SIM Swap Fraud การสวมซิมควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โอนเงินออกจากบัญชีมีจริงหรือ?

Loading

  SIM Swap Fraud การสวมซิมควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โอนเงินออกจากบัญชีมีจริงหรือ หลังมีแชร์ในโซเชียลเกี่ยวกับการสวมซิม หรือ SIM SWAP เพื่อควบคุมเครื่องโทรศัพท์และโอนเงินออกจากบัญชีไป   ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าว กรณีมีการหลอกลวงทางเทคโนโลยีขั้นสูงที่เรียกว่า SIM SWAP FRAUD อ้างว่าขณะใช้งานโทรศัพท์อยู่ตามปกติ เครือข่ายโทรศัพท์ไม่มีสัญญาณ (Zero Bar) เป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นาน มีโทรศัพท์อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแจ้งว่ามีปัญหาเครือข่ายสัญญาณมือถือ จากนั้นแนะนำให้กด 1 เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอีกครั้ง เมื่อกด 1 เครือข่ายจะปรากฏขึ้นทันทีชั่วคราวและจะไม่มีสัญญาณอีกครั้ง (Zero Bar) ช่วงนี้คนร้ายได้ควบคุมเครื่องโทรศัพท์และโอนเงินออกจากบัญชีไป ขณะที่เจ้าของโทรศัพท์จะไม่ได้รับการแจ้งเตือนใด ๆ เนื่องจากซิมถูกเปลี่ยนขณะที่มือถือถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์   พ.ต.อ.ก้องกฤษฎา กิตติถิระพงษ์ รองผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี(รอง ผบก.ตอท.) และ นายเลิศรัตน์ รตะนานุกูล กรรมการบริหารและประชาสัมพันธ์ สมาคมโทรคมนาคมฯ ชี้แจงว่า…

ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง ป้องกันมิจฉาชีพแอบอ้างผู้ให้บริการทางการเงิน

Loading

  ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง เพื่อป้องกันการโดนหลอกโดนขโมยเงินโดยมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน ซึ่งยังระบาดอยู่ ณ ขณะนี้ โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้คำแนะนำให้คุณลองตรวจสอบ 3 สิ่งที่ต้องทำ ก่อนกู้เงินออนไลน์   ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง   1. เช็กว่าเป็นผู้ให้บริการตัวจริงหรือไม่ โดยตรวจสอบได้ที่ “เช็กแอปเงินกู้” จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย คลิกที่นี่ https://www.bot.or.th/th/involve-party-license-loan.html   2. โทรเช็กตรวจสอบกับผู้ให้บริการที่ถูกอ้างชื่อ ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ปรากฎบนเว็บไซด์ ก่อนตัดสินใจกู้เงิน   3. ตั้งสติหน่อยระวังตัวก่อน ถ้าผู้ให้กู้รายใดแจ้งให้โอนเงินก่อน ให้คิดไว้เลยว่าเป็นมิจฉาชีพหลอกลวงแน่นอน   ดังนั้นใครคิดจะกู้เงินออนไลน์ อย่าลืมตรวจสอบด้วย 3 ข้อที่ดังกล่าวเพื่อไม่ให้โดนหลอก     อ้างอิง   ธนาคารแห่งประเทศไทย         ————————————————————————————————————————- ที่มา :         …

กสทช.ถกแก้ปัญหาสัญญาณเน็ตชายแดน หลังพบมิจฉาชีพลอบใช้กระทำผิดกฎหมาย

Loading

  เร่งแก้ปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตบริเวณชายแดนในฝั่งไทย พบอาจเอื้อต่อกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ มิจฉาชีพ ลักลอบนำสัญญาณไปใช้กระทำผิดกฎหมาย ชี้การตัดสัญญาณไม่ใช่ทางออก กระทบคนใช้สุจริต   รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. ได้จัดประชุมคณะทำงานกำหนดแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับความผิดทางเทคโนโลยี โทรคมนาคมและความมั่นคงของรัฐ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 โดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหาใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตบริเวณชายแดนในฝั่งไทย ซึ่งพบว่า อาจเอื้อต่อกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ ที่ลักลอบนำสัญญาณไปใช้กระทำผิดกฎหมาย   โดยที่ประชุมคณะทำงานฯ ในส่วนผู้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบจับกุม และผู้กำหนดแนวทางในการดูแลปัญหา ได้มีการหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา และหามาตรการที่เกิดสมดุลในการบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินคดีกับมิจฉาชีพ และการไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้บริโภคในพื้นที่ชายแดน เนื่องจากการกระทำผิดของมิจฉาชีพมีความซับซ้อนและใช้เทคนิคกลโกงขั้นสูงมากขึ้น เช่น ใช้ช่องว่างของสัญญาณให้บริการของโอเปอเรเตอร์ที่มีความแรงข้ามขายแดน ในการกระทำความผิด ใช้บริการ ไว-ไฟ จากฝั่งไทยยิงสัญญาณข้ามชายแดนไปจุดที่ตั้งของคอลเซ็นเตอร์เถื่อน และใช้ ซิม บ็อกซ์ หรือ เบส สเตชั่น ปลอม เพื่อยิงเอสเอ็มเอสหลอกลวง ว่ามาจากผู้ห้บริการเครือข่าย ฯลฯ   แหล่งข่าวจาก กสทช. กล่าวว่า ทาง กสทช. ได้สั่งให้ สำนักงาน กสทช. ในเขตพื้นที่ตามแนวชายแดน ดำเนินการกำกับดูแลในเรื่องนี้อยู่แล้ว โดยพนักงาน กสทช. ในพื้นที่ จะประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการไม่ให้ส่งสัญญาณได้ โดยที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วหลายครั้ง เท่าที่ทราบกรณีที่เกิดขึ้นมีทั้งฝั่งชายแดน ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งติดกับประเทศเมียนมา และ สปป.ลาว บริเวณ จ.นครพนม รวมถึงเสาที่ตั้งบริเวณใกล้บ่อนการพนัน กรณีที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จะเป็นเสาที่ลักลอบตั้งขึ้นอย่างผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ทันที   “เมื่อมิจฉาชีพใช้กลโกงที่ซับซ้อน เจ้าหน้าที่ต้องสังเกตและรู้เท่าทันกลโกง การจะตัดสัญญาณสื่อสารบริเวณชายแดน ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะจะเกิดผลกระทบต่อผู้ที่ใช้บริการโดยสุจริต เจ้าหน้าที่ของไทยทราบว่า คอลเซ็นเตอร์เถื่อนตั้งอยู่ที่ไหนแต่เอาผิดไม่ได้ เพราะกฎหมายของไทยกับเพื่อนบ้านแตกต่างกัน ในอนาคตมีความจำเป็นต้องมีคณะทำงานร่วมเพื่อจัดการกับปัญหาอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการกำหนดมาตรการที่เข้มข้นขึ้น แต่ไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย”       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   …

ตร.ไซเบอร์รวบหนุ่มวิศวะ โพสต์ขายข้อมูลส่วนบุคคล ให้เว็บพนันและมิจฉาชีพ

Loading

  พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เปิดเผยข้อมูลว่าจากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่พบกลุ่มเฟซบุ๊กแบบปิด (Private Group) ซึ่งมีการนำเสนอซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และสิ่งของที่ผิดกฎหมายต่าง ๆ มีสมาชิกประมาณ 100,000 บัญชี   โดยมีผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความประกาศขายฐานข้อมูลของลูกค้ากลุ่มการพนันออนไลน์ ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัญชีธนาคาร และไลน์ไอดีของลูกค้า เป็นต้น ขายในราคาต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่ 100,000 รายชื่อ ราคา 500 บาท ไปจนถึง 2,000,000 รายชื่อ ราคา 3,500 บาท เพื่อให้ผู้ซื้อนำไปใช้ทำการตลาด นำข้อมูลที่ได้ไปใช้โทรศัพท์ติดต่อ หรือส่งข้อความสั้น (SMS) หรือแอดไลน์ไปยังรายชื่อดังกล่าว และหากซื้อข้อมูลดังกล่าวไปแล้วจะมีการอัปเดตข้อมูลให้ฟรี นอกจากนี้แล้วยังมีการโพสต์ประกาศรับเปิดเว็บไซต์พนันออนไลน์เริ่มต้นเพียง 6,500 บาท พร้อมดูแลระบบ และออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้ฟรีอีกด้วย     เจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัด บก.สอท.5 จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความเชื่อมโยง…

ดีอีเอสเตือนระวังมิจฉาชีพหลอกทำใบขับขี่ปลอม

Loading

  ดีอีเอสพบมิจฉาชีพแอบอ้างกรมขนส่งฯ หลอกทำใบขับปขี่ปลอมที่เว็บไซต์ www.thaidriveexam.com ระวังถูกล้วงเอาข้อมูลสำคัญ ส่วนสถานการณ์ข่าวปลอม “การลงทุน-สินเชื่อกู้ยืม” ยังว่อน เตือนอย่าเสียรู้โจร เช็กข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ   นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,209,611 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 279 ข้อความ   ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 244 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 35 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 180 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 112 เรื่อง   ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น…

กรมการปกครองเตือน ระวังกลุ่มมิจฉาชีพหลอกรับทำบัตรประชาชน

Loading

  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกลวงทำบัตรประจำตัวประชาชน และเอกสารราชการปลอม โดยมิจฉาชีพจะใช้วิธีสร้างเพจปลอมแอบอ้างว่าเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย รับทำบัตรประชาชน เมื่อมีเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินไปให้ ก็จะถูกบล็อกการติดต่อทุกช่องทาง โดยพบผู้เสียหายจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่   กรมการปกครอง ย้ำว่า การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับงานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ต้องดำเนินการทางกฎหมายอย่างรัดกุม ชัดเจน โดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทุกกรณี โดยขอดำเนินการได้ที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือสำนักทะเบียนอำเภอเท่านั้น เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอาญา โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงขอกำชับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายป้องกันและปราบปรามและสร้างการรับรู้ให้ประชาชน โดยขอเน้นย้ำในเรื่องสำคัญ ดังนี้   ผู้ที่จ้างหรือสั่งทำเอกสารปลอมข้างต้น ถือเป็นตัวการสำคัญในการกระทำความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารสิทธิและเอกสารราชการ โดยผู้ที่จ้างต้องรับโทษทางอาญาเช่นเดียวกับผู้รับจ้างที่ทำเอกสารปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 265 หรือ 266 แล้วแต่กรณี ซึ่งมีระวางโทษสูง ต้องจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   ผู้ที่จ้างหรือสั่งทำเอกสารปลอมข้างต้น หรือผู้ใดนำเอกสารปลอมไปใช้หรืออ้างให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นเอกสารจริงโดยทุจริตและปกปิดข้อเท็จจริง มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268…