จีนเรียก 3 ยักษ์เทคโนโลยี คุมการใช้ deepfake บนแพลตฟอร์ม

Loading

    รอยเตอร์ส รายงาน (18 มี.ค.) – หน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้มีคำสั่งเรียกบริษัท เทคโนโลยีในประเทศ 11 ราย รวมถึง อาลีบาบากรุ๊ป, เทนเซนต์และไบต์แดนซ์ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ‘deepfake’ บนแพลตฟอร์มของตน ผู้ดูแลระบบไซเบอร์สเปซของจีนกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดี(18 มี.ค.) ว่ากระทรวงความมั่นคงสาธารณะได้พูดคุยกับบริษัทต่าง ๆ เกี่ยวกับ“ การประเมินความปลอดภัย” และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับแอปโซเชียลปลอมภาพและเสียง ซึ่ง Kuaishou (ไคว่โส่ว) ของบริษัท Beijing Kuaishou Technology และ เสี่ยวหมี่ คอร์ป เข้าร่วมการประชุมด้วยเช่นกัน รายงานข่าวกล่าวว่า บริษัททั้งหมด ยังไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นใด ๆ Deepfakes คือการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สร้างวิดีโอหรือไฟล์เสียงที่สมจริงเกินจริง แต่เป็นของปลอม โดยทำเหมือนบุคคลเป็นผู้พูดหรือทำในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้ทำ จีนได้เพิ่มการตรวจสอบยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาโดยอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมผูกขาดและการละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้น หน่วยงานกำกับดูแลยังแจ้งให้ บริษัทต่างๆ“ ดำเนินการประเมินความปลอดภัยด้วยตนเอง” และส่งรายงานไปยังรัฐบาลเมื่อพวกเขาวางแผนที่จะเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่หรือบริการข้อมูลใหม่ที่ “มีความสามารถในการขับเคลื่อนสังคม” ทั้งนี้ บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ของจีน ได้ลอกเลียนแบบแอปเสียง Clubhouse…

ศาลจีนเบิกตัวพลเมืองแคนาดา ไต่สวนคดีความมั่นคง

Loading

  จีนนำตัวชาวแคนาดา 1 ใน 2 คนที่ถูกฟ้องข้อหาจารกรรม ขึ้นศาลเป็นครั้งแรก หลังถูกควบคุมตัวมานานกว่า 2 ปี สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองตานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ว่า ศาลประชาชนระดับกลางแห่งมณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เบิกตัว นายไมเคิล สปาวอร์ นักธุรกิจสัญชาติแคนาดา ขึ้นศาลเมื่อวันศุกร์ ซึ่งเป็นการปรากฏตัวต่อศาลครั้งแรกของสปาวอร์ นับตั้งแต่ถูกจับกุมเมื่อเดือน ธ.ค. 2561 และอัยการสั่งฟ้องสปาวอร์ เมื่อเดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว ในข้อหาจารกรรมข้อมูลลับทางราชการ และการส่งข้อมูลนั้นให้กับ “กองกำลังต่างชาติ”   Michael Spavor, one of two Canadians detained by Beijing more than two years ago on suspicion of espionage, is set to…

‘จีน’ เต้น! เจอผู้ประท้วงเมียนมา ขู่ระเบิดท่อส่งก๊าซ-น้ำมัน

Loading

  “จีน” ประชุมฉุกเฉินร่วมกับ “เมียนมา” เรียกร้องขอให้คุ้มครองความปลอดภัยท่อก๊าซและท่อน้ำมัน หลังผู้ประท้วงขู่ระเบิด ไม่พอใจท่าทีจีนในเหตุการณ์ประท้วงรัฐประหาร ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองเมียนมา ที่ร้อนระอุ ซึ่งกองกำลังรักษาความมั่นคงได้ใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามผู้ประท้วงชาวเมียนมาต้านรัฐประหาร ทางด้านรัฐบาลปักกิ่ง ได้จัดประชุมฉุกเฉินระดับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงต่างประเทศเมียนมา เพื่อขอให้คุ้มครองความปลอดภัยท่อก๊าซและท่อน้ำมันระหว่างจีนกับเมียนมา ที่อยู่ในฝั่งเมียนมามีความยาว 795 กม. เว็บไซต์สํานักข่าวอิระวดีอ้างเอกสารลับว่า นายไป๋ เทียน อธิบดีกรมกิจการความมั่นคงระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศจีน ได้ขอให้รัฐบาลทหารเมียนมารับรองความปลอดภัยของท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หลังจากที่กลุ่มต่อต้านจีนเกิดความไม่พอใจจุดยืนรัฐบาลจีนต่อการที่กองทัพเมียนมาทำรัฐประหาร ท่อส่งก๊าซธรรมชาติระหว่างจีน – เมียนมา มีระยะทางในฝั่งเมียนมาเกือบ 800 กม. ซึ่งประกอบด้วยท่อส่งคู่ขนานเริ่มต้นที่เกาะแรมรี ในเขตท่าเรือเจียวเพียว และสร้างคู่ขนานกับท่อน้ำมันดิบจีน-เมียนมา และไปแยกกันที่เมืองอานซุ่นในมณฑลกุ้ยโจว ผ่านนครกุ้ยหยาง และสิ้นสุดที่เมืองกุ้ยก่าง ในเขตปกครองตนเองกว่างสีจ้วง มีความยาวรวมทั้งหมด 2,520 กม. รัฐบาลปักกิ่งคาดหวังว่า เมียนมาจะออกมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้นสำหรับโครงการท่อส่งก๊าซและน้ำมันดังกล่าว เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญของโครงการสายแถบและเส้นทาง(บีอาร์ไอ) “ความเสียหายใดๆ ที่เกิดกับท่อส่งก๊าซและน้ำมัน จะส่งผลต่อความสัมพันธ์จีนและเมียนมา รวมถึงความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ” ไป๋กล่าวเตือน เอกสารลับฉบับนี้ยังระบุว่า ปลัดกระทรวงต่างประเทศเมียนมาไม่สามารถเข้าร่วมประชุมนี้ได้ เนื่องจากได้รับการแจ้งล่วงหน้าจากจีนเพียง 4 ชั่วโมงให้จัดประชุมฉุกเฉินดังกล่าว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลปักกิ่งมีความกังวลอย่างยิ่งต่อโครงการท่อส่งก๊าซและน้ำมันดังกล่าว การแสวงหาผลประโยชน์ของจีนในเมียนมา…

จีนผ่านกฎหมายแก้ระบบเลือกตั้งฮ่องกงคัดกรองผู้แทน’รักชาติ’

Loading

  สภาผู้แทนประชาชนจีนลงมติท่วมท้น 2,895 เสียง ต่อ 0 เสียง รับรองร่างกฎหมายเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งของฮ่องกง ลดสัดส่วนผู้แทนจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและเสนอกลไกที่จะคัดกรองผู้แทนจากความรักชาติและความภักดีต่อปักกิ่ง        กฎหมายที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนประชาชนจีน (เอ็นพีซี) ในกรุงปักกิ่งเมื่อวันพฤหัสบดี เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของจีนเพื่อรวบรวมอำนาจปกครองเหนือฮ่องกงให้กระชับมั่นยิ่งขึ้น ตามหลังกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่ออกมาบังคับใช้กับฮ่องกงเมื่อเดือนมิถุนายน ที่นักวิจารณ์กล่าวกันว่าเป็นเครื่องมือใช้บดขยี้ผู้เห็นต่างจากรัฐ ตอบโต้การชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งใหญ่ในฮ่องกงเมื่อปี 2562        ร่างกฎหมายนี้ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกสภา 2,895 คน โดยไม่มีผู้คัดค้าน แต่มี 1 คนงดออกเสียง        แคร์รี หล่ำ หัวหน้าคณะผู้บริหารฮ่องกง กล่าวในแถลงการณ์ว่า รัฐบาลฮ่องกงและตัวเธอสนับสนุนอย่างแข็งขันและขอบคุณจากก้นบึ้งของหัวใจ การปรับโครงสร้างครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อทำให้ฮ่องกง “กลับสู่เส้นทางที่ถูกต้อง”        การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เท่ากับกำจัดความเป็นไปได้ที่ฝ่ายค้านจะส่งผลกระทบต่อผลการเลือกตั้งในเขตปกครองพิเศษของจีนแห่งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวกันด้วยว่า การกำหนดคุณสมบัติเรื่อง “ความรักชาติ” ยังเพิ่มความเสี่ยงที่นักการเมืองจะแข่งขันกันว่าใครจงรักภักดีต่อรัฐบาลปักกิ่ง มากกว่าการเสนอความคิดว่าควรบริหารฮ่องกงอย่างไรดี        เอริก จ้าง รัฐมนตรีด้านกิจการแผ่นดินใหญ่และรัฐธรรมนูญของฮ่องกง…

สื่อดัตช์แฉ! รัสเซีย-จีน แฮกหน่วยงานควบคุมยายุโรป ล้วงข้อมูลวัคซีนโควิด

Loading

  หน่วยข่าวกรองรัสเซียและสายลับจีนอยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency หรือ อีเอ็มเอ) เมื่อปีที่แล้ว หนังสือพิมพ์เนเธอร์แลนด์ De Volkskrant รายงาน โดยอ้างแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับการสืบสวนการรั่วไหลนี้ เมื่อเดือนธันวาคม หน่วยงานควบคุมยาแห่งยุโรปที่มีฐานในอัมสเตอร์ดัม รายงานถึงการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งระบุว่ารายงานที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 และยาต่างๆ ถูกขโมยและรั่วไหลทางอินเทอร์เน็ต กระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียยังไม่ได้ตอบสนองต่อคำขอความคิดเห็นในวันเสาร์ (6) แต่มอสโกมักปฏิเสธข้อกล่าวหาแฮกของฝ่ายตะวันตก กระทรวงการต่างประเทศของจีนยังไม่ได้ตอบสนองต่อความคิดเห็น แต่ปักกิ่ง ระบุว่า พวกเขาเคยต่อต้านและกวาดล้างการโจมตีทางไซเบอร์ทุกรูปแบบ     อีเอ็มเอเปิดฉากการสืบสวนกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของเนเธอร์แลนด์และยุโรป แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตี ในวันเสาร์ (6) De Volkskrant รายงานว่า อีเอ็มเอตกเป็นเป้าหมายของสายลับจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 ตามมาด้วยเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของรัสเซียในปีเดียวกัน De Volkskrant อ้างแหล่งข่าวระบุว่า สายลับจีนสามารถเข้าถึงด้วยการแฮกระบบของมหาวิทยาลัยเยอรมนีแห่งหนึ่ง ขณะที่สายลับรัสเซียใช้ประโยชน์จากข้อบกพร่องในการล็อกอินยืนยันตัวตนสองขั้นของอีเอ็มเอและการป้องกันทางไซเบอร์ประเภทอื่นๆ แหล่งข่าวบอกกับ De Volkskrant ว่า แฮกเกอร์รัสเซียเข้าถึงระบบของอีเอ็มเอมานานกว่าหนึ่งเดือนแล้ว พวกเขาสนใจว่าประเทศไหนจะซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 ของไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทคบ้าง และจะซื้อในจำนวนเท่าใด De Volkskrant ระบุ ไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทคประกาศไม่นานหลังการเปิดเผยเบื้องต้นของอีเอ็มเอว่า…

เกาหลีใต้เร่งปกป้องความลับทางการค้าจากจีน

Loading

  เกาหลีใต้ ในฐานะประเทศอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงระดับต้นๆของโลก ปรับปรุงการปกป้องความลับทางการค้ากับจีนในทุกระดับ หลังเกาหลีใต้เป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับคู่แข่งอย่างจีน ในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงจากแดนโสมขาวมาใช้ยกระดับพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ หน้าจอคอมพิวเตอร์ และชิปประมวลผล ที่จีนยังเข้าไม่ถึง หนึ่งในนักธุรกิจเกาหลีใต้ในบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเดินทางไปกลับกรุงปักกิ่งและกรุงโซลเป็นประจำ แต่ไม่ประสงค์เปิดเผยชื่อ ยกตัวอย่างให้ฟังว่า หากบริษัทในจีนขาดแคลนพนักงานที่เชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบแผงวงจรในประเทศ บริษัทในจีนจะใช้วิธียิงโฆษณาตามเว็บไซต์ เพื่อดึงตัวพนักงานมีทักษะจากเกาหลีใต้ ให้เข้าไปร่วมงานกับจีนแบบสัญญาจ้างในระยะเวลา 2 ปี ด้วยค่าจ้างที่สูงกว่าในเกาหลีใต้ถึง 2 เท่า รวมทั้งมีโบนัสให้และครอบคลุมค่าใช้จ่ายของครอบครัวและค่าเล่าเรียนบุตรด้วย และเมื่อจบสัญญา 2 ปี และบริษัทจีนได้ทักษะที่ต้องการจากพนักงานรายนั้นแล้ว บริษัทจีนจะพร้อมเลิกจ้างและมองหาพนักงานในทักษะอื่นที่ต้องการแทน พัค วอนฮยอง อาจารย์ด้านวิศวกรรมความปลอดภัยของข้อมูล จากมหาวิทยาลัยซังมยองในกรุงโซล ให้ข้อมูลกับวีโอเอว่า การดึงตัวพนักงานมีทักษะจากเกาหลีใต้ เป็นหนทางเดียวที่จีนจะได้เทคโนโลยีขั้นสูงจากเกาหลีใต้ไปอยู่ในมือ แต่มีกรณีอื่นๆ เช่น การซื้อขายความลับทางการค้าหรือเทคโนโลยีโดยตรงจากพนักงานที่อยู่ในบริษัทเทคโนโลยีในเกาหลีใต้ อาจารย์มหาวิทยาลัยซังมยองในกรุงโซล เพิ่มเติมว่า ตอนนี้มีการจารกรรมข้อมูลความลับทางการค้าโดยกลุ่มแฮกเกอร์จากจีนที่เข้าเจาะล้วงข้อมูลในบริษัทเกาหลีใต้โดยตรง ผ่านเสิร์จเอ็นจิน SHODAN ที่ให้ผู้ใช้เข้าถึงคอมพิวเตอร์ที่มีระบบป้องกันซับซ้อนหลายชั้นได้ และมีหลักฐานว่าเหล่าแฮกเกอร์นี้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีน ข้อมูลจาก National Intelligence Service หรือ NIS หน่วยข่าวกรองของเกาหลีใต้ ระบุว่า พบข้อมูลรั่วไหลด้านเทคโนโลยีจากเกาหลีใต้ในช่วงปี 2015-2019…