Metaverse มาแล้วต้องระวังตรงไหน!? Kaspersky แนะ 5 จุดปกป้องข้อมูลตัวตนดิจิทัล

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) มองทุกคนต้องเตรียมพร้อมปกป้องข้อมูลตัวตนดิจิทัลท่ามกลางกระแสความสนใจในเมตาเวิร์ส (Metaverse) ย้ำ 5 มุมมองต้องรู้เพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคำนึงถึงความปลอดภัยของอวาตาร์ดิจิทัล และภัยคุกคามที่อาจเกี่ยวข้องกับ Metaverse 1 ใน 5 มุมมองที่แคสเปอร์สกี้เน้นย้ำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคำนึงถึงความปลอดภัยและภัยคุกคามที่อาจเกี่ยวข้องกับ Metaverse คือการโจรกรรมข้อมูลตัวตนและการยึดบัญชีโดยแอนะล็อกเข้ากับโซเชียลเน็ตเวิร์กและเกมที่มีผู้เล่นหลายคน แคสเปอร์สกี้มองว่าอาจทำให้เกิดการสูญเสียข้อมูลส่วนบุคคล (เช่น ข้อมูลการติดต่อ หรือ meta-analogue) ซึ่งอาจนำไปสู่การแบล็กเมล์ “นอกจากนี้ ยังมีการขโมยสกุลเงินเสมือน เงินตราจริง หรือเงินคริปโตจากบัตรและวอลเล็ตที่เชื่อมโยงกับบัญชีหรือสิ่งของเสมือนจริงราคาแพง เช่น สกินหรือเครื่องแต่งกาย รวมถึงการใช้อวาตาร์เพื่อฉ้อโกง เช่น การขอยืมเงินจากเพื่อนและครอบครัว” แถลงการณ์ระบุ คำว่า metaverse นั้นเป็นคำที่คิดขึ้นมาโดย นีล สตีเวนสัน (Neal Stevenson) ในนวนิยายเรื่อง Snow Crash จากปี 1992 ซึ่งกล่าวถึง metaverse ว่าเป็นการพัฒนาอินเทอร์เน็ตขั้นตอนต่อไป เป็นโลกดิจิทัลที่รวมโลกกายภาพเข้ากับ augmented reality และ virtual reality แคสเปอร์สกี้มองว่าหลังจาก Facebook…

“ขวานดำ” ลัทธิแห่งความรุนแรงในไนจีเรียที่กลายเป็นแก๊งมาเฟียระดับโลก

Loading

  บีบีซีใช้เวลา 2 ปีสืบสวนเรื่อง “Black Axe” หรือ “ขวานดำ” – กลุ่มนักศึกษาไนจีเรียที่พัฒนากลายมาเป็นแก๊งมาเฟียที่น่าหวาดหวั่น เราพบหลักฐานใหม่ที่ชี้ว่าพวกเขาเข้าไปแทรกแซงการเมือง หาเงินด้วยการหลอกลวงคน รวมถึงลงมือในปฏิบัติการสังหารไปทั่วโลก คำเตือน : มีเนื้อหารุนแรงที่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายใจ เวลาอยู่เงียบ ๆ หลังสอนหนังสือเสร็จ ดร.จอห์น สโตน มักมีภาพจากอดีตแวบเข้ามาในหัว มันไม่ใช่เลือดหรือเสียงปืนที่หลอกหลอนเขาแต่เป็นการร้องขอ เป็นตอนที่ผู้คนร้องขอความเมตตาตอนกำลังจะตาย ขอร้องเขา ขอร้องพระเจ้า “มันเจ็บปวดมาก” เขาเล่าพร้อมส่ายหัวและมีอาการขนลุกซู่ “ครอบครัวของผู้ตาย พวกเขาจะสาปแช่งคุณ ชีวิตคุณจะถูกสาปแช่ง” ดร.สโตน สอนวิชารัฐศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยเบนินซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไนจีเรีย แต่ในช่วงหลายทศวรรษก่อนหน้านี้ เขาเป็นสมาชิกอาวุโสของแก๊งขวานดำ แก๊งมาเฟียที่พัวพันกับการค้ามนุษย์ การต้มตุ๋นคนผ่านอินเทอร์เน็ต และการฆาตกรรม ในท้องถิ่น ขวานดำถูกพูดถึงในฐานะ “ลัทธิ” ซึ่งบ่งบอกถึงการมีพิธีกรรมลับ ๆ เวลารับสมาชิกใหม่เข้าแก๊งรวมถึงความจงรักภักดีอย่างสูงของสมาชิก พวกเขาเป็นที่โจษจันเรื่องการใช้ความรุนแรงอย่างโหดเหี้ยม มีการเผยแพร่ภาพคนที่ไปเป็นศัตรูกับพวกเขาในสภาพร่างถูกตัดแขนขาหรือทรมาน เผยแพร่บนโซเชียลมีเดียในไนจีเรียเป็นประจำ ดร.สโตน ยอมรับว่าเขาเองก็มีส่วนร่วมในความโหดร้ายที่ว่านี้ด้วยระหว่างเป็น “Axeman” หรือ สมาชิกแก๊งขวานดำ ระหว่างให้สัมภาษณ์ เขาเล่าย้อนถึงวิธีการสังหารที่มีประสิทธิภาพที่สุดโดยโน้มตัวมาข้างหน้า ทำมือเป็นรูปปืน…

คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทักษะที่จำเป็น บนโลกออนไลน์

Loading

  การรับมือข้อมูลหลอกลวงและข่าวปลอม ที่แชร์อยู่ในโลกออนไลน์นั้น เราต้องวิเคราะห์และตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนทุกครั้งที่จะแชร์ข่าวเท็จ หรือนำเสนอต่อบุคคลอื่น ในปัจจุบัน ในแต่ละนาทีมีข่าวสารที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต่างกับอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนอย่างสิ้นเชิง เราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทางและรวดเร็วมากกว่าในอดีต เช่น จากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นมาจากหลายแหล่งที่มา ทั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่น่าเชื่อถือ ผู้รับข่าวสารจำนวนมากอาจไม่สามารถวิเคราะห์และการกลั่นกรองข่าวสารที่ได้รับว่าจริงหรือปลอม จึงหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมทั้งอาจมีส่วนร่วมในการสร้างความเสียหายให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยแชร์ข่าวเท็จหรือแบ่งปันข้อมูลเท็จที่ได้รับ การแชร์ข้อมูลเท็จที่ได้รับมานั้น สร้างความเสียหายและผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมเกิดขึ้นต่อตัวบุคคลผู้แชร์ข้อมูล หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง ทำให้ความน่าเชื่อถือของตนเองลดลง รวมทั้งเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย ส่งผลให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีและเสียค่าปรับต่างๆ หรือกระจายข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้ผู้อื่นหลงกรอกข้อมูลหรือเป็นเหยื่อจากลิงก์หรือข่าวที่เราแชร์   ดังนั้น เราต้องมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลว่า ข่าวปลอมนั้นมีลักษณะและมีช่องทางที่มาอย่างไร โดยทั่วไป ลักษณะและการหลอกลวงที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ มีดังนี้ 1.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเพิ่มองค์ประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อ ประเด็นความน่าสนใจโดยส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเชิงลบ เพื่อสร้างกระแสและเป็นประเด็นในวงกว้าง และสร้างความอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไป เช่น “คิดอย่างไรกับสถานการณ์นี้” หรือ “พบสมุนไพรไทยช่วยต้านโควิด-19” 2.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นจะชักนำไปในเรื่องของความเชื่อเพื่อเล่นกับความรู้สึกของบุคคล เพราะโดยทั่วไปพฤติกรรมของคนมักแบ่งการรับรู้ออกเป็นสองด้าน เช่น ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 3.เป็นข่าวที่มีผลกระทบกับความเชื่อมั่น แบ่งแยกมุมมองและสื่อสารไปกับเฉพาะกลุ่ม โดยเป็นข่าวสารหรือข้อมูลตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลเก่าที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนำมาสร้างกระแสใหม่ เพื่อสร้างผลกระทบต่อคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ อีกครั้ง…

ลาว ประเทศที่ถูกทิ้งระเบิดถล่มมากที่สุดในโลก

Loading

  ในช่วงสงครามเวียดนามลาวเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ถูกสหรัฐทิ้งระเบิดถล่มอย่างหนัก จนทำให้ประเทศนี้มีอัตราระเบิดต่อหัวประชากรมากที่สุดในโลก 1. จนถึงทุกวันนี้ยังมีชาวลาวต้องเสียชีวิตจากระเบิดที่สหรัฐอเมริกาทิ้งเอาไว้ ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่กวาดล้างระเบิด UXO ของลาวเสียต้องสละชีวิตไป 3 คน และบาดเจ็บ 2 คนจากเหตุระเบิดในหมู่บ้านกิโลเมตร 38 เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก จากการรายงานของ Laotian Times สื่อภาษาอังกฤษในลาว 2. UXO (Unexploded ordnance) หรือระเบิดที่ยังไม่ได้ถูกจุดชนวน ถูกทิ้งไว้โดยสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 (หรือสงครามเวียดนาม) ทำให้ “ลาวถือเป็นประเทศที่ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักที่สุดในโลกในอัตราต่อหัวประชากร” จากข้อมูลของเว็บไซต์ Legacies of War องค์กรที่สร้างความตระหนักเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การทิ้งระเบิดในยุคสงครามเวียดนามในประเทศลาว และสนับสนุนการกวาดล้างระเบิดที่ยังไม่ระเบิด 3. ย้อนกลับไปในช่วงสงครามเวียดนาม ขณะที่สหรัฐกำลังรบในเวียดนามอยู่นั้น ในลาวก็เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นมาด้วยระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์หรือ “ขบวนการปะเทดลาว” ที่เอียงไปทางเวียดนามและฝ่ายรัฐบาลราชอาณาจักรลาวที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ทำให้ลาวถูกดึงเข้าสู่ความขัดแย้งครั้งใหญ่ กลายเป็นสงครามที่เรียกว่า “สงครามลับ” ในลาว 4. จากข้อมูลของ Legacies of…

เปิดวิธีสกัด ภัยไซเบอร์ ให้อยู่หมัด!! รับเทศกาลวันหยุด

Loading

เปิดกลโกง ภัยไซเบอร์ เทศกาลวันหยุด ชี้การกระทำที่ไม่ระมัดระวังอาจทำให้นักท่องเที่ยวพบกับภัยคุกคามออนไลน์ ติดมัลแวร์ ตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงหรือภัยคุกคามทางไซเบอร์อื่นๆ เช่น กลโกงและฟิชชิ่งการจองห้องพัก แบงก์กิ้งโทรจัน ไวไฟสาธารณะ คิวอาร์โค้ดอันตราย !!! ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่คึกคักที่สุดของปี นักเดินทางจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปพักผ่อนตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ตลอดจนการมาเยือนของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนภายใต้เงื่อนไขที่ผ่อนผันมากขึ้น นักท่องเที่ยวต่างตั้งหน้าตั้งตารอวางแผนการเดินทางและใช้เวลาพักผ่อนในวันหยุด มองหาโรงแรมที่พักและร้านอาหารที่ดีที่สุด หลายคนรีบจ่ายค่าจองเพราะข้อเสนอกำลังจะหมดอายุ อีกทั้งใช้ Wi-Fi สาธารณะขณะเดินทางเพื่อติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว ส่งอีเมล และสแกนจ่ายค่าอาหาร อย่างไรก็ตาม ในแง่มุม การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ การกระทำที่ไม่ระมัดระวังอาจทำให้นักท่องเที่ยวพบกับภัยคุกคามออนไลน์ ติดมัลแวร์ ตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงหรือภัยคุกคามทางไซเบอร์อื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องแย่อยู่แล้ว แต่หากพบเหตุการณ์ขณะเดินทาง สถานการณ์ดูจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้น นางสาวเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เราอยากเห็นคนไทยได้สนุกสนานผ่อนคลายกับการท่องเที่ยวในวันหยุด และยังสามารถเพลิดเพลินกับประสบการณ์อินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและปลอดภัยไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของคุณและสมาชิกในครอบครัว โปรดระแวดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำในการท่องเที่ยวและมีสุขอนามัยทางไซเบอร์อยู่เสมอ” ต่อไปนี้คือภัยคุกคามออนไลน์ต่างๆ และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ กลโกงและฟิชชิ่งการจองห้องพัก การปลอมเว็บไซต์ตัวแทนท่องเที่ยว การทำโคลนเลียนแบบเว็บไซต์โรงแรมยอดนิยม หรือแม้แต่เว็บไซต์โครงการของรัฐนั้นไม่ยากเลย เว็บเหล่านี้จะมีหน้าตาเหมือนบริการออนไลน์อื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือเป็นการจ่ายเงินให้นักต้มตุ๋นแทนที่จะเป็นโรงแรมหรือสายการบิน คุณจะได้รับอีเมลหรือข้อความยืนยันการจ่ายเงิน แต่ไม่สามารถเข้าพักหรือใช้ตั๋วได้จริง คำแนะนำ…

Digital ID ไทยพร้อมแค่ไหน? เมื่อชีวิตในโลกยุคใหม่ต้องง่ายขึ้น

Loading

  รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องของ Digital Identity หรือ Digital ID นับว่าได้รับความสนใจจากสังคมพอสมควร ถึงทิศทางที่ไทยจะก้าวไปสู่การยืนยันตัวตนด้วยระบบดิจิทัลต่างๆ การประกาศยกเลิกรับสำเนาบัตรประชาชน เป็นอีกหนึ่งการเริ่มต้นที่ Digital ID จะก้าวเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องของ Digital ID นับว่าได้รับความสนใจจากสังคมพอสมควร ถึงทิศทางที่ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การยืนยันตัวตัวด้วยระบบดิจิทัลต่างๆ การประกาศยกเลิกจอสำเนาบัตรประชาชน ก็เป็นอีกหนึ่งการเริ่มต้นที่ Digital ID จะก้าวเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อน Digital ID ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ‘ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอีเอส กล่าวว่า ปัจจุบัน โลกกำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่างผันตัวเองเข้าสู่ระบบและบริการดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด หลาย ๆ หน่วยงานแชร์ทรัพยากร ข้อมูล รวมถึงเอกสารผ่านทางคลาวด์กันอย่างแพร่หลาย สอดคล้องกับผลสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติของประชาชนโดย ETDA ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการช่องทาง…