กว่าจะเป็นปูตินคนนี้ สายลับ KGB ต้องผ่านอะไรมาบ้าง

Loading

KGB ผ่านอะไรมาบ้างถึงได้ชื่อว่าเป็นหน่วยสุดโหดที่ถูกพูดถึงมาจนทุกวันนี้ หลายคนทราบแล้วว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียเคยเป็นสายลับ KGB มาก่อน แต่รู้หรือไม่ว่าหน่วยสืบราชการลับ KGB ต้องผ่านอะไรมาบ้างถึงได้ชื่อว่าเป็นหน่วยสุดโหดที่ถูกพูดถึงมาจนทุกวันนี้ ก่อนที่จะพูดถึงภารกิจของ KGB ต้องบอกก่อนว่านี่คือความฝันของปูตินตั้งแต่เด็กๆ ที่อยากจะเข้าร่วมหน่วยสืบราชการลับแห่งนี้ จนในที่สุดเขาได้เข้าร่วมกับกองกำลังสายลับ KGB อย่างที่ฝัน เขาได้รับคัดเลือกจากโครงการใหม่ที่สร้างขึ้นโดยยูรี อันโดรปอฟ ประธาน KGB ซึ่งต้องการรับสมัครคนรุ่นใหม่และฝึกฝนพวกเขาตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ KGB โดยปูตินทำงานด้านข่าวกรองทั้งในและต่างประเทศ ด้วยความสามารถด้านภาษาเยอรมัน ทำให้เขาได้ทำภารกิจสำคัญอยู่หลายครั้ง รวมถึงการได้รับคัดเลือกส่งไปปฏิบัติการเป็นสายลับในเมือง เดรสเดน เยอรมนีตะวันออกด้วย เมื่ออายุได้ 33 ปี โดยภารกิจหลักคือปฏิบัติภารกิจด้านข่าวกรองจากประเทศฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะเยอรมนีตะวันตกซึ่งติดตั้งขีปนาวุธพุ่งเป้ามาที่สหภาพโซเวียต มีรายงานจากผู้คนที่อาศัยอยู่ในเยอรมนีตะวันออกในช่วงเวลานั้นและจำได้ว่าเคยเห็นหน้าเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันที่ 5 ธันวาคม 1989 เมื่อมีการวางแผนการจลาจลที่ชตาซี ว่ากันว่าปูตินได้โน้มน้าวฝูงชนให้ปฏิเสธการจลาจลด้วยการหลอกล่อด้วยทักษะสายลับที่ยอดเยี่ยมของเขาที่ได้รับการฝึกฝนมาจาก KGB ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับภารกิจที่ปูตินได้รับมอบหมายจาก KGB มากนัก เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่เคยทำงานใน KGB มักไม่พูดถึงอดีตของพวกเขา เพราะพวกเขารู้ว่ามันจะทำให้ชีวิตของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย ปูตินไต่เต้าขึ้นมาเรื่อยๆ จนเป็นผู้ช่วยผู้บังคับบัญชา KGB ประจำเดรสเดน ก่อนที่จะลาออกในปี…

4 วิธีเอาตัวรอด ป้องกันการโจมตีผ่านอีเมล

Loading

  อีเมลยังคงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการสื่อสารออนไลน์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยน้อยที่สุด นั่นคือเหตุผลที่เราต้องดูแลมันเป็นพิเศษครับ . ในปัจจุบัน ขณะที่การรุกรานยูเครนของรัสเซียยังคงดำเนินต่อไปและการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากประชาคมโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความกังวลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน . แม้จะยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการ แต่ตอนนี้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้ออกมาเตือนพลเมืองในประเทศ ให้ระวังการโจมตีทางอีเมลจากรัสเซีย และประเทศที่ลงชื่อประณามรัสเซีย ก็มีโอกาศที่จะโดนโจมตีเช่นกัน โดยไทยคือหนึ่งในนั้นครับ มาลองดู 4 วิธีรักษาความปลอดภัยบนอีเมล ที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองกัน 1.ใช้รหัสผ่านที่รัดกุมและไม่ซ้ำกัน     ผมเชื่อว่าหลายคนใช้รหัสผ่านแบบเดียวกันกับไอดีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook , email , Twitter ซึ่งก็เข้าใจแหละว่า มันช่วยให้จำได้ง่าย แต่ในแง่ความปลอดภัย มันอันตรายมาก และ Password ควรตั้งให้ปลอดภัยด้วยเช่น ต้องยาวอย่างน้อย 8 ตัว มีตัวเลขและสัญลักษณ์รวมอยู่ในนั้น แต่หากกลัวจำไม่ได้ ลองใช้แอปช่วยจำรหัสผ่าน เช่น Lastpass ก็จะช่วยได้เยอะครับ . ทำไมถึงต้องเน้นเรื่องรหัสผ่าน เพราะรหัสผ่านของเราเป็นด่านแรกในการป้องกันคนที่ต้องการแทรกซึมบัญชีเพื่อ เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและการสื่อสารของเรา จึงจำเป็นตรวจสอบให้แน่ใจว่าการป้องกันนี้แข็งแกร่ง ไม่ใช่ใช้รหัสผ่านที่เดาทางได้ง่าย เช่น qwerty…

10 เทคนิค เอาตัวรอดจากแฮกเกอร์ ทำบ้านให้ปลอดภัย ถ้าต้องกลับไป WFH

Loading

  กระแสการทำงานที่บ้านหรือ Work from home ในประเทศไทยกลับมาอีกครั้ง หลังจากผู้ติดเชื้อพุ่งไปถึงสามหมื่น สาธารณสุขประกาศยกระดับเตือนภัยเป็นระดับ 4 และมีข้อเรียกร้องให้หลายคนกลับไป Work from home ร้อยละ 50-80 .แม้จะมีข้อดีในการป้องการแพร่ระบาด แต่การทำงานระยะไกลนั้นเปิดช่องให้คนทำงานและธุรกิจมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้นเช่นกัน โดยความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อันดับต้น ๆ ของการทำงานระยะไกลคือการเชื่อมต่อเครือข่ายในบ้านที่ไม่ปลอดภัย การใช้เครื่องมือออนไลน์มากขึ้น หรือแม้กระทั่งตัวเราเองที่ไม่ได้มีภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์ ทีนี้ มีวิธีเอาตัวรอดยังไงบ้าง หากต้องกลับไปทำงานที่บ้านอีกครั้งหนึ่ง 10 เทคนิค เอาตัวรอดจากแฮกเกอร์ ไม่ต้องห่วง หากต้องทำงานที่บ้าน 1. ใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตที่บ้าน เคล็ดลับด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดประการหนึ่งสำหรับการทำงานจากที่บ้าน คือ การลงทุนเรื่องซอฟต์แวร์ความปลอดภัย ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานจากระยะไกลอัตโนมัติ ป้องกันภัยคุกคามต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดกับคอมหรือเครือข่ายของเราได้ . 2. ไม่ให้สมาชิกในครอบครัวใช้อุปกรณ์ของบริษัท แม้ว่าเราอาจไว้ใจตัวเองและพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยในโลกออนไลน์ แต่ก็ควรจำไว้ว่าการทำงานจากที่บ้านหมายความว่าคอมพิวเตอร์ของบริษัทมีแนวโน้มที่จะถูกใช้งานโดยเด็ก ๆ ได้ ในช่วงที่เราไม่ได้อยู่หน้าจอ ซึ่งพวกเขามีโอกาสที่จะกดเข้าเว็บที่ทำให้เครื่องติดมัลแวร์ได้ . 3. ใช้ฝาปิดเว็บแคมแบบเลื่อนได้ การทำงานจากที่บ้านมักรวมถึงการประชุมทางไกลและวิดีโอที่ต้องใช้เว็บแคม แฮกเกอร์ที่เชี่ยวชาญจะสามารถเข้าถึงเว็บแคมของเราได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องได้รับอนุญาต ซึ่งส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวมาก ๆ…

อาวุธ “นิวเคลียร์” วันนี้ ชาติไหน “สะสม” มากสุด?

Loading

  เมื่อสัปดาห์ที่แล้วช่วงที่มีข่าวว่าประธานาธิบดีรัสเซียคุณวลาดิเมียร์ ปูติน สั่งหน่วยงานทุกหน่วยของท่านให้เตรียมพร้อมขั้นสูงสุดในการรับมือกับชาติตะวันตก รวมถึงหน่วย “ป้องปรามนิวเคลียร์” ด้วยนั้น…เล่นเอาผู้คนสะดุ้งโหยงไปทั้งโลก เพราะเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า กองกำลังป้องปรามนิวเคลียร์ หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Nuclear Deterrent Force นั้นก็คือหน่วยที่ติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งหัวจรวดหรือขีปนาวุธที่พร้อมจะยิงใส่คู่ต่อสู้เพื่อป้องกันตัวเองนั่นเอง การเตรียมพร้อมสูงสุดจึงอาจแปลความได้ว่า รัสเซียพร้อมที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ซึ่งมีพลังในการทำลายสูงสุดทันที…หากอีกฝ่ายหนึ่งลงมือ สหรัฐฯ และประเทศยักษ์ใหญ่ในยุโรปต่างออกมาตำหนิปูตินเป็นเสียงเดียวกันว่า การออกคำสั่งเช่นนี้จะทำให้สถานการณ์บานปลายยิ่งขึ้น อีกทั้งจะเป็นข้ออ้างในการรุกรานต่อไปอีก ดังเช่นที่ปูตินใช้อยู่เสมอคือจะอ้างว่า โดนคุกคามก่อนเพื่อสร้างความชอบธรรมในการรุกราน สำหรับนักวิเคราะห์สถานการณ์ระดับโลกก็มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง แต่ในที่สุดก็สรุปในทำนองว่า คุณปูตินคงจะส่งสัญญาณ “เตือน” ฝ่ายตะวันตกไว้เท่านั้น ว่าเราทุกฝ่ายมี “นิวเคลียร์” อยู่นะ คงมิใช่เป็นการ “ขู่” แต่อย่างใด นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในมือในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ตาม “ทฤษฎี” แล้วจึงต่างฝ่ายต่างก็จะคุมเชิงกันต่อไป เพราะตระหนักดีว่าการใช้อาวุธนิวเคลียร์จะนำไปสู่ความสูญเสียใหญ่หลวงด้วยกันทั้งคู่ ในการวิเคราะห์นั้นเองได้มีการหยิบยกตัวเลขประมาณการอาวุธนิวเคลียร์ของแต่ละประเทศทั่วโลกมาเปรียบเทียบกันด้วย ดังนี้ รัสเซียน่าจะมีหัวจรวดติดอาวุธนิวเคลียร์รวมทั้งสิ้น 5,977 หัว นาโตน่าจะมี 5,943 หัว แยกออกเป็นของสหรัฐฯ 5,428 หัว ฝรั่งเศส 290 หัว…

ทำไมรัสเซียเล่นเกมเสี่ยง ยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่สุดในยุโรปของยูเครน

Loading

  – รัสเซียบุกยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย ซึ่งถือเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่สุดในยุโรป จนถูกประณามอย่างหนัก หวั่นวิตกจะก่อให้เกิดความเสียหายจนสารกัมมันตรังสีรั่วไหล ซ้ำรอยหายนะภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล – ผู้เชี่ยวชาญชี้ รัสเซียบุกยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย ถือเป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ เพื่อหวังควบคุมพลังงานไฟฟ้าในยูเครน ส่งผลกระทบต่อประชาชนหลายล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ หลังรัสเซียเปิดฉากทำสงครามในยูเครน บุกโจมตีอย่างหนักหน่วงตั้งแต่ 24 ก.พ.65 – หวั่นหากมีกระสุนปืนใหญ่สักลูกตกใส่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อาจทำให้เกิดความเสียหายจนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลอมละลาย สารกัมมันตรังสีรั่วไหล เตือนไม่ควรใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ให้กลายเป็นสมรภูมิรบ และแล้ว รัสเซียก็เรียกเสียงประณามลั่นโลกอีกครั้ง จากการโจมตีและบุกยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน ได้สำเร็จเมื่อ 5 มี.ค.65 หลังจากทำสงคราม ส่งทหารบุกโจมตียูเครนอย่างดุเดือด เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในยุโรป ได้เกิดไฟไหม้ขึ้นที่อาคารศูนย์ฝึกภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ หลังจากเบื้องต้น มีการเข้าใจกันว่า บริเวณที่เกิดไฟไหม้ คือเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 1 ใน 6 เตาที่อยู่ระหว่างการซ่อมแซม ทำให้นานาประเทศทั่วโลกหวั่นวิตกว่าจะเกิดภัยพิบัติซ้ำรอยโศกนาฏกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด จนสารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมาในปี 1986 โชคยังดีที่การปะทะกันระหว่างทหารรัสเซียกับยูเครนเกิดขึ้นบริเวณใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย และไม่ได้เกิดไฟไหม้ที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ในขณะที่ ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ระบุว่า ไม่พบความผิดปกติของระดับกัมมันตรังสีในบริเวณโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริชเชีย แน่นอนว่า คำถามที่ตามมาก็คือ…

มัลแวร์ล้างข้อมูล โจมตี ‘ยูเครน’ หวั่น ‘ไทย’ โดนหางเลข แนะปิดช่องโหว่

Loading

  สกมช.เตือนภัยไซเบอร์ พบมัลแวร์ล้างข้อมูล โจมตี ยูเครน หวั่นกระทบไทย เหตุเครือข่ายเน็ตเชื่อมโยงถึงกัน แนะป้องกันปิดช่องโหว่ก่อนถูกโจมตีแบบไม่รู้ตัว เร่งประชุมหน่วยงาน ภายใต้กฎหมายวางแผนป้องกัน เผยประชาชนทั่วไป หน่วยงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายต้องระวัง นาวาอากาศเอก อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า จากกรณีความขัดแย้งระหว่าง “รัสเซีย กับ ยูเครน” ทำให้มีการปฏิบัติการโจมตีทางทหาร และ การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้น โดยมีเหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ในระหว่างวันที่ 22 – 25 กุมภาพันธ์ 2565 ในรูปแบบ DDoS (Distributed-denial-of-service) หรือการก่อกวนเว็บไซต์ของหน่วยงานสำคัญระดับประเทศ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และภาคธนาคาร โดยทำการเข้าถึงหลายเว็บไซต์พร้อมๆ กัน ทำให้ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ส่งผลให้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตล่ม และยังมีการตรวจพบมัลแวร์ชื่อ Hermetic Wiper ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่เน้นการล้างข้อมูลของเป้าหมายบนระบบเครือข่ายภายในประเทศยูเครน ทั้งนี้ บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์เปิดเผยว่ามัลแวร์นี้จะสร้างความเสียหายให้กับ Master Boot Record (MBR) ทำให้คอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ไม่สามารถทำงานได้ และยังมีการตรวจพบมัลแวร์ชื่อ Cyclops…