CrowdStrike หน้าที่และความรับผิดตาม PDPA เป็นของใคร

Loading

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA กำหนดหน้าที่ขององค์กรที่อาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ CrowdStrike ไว้ดังนี้

DevSecOps คืออะไร? ทำไมสำคัญกับโลกไซเบอร์

Loading

DevSecOps (Development, Security, and Operations) เป็นแนวทางในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ผสานรวมแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยตลอดวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหมด

ดีอียกระดับ ‘แอปดูดเงิน’ เป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง-ตร.เตือน 3 หลอกลวงโอนเงิน

Loading

กรณีที่มีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชน โดยการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อขโมยเงิน หรือที่เรียกว่า แอปดูดเงิน (Mobile Banking Trojan) โดยใช้กระบวนการทางไซเบอร์ ทำให้สูญเสียเงินกว่า 2,600 ล้านบาท (สถิติระหว่างวันที่ 1 มี.ค.65 – 31 พ.ค.67) นับเป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง แต่ปัจจุบันการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความล่าช้า นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) จึงได้ประกาศยกระดับจัดให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดจากแอปดูดเงิน เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง

ออสเตรเลียตั้งเป้าเป็นประเทศที่มีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มากที่สุดในโลกภายในปี 2573

Loading

เว็บไซต์ ARN รายงานเมื่อ 8 ก.ค.67 ว่า กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ โดยออกคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตรวจสอบและคัดเลือกบริษัทจัดหาหรือจัดจำหน่ายสินค้าด้านเทคโนโลยี (supplier) ให้เข้มงวดมากขึ้น ประเมินความปลอดภัยต่อสินทรัพย์ทางเทคโนโลยีเป็นประจำ และประสานงานร่วมกับหน่วยข่าวกรองทางการสื่อสารของออสเตรเลีย (Australian Signals Directorate – ASD) ในการแบ่งปันข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์

สรุปผลดำเนินงาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี 66 คาดปีนี้ Hacked Website ภัยคุกคามที่พบมาก

Loading

สรุปผลดำเนินงาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 1 ต.ค.65-30 ก.ย.66 แนวโน้มนปี 2567 Hacked Website ยังเป็นภัยคุกคามที่มีโอกาสพบเป็นจำนวนมาก

กระทรวงดิจิทัลไต้หวันชี้ พ.ค. เดือนเดียว รัฐบาลรับมือภัยไซเบอร์กว่า 60,000 ครั้ง

Loading

ในเดือนพฤษภาคม หน่วยงานรัฐบาลของไต้หวันสามารถป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้มากถึง 64,804 ครั้ง ถือว่ามากที่สุดใน 1 เดือน ในรอบ 1 ปี