว้างหลังวอชิงตันไฟเขียว และสหรัฐฯ ยังสั่งขึ้นบัญชีดำคว่ำบาตรตำรวจศีลธรรมอิหร่านต้นตอการเสียชีวิตของหญิงอิหร่านชาวเคิร์ดวัย 22 ปี “มาห์ซา อามินี” หลังดับขณะถูกควบคุมในข้อหาสวมญิฮาบไม่ถูกตามกฎผมไม่กี่ช่อโผล่   รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้ (24 ก.ย.) ว่า ประธานาธิบดีอิหร่าน อิบราฮิม ไรซี (Ebrahim Raisi) ประกาศวันเสาร์ (24) ว่า เขาจะเดินหน้าใช้ความเฉียบขาดในการจัดการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดหลังเหตุการเสียชีวิตภายใต้เงื้อมมือของตำรวจศีลธรรมอิหร่าน ของหญิงอิหร่านชาวเคิร์ดวัย 22 ปี “มาห์ซา อามินี” (Mahsa Amini)   อ้างอิงจาก CNN โดยมารินา เนมัต (Marina Nemat) พบว่า อามานีที่มีรูปลักษณ์ชวนมองเสียชีวิตเนื่องมาจากอามินี ปล่อยช่อผมไม่กี่ช่อให้โลกได้เห็น และผิดกฎเคร่งครัดในการสวมญิฮาบของอิหร่านทันที…

สมาชิก QUAD เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมมือกันจัดการกับภัยทางไซเบอร์

Loading

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ QUAD หรือกลุ่มความร่วมมือด้านความมั่นคง 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ร่วมกันเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการปฏิบัติการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่มีจุดกำเนิดจากภายในดินแดนของแต่ละประเทศ   รัฐมนตรีของทั้ง 4 ประเทศพบกันในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UN General Assembly) ซึ่งถือเป็นวงประชุมใหญ่ที่สุดขององค์การสหประชาชาติ   ในคำแถลงของทั้ง 4 ประเทศยังได้มีการให้คำมั่นว่าจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกรณีที่สมาชิก QUAD ประสบกับการโจมตีทางไซเบอร์ อาทิ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ และการโจมตีทางไซเบอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ โดยเฉพาะที่เป็นหัวใจของความมั่นคงและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก   นอกจากนี้ ประเทศสมาชิก QUAD ยังได้เปิดรับความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ ที่จะมีเนื้อหามุ่งต่อกรกับกับภัยจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ด้วย   ทั้งนี้ การประชุมครั้งต่อไปของ QUAD จะจัดขึ้น ณ กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ในช่วงต้นปี 2023   ที่มา Bloomberg       ——————————————————————————————————————————…