โคตรเซียน “ไอโอ” คือไอโอรัสเซีย

Loading

ประเทศที่ทำไอโอมากที่สุดในโลกและสำเร็จมากที่สุด รัสเซียทำอย่างไรและกำลังมุ่งไปทางไหน กลยุทธ์การรบแบบสับขาหลอกของรัสเซีย (หรือสหภาพโซเวียตในขณะนั้นฉ ที่โด่งดังมากในช่วงสงครามเย็นคือสิ่งที่เรียกว่า “มาสกิรอฟสกา” (Maskirovka) ซึ่งแปลว่าการอำพราง แต่มันมีความหมายมากกว่านั้น สารานุกรมการทหารของสหภาพโซเวียตในปี 1944 นิยาม “มาสกิรอฟสกา” ว่าเป็นวิธีการรักษาที่มั่นในการปฏิบัติการรบโดยอาศัย “ความซับซ้อนของมาตรการเป็นการชี้นำให้ศัตรูเข้าใจผิด” โดยสรุปก็คือ “มาสกิรอฟสกา” คือการใช้กลยุทธ์อำพราง ซ่อนเร้น หรือแม้แต่การทำแบบเปิดเผยเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด หรือใช้ภาษาชาวบ้านทุกวันนี้ก็คือ “ปฏิบัติการไอโอ” (Information Operations) ในระยะหลัง “มาสกิรอฟสกา” ไม่ใช่แค่การอำพรางในสนามรบ แต่ยังรวมถึงกลยุทธ์การเมืองและการทูตรวมถึงการบิดเบือน “ข้อเท็จจริง” เกี่ยวกับสถานการณ์และการรับรู้ที่จะส่งผลกระทบต่อสื่อมวลชนและความคิดเห็นทั่วโลก เพื่อบรรลุหรืออำนวยความสะดวกในด้านยุทธวิธียุทธศาสตร์ระดับชาติและเป้าหมายระหว่างประเทศ ปฏิบัติการที่ทำให้สื่อและความเห็นสาธารณะเข้าใจผิดคือการปล่อย “ความเท็จ” เพื่อสร้าง “ความจริงใหม่” ทำให้อีกฝ่ายถูกหลอกด้วยข่าวปลอมที่คิดว่าเป็นความจริงจนกระทั่งกลายเป็นหมูในอวยของฝ่ายศัตรู หลังสิ้นสุดสงครามเย็นแล้ว “มาสกิรอฟสกา” หายเข้ากลีบเมฆไปเพราะรัสเซียอ่อนแอลงและโลกไม่ได้เป็นสนามชิงอำนาจของประเทศใหญ่ๆ อีก จนกระทั่งถึงช่วงปลายทศวรรษที่ 2010 “มาสกิรอฟสกา” ก็เริ่มคืบคลานกลับเข้ามาอีก และมันหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ รัสเซียกลับมาแข็งแกร่งมากขึ้ภายใต้การบริหารของวลาดิมีร์ ปูติน ขณะเดียวกันชาติตะวันตกก็พยายามบีบรัสเซียด้วยการรุกคืบเข้าในเขตอิทธิพลเดิมของรัสเซียคือยุโรปตะวันออกและอดีตประเทศในเครือสหภาพโซเวียต เหตุการณ์ที่นำไปสู่การแตกหักคือความวุ่นวายในยูเครน กรณีนี้ทำให้ “กลยุทธ์ไอโอสับขาหลอก” กลับมาผงาดอีกครั้ง มาเรีย สเนโกวายา ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ทำการวิเคราะห์การทำสงครามข้อมูลข่าวสารของปูตินในกรณียูเครนเอาไว้โดยบอกว่ารัสเซียใช้รูปแบบสงครามลูกผสมขั้นสูง (Hybrid warfare) ในยูเครนตั้งแต่ต้นปี 2014 โดยใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “การควบคุมแบบสะท้อนกลับ” “การควบคุมแบบสะท้อนกลับ” (Reflexive Control) คือวิธีการถ่ายทอดข้อมูลไปยังคู่ต่อสู้ โดยใช้ชุดข้อมูลเตรียมไว้เป็นพิเศษเพื่อโน้มน้าวให้เขาตัดสินใจล่วงหน้าโดยสมัครใจตามที่ผู้ริเริ่มปฏิบัติการกระทำต้องการให้เป็นอย่างนั้น สรุปสั้นๆ…

คาร์บอมบ์โจมตีภาคกลางอัฟกานิสถาน เจ้าหน้าที่ดับ 30

Loading

รอยเตอร์ – เกิดเหตุคาร์บอมบ์โจมตีจังหวัดกาซนี( Ghazni) ภาคกลางของอัฟกานิสถาน มีผู้เสียชีวิตเป็นเจ้าหน้าที่ 30 นาย และผู้ได้รับบาดเจ็บ 24 ราย ยังไม่มีผู้ใดออกมาประกาศแสดงความรับผิดชอบ รอยเตอร์รายงานวันนี้(29 พ.ย)ว่า นายแพทย์ บาซ โมฮัมหมัด เฮหมัด ( Baz Mohammad Hemat) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลประจำจังหวัดกาซนี(Ghazni) ภาคกลางของอัฟกานิสถาน กล่าวให้ข้อมูลว่า มีร่างผู้เสียชีวิต 30 คน และผู้ได้รับบาดเจ็บ 24 คน ได้ถูกส่งตัวเข้ามาที่นี่ และชี้ว่า “เหยื่อทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่ความมั่นคง” ทั้งนี้พบว่าการระเบิดมีเป้าหมายที่ตั้งของกองกำลังปกป้องสาธารณะซึ่งเป็นปีกของกองกำลังความมั่นคงอัฟกัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเปิดเผย การโจมตีสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนพลเรือนโดยรอบที่ตั้งกองกำลังปกป้องสาธารณะ พวกเขายังชี้ว่า อาจจะมีตัวเลขสูญเสียที่นั่นเพิ่มมากขึ้น ขณะที่โฆษกกระทรวงมหาดไทยอัฟกานิสถานได้ออกมายืนยันเหตุโจมตีด้วยคาร์บอมบ์ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดออกมา อย่างไรก็ตามในเวลานี้ยังไม่มีกลุ่มใดออกมาประกาศแสดงความรับผิดชอบ รอยเตอร์รายงานว่า ซาบิฮุลลาห์ มูจาฮิด( Zabihullah Mujahid) โฆษกกลุ่มตอลิบานไม่ได้กล่าวยอมรับหรือปฎิเสธในความรับผิดชอบเมื่อถูกถามทางโทรศัพท์ นอกจากนี้ในวันอาทิตย์(29)ยังเกิดเหตุระเบิดอีกที่ในจังหวัดซาบูล( Zabul)ทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน โดยมีเป้าหมายไปที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงประจำจังหวัด แต่ทว่าการโจมตีทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 1 คน และบาดเจ็บอีก…

ออสเตรเลียปะทะจีน กรณีโพสต์ปลอมประเด็นอาชญากรรมสงคราม

Loading

Scott Morrison headshot, as Australia Prime Minister, graphic element on gray ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและจีนตึงเครียดขึ้น หลังรัฐบาลกรุงปักกิ่งทวีตข้อความพร้อมภาพที่กล่าวหาว่าอีกฝ่ายก่ออาชญากรรมสงครามในอัฟกานิสถาน นายกรัฐมนตรี สก็อตต์ มอร์ริสัน แห่งออสเตรเลีย เรียกร้องให้รัฐบาลจีนลบทวีตและภาพที่ถูกตัดต่อให้ดูเหมือนว่า นายทหารออสเตรเลียรายหนึ่งทำการฆาตกรรมเด็กคนหนึ่งในอัฟกานิสถาน หลังจากที่มีรายงานออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า กองกำลังพิเศษของออสเตรเลียได้ทำการสังหารผู้คนไปอย่างน้อย 39 รายในประเทศตะวันออกกลางนี้อย่างผิดกฎหมาย รายงานข่าวระบุว่า จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนเป็นผู้โพสต์ภาพดังกล่าวพร้อมข้อความที่ระบุว่า “ไม่ต้องกลัว เรามาเพื่อมอบสันติให้ท่าน” สื่อออสเตรเลียรายงานว่า ข้อความและภาพที่ทวีตออกมานี้เป็นการอ้างอิงมาจากข่าวลือที่ไม่มูลและกล่าวหาว่า กองกำลังทหารของออสเตรเลียใช้มีดสังหารวัยรุ่นชาวอัฟกัน 2 ราย ขณะที่ การสอบสวนกรณีนี้ไม่พบหลักฐานว่าเกิดเหตุเช่นนั้นเลย อย่างไรก็ดี การสอบสวนชี้ว่า มี “หลักฐานที่เชื่อถือได้” ว่า กองกำลังออสเตรเลียทำการสังหารผู้คนอย่างผิดกฎหมายจริงในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2005 และ 2016 Chinese Foreign Ministry spokesman Zhao Lijian attends a news…

แตกตื่นทั้งเมือง หนุ่มเยอรมันขับรถพุ่งชนประตูสำนักนายกรัฐมนตรี

Loading

เกิดเหตุรถยนต์คันหนึ่งขับพุ่งชนประตูของสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้าที่ผู้นำเยอรมนีจะร่วมประชุมพิจารณาการขยายล็อกดาวน์ โดยเบื้องต้นมีรายงานความเสียหายเพียงเล็กน้อย ขณะที่ผู้ก่อเหตุถูกตำรวจนำตัวไปสอบสวน รถยนต์คันที่ก่อเหตุ มีการเขียนตัวหนังสือไว้ข้างรถทั้งสองด้านด้วยลายมือระบุว่า หยุดการเมืองแบบโลกาภิวัตน์ และคุณคือฆาตกรสังหารเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งภายหลังจากที่รถได้พุ่งชนประตูของสำนักนายกรัฐมนตรีในกรุงเบอร์ลิน ทั้งตำรวจและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้เร่งเข้ามาตรวจสอบและควบคุมตัวคนขับรถ ซึ่งเป็นชายวัยกลางคนไปสอบสวน โดยมีการนำตัวของเขาขึ้นรถวีลแชร์และขึ้นรถตำรวจไป ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่นำสุนัขดมกลิ่นมาตรวจสอบรถคันดังกล่าว และได้นำรถของผู้ก่อเหตุไปไว้ที่สถานีตำรวจ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยถึงชื่อผู้ก่อเหตุรวมทั้งแรงจูงใจในการก่อเหตุครั้งนี้ ทั้งนี้ จากการสำรวจเบื้องต้นไม่พบว่ามีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ส่วนประตูสำนักงานและตัวรถได้รับความเสียหายมีรอยบุบเพียงเล็กน้อย และไม่มีการยืนยันว่าขณะเกิดเหตุนางแองเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนีอยู่ในสำนักงานหรือไม่ เดิมที นางแมร์เคิล มีกำหนดการที่จะร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ร่วมกับผู้ว่าการรัฐ 16 รัฐ ที่สำนักนายกรัฐมนตรีในวันนี้ เพื่อหารือถึงการขยายเวลามาตรการล็อกดาวน์ และยกระดับการรับมือกับการระบาดของโควิด-19 แต่มาเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นก่อน โดยก่อนหน้านี้มีประชาชนบางส่วนในกรุงเบอร์ลินได้รวมตัวประท้วงมาตรการล็อกดาวน์ในเยอรมนี ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรอบไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตในเยอรมนีจะต่ำกว่าประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปก็ตาม ——————————————————- ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ / 25 พฤศจิกายน 2563 Link : https://www.thairath.co.th/news/foreign/1983500

‘หมู่เกาะโซโลมอน’ เตรียมแบนเฟสบุ๊กเพื่อปกป้อง ‘ความสามัคคีภายในชาติ’

Loading

In this Nov. 24, 2018, photo, ships are docked offshore in Honiara, the capital of the Solomon Islands. รัฐบาลประเทศหมู่เกาะโซโลมอน ประกาศสนับสนุนแผนห้ามใช้สื่อสังคมออนไลน์ เฟสบุ๊ก (Facebook) เพื่อปกป้อง “ความเป็นเอกภาพแห่งชาติ” ท่ามกลางเสียงตอบโต้ว่ามาตรการนี้มีขึ้นเพื่อกลบเสียงวิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลมากกว่า เฟสบุ๊ก เป็นหนึ่งในช่องทางการสื่อสารยอดนิยมของประชาชนชาวหมู่เกาะโซโลมอน ซึ่งมีภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยเกาะเล็กเกาะน้อยมากมายกระจายเป็นระยะทางมากกว่า 1,400 กม. ปัจจุบัน ประเทศหมู่เกาะแห่งนี้มีประชากรราว 685,000 คน และมีอยู่ราว 20% ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แต่รัฐบาลของหมู่เกาะโซโลมอนระบุว่า ที่ผ่านมาเฟสบุ๊กถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทางที่ผิด พร้อมเสนอแผนบล็อกเฟสบุ๊กและสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ จากความกังวลเรื่องการหมิ่นประมาทและการรังแกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ รวมทั้งต้องการจัดระเบียบพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเสียใหม่เพื่อปกป้องชุมชนจากถ้อยคำที่รุนแรงและละเมิดผู้อื่น รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารของหมู่เกาะโซโลมอน ปีเตอร์ ชาเนล อโกวากา กล่าวว่า สิ่งที่ควรมาพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพของสื่อ คือความรับผิดชอบต่อสังคม เช่นเดียวกับสื่อสังคมออนไลน์ที่ควรใช้อย่างมีสติและฉลาดเท่าทัน ไม่ใช่ใช้เพื่อทำร้ายผู้อื่นเหมือนที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ผู้ต่อต้านบอกว่าคำสั่งห้ามใช้เฟสบุ๊กถือว่าขัดกับรัฐธรรมนูญของประเทศว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น…

เปิดเเผนรัสเซียขยายอิทธิพลเพื่อ ‘แทรกซึมการเมืองสหรัฐฯ’ ต่อเนื่อง

Loading

Putin’s language สี่ปีหลังจากการเตือนภัยและเตรียมการต่อต้านการเเเทรกแซงของรัสเซียต่อการเลือกตั้งอเมริกัน หน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯ มั่นใจว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเมื่อปี ค.ศ. 2016 ที่รัสเซียสามารถเจาะล้วงระบบข้อมูลและขยายอิทธิพลต่อกระบวนการประชาธิปไตยอเมริกา อย่างไรก็ตาม ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่ารัสเซียยังคงพยายามขยายปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสารในรูปแบบที่แยบยลกว่าในอดีต จากเดิมที่รัสเซียใช้บัญชีโซเชี่ยลมีเดียปลอมสร้างเนื้อหาและเผยเเพร่ข้อมูล ปัจจุบันกลวิธีใหม่ๆ ถูกนำมาใช้เพื่อชี้นำความคิดในสังคมอเมริกัน เช่น การแทรกซึมเข้าไปในวงการข่าวและสื่อสังคมออนไลน์ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มขวาจัดและซ้ายจัดในอเมริกา เอวานา ฮู ซีอีโอ ขององค์กร Omelas ที่ศึกษาเกี่ยวกับความคิดสุดโต่งออนไลน์ ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า วิธีการลักษณะนี้ของรัสเซียสามารถสร้างความสนใจและมีปฏิกิริยาตอบโต้บนสื่อออนไลน์โดยผู้ใช้สื่อจำนวนนับล้านคน เธอบอกว่าโพสต์เหล่านี้ถูกออกแบบมาอย่างดี เพื่อกระตุ้นความรู้สึก ทั้งทางบวกและทางลบต่อเป้าหมาย องค์กรของเธอซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน วิเคราะห์เนื้อหาที่รัสเซียปล่อยออกมาบนสื่อสังคมไลน์ 1 ล้าน 2 แสนโพสต์บน 11 แพลตฟอร์มช่วง 90 วัน ก่อนและหลังวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 3 พฤศจิกายน US-politics-vote-RALLY องค์กร Omelas พบว่าสื่อของรัสเซียที่ปล่อยข้อมูลออกมามากในอันดับต้นๆได้เเก่ RT, Sputnik, TASS และ Izvestia TV Omelas…