ธนาคารไทยพาณิชย์ชี้แจงเหตุลูกค้าถูกดูดเงินออกจากบัญชี พบลูกค้าถูกหลอกให้ติดตั้งโปรแกรม

Loading

ภาพโดย TheInvestorPost   หลังจากมีข่าวเจ้าของบัญชีถูกถูกมิจฉาชีพหลอกส่งลิงก์ผ่าน LINE จนกระทั่งเงินถูกโอนออกจากบัญชี 1.4 ล้านบาท ทางธนาคารไทยพาณิชย์ก็แถลงชี้แจงว่าการถอนเงินไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของธนาคาร แต่ผู้ถูกหลอกให้ติดตั้งโปรแกรมซึ่งอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของธนาคาร   ทางธนาคารไทยพาณิชย์ระบุว่าธนาคารไม่มีนโยบายส่งข้อความผ่านทาง SMS, อีเมล, LINE, หรือช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อขอข้อมูลส่วนตัวหรือรหัสผ่านลูกค้า   แถลงของธนาคารไม่ได้บอกรายละเอียดของเหตุการณ์ครั้งนี้โดยตรง แต่แนะนำ 3 ประเด็น ได้แก่   1.  คนร้ายสามารถให้ข้อมูลเหยื่อได้มากขึ้น สามารถบอกชื่อ, นามสกุล, หมายเลขประจำตัว, ชื่อร้านค้า ฯลฯ ทำให้เหยื่อหลงเชื่อ 2.  คนร้ายอาจจะหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งโปรแกรม remote desktop และหลอกให้เหยื่อบอก PIN สำหรับเข้าควบคุมหน้าจอ 3.  คนร้ายอาจจะอาศัยการแชร์หน้าจอระหว่างวิดีโอคอล แล้วหลอกให้เหยื่อเข้าแอปธนาคาร   การใช้ซอฟต์แวร์ remote desktop ตามปกติเพื่อหลอกควบคุมเครื่องของเหยื่อนั้นเป็นปัญหาที่มีต่อเนื่อง โปรแกรมยอดนิยมเช่น Team Viewer มีรายงานอยู่เนือง ๆ ว่าคนร้ายพยายามหลอกให้เหยื่อลงโปรแกรมเพื่อเข้าควบคุมเครื่องของเหยื่อ ช่วงปี…

เนียนจัด! โจรอังกฤษปลอมเป็น ‘การ์ด’ เข้าไปขนเงิน 6.4 ล้าน พนง.แบงก์ยื่นให้ซื่อๆ ไม่รู้ตัวว่า ‘ถูกปล้น’

Loading

  ชายมิจฉาชีพปลอมเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทเอกชน เดินเข้าไปขนเงินกว่า 6.4 ล้านบาท ออกจากธนาคารแห่งหนึ่งในอังกฤษอย่างหน้าตาเฉย โดยที่พนักงานธนาคารก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกปล้น   เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 ก.ค. โดยคนร้ายซึ่งสวมเครื่องแบบ หมวก และแว่นตาคล้ายกับพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัท G4S ได้เดินเข้าไปที่ธนาคาร Santander สาขาบริกซ์ตัน (Brixton) ทางตอนใต้ของกรุงลอนดอน พร้อมกับโชว์บัตรประจำตัวปลอม ก่อนจะขนกล่องบรรจุเงินสด 25,000 ปอนด์ จำนวน 6 กล่องออกไปอย่างใจเย็น   พนักงานธนาคารมาเริ่มเอะใจตอนที่โจรรายนี้ขับรถออกไปเฉยๆ โดยไม่กลับเข้ามาเซ็นชื่อตามระเบียบ และเมื่อโทร.ไปเช็กกับทาง G4S ก็ได้คำตอบที่ทำเอาลมแทบจับ เพราะบริษัทยืนยันว่าไม่ได้ส่งรถขนเงินไปที่ธนาคารแต่อย่างใด   หนังสือพิมพ์เดอะซันของอังกฤษรายงานว่า การปล้นครั้งนี้มีข้อผิดสังเกตหลายอย่าง ตั้งแต่การที่โจรไม่ได้สวมเครื่องแบบ G4S อย่างถูกต้อง แถมยังยกกล่องใส่เงินสดออกไปทีละ 2 กล่อง ซึ่งผิดกฎของบริษัทที่กำหนดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องขนเงินออกไปทีละกล่องเท่านั้น ทำให้น่าสงสัยว่าพนักงานธนาคารหลงเชื่อเข้าไปได้อย่างไร   อย่างไรก็ดี ภารกิจปล้นครั้งนี้อาจไม่ใช่เรื่องหมูๆ เสียทีเดียวสำหรับโจร เพราะทางธนาคารได้ใส่ ‘dye pack’ หรือระเบิดสีเอาไว้ในกล่องบรรจุเงินทั้ง 6 กล่องด้วย…

เตือนภัย! 8 โปรแกรม Remote Desktop ที่มิจฉาชีพนำมาใช้ดูดเงิน

Loading

  โปรแกรมรีโมทคอมพิวเตอร์ หรือ “โปรแกรมสนับสนุนระยะไกล” ที่เราสามารถรีโมทไปสั่งการเครื่องคอมได้เสมือนเรากดปุ่มรีโมทสั่งทีวี ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานมาก ๆ จนโปรแกรมนี้ได้กลายมาเป็นกลโกงใหม่ของมิจฉาชีพที่ใช้ดูดเงินนั่นเอง โปรแกรมที่ว่ามีถึง 8 อย่าง คือ 1. TeamViewer ถือเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในไทย ด้วยความที่เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ฟรี แถมยังมีสามารถใช้งานได้ทุกฟีเจอร์ที่จำเป็นต่อการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ คีย์ลัดไปหาเครื่องที่รีโมทอยู่ , สามารถถ่ายโอนไฟล์จากเครื่องที่เราใช้อยู่ ไปหาเครื่องที่รีโมทคอมพิวเตอร์เข้าไปได้ , อีกทั้งยังสามารถควบคุมแบบข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-Platform) เช่น ควบคุมจากมือถือเพื่อสั่งการ คอมพิวเตอร์ที่เปิดไว้ได้ด้วย ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อรีโมทเสมอไป ซึ่งสะดวกมาก ๆ เวลาที่เราไม่อยู่หน้าจอแล้วดันมีงานเข้าฉุกเฉิน 2. AnyDesk เป็นโปรแกรมที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก รองรับการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ในหลากหลายแพลตฟอร์ม ทั้งระบบปฏิบัติการ Windows , Mac , Linux , Raspberry Pi , Chrome OS , iOS และ…

วิธีป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพและแก็งคอลเซ็นเตอร์แฮกไลน์

Loading

  วิธีป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพและแก็งคอลเซ็นเตอร์แฮกไลน์ โดยมิจฉาชีพมีเบอร์โทรมาถึงเรา นั่นหมายความว่าหากเราเปิดด้วยเบอร์นี้บนไลน์ และรับเพื่อนผ่านไลน์ โจรก็อาจใช้แผนเข้าหลอกลวงผ่าน LINE ได้เช่นกัน ดังนั้นถึงเวลาที่จะป้องกันบัญชี LINE ของเรา ไม่ให้มิจฉาชีพแฮกผ่านเบอร์โทรศัพท์ด้วยวิธีการดังนี้ วิธีป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพและแก็งคอลเซ็นเตอร์แฮกไลน์ เปิดแอป LINE บน iOS , Android จากนั้นแตะไปที่หน้าหลัก แล้วเลือกไอคอนตั้งค่า เพื่อเข้าสู่การตั้งค่าแอป LINE     จากนั้นเลือก เพื่อน แล้วทำการปิด (OFF) ที่เพิ่มเพื่อนอัตโนมัติ และอนุญาตให้ผู้อื่นเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เพื่อนที่ไม่รู้จัก และคนอื่นที่อาจมีเบอร์ของเราอยู่และน่าจะเป็นมิจฉาชีพ เพิ่มเพื่อนด้วยเบอร์โทรบน LINE ทั้งนี้หากต้องการให่้เพื่อนคนนั้น เพิ่มเราเป็นเพื่อนให้บอกชื่อ ID LINE ของเราไปแทน เท่านี้มิจฉาชีพที่อาจมีเบอร์อยู่จะไม่สามารถหลอกลวงผ่าน LINE ได้แล้ว cover iT24Hrs-S     ที่มา : it24hrs    /   วันที่เผยแพร่ 24 เม.ย.65…

ถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้ ต้องทำอย่างไรเช็กเลยที่นี่

Loading

  สตช.เผยวิธีการหากถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้ ต้องทำอย่างไร พร้อมเตือนคนโกงหากปลอมแปลงเอกสารมีโทษหนักคุก 3 ปี ปรับ 6 หมื่น   เมื่อ 26 มี.ค. 65 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กล่าวว่า ขอเตือนภัยกรณีมีสื่อสังคมออนไลน์นำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชนหรือข้อมูลส่วนตัวไปซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีความห่วงใยต่อภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ที่หลอกลวงสร้างความเสียหายให้กับประชาชน โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย   ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จึงได้กำชับและสั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัดที่เกี่ยวข้องทำการสืบสวนสอบสวน จับกุม ปราบปรามภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ทุกรูปแบบตามกฎหมายอย่างจริงจัง มีผลการปฎิบัติเป็นรูปธรรม รวมถึงสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงภัยดังกล่าวและแนวทางในการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย   ดังเช่น กรณีที่สื่อสังคมออนไลน์มีการนำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชน หรือข้อมูลส่วนตัวไปใช้ สำหรับซื้อขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งอาจจะถูกมิจฉาชีพปลอมลายมือชื่อลงในสำเนาบัตรประชาชนแล้วนำไปใช้ในการกระทำความผิด หรือหลอกลวงผู้อื่น หากมีการแก้ไขข้อความในช่องชื่อ นามสกุล วันออกบัตร หรือวันหมดอายุ ลงในสำเนาบัตรประชาชน ไม่ว่าจะนำไปถ่ายสำเนาใหม่อีกครั้ง…

เช็คข้ออ้างยอดฮิต สายเรียกเข้าจาก “มิจฉาชีพ”

Loading

  เช็คข้ออ้างยอดฮิต สายเรียกเข้าจาก “มิจฉาชีพ” ที่มักจะสุ่มเบอร์โทรศัพท์ติดต่อหาเหยื่อ หลังจากนั้นจะพูดคุยโน้มน้าว หรือข่มขู่ให้เหยื่อตกใจ   เมื่อวันที่ 21 มี.ค.65 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เผย “มิจฉาชีพ” โทรเข้ากันไม่หวาดไม่หวั่น สำหรับสายเรียกเข้าที่อาจจะเป็นมิจฉาชีพ ซึ่ง “มิจฉาชีพ” มักจะสุ่มเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อหาเหยื่อ หลังจากนั้นจะพูดคุยโน้มน้าว หรือข่มขู่ให้เหยื่อตกใจ จนเกิดการหลงเชื่อ และโอนเงินให้ “มิจฉาชีพ” ในที่สุด โดยข้ออ้างส่วนใหญ่ที่มิจฉาชีพมักใช้จะหลอกเหยื่อมีดังนี้   1. บัญชีเงินฝากถูกอายัด/หนี้บัตรเครดิต : มิจฉาชีพจะขออายัดบัญชีเงินฝากของเหยื่อ อ้างว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต หลอกให้เหยื่อตกใจ รีบโอนเงินมาให้   2. บัญชีเงินฝากพัวพันกับการค้ายาเสพติด หรือการฟอกเงิน : มิจฉาชีพ จะอ้างว่าบัญชีเงินฝากของเหยื่อเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย หลอกให้เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชีที่เตรียมไว้ โดยอ้างว่าจะทำการตรวจสอบ   3. เงินคืนภาษี : มิจฉาชีพจะอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร แจ้งเหยื่อว่าได้รับเงินคืนภาษี โดยให้ยืนยันรายการตามคำบอกที่ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งแท้จริงแล้วกลับเป็นขั้นตอนที่มิจฉาชีพหลอกให้เหยื่อโอนเงิน   4. โชคดีได้รับเงินรางวัล :…