ตร.ไซเบอร์ลุยตัดวงจรแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พบจุดพาดสายข้ามไปฝั่งเขมร

Loading

  “รองต่อ” รองผบ.ตร นำตำรวจไซเบอร์ เปิดปฏิบัติการตัดวงจร “ซิม-สาย-เสา” เข้าค้น 6 ผู้ให้บริการเครือข่ายรายหนึ่ง ใน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว พบจุดพาดสายสื่อสารด้านหลังสถานีรถไฟคลองลึกข้ามไปฝั่งเขมร เชื่อเป็นช่องทางให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้อินเทอร์เน็ตจากฝั่งไทยมาหลอกลวงคนไทย   เวลา 10.00 น. วันที่ 14 ธ.ค. 65 พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร., พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วยผบ.ตร., พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.วริศร์สิริภ์ ลีละสิริ ผบก.สอท.2, พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา ผบก.สอท.5, พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกบช.สอท. นำกำลังลงพื้นที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เปิดปฏิบัติการซิม-สาย-เสา ตัดวงจรขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงคนไทย โดยปูพรมตรวจค้น 6 จุด ใน อ.อรัญประเทศ  …

Uber โดนแฮ็กเป็นรอบ 2 ของปี คราวนี้ผ่านบริการจากภายนอก

Loading

  อาชญากรไซเบอร์ที่เรียกตัวเองว่า UberLeaks ได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลที่อ้างว่าแฮ็กได้จาก Uber ลงบนโลกออนไลน์   UberLeaks อ้างว่าไฟล์ที่นำมาเผยแพร่มีทั้งอีเมลพนักงาน รายงานของบริษัท และข้อมูลไอทีที่ขโมยมาจาก Uber และบริษัทผู้ขายภายนอกด้วย ในจำนวนนี้ยังมีซอร์สโค้ดของแพลตฟอร์มการจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ (MDM) ที่ Uber และบริษัทผู้ขายรายอื่น ๆ ใช้   เว็บไซต์ BleepingComputer พบว่าข้อมูลอีเมลและข้อมูล Windows Active Directory ของพนักงาน Uber กว่า 77,000 คนรวมอยู่ในข้อมูลที่รั่วออกมาในครั้งนี้ด้วย ในทางกลับกัน นักวิจัยรายอื่นไม่พบว่ามีการพูดถึงข้อมูลลูกค้าอยู่ในข้อมูลที่หลุดออกมา   Uber ออกมาชี้แจงว่าข้อมูลที่หลุดออกมาเป็นของใหม่และถูกขโมยมาจากแหล่งข้อมูลภายนอก ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ข้อมูลหลุดในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยให้รายละเอียดเพิ่มว่าแฮ็กเกอร์ยังได้แฮ็ก Teqtivity แพลตฟอร์มสำหรับการจัดการสินทรัพย์ไอทีและบริการติดตามตัว ผ่านเซิร์ฟเวอร์ AWS (บริการคลาวด์ของ Amazon) สำรอง เพื่อขโมยข้อมูลออกไปด้วย     ที่มา cybersecuritynews     ————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา…

จีนออกมาตรการคุมเทคโนโลยี “ดีพเฟค” เริ่มบังคับใช้ ม.ค. นี้

Loading

  สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (ซีเอซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน ระบุว่า กฎใหม่ของจีน สำหรับผู้ให้บริการเนื้อหาที่มีการแก้ไขข้อมูลใบหน้าและเสียง จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2566 โดยหน่วยงานมุ่งหวังที่จะตรวจสอบเทคโนโลยีและบริการที่เรียกว่า “ดีพเฟค” อย่างเข้มงวดมากขึ้น   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ว่า กฎระเบียบใหม่จากซีเอซี ซึ่งออกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กำหนดให้บุคคลได้รับการคุ้มครองจากการถูกแอบอ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม อันมาจากเทคโนโลยี “ดีพเฟค” ภาพเสมือนที่มีความคล้ายคลึงกับภาพต้นฉบับจนแยกไม่ออก และถูกนำไปใช้เพื่อการบิดเบือน หรือการให้ข้อมูลเท็จได้โดยง่าย   China's rules for "deepfakes" to take effect from Jan. 10 https://t.co/faLf9KG1gj pic.twitter.com/52XnzO89iw — Reuters (@Reuters) December 12, 2022   ซีเอซี กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวข้างต้นมีเป้าหมายเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้บริการโดยแพลตฟอร์มดังกล่าว…

มาเลเซียสอบสวนแรนซัมแวร์เจาะ “แอร์เอเชีย” กระทบพนักงาน-ผู้โดยสารกว่า 5 ล้านคน

Loading

  ทางการมาเลเซียกำลังดำเนินการสืบสวน เพื่อหาแหล่งที่มาของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้โดยสารมากกว่า 5 ล้านคน และพนักงานทั้งหมดของสายการบิน “แอร์เอเชีย”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเปอตาลิงจายา ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ว่า นายฟาห์มี ฟาดซิล รมว.การสื่อสารและดิจิทัลของมาเลเซีย กล่าวว่า กระทรวงกำลังสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลของผู้โดยสารและพนักงานจำนวนมากของแอร์เอเชีย ถูกเจาะโดยกลุ่มแฮกเกอร์ชื่อ Daixin Team   “การสืบสวนก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่า การโจมตีทางไซเบอร์ต่อเซิร์ฟเวอร์ของแอร์เอเชีย เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ที่ผ่านมา เกิดจากการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งนำไปสู่การโจมตีแรนซัมแวร์ที่อาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้” ฟาห์มี กล่าวในแถลงการณ์ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา   Malaysia conducts probe into AirAsia ransomware attack, data of 5 million people affected https://t.co/qFZd2mZRQq — ST Foreign…

โครงข่ายรัฐบาลวานูอาตูที่ล่มนานกว่า 1 เดือนเต็ม หลังจากถูกโจมตีทางไซเบอร์ ค่อย ๆ ฟื้นตัวแล้ว

Loading

  เว็บไซต์ Techspot เผยว่าระบบโครงข่ายของรัฐบาลวานูอาตู ประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ล่มมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน หลังจากถูกโจมตีทางไซเบอร์   การโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลต้องกลับไปใช้ระบบเอกสารแบบกระดาษ จนถึงขณะนี้มีเพียงร้อยละ 70 ของระบบที่กลับมาใช้งานได้แล้ว   ย้อนกลับไปขณะเกิดเหตุ รัฐบาลวานูอาตูที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งเมื่อ 13 ตุลาคม เริ่มสังเกตเห็นปัญหาทันทีตั้งแต่วันแรกที่ได้เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 6 พฤศจิกายน เหตุการณ์ในตอนนั้นทำให้ระบบโครงข่ายของรัฐบาลล่มไปทั้งหมด   เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถเข้าใช้ระบบอีเมลของรัฐบาล ประชาชนไม่สามารถทำเรื่องต่อใบขับขี่หรือจ่ายภาษีได้ เช่นเดียวกับระบบให้บริการข้อมูลสาธารณสุขและการแพทย์ฉุกเฉินก็ไม่สามารถใช้งานได้เช่นกัน   ออสเตรเลียได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยกู้และซ่อมแซมระบบ โดยสำนักข่าว Sydney Morning Herald เชื่อว่ากรณีที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ แต่รัฐบาลวานูอาตูยังไม่เคยออกมาเผยรายละเอียดในเรื่องนี้     ที่มา TechSpot       ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                         …

กลาโหมสหรัฐฯ แถลงเปิดสัญญาร่วม 4 ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีสร้างระบบคลาวด์ใหม่

Loading

  กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา (DOD) เผยในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือกับ Google, Oracle, Microsoft และ Amazon ในการสร้างโครงข่ายคลาวด์ใหม่ของกระทรวงฯ   ระบบคลาวด์ใหม่นี้มีชื่อว่า Joint Warfighting Cloud Capability (JWCC) อยู่ภายใต้สัญญาจัดซื้อจัดจ้างมูลค่า 9,000 ล้านเหรียญ (ราว 312,000 ล้านบาท) มีกำหนดจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนมิถุนายน 2028 ซึ่งคาดว่าจะช่วยขยายขีดความสามารถด้านคลาวด์ให้แก่ทุกหน่วยงานภายใต้ DOD   พลอากาศตรี โรเบิร์ต สกินเนอร์ (Robert Skinner) ชี้ว่าขีดความสามารถใหม่ ๆ ของเทคโนโลยีคลาวด์ในปัจจุบันจะช่วยให้คนที่ไม่เข้าใจคลาวด์ก็สามารถใช้งานคลาวด์ได้ โดยยังบอกอีกว่าระบบ JWCC จะช่วยให้ทหารที่อยู่ในสมรภูมิสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยอากาศยานไร้คนขับหรือดาวเทียมสื่อสารบนอวกาศได้อย่างง่ายดาย รวมถึงจะทำให้การส่งข้อมูลข่าวกรองทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นด้วย   นี่ยังถือเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่กลาโหมของสหรัฐฯ สามารถเข้าถึงระบบคลาวด์เอกชนในการทำงาน ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ที่ประจำอยู่ทั่วโลกไม่มีระบบคลาวด์ที่มีข้อมูลในทุกระดับชั้นความลับให้ใช้   ทั้งนี้ สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง JWCC จะไม่ได้แบ่งเท่า ๆ กัน ระหว่าง 4 บริษัท โดยเริ่มแรกจะให้เงินบริษัทละ…