ย้ำเตือน! ประชาชน ครอบครอง ‘ไซยาไนด์’ โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษทั้งจำทั้งปรับ

Loading

น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกลางกรุงและมีการตรวจพบสารไซยาไนด์บริเวณที่เกิดเหตุว่า จริง ๆ แล้ว สารไซยาไนด์ หาได้ง่ายและสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน

คลังสหรัฐ คว่ำบาตร 3 ชาวจีน-3 บริษัทในไทย แฉขบวนการภัยไซเบอร์ ผุดซื้อคอนโดหรูในไทย

Loading

กระทรวงการคลังสหรัฐ คว่ำบาตร 3 ชาวจีน – 3 บริษัทในไทย ก่ออาชญากรรมไซเบอร์ โดยใช้บ็อตเน็ต 911 S5 ทำเสียหายหลายพันล้านดอลลาร์ เปิดขบวนการฟอกเงิน ผุดซื้อคอนโดหรูริมหาดในไทย

พบปมซ้อมทรมาน สั่งเก็บข้อมูลบันทึกภาพ-เสียงจนคดีถึงที่สุด!

Loading

คลอดระเบียบ “บันทึกภาพ-เสียง” ระหว่างการจับกุม-ควบคุมตัว ตาม พ.ร.บ.อุ้มหาย-ทรมานฯ กำชับทุกหน่วยถือปฏิบัติตามมาตรฐานเดียวกัน เปิดแบบบันทึกข้อมูล ปท.1 สุดละเอียด สั่งเก็บข้อมูล 2 ปีกรณีผู้ถูกควบคุมตัวได้รับอันตราย แต่หากมีร้องเรียนซ้อมทรมาน ต้องเก็บรักษาหลักฐานจนคดีถึงที่สุดหรือขาดอายุความ แต่ยังเปิดช่อง “เหตุสุดวิสัย”

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ ก.ยุติธรรม กำหนดอาณาเขต ‘เรือนจำ อำเภอเบตง’

Loading

    เว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กระทรวงยุติธรรม กำหนดอาณาเขต “เรือนจำ อำเภอเบตง”   เว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง กำหนดอาณาเขตเรือนจำ อำเภอเบตง ตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 54/2559 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 ได้กำหนดอาณาเขต เรือนจำอำเภอเบตง ขึ้นที่ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เนื้อที่ 1 ไร่ 99.5 ตารางวา เพื่อควบคุม อบรม และฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง นั้น   เนื่องจากได้มีการปรับปรุงขยายพื้นที่ภายในสถานกักขังอำเภอเบตง เป็นผลให้อาณาเขตเรือนจำ อำเภอเบตงเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อให้เรือนจำอำเภอเบตง มีอาณาเขตถูกต้องตามความเป็นจริง และเกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานเรือนจำ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 ยุบเลิกการกำหนดอาณาเขตเรือนจำ อำเภอเบตง ซึ่งตั้งขึ้นตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่…

มกราคม 2566 กระทรวงยุติธรรมเตรียมทดลองระบบบล็อคเชนแจ้งเบาะแสยาเสพติดแบบลับ

Loading

  นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ภายในเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2566 จะมีการทดลองใช้ระบบแจ้งเบาะแสยาเสพติดแบบไม่เปิดเผยตัวตน หรือ ระบบบล็อคเชน   ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และการศึกษารูปแบบการจ่ายเงินรางวัลนำจับที่ร้อยละ 5 ที่ขณะนี้มี 2 แนวทาง คือ 1. การจ่ายผ่านระบบ Blockchain และ Smart Contracts 2. การจ่ายผ่านระบบ Virtual Account และ ATM   แต่ในแนวทางแรก มีความเป็นไปได้มากกว่า เพราะด้วยขั้นตอนที่ซับซ้อน จะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ใครเป็นผู้แจ้งเบาะแส ซึ่งจะถูกจัดเก็บข้อมูลเป็นความลับ   นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส.จะมีการสำรวจความต้องการของผู้แจ้งเบาะแสผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง หรือดำเนินการได้ง่าย รวมถึงได้มีการหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อให้การจ่ายเงินรางวัลนำจับเป็นสกุลเงินดิจิตอล ถูกต้องตามระเบียบ       ————————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : …