จีนสร้างฐานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฝึก “AI” รู้จักรุ่นเครื่องบิน ตรวจจับเรือรบ

Loading

  กลุ่มสื่อต่างประเทศ รายงาน (1 พ.ค.) สภาบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) เปิดเผยว่า “FAIR1M” ฐานข้อมูลภาพการสำรวจระยะไกลความละเอียดสูงชุดใหม่ มีขนาดใหญ่กว่าชุดข้อมูลที่คล้ายกันที่ใช้ในประเทศอื่น ๆ หลายสิบหรือหลายร้อยเท่า ศาสตราจารย์ฟู่ คุน Fu Kun นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยข้อมูลการบินและอวกาศของสถาบันในปักกิ่งได้รับเงินทุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ในการใช้ดาวเทียมสังเกตการณ์ “Gaofen” สร้างฐานข้อมูลที่มีภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงมากกว่า 15,000 ภาพ โดยมีฉากประกอบข้อมูล 1 ล้านภาพ ซึ่งเทียบกับฐานข้อมูล VEDAI ของฝรั่งเศสซึ่งมีเพียงประมาณ 3,600 ภาพ ฐานข้อมูล FAIR1M มีข้อมูลโดยละเอียดของสถานที่มากกว่าล้านแห่งในประเทศจีน และสามารถรู้จักข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพ เช่น ลักษณะเครื่องบินแต่ละรุ่น และสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเรือรบกับเรือโดยสาร ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ทหารใช้ดาวเทียมสอดแนมเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ จนเมื่อในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างรวดเร็ว ทำให้ภาคเอกชนสามารถนำข้อมูลดาวเทียมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เช่น การนับจำนวนรถบรรทุกสินค้าบนท้องถนนในเมือง หรือแม้แต่ในระดับประเทศ ก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานได้…

รัฐบาลจีนฟัน 33 แอพละเมิดกฎเก็บข้อมูลส่วนตัวลูกค้า

Loading

  33 แอพพลิเคชั่นในจีน รวมทั้งบริษัทในเครือ Baidu และ Tencent ละเมิดกฎการเก็บข้อมูลส่วนตัวลูกค้า หน่วยงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (CAC) ระบุว่า พบ 33 แอพพลิเคชัน รวมทั้งแอพพลิเคชันให้บริการซอฟท์แวร์นำทางของบริษัท Baidu และTencent สองบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี ละเมิดกฎของทางการ โดยส่วนใหญ่เก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของตัวเอง จากการตรวจสอบแอพพลิเคชันที่เป็นที่นิยมของชาวจีนของ CAC ยังพบว่าแอพพลิเคชันเหล่านี้เก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าโดยไม่ได้รับความยินยอม และยังพยายามโน้มน้าวให้ลูกค้าอนุญาตให้แอพพลิเคชันเข้าถึงรายชื่อผู้ติดต่อในสมาร์ทโฟน หลังจากนี้ ผู้ให้บริการแอพพลิเคชันดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 10 วันทำการ มิเช่นนั้นจะถูกลงโทษ แต่ CAC ไม่ได้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติม เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา CAC ออกกฎห้ามผู้ให้บริการแอพพลิเคชันปฏิเสธไม่ให้บริการพื้นฐานกับลูกค้าที่ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่ไม่จำเป็นซึ่งมีผลบังคับใช้วันนี้ (1 พ.ค.) และยืนยันว่าจะปกป้องสิทธิของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ทางการจีนเริ่มเข้ามาควบคุมบริษัทอินเทอร์เน็ตหลังจากบริษัทเหล่านี้มีอิทธิพลกับชีวิตชาวจีนในแทบจะทุกด้าน ทั้งยังครอบครองข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจำนวนมหาศาลจากการให้บริการออนไลน์ อาทิ แอพพลิเคชันช็อปปิ้งออนไลน์ บริการเรียกรถสาธารณะ เป็นต้น AFP PHOTO / FILES / FRED DUFOUR   ——————————————————————————————————————————————————————…

ญี่ปุ่นเผยถูกสายลับ “กองทัพจีน” เจาะระบบคอมพิวเตอร์

Loading

  ตำรวจญี่ปุ่นสืบสวนกรณีการโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยงานและบริษัทเกือบ 200 แห่งในญี่ปุ่น โดยสงสัยว่าเป็นฝีมือของแฮกเกอร์ที่เกี่ยวพันกับกองทัพจีน หน่วยงานสำคัญของญี่ปุ่นที่ถูกแฮกเกอร์ที่คาดว่าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเจาะข้อมูล เช่น สำนักงานสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่น หรือ จั๊กซ่า, บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ, มหาวิทยาลัยเคโอ รวมทั้งสถาบันวิจัยชั้นสูงหลายแห่งของแดนอาทิตย์อุทัย สำนักงานสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่นยอมรับว่า ระบบคอมพิวเตอร์ถูกลักลอบเจาะในปี 2559 แต่ไม่เปิดเผยว่ามีข้อมูลรั่วไหลหรือถูกดัดแปลงแก้ไข ปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์นี้ดำเนินการโดยกลุ่มแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า Tick ซึ่งอยู่ใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของกองทัพจีน     ตำรวจญี่ปุ่นระบุตัว วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวจีนคนหนึ่งที่ใช้รหัสประจำตัวปลอม เพื่อเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรหลายแห่งในญี่ปุ่น ชายในวัย 30 ปีผู้นี้ต้องสงสัยว่าเคยลักลอบเข้าใช้เซิร์ฟเวอร์หลายแห่งโดยใช้ชื่อปลอมต่าง ๆ กัน และส่งข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นไปยังกลุ่มแฮกเกอร์ “Tick” นอกจากนี้ ยังพบว่ามีนักศึกษาชาวจีนอีกคนหนึ่งที่เช่าเซิร์ฟเวอร์หลายเซิร์ฟเวอร์ในญี่ปุ่น โดยใช้หนังสือเดินทางปลอมเพื่อแสดงตัวตน และจากการสืบสวนพบว่านักศึกษารายนี้เกี่ยวข้องกับกองทัพจีน ขณะนี้ วิศวกรชายและนักศึกษารายนี้ได้เดินทางออกจากญี่ปุ่นแล้ว     กองทัพจีนมีหน่วยที่ใช้รหัสว่า 61419 มีฐานที่เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง คาดว่าเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการโจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นายคัตสีโนบุ คาโต เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น พูดถึงเรื่องนี้โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นฝีมือของใครว่า “การโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยราชการและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มีการจัดองค์กรและมีความล้ำหน้ามากขึ้น รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญเพื่อรับมือการโจมตีเหล่านี้”.…

Great Firewall จากจีนสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุคมืดของเสรีภาพในโลกอินเทอร์เน็ต

Loading

Great Firewall คือกำแพงกรองข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกของจีน มีความเป็นไปได้ว่าโมเดลที่ทำให้รัฐสามารถควบคุม คัดกรอง การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตของประชาชนกำลังถูกนำมาใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมีระบบสอดส่องของรัฐเกิดในประเทศที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตยังมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือดิจิทัลจำกัด อาจนำไปสู่การเซนเซอร์ตัวเองของสื่อและผู้ใช้งาน ด้วยเหตุผลความกังวลว่าจะถูกจับตามอง เทคโนโลยี firewall ไม่ได้ติดตั้งยากเหมือนที่คิด เพียงแค่ปรับแต่งเล็กน้อย เช่น ภาษาและคำสำคัญของแต่ละประเทศ รวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้สามารถปรับแต่งค่าบางอย่างได้ตามสถานการณ์ได้   ถ้าพูดคำว่า ‘โลกาภิวัตน์’ ในยุคนี้ก็คงโดนหรี่ตามองว่า “ไปอยู่ที่ไหนมา” เพราะมันกลายเป็นความปกติสามัญเหมือนแอปเปิลตกจากต้นตามแรงโน้มถ่วง สำหรับบางประเทศ โลกาภิวัตน์ไม่ใช่สัจธรรม แต่เป็นทางเลือกที่พวกเขาอยากเปิดรับเฉพาะบางแง่มุม การเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อของโลกอาจเป็นโอกาส แต่ของแถมคือภัยคุกคาม ‘ความมั่นคง’ ของรัฐ ชนชั้นนำ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ฯลฯ ทำให้รัฐต้องสรรหานวัตกรรมต่างๆ มารับมือในแบบของตัวเอง โดยไม่ถึงขั้นสุดโต่งปิดตายการไหลเวียนของข้อมูลเสียสนิท จนปิดกั้นโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นวัตกรรม ‘Great Firewall’ คือกำแพงกรองข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกของจีน แม้จะเชื่อมต่อได้จริง แต่ก็ไม่เปิดเสรีจนผู้นำรัฐกังวล จะเป็นอย่างไร หากโครงสร้างอินเทอร์เน็ตรูปแบบนี้เป็นที่แพร่หลาย เพราะลงล็อกตอบโจทย์กับความกังวลของผู้วางนโยบายอินเทอร์เน็ตของรัฐต่างๆ หลังจากจีนพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทำได้ จนเป็นแรงบันดาลใจให้หลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บ้านใกล้เรือนเคียงของเราเอง อย่างเมียนมาและกัมพูชา ต้องทำตาม เพื่อร่วมสำรวจสถานการณ์เสรีภาพในอินเทอร์เน็ตร่วมกัน DigitalReach…

จีนคุม ‘แอปฯ มือถือ’ ห้ามเก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้เกินจำเป็น เริ่มพ.ค. นี้

Loading

  จีนคุม ‘แอปฯ มือถือ’ ห้ามเก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้เกินจำเป็น เริ่มพ.ค. นี้ สำนักกำกับดูแลไซเบอร์สเปซแห่งประเทศจีน (CAC) รายงานว่าทางการจีนออกแนวปฏิบัติห้ามผู้ให้บริการแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็นอย่างผิดกฎหมาย แนวปฏิบัติดังกล่าวระบุว่าแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือไม่สามารถปฏิเสธการเข้าถึงบริการของผู้ใช้ได้ หากผู้ใช้ปฏิเสธจะแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็น ขอบเขตข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ 39 ประเภท เช่น แอปพลิเคชันนำทางอาจเข้าถึงตำแหน่งที่อยู่ ต้นทางและปลายทางของผู้ใช้ หรือแอปพลิเคชันส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอย่างหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้ บัญชีการส่งข้อความ และบัญชีของผู้ติดต่อ ทั้งนี้ สำนักฯ เผยว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวมีเป้าหมายควบคุมการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ เพื่อรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป ข้อมูลจาก สำนักข่าวซินหัว ——————————————————————————————————————————————- ที่มา : thebangkokinsight           / วันที่เผยแพร่ 23 มี.ค.2564 Link : https://www.thebangkokinsight.com/579175/

จีนสั่งห้ามขับรถ “เทสลา” เข้าเขตทหาร หวั่นสอดแนมเขี้ยวเล็บมังกร

Loading

    กลุ่มสื่อต่างชาติ รายงาน (20 มี.ค.) วอลล์ สตรีท เจอร์นัล (The Wall Street Journal) หนังสือพิมพ์รายวันชั้นนำอ้างแหล่งข่าวระบุว่า กองทัพจีนมีคำสั่งห้ามขับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเทสลา (Tesla) เข้าสู่เขตที่ทำการของกองทัพ และอาคารที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่กองทัพ มาตรการดังกล่าวเกิดจากความกังวลว่ากล้องของเทสลาจะเก็บภาพและข้อมูลของกองทัพ และส่งกลับไปยังสหรัฐฯ รายงานระบุว่า กล้องแบบรอบทิศทาง (Multi-direction) และระบบเซนเซอร์อาจเปิดเผยที่ตั้งของกองทัพ ทำให้ข้อมูลลับของกองทัพรั่วไหล ทำให้ผู้ขับรถยนต์เทสลาจะต้องจอดรถยนต์อยู่ด้านนอกเขตการทหาร ปัจจุบัน รถยนต์ของเทสลาได้รับติดตั้งกล้องขนาดเล็กรอบคัน ช่วยให้คนขับสามารถจอดรถยนต์ และใช้ระบบนำทางอัตโนมัติ (autopilot) และ ระบบขับขี่ด้วยตนเอง (self-driving) นอกจากนี้ เทสลามีกล้องภายในห้องโดยสาร เพื่อตรวจสอบได้ว่าคนขับกำลังมองไปยังถนนหรือไม่ รถยนต์ดังกล่าวยังบันทึกข้อมูลสถานที่และช่วงเวลาการใช้รถยนต์ รวมทั้งเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวในโทรศัพท์มือถือ หากมีการเชื่อมต่อระบบกับรถยนต์ ทั้งนี้ กระแสข่าวดังกล่าวทำให้ราคาหุ้นเทสลา อิงค์ ร่วงลงกว่าร้อยละ 4 เมื่อวันศุกร์ (19 มี.ค.)   ———————————————————————————————————————————————————– ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์     /…