ระบาดหนัก! เพจปลอมทำใบขับขี่ออนไลน์ แจ้งเอาผิดแล้ว 146 ราย

Loading

    “กรมการขนส่งทางบก” เตือน!!! ประชาชนอย่าหลงเชื่อเพจมิจฉาชีพรับทำหรือต่ออายุใบขับขี่ออนไลน์ อย่าโอนเงินและอย่าโพสต์ใบขับขี่ของตนเองลงสื่อโซเชียลมีเดียเด็ดขาด เผยดำเนินการทางกฎหมายกับเพจแล้ว 146 ราย พร้อมเปิดรายชื่อเพจมิจฉาชีพทำใบขับขี่ปลอมทางออนไลน์กว่า 271 เพจ สามารถตรวจสอบได้ที่คิวอาร์โค้ด   นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และโฆษก ขบ. เปิดเผยว่า ยังคงตรวจสอบเพจมิจฉาชีพรับทำหรือต่ออายุใบขับขี่ออนไลน์และดำเนินการทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสมายัง ขบ. และ ขบ. ได้แจ้งความดำเนินคดีไปแล้ว 146 ราย ทั้งนี้ จากการตรวจสอบยังพบกลุ่มเพจมิจฉาชีพอีกกว่า 271 เพจ (สามารถตรวจสอบได้ที่คิวอาร์โค้ด)   โดยขอเตือนประชาชนว่าอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด และแนะนำสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มมิจฉาชีพจะนำรูปตราสัญลักษณ์ ขบ. มาใส่ในรูปโปรไฟล์ หรือนำรูปภาพของผู้ที่ได้รับใบขับขี่มาแอบอ้าง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยจะโฆษณาหลอกลวงว่าสามารถออกใบขับขี่โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานขนส่ง และมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอยู่ที่ประมาณ 1,000-6,000 บาท เมื่อผู้เสียหายโอนเงินไปแล้วจะเรียกร้องให้โอนเงินเพิ่มอีกและเงียบหาย ไม่สามารถตามคืนได้หรือจะได้รับใบขับขี่ปลอม   นายเสกสม กล่าวต่อว่า รวมทั้งยังมีการแอบอ้างในการอบรมต่ออายุใบขับขี่แทน โดยกลุ่มมิจฉาชีพมีพฤติกรรมแอบอ้างว่าจะอบรมต่ออายุใบขับขี่แทนผู้เสียหายและจองคิวให้ผู้เสียหายเข้ามาถ่ายรูปทำใบขับขี่ ณ สำนักงานขนส่ง พร้อมหลอกให้ผู้เสียหายส่งหน้าบัตรใบขับขี่และโอนเงินไปให้…

‘เวียดนาม’ จ่อบังคับ ‘ยืนยันตัวตน’ คนใช้โซเชียลมีเดีย หวังปราบโกงออนไลน์

Loading

    “เวียดนาม” เตรียมกำหนดให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ของแพลตฟอร์มทั้งในและต่างประเทศ ต้องยืนยันตัวตน ในความพยายามที่จะควบคุมการโกงออนไลน์   สำนักข่าววอยซ์ ออฟ เวียดนาม (วีโอวี) ของทางการเวียดนาม รายงานว่า มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลเวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายโทรคมนาคมฉบับปรับปรุงใหม่ ที่มีกำหนดประกาศใช้ภายในสิ้นเดือนนี้ จะช่วยให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย สามารถติดตามผู้กระทำความผิดด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือฝ่าฝืนกฎหมาย   นายเหวียน ถั่น หลำ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสื่อสารเวียดนาม ระบุว่า มีหลายครั้งที่เจ้าหน้าที่สามารถระบุเจ้าของบัญชีโซเชียลมีเดียที่ละเมิดกฎหมาย แต่ไม่สามารถติดตามพวกเขาได้ เนื่องจากอาชญากรเหล่านั้นใช้แอปพลิเคชันข้ามพรมแดน   “บัญชีที่ไม่ได้รับการยืนยัน ไม่ว่าจะอยู่ในแพลตฟอร์มในประเทศ หรือต่างประเทศ เช่น เฟซบุ๊ก ติ๊กต๊อก และยูทูบ จะถูกรวมไว้ในมาตรการใหม่ด้วย”   รายงานข่าวระบุด้วยว่า ผู้ใช้ทั้งรายบุคคล และองค์กรจะอยู่ภายใต้มาตรการนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการบางรายไม่ได้เสนอการยืนยันตัวตนในเวียดนามในปัจจุบัน   ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว ยังต่อรอการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติของเวียดนาม และจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใด ๆ ออกมา   การเคลื่อนไหวข้างต้น ยังมีขึ้นหลังเมื่อปี 2565…

ระบาดหนัก ChatGPT ปลอมบน Facebook หลอกให้ใช้ หวังกระจายมัลแวร์

Loading

    [เตือนภัย] หากกล่าวถึงแชทบอต AI ชื่อดังในตอนนี้ ChatGPT คงมาเป็นอันดับต้น ๆ แต่ด้วยชื่อเสียงนี้เอง ก็เปิดโอกาสให้เหล่าผู้ไม่หวังดีด้วยเช่นกัน ล่าสุดพบบริการ ChatGPT ปลอม ระบาดหนักใน Facebook หลอกให้ใช้เพื่อกระจายมัลแวร์   Meta ออกโรงเตือน พบมัลแวร์กว่า 10 ชนิด อาทิ DuckTail กับ NodeStealer ปลอมเป็นบริการ ChatGPT และเครื่องมือ AI ตัวอื่น ๆ ซึ่งมาในรูปแบบ [ส่วนขยาย] สำหรับติดตั้งในเว็บเบราว์เซอร์ โดยเผยแพร่ผ่านโฆษณา และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ แน่นอนว่ามีของ Facebook ด้วย   Duc H. Nguyen และ Ryan Victory สองวิศวกรด้านความปลอดภัยของ Meta ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้พัฒนามัลแวร์นั้น จะทำการหลอกให้ติดตั้งส่วนขยายในเว็บเบราว์เซอร์ เช่น…

แฮ็กเกอร์ฝ่ายต่อต้านล้วงข้อมูลกระทรวงต่างประเทศอิหร่าน

Loading

    กระทรวงการต่างประเทศอิหร่านออกมายอมรับว่ามีการโจมตีเว็บไซต์ที่ใช้เผยแพร่ข้อมูลจริง แต่ปฏิเสธรายงานว่ามีข้อมูลรั่ว   นัสเซอร์ คานานิ (Kasser Kanani) โฆษกของกระทรวงฯ เผยว่าเว็บไซต์ของกระทรวงฯ ถูกแฮ็กจริง แต่ได้นำมาตรการสำคัญมาใช้แล้ว   คานานิชี้ว่า ข้อมูลและรูปภาพบนโลกออนไลน์ที่อ้างว่าหลุดมาจากเว็บไซต์ของกระทรวงฯ นั้นเป็นข้อมูลเท็จทั้งหมด   เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (8 พฤษภาคม) กลุ่มแฮ็กเกอร์สัญชาติอิหร่านที่ชื่อ Ghiam Sarnegouni (แปลเป็นไทยว่า ‘ลุกฮือจนกว่าจะล้มล้างได้’) อ้างว่าเป็นผู้โจมตีเซิร์ฟเวอร์และฐานข้อมูลของกระทรวง จนเว็บไซต์ 210 แห่งล่ม ข้อมูล 50 เทระไบต์รั่ว   โดยยังมีการเผยข้อมูลเอกสาร บัตรประจำตัว เอกสารผลประชุม และเบอร์โทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ บนช่อง Telegram ของทางกลุ่ม   ในจำนวนนี้มีจดหมายโต้ตอบระหว่างเจ้าหน้าที่อิหร่านและยุโรปในกรณีการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างอิหร่านและเบลเยียม เป็นการต่อรองแลกตัว อซาดอลเลาะห์ อัซซาดิ (Asadollah Assadi) นักการทูตอิหร่าน และ โอลิวิเยร์ ฟานเดอคัสตีเล (Olivier Vandecasteele) เจ้าหน้าที่มนุษยธรรมของเบลเยียม…

รัฐบาลสหรัฐฯทุ่ม 4.7 พันล้าน วิจัยและพัฒนา AI เรียก CEO บริษัทเทคคุยผลกระทบ

Loading

    เมื่อวันพฤหัสบดี (4 พฤษภาคม 2566) ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลงทุนวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ภายใต้งบประมาณ 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4,715 ล้านบาท ท่ามกลางความนิยมและตื่นตัวทั่วโลกของเทคโนโลยีใหม่นี้   รัฐบาลสหรัฐฯ ทุ่ม 4.7 พันล้านวิจัยและพัฒนา AI   งบประมาณดังกล่าวจะมาจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยส่วนหนึ่งจะใช้สร้างสถาบันวิจัย AI แห่งชาติใหม่อีก 7 แห่ง ทำให้สหรัฐฯ จะมีสถาบันวิจัยด้านนี้รวมแล้ว 25 แห่งด้วยกัน ซึ่งสถาบันวิจัยเหล่านี้จะทำงานร่วมกับรัฐบาลกลาง ธุรกิจในอุตสาหกรรม และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ เช่น ปัญหาสภาพอากาศ การเกษตร สาธารณสุข   เตรียมออกคู่มือใช้ AI สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ   ในเร็วๆ นี้ สำนักงานการจัดการและงบประมาณของสหรัฐฯ จะออกคำแนะนำเชิงนโยบายเกี่ยวกับการใช้ AI สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลาง   นอกจากนั้นบริษัทที่กำลังพัฒนา AI…

‘จีน’ จี้สหรัฐ หยุดโจมตีทางไซเบอร์รัฐบาลทั่วโลก ตราหน้าเป็น ‘อาณาจักรแฮ็กเกอร์’

Loading

    เมื่อวานนี้ นาง เหมาหนิง โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนได้ออกโรงเรียกร้องให้ทางการสหรัฐหยุดการสอดแนม และโจมตีทางไซเบอร์ไปทั่วโลกที่สหรัฐดำเนินการมาตลอด   โดยท่าทีของจีนครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากที่ศูนย์ตอบโต้ไวรัสคอมพิวเตอร์แห่งชาติจีน และบริษัท อินเตอร์เน็ต ซิเคียวริตี้ 360 ของจีน ได้เผยรายงานระบุว่า สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐ หรือ ซีไอเอ ได้ใช้วิธีการสอดแนม และการโจมตีทางไซเบอร์ต่อรัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ ในต่างประเทศ ทั่วโลก พร้อมกับตราหน้าสหรัฐว่าเป็น “อาณาจักรของแฮ็กเกอร์”   ตามรายงานระบุว่า ซีไอเอ ได้โจรกรรมข้อมูลจากรัฐบาล บริษัทเอกชน องค์กร ข้อมูลประชาชนผ่านปฏิบัติการลับนี้ โดยที่ ซีไอเอ เป็นผู้จัดหาการเข้ารหัส และระบบโทรคมนาคมให้กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง รวมถึงบริการเชื่อมต่อ และเครื่องมือสื่อสารในเหตุการณ์ชุมนุมและการประท้วงต่างๆ อีกทั้ง ซีไอเอ ยัง มีส่วนร่วมในกิจกรรมจารกรรมอย่างต่อเนื่อง ประชาคมระหว่างประเทศควรระแวดระวังอย่างสูงต่อการเคลื่อนไหวเหล่านี้   นาง เหมาหนิง กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้มีเคสที่สหรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง และเปิดการโจมตีทางไซเบอร์มาแล้วมากมาย ทั้งในจีน และในอีกหลายประเทศทั่วโลก สหรัฐควรจะตระหนักถึงความวิตกของนานาชาติต่อเรื่องนี้…