จออิเล็กทรอนิกส์ในไต้หวันถูกแฮ็กให้แสดงข้อความต่อต้านสหรัฐอเมริกา

Loading

  ไต้หวันเชื่อว่าแฮกเกอร์ชาวจีนอยู่เบื้องหลังการแฮ็กจออิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟ และร้าน 7-11 หลายแห่งในไต้หวัน ให้ฉายข้อความด่าทอ แนนซี เพโลซี (Nancy Pelosi) ประธานรัฐสภาสหรัฐอเมริกาที่เดินทางเยือนไต้หวันเมื่อคืนวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา จออิเล็กทรอนิกส์ในสถานีรถไฟแห่งหนึ่งถูกเปลี่ยนเป็นข้อความว่า “การมาเยือนไต้หวันของแม่มดเฒ่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่ออธิปไตยของแผ่นดินแม่ ผู้ที่ต้อนรับการเยือนของมันจะได้รับการพิพากษาจากประชาชน สายสัมพันธ์ทางโลหิตของชนชาติเดียวกันไม่มีทางที่จะแยกจากกันได้ จีนอันยิ่งใหญ่จะต้องกลับมารวมกันในที่สุด!” ข้อความทั้งหมดนี้เขียนใช้อักษรจีนตัวย่อที่ใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ พร้อมทั้งมีธงของสาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่ที่พื้นหลัง ส่วนข้อความว่า ‘แม่มดเฒ่า’ นั้นก็หมายถึงตัวเพโลซี ทั้งนี้ สถานีรถไฟซินซัวหยิง (Xin Zuoying) ออกมายอมรับว่า จอดังกล่าวถูกแฮ็กจริง และได้ขอให้ผู้ผลิตจอเข้าซ่อมแล้ว หากมีเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต จะมีการตัดไฟของจอภาพทันที ในขณะที่ป้ายที่ร้าน 7-11 มีข้อความว่า ‘จอมกระหายสงครามเพโลซีออกไปจากไต้หวันซะ!’ ป้ายที่ถูกแฮกมีทั้งที่อยู่ในเมืองซินจู๋ และเกาสง โดยผู้จัดการสาขา 7-11 ที่ประสบปัญหาระบุว่าได้ปิดจอที่พบปัญหาและรอการซ่อมแล้ว Uni-President Enterprise Corp. ซึ่งเป็นเจ้าของร้าน 7-11 ในไต้หวันระบุว่าจอเหล่านี้ถูกโจมตีจากแหล่งที่ไม่ทราบที่มา ที่มา Taiwan News     ที่มา : beartai …

“สกมช.- หัวเว่ย” ลงนาม MOU หวังแก้ปมข้อมูลรั่วไหลและการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  รมว.ดีอีเอส ร่วมเป็นสักขีพยาน “สกมช.- หัวเว่ย” ลงนาม MOU ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ของประเทศ หวังผลักดันไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างปลอดภัย ลดเรื่องข้อมูลรั่วไหล   วันที่ 2 ส.ค. 65 ที่โรงแรมสยามเคมปินสกี้ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ร่วมเป็นสักขีพยาน   นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ประเด็นเรื่องข้อมูลรั่วไหลและการโจมตีทางไซเบอร์มีจำนวนครั้งที่เกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านองค์ความรู้และทักษะทางดิจิทัลเริ่มส่งผลกระทบกับองค์กรต่างๆ อย่างรุนแรงยิ่งกว่าเดิม นั่นเป็นสาเหตุที่กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ร่วมจับมือกับผู้นำด้านนวัตกรรมด้านดิจิทัลอย่างหัวเว่ยในการรับมือกับปัญหานี้ เพื่อช่วยผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลแห่งอนาคตที่มีความปลอดภัย   ด้านพล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ลธ.กมช.) ได้กล่าวถึงการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความร่วมมือในหมู่องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะ และหน่วยงานรัฐต่างๆ เพื่อให้สามารถสร้างไซเบอร์สเปซที่มีความน่าเชื่อถือในระดับโลกให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้ ทาง สกมช. เชื่อว่าการลงนามในครั้งนี้…

มาเพิ่มอีก สาวก Android เช็คด่วน พบแอปฯ ปลอมอีกนับสิบ

Loading

เช็คด่วน !! แอป Android ปลอมล่าสุด เนียนเป็นแอปแต่งภาพ แอปเคลียร์เคลียร์แรม และแอปบันเทิงอื่น ๆ เผย แอปเหล่านี้มีพบมัลแวร์ (Malware) แฝงตัวเพียบ แถมผู้ใช้หลักล้าน !!   เมื่อเร็ว ๆ นี้เอง Dr. Web นักวิจัยด้านความปลอดภัยเผยพบแอป Android นับสิบ ที่มีทั้ง Trojans , ADware , Spyware และ Malware แอบเนียนในคราบแอปแต่งภาพ แอปเคลียร์เคลียร์แรม และแอปบันเทิงอื่น ๆ ที่มีผู้ใช้มากมายตามนี้  – Photo Editor: Retouch & Cutout (de.nineergysh.quickarttwo) –  Photo Editor: Art Filters (gb.painnt.moonlightingnine) –  Photo Editor & Background…

หนุ่มชาวออสเตรเลียถูกจับข้อหาพัฒนาและขายไวรัสมาตั้งแต่อายุ 15 ปี

Loading

เจค็อบ เวย์น จอห์น คีน (Jacob Wayne John Keen) ชายชาวออสเตรเลียในวัย 24 ปี ถูกจับในข้อหาพัฒนาและขายไวรัส Trojan ที่ชื่อ Imminent Monitor ให้กับบรรดาอาชญากรไซเบอร์ในมากกว่า 128 ประเทศ มาตั้งแต่อายุ 15 ปี Imminent Monitor มีความสามารถในการควบคุมอุปกรณ์ของเหยื่อจากระยะไกลเพื่อสอดแนมเหยื่อทางกล้องและไมโครโฟนที่ติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์ของเหยื่อ จารกรรมข้อมูลส่วนบุคคล เปิดไฟล์เอกสาร และติดตามตัวเหยื่อ ไวรัสที่คีนพัฒนาขึ้นนี้ ถูกนำไปใช้ในการสอดแนมเหยื่อเรือนหมื่นรายทั่วโลก ผู้ซื้อมากกว่า 200 รายอยู่ในออสเตรเลีย ในจำนวนนี้ เป็นผู้มีประวัติในการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว หลักฐานยังชี้ให้เห็นด้วยว่าเงินที่ได้จากการใช้ Imminent Monitor ส่วนใหญ่ถูกนำไปซื้ออาหารแบบกลับบ้าน คีนทำเงินได้มากถึง 300,000 เหรียญ (ราว 10.8 ล้านบาท) โดยจากข้อกล่าวหาของเจ้าหน้าที่ คีนเริ่มขาย Imminent Monitor มาตั้งแต่อายุ 15 ให้แก่ผู้ใช้รายละ 35 เหรียญ (ราว…

เตือน!! แม่ค้าออนไลน์ระวังสลิปปลอม แนะวิธีเช็ก-ช่องทางแจ้งความออนไลน์

Loading

“ดีอีเอส” เตือนภัย พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ระวังโดนหลอก ใช้สลิปบัญชีธนาคารปลอมแจ้งว่าชำระเงินแล้ว แนะวีธีตรวจสอบ หากตกเป็นเหยื่อโดนหลอกและช่องทางแจ้งความออนไลน์ น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวการแจ้งเตือนพ่อค้าแม่ค้าระวังภัยออนไลน์จากลูกค้าใช้สลิปบัญชีธนาคารปลอมแจ้งว่าชำระเงินแล้ว หลอกให้ส่งของโดยไม่ได้โอนเงินจริง และพบมีคนทำโปรแกรมสร้างสลิปปลอมมาขาย โดยสามารถกรอกชื่อผู้รับ ผู้โอนเป็นใครก็ได้ ตัวเลขเท่าใด โอนวันไหน เวลาไหน แล้ว สร้างภาพสลิปออกมา จึงขอแจ้งเตือนให้พ่อค้า แม่ค้า ระมัดระวัง ควรสังเกตสลิปก่อนที่จะส่งของให้ลูกค้า ตรวจสอบยอดเงินโอนในมือถือก่อนว่ามียอดเงินเข้ามาแล้วจริงๆ ก่อนส่งมอบสินค้า ทั้งนี้โดยทั่วไป การทำธุรกรรมโอนเงินผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร ในแต่ละครั้งธนาคารจะมีการบันทึกสลิป การทำธุรกรรมที่มีระบุรายละเอียดในการโอนเงิน คือ ชื่อผู้รับ/ผู้ส่ง , วัน เดือน ปี เวลา ที่ทำรายการ , จำนวนเงิน ,QR Code เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดหรือมีปัญหาในการทำธุรกรรม “ในกรณีสลิปปลอมมิจฉาชีพอาจจะใช้ช่องโหว่ของภาพสลิปมาดัดแปลง ทำซ้ำ เพื่อให้พ่อค้า แม่ค้า ที่ไม่ได้ทันสังเกต เห็นภาพสลิปโอนเงินปลอม ที่มิจฉาชีพแสดงหรือส่งไลน์ไปเป็นหลักฐานให้กับร้านค้าต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมปลอมสลิป…

เป้าหมายใหม่ มัลแวร์โผล่ Facebook จ้องขโมยบัญชีธุรกิจ

Loading

  Facebook กำลังตกเป็นเป้าหมายใหม่ของแฮกเกอร์ ที่ใช้วิธีสอดแนมเจาะเข้าบัญชีธุรกิจ หรือ Facebook Business ผ่านช่องทางติดต่อของบรรดาแอดมิน ที่เปิดเผยไว้ในเว็บดังอย่าง LinkedIn บนเว็บของคนทำงาน มีข้อมูลที่ระบุได้ว่ามีสิทธิ์เข้าถึงบัญชีธุรกิจของ Facebook ในระดับสูง อาชญากรไซเบอร์จึงตั้งเป้าไปที่คนกลุ่มนี้เป็นพิเศษ นักวิจัยที่ WithSecure องค์กรด้านการรักษาความปลอดภัย ค้นพบหลักฐานที่ระบุได้ว่า เหยื่อชาวเวียดนาม โดนโจมตีด้วยมัลแวร์ Ducktail ที่สามารถเจาะเข้าถึงบัญชีบัตรเครดิตที่บันทึกไว้สำหรับซื้อโฆษณากับ Facebook พฤติกรรมของ Ducktail จะค่อยๆ เลือกเป้าหมายกลุ่มเล็ก และทำอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้มีใครทันสังเกตเห็น รวมถึงใช้ช่องทางโซเชียลโน้มน้าวใจให้เป้าหมายดาวน์โหลดไฟล์จาก Cloud ที่น่าเชื่อถือ อย่าง Dropbox หรือ iCloud โดยใช้ชื่อไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ ทันทีที่ดาวน์โหลดไฟล์และติดตั้งในระบบ มัลแวร์ Ducktail จะขโมยคุกกี้ของเบราว์เซอร์ และเข้าถึง Facebook เพื่อขโมยข้อมูลจากบัญชี และปรับแต่งช่องทางเพื่อดูดเงินในบัญชีออกไป ที่สำคัญพฤติกรรมนี้กำลังแพร่กระจายไปในหลายประเทศ ในขณะที่โฆษกของ Meta ออกมายอมรับว่า แฮกเกอร์มีความพยายามหลบเลี่ยงการตรวจจับ ซึ่ง Facebook เองก็ได้อัปเดตระบบเพื่อเพิ่มความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง…